ภาษาพม่า
ภาษาพม่า หรือ ภาษาเมียนมา (พม่า: မြန်မာဘာသာ, ออกเสียง: [mjəmà bàðà]) เป็นภาษาตระกูลจีน-ทิเบตที่พูดกันในประเทศพม่า มีสถานะเป็นภาษาทางการและภาษาของชาวพม่าซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักของประเทศ ใน ค.ศ. 2007 มีผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ 33 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ใกล้ชิด และมีผู้พูดเป็นภาษาที่สอง 10 ล้านคน โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่าและประเทศเพื่อนบ้าน ใน ค.ศ. 2014 ประชากรพม่ามี 36.39 ล้านคน และในเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 มีประชากรประมาณ 38.2 ล้านคน
ภาษาพม่า | |
---|---|
ภาษาเมียนมา | |
မြန်မာစာ (ภาษาเขียน); မြန်မာစာစကား (ภาษาพูด) | |
ออกเสียง | [mjəmàzà]; [mjəmà zəɡá] |
ประเทศที่มีการพูด | พม่า บังกลาเทศ ไทย |
ชาติพันธุ์ | ชาวพม่า |
จำนวนผู้พูด | 33 ล้านคน (2007) ภาษาที่สอง: 10 ล้านคน (ไม่ทราบปี)[1] |
ตระกูลภาษา | |
รูปแบบก่อนหน้า | ภาษาพม่าเก่า
|
ระบบการเขียน | อักษรพม่า อักษรเบรลล์พม่า |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | พม่า
อาเซียน |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | บังกลาเทศ |
ผู้วางระเบียบ | คณะกรรมการภาษาพม่า |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | my |
ISO 639-2 | bur (B) mya (T) |
ISO 639-3 | mya – รหัสรวม รหัสเอกเทศ: int – ภาษาอี้นต้าtvn – กลุ่มภาษาย่อยทวายtco – กลุ่มภาษาย่อยตองโย่rki – ภาษายะไข่rmz – มะระมา |
Linguasphere | 77-AAA-a |
ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ ลักษณะน้ำเสียง (รวมถึงทำเนียบภาษา) และเป็นภาษาเน้นพยางค์[2]
การจำแนก
แก้ภาษาพม่าอยู่ในกลุ่มภาษาพม่าใต้ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต โดยภาษาพม่าเป็นภาษานอกกลุ่มภาษาจีนที่มีผู้พูดมากที่สุดในตระกูล[3] ภาษานี้เป็นภาษาลำดับที่ 5 ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบตที่พัฒนาระบบการเขียนของตน ถัดจากอักษรจีน, อักษรปยู, อักษรทิเบต และอักษรตันกุต[4]
ภาษาถิ่นและสำเนียง
แก้ภาษาพม่ามาตรฐานคือสำเนียงย่างกุ้ง ภาษาถิ่นในพม่าภาคเหนือและภาคใต้จะต่างจากภาษากลาง ภาษาถิ่นในรัฐยะไข่ยังมีเสียง /ร/ แต่สำเนียงย่างกุ้งออกเสียงเป็น /ย/ ภาษาพม่าแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้ 2 ระดับ คือระดับทางการใช้งานวรรณคดี งานราชการและวิทยุกระจายเสียง ระดับไม่เป็นทางการใช้ภายในครอบครัวและกับเพื่อน พระภิกษุชาวพม่ามักพูดกันเองด้วยภาษาบาลี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ
ระบบเสียง
แก้พยัญชนะ
แก้หน่วยเสียงพยัญชนะในภาษาพม่ามีดังต่อไปนี้
ริมฝีปาก | ฟัน | ปุ่มเหงือก | หลังปุ่มเหงือก/ เพดานแข็ง |
เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
นาสิก | ก้อง | m | n | ɲ | [ŋ] | ||
ไม่ก้อง | m̥ | n̥ | ɲ̊ | [ŋ̊] | |||
หยุด/ กักเสียดแทรก |
ก้อง | b | d | dʒ | ɡ | ||
ธรรมดา | p | t | tʃ | k | ʔ | ||
พ่นลม | pʰ | tʰ | tʃʰ | kʰ | |||
เสียดแทรก | ก้อง | ð ([d̪ð~d̪]) | z | ||||
ไม่ก้อง | θ ([t̪θ~t̪]) | s | ʃ | ||||
พ่นลม | sʰ | h | |||||
เปิด | ก้อง | l | j | w | |||
ไม่ก้อง | l̥ | ʍ |
สระ
แก้หน่วยเสียงสระในภาษาพม่ามีดังต่อไปนี้
สระเดี่ยว | สระประสมสองเสียง | ||||
---|---|---|---|---|---|
หน้า | กลาง | หลัง | เสียงหลังเป็นสระหน้า | เสียงหลังเป็นสระหลัง | |
ปิด | i | u | |||
กึ่งปิด | e | ə | o | ei | ou |
กึ่งเปิด | ɛ | ɔ | |||
เปิด | a | ai | au |
วรรณยุกต์
แก้โดยทั่วไปถือว่าภาษาพม่ามีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 4 หน่วยเสียง ในตารางข้างล่างนี้ สัญลักษณ์แทนวรรณยุกต์จะแสดงไว้เหนือสระ /a/ ดังตัวอย่าง
วรรณยุกต์ | ภาษาพม่า | สัทอักษรสากล (กำกับสระ a) |
สัญลักษณ์ (แสดงเหนือสระ a) |
การทำงานของเส้นเสียง | ความสั้นยาว | ความเข้ม | ระดับเสียง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ต่ำ | နိမ့်သံ | [aː˧˧˦] | à | ปกติ | ปกติ | ต่ำ | ต่ำ มักเลื่อนขึ้นเล็กน้อย[7] |
สูง | တက်သံ | [aː˥˥˦] | á | บางครั้งมีลมแทรกเล็กน้อย | ยาว | สูง | สูง มักเลื่อนตกก่อนการหยุดเปล่งเสียงพูด[7] |
ต่ำลึก | သက်သံ | [aˀ˥˧] | a̰ | เกร็งหรือต่ำลึก บางครั้งมีการบีบที่เส้นเสียง | ปานกลาง | สูง | สูง มักเลื่อนตกเล็กน้อย[7] |
กัก | တိုင်သံ | [ăʔ˥˧] | aʔ | สระค่อนกลาง มีการปิดเส้นเสียง | สั้น | สูง | สูง (ในคำเดี่ยว; อาจแปรไปตามสัทบริบท)[7] |
การถอดเป็นอักษรโรมัน
แก้ภาษาพม่าไม่มีระบบการถอดเป็นอักษรโรมันที่แน่นอน คำหลายคำสะกดต่างจากที่ออกเสียง เช่น คำว่าพระพุทธเจ้า ออกเสียงว่า pha-ya แต่เขียนว่า bu-ya การถอดภาษาพม่าเป็นอักษรโรมันจึงทำได้ยาก แต่พอจะใช้การถอดเป็นอักษรโรมันของภาษาบาลีมาเทียบเคียงได้ หรือบางครั้งอาจใช้ระบบเอ็มแอลซีทีเอส
ไวยากรณ์
แก้การเรียงคำเป็นแบบ ประธาน-กรรม-กริยา ยกเว้นคำว่า ga (เป็น) ซึ่งจะวางต่อจากประธาน คำสรรพนามเปลี่ยนตามเพศและสถานะของผู้ฟัง เป็นภาษาพยางค์เดี่ยว แต่มีรากศัพท์และการเติมคำอุปสรรค การเรียงคำในประโยคไม่มีบุพบท สันธานแต่ใช้การเติมปัจจัย
คำคุณศัพท์
แก้คำคุณศัพท์มาก่อนคำนาม เช่น chuo-dé lu (สวยงาม + dé + คน = คนสวย) หรือตามหลังนาม เช่น lu chuo (คนสวย) การเปรียบเทียบใช้คำอุปสรรค à-คำคุณศัพท์-ปัจจัย zon คำคุณศัพท์บอกจำนวน ตามหลังคำนาม
คำกริยา
แก้รากศัพท์ของคำกริยามักเติมปัจจัยอย่างน้อย 1 ตัว เพื่อบอกกาล ความสุภาพ รูปแบบกริยา เป็นต้น ไม่มีการใช้คำสันธาน รูปกริยาไม่เปลี่ยนตามบุคคล จำนวน หรือเพศของประธาน ตัวอย่างเช่น คำกริยา sá (กิน) เป็น
- sá-dè = กิน ปัจจัย dè ใช้แสดงปัจจุบันกาลหรือใช้เน้นย้ำ
- sá-gè-dè = กินแล้ว ปัจจัย gè/kè แสดงอดีตแต่ไม่จำเป็นต้องใช้เสมอไป ปัจจัย dè ในที่นี้เป็นการเน้นย้ำ
- sá-nei-dè = กำลังกิน nei เป็นอนุภาคแสดงว่าการกระทำนั้นกำลังเกิดขึ้น
- sá-bi = กำลังกินอยู่ ปัจจัย bi นี้ใช้กับการกระทำที่ประธานเริ่มกระทำและยังไม่เสร็จสิ้น
- sá-mè = จะกิน อนุภาค mè นี้ใช้แสดงอนาคตและยังไม่เกิดขึ้น
- sá-daw-mè = จะกิน (ในไม่ช้า) อนุภาค daw ใช้กับเหตุการณ์ที่ใกล้จะเกิดขึ้น
คำนาม
แก้คำนามภาษาพม่าทำให้เป็นพหูพจน์โดยเติมปัจจัย dei (หรือ tei ถ้ามีเสียงตัวสะกด) อาจใช้ปัจจัย myà ที่แปลว่ามากได้ด้วย ตัวอย่างเช่น nwá = วัว nwá- dei = วัวหลายตัว จะไม่ใช้ปัจจัยแสดงพหูพจน์เมื่อมีการแสดงการนับคำนาม เช่น เด็ก 5 คน ใช้ว่า kelei (เด็ก) ngá (5) yauk (คน)
ลักษณนาม
แก้ภาษาพม่ามีลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาจีน ภาษาไทย และภาษามลายู คำลักษณนามที่ใช้ทั่วไปได้แก่
- bá ใช้กับคน (เฉพาะพระสงฆ์และแม่ชี)
- hli ใช้กับสิ่งที่เป็นชิ้น เช่น ขนมปัง
- kaung ใช้กับสัตว์
- ku ใช้กับสิ่งไม่มีชีวิตโดยทั่วไป
- kwet ใช้กับสิ่งที่บรรจุของเหลวเช่น ถ้วย
- lóun ใช้กับวัตถุรุปกลม
- pyá ใช้กับวัตถุแบน
- sin หรือ zín ใช้กับสิ่งที่มีล้อ เช่นรถ
- su ใช้กับกลุ่ม
- ú ใช้กับคน (เป็นทางการ)
- yauk ใช้กับคน (ไม่เป็นทางการ)
คำสรรพนาม
แก้คำสรรพนามที่เป็นรูปประธานใช้ขึ้นต้นประโยค รูปกรรมจะมีปัจจัย –go ต่อท้าย ตัวอย่างคำสรพนาม เช่น
- ฉัน เป็นทางการ ผู้ชายใช้ kyaw-naw ผู้หญิงใช้ kyaw-myaไม่เป็นทางการใช้ nga พูดกับพระสงฆ์ใช้ da-ga หรือ da-be-daw (หมายถึง นักเรียน)
- เธอ ไม่เป็นทางการใช้ nei หรือ min เป็นทางการใช้ a-shin หรือ ka-mya
- เรา ใช้ nga-do
- พวกคุณ ใช้ nei-do
- เขา ใช้ thu
- พวกเขา ใช้ thu-do
- มัน หรือ นั่น ใช้ (ai) ha
คำศัพท์
แก้คำศัพท์ส่วนใหญ่มาจากภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ศัพท์เกี่ยวกับศาสนา การศึกษา ปรัชญา รัฐบาลและศิลปะ ได้มาจากภาษาบาลีเป็นส่วนใหญ่ คำยืมจากภาษาอังกฤษมักเกี่ยวกับธุรกิจหรือการปกครองสมัยใหม่ คำยืมจากภาษาฮินดีมักเกี่ยวกับอาหารและการปรุงอาหาร
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Burmese ที่ Ethnologue (15th ed., 2005)
- ↑ Chang 2003.
- ↑ Sinley 1993, p. 147.
- ↑ Bradley 1993, p. 147.
- ↑ Chang 2003, p. 63.
- ↑ Watkins 2001.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 Wheatley 1987.
อ่านเพิ่ม
แก้- Adas, Michael (2011-04-20). The Burma Delta: Economic Development and Social Change on an Asian Rice Frontier, 1852–1941. Univ of Wisconsin Press. ISBN 9780299283537.
- Allott, Anna J. (1983). "Language policy and language planning in Burma". Pacific Linguistics. Series A. Occasional Papers. Canberra (67): 131–154. ProQuest 1297859465.
- Aung-Thwin, Michael (2005). The Mists of Rāmañña: The Legend that was Lower Burma (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 978-0-8248-2886-8.
- Aung Bala (1981). "Contemporary Burmese literature". Contributions to Asian Studies. 16.
- Aung Zaw (September 2010). "Tell the World the Truth". The Irrawaddy. 18 (9). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-18.
- Barron, Sandy; Okell, John; Yin, Saw Myat; VanBik, Kenneth; Swain, Arthur; Larkin, Emma; Allott, Anna J.; Ewers, Kirsten (2007). Refugees from Burma: Their Backgrounds and Refugee Experiences (PDF) (Report). Center for Applied Linguistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-27. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
- Benedict, Paul K. (Oct–Dec 1948). "Tonal Systems in Southeast Asia". Journal of the American Oriental Society. 68 (4): 184–191. doi:10.2307/595942. ISSN 0003-0279. JSTOR 595942.
- Bradley, David (Spring 1993). "Pronouns in Burmese–Lolo" (PDF). Linguistics of the Tibeto-Burman Area. 16 (1).
- Bradley, David (2006). Ulrich Ammon; Norbert Dittmar; Klaus J. Mattheier; Peter Trudgill (บ.ก.). Sociolinguistics / Soziolinguistik. Vol. 3. Walter de Gruyter. ISBN 978-3-11-018418-1.
- Bradley, David (1996). Atlas of Languages of Intercultural Communication in the Pacific, Asia, and the Americas. Vol. 1. Walter de Gruyter. ISBN 978-3-11-013417-9.
- Bradley, David (1989). "Uncles and Aunts: Burmese Kinship and Gender" (PDF). South-east Asian Linguisitics: Essays in Honour of Eugénie J.A. Henderson: 147–162. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-11. สืบค้นเมื่อ 2013-10-20.
- Bradley, David (2010). "9. Burma, Thailand, Cambodia, Laos and Vietnam" (PDF). ใน Martin J. Ball (บ.ก.). The Routledge Handbook of Sociolinguistics Around the World. Routledge. pp. 98–99. ISBN 978-0-415-42278-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-07-16.
- Bradley, David (1995). "Reflexives in Burmese" (PDF). Papers in Southeast Asian Linguistics No. 13: Studies in Burmese Languages (A-83): 139–172.
- Bradley, David (May 2011). "Changes in Burmese Phonology and Orthography". SEALS Conference. Kasetsart University. สืบค้นเมื่อ 19 October 2013.
- Bradley, David (2012). "The Characteristics of the Burmic Family of Tibeto-Burman". Language and Linguistics. 13 (1): 171–192.
- Bradley, David (2019-10-02). "Language policy and language planning in mainland Southeast Asia: Myanmar and Lisu". Linguistics Vanguard. 5 (1). doi:10.1515/lingvan-2018-0071. S2CID 203848291.
- Chang, Charles Bond (2003). "High-Interest Loans": The Phonology of English Loanword Adaptation in Burmese (วิทยานิพนธ์ B.A.). Harvard University. สืบค้นเมื่อ 2011-05-24.
- Chang, Charles B. (2009). "English loanword adaptation in Burmese" (PDF). Journal of the Southeast Asian Linguistics Society. 1: 77–94.
- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- Herbert, Patricia M.; Milner, Anthony Crothers, บ.ก. (1989). South-East Asia Languages and Literatures: A Select Guide. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-1267-6.
- Hill, Nathan W. (2012). "Evolution of the Burmese Vowel System" (PDF). Transactions of the Philological Society. 110 (1): 64–79. CiteSeerX 10.1.1.694.9405. doi:10.1111/j.1467-968x.2011.01282.x.
- Houtman, Gustaaf (1990). Traditions of Buddhist Practice in Burma. Research Institute for Languages and Cultures of Asia and Africa.
- Jenny, Mathias (2013). "The Mon language: Recipient and donor between Burmese and Thai". Journal of Language and Culture. 31 (2): 5–33. doi:10.5167/uzh-81044. ISSN 0125-6424.
- Jenny, Mathias; San San Hnin Tun (2016). Burmese: A Comprehensive Grammar. London and New York: Routledge. ISBN 9781317309314.
- Jones, Robert (1986). McCoy, John; Light, Timothy (บ.ก.). Pitch register languages. Contributions to Sino-Tibetan Studies. E. J. Brill.
- Khin Min, Maung (1987). "Old Usage Styles of Myanmar Script". Myanmar Unicode & NLP Research Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-23. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
- Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.
- Lieberman, Victor (2018). "Was the Seventeenth Century a Watershed in Burmese History?". ใน Reid, Anthony J. S. (บ.ก.). Southeast Asia in the Early Modern Era: Trade, Power, and Belief. Cornell University Press. ISBN 978-1-5017-3217-1.
- Myanmar–English Dictionary. Myanmar Language Commission. 1993. ISBN 978-1-881265-47-4.
- Nishi, Yoshio (30 October 1998). "The Development of Voicing Rules in Standard Burmese" (PDF). Bulletin of the National Museum of Ethnology. 23 (1): 253–260.
- Nishi, Yoshio (31 March 1998). "The Orthographic Standardization of Burmese: Linguistic and Sociolinguistic Speculations" (PDF). Bulletin of the National Museum of Ethnology. 22: 975–999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 October 2013.
- Okell, John (2002). Burmese By Ear or Essential Myanmar (PDF). London: The School of Oriental and African Studies, University of London. ISBN 978-1-86013-758-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-01.
- Sagart, Laurent; Jacques, Guillaume; Lai, Yunfan; Ryder, Robin; Thouzeau, Valentin; Greenhill, Simon J.; List, Johann-Mattis (2019). "Dated language phylogenies shed light on the history of Sino-Tibetan". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 116 (21): 10317–10322. doi:10.1073/pnas.1817972116. PMC 6534992. PMID 31061123.
- "Origin of Sino-Tibetan language family revealed by new research". ScienceDaily (Press release). May 6, 2019.
- Saini, Jatinderkumar R. (30 June 2016). "First Classified Annotated Bibliography of NLP Tasks in the Burmese Language of Myanmar". Revista InforComp (INFOCOMP Journal of Computer Science). 15 (1): 1–11.
- San San Hnin Tun (2001). Burmese Phrasebook. Vicky Bowman. Lonely Planet. ISBN 978-1-74059-048-8.
- San San Hnin Tun (2006). Discourse Marking in Burmese and English: A Corpus-Based Approach (PDF) (วิทยานิพนธ์). University of Nottingham. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 2013-10-20.
- Taw Sein Ko (1924). Elementary Handbook of the Burmese Language. Rangoon: American Baptist Mission Press.
- Taylor, L. F. (1920). "On the tones of certain languages of Burma". Bulletin of the School of Oriental Studies. 1 (4): 91–106. doi:10.1017/S0041977X00101685. JSTOR 607065. S2CID 179005822.
- Unicode Consortium (April 2012). "11. Southeast Asian Scripts" (PDF). ใน Julie D. Allen; และคณะ (บ.ก.). The Unicode Standard Version 6.1 – Core Specification. Mountain View, CA: The Unicode Consortium. pp. 368–373. ISBN 978-1-936213-02-3.
- Watkins, Justin W. (2001). "Illustrations of the IPA: Burmese" (PDF). Journal of the International Phonetic Association. 31 (2): 291–295. doi:10.1017/S0025100301002122. S2CID 232344700.
- Wheatley, Julian; Tun, San San Hnin (1999). "Languages in contact: The case of English and Burmese". The Journal of Burma Studies. 4.
- Wheatley, Julian (2013). "12. Burmese". ใน Randy J. LaPolla; Graham Thurgood (บ.ก.). Sino-Tibetan Languages. Routledge. ISBN 978-1-135-79717-1.
- Wheatley, Julian K. (1987). "Burmese". ใน B. Comrie (บ.ก.). Handbook of the world's major languages. Oxford: Oxford University Press. pp. 834–54. ISBN 978-0-19-520521-3.
- Yanson, Rudolf A. (2012). Nathan Hill (บ.ก.). Aspiration in the Burmese Phonological System: A Diachronic Account. Medieval Tibeto-Burman Languages IV. BRILL. pp. 17–29. ISBN 978-90-04-23202-0.
- Yanson, Rudolf (1994). Uta Gärtner; Jens Lorenz (บ.ก.). Chapter 3. Language. Tradition and Modernity in Myanmar. LIT Verlag Münster. pp. 366–426. ISBN 978-3-8258-2186-9.
บรรณานุกรม
แก้- Becker, Alton L. (1984). "Biography of a sentence: A Burmese proverb". ใน E. M. Bruner (บ.ก.). Text, play, and story: The construction and reconstruction of self and society. Washington, D.C.: American Ethnological Society. pp. 135–55. ISBN 9780942976052.
- Bernot, Denise (1980). Le prédicat en birman parlé (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: SELAF. ISBN 978-2-85297-072-4.
- Cornyn, William Stewart (1944). Outline of Burmese grammar. Baltimore: Linguistic Society of America.
- Cornyn, William Stewart; D. Haigh Roop (1968). Beginning Burmese. New Haven: Yale University Press.
- Cooper, Lisa; Beau Cooper; Sigrid Lew (2012). "A phonetic description of Burmese obstruents". 45th International Conference on Sino-Tibetan Languages and Linguistics. Nanyang Technological University, Singapore.
- Green, Antony D. (2005). "Word, foot, and syllable structure in Burmese". ใน J. Watkins (บ.ก.). Studies in Burmese linguistics. Canberra: Pacific Linguistics. pp. 1–25. ISBN 978-0-85883-559-7.
- Okell, John (1969). A reference grammar of colloquial Burmese. London: Oxford University Press. ISBN 978-0-7007-1136-9.
- Roop, D. Haigh (1972). An introduction to the Burmese writing system. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-01528-7.
- Taw Sein Ko (1924). Elementary handbook of the Burmese language. Rangoon: American Baptist Mission Press.
- Waxman, Nathan; Aung, Soe Tun (2014). "The Naturalization of Indic Loan-Words into Burmese: Adoption and Lexical Transformation". Journal of Burma Studies. 18 (2): 259–290. doi:10.1353/jbs.2014.0016. S2CID 110774660.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Omniglot: Burmese Language
- Learn Burmese online
- Online Burmese lessons เก็บถาวร 2009-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Burmese language resources เก็บถาวร 2009-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from SOAS
- "E-books for children with narration in Burmese". Unite for Literacy library. สืบค้นเมื่อ 2014-06-21.
- Myanmar Unicode and NLP Research Center เก็บถาวร 2022-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Myanmar 3 font and keyboard
- Burmese online dictionary (Unicode)
- Ayar Myanmar online dictionary
- Myanmar unicode character table
- Download KaNaungConverter_Window_Build200508.zip from the Kanaung project page and Unzip Ka Naung Converter Engine