พระสงฆ์
สงฺฆ เป็นคำภาษาสันสกฤต[1][2][3] ที่ใช้ในภาษาอินเดียหลายภาษา รวมทั้งภาษาบาลี[4] ซึ่งหมายถึง "สมาคม" "การชุมนุม" "บริษัท" หรือ "ชุมชน" ในภาษาเหล่านี้ สงฺฆมักถูกใช้เป็นนามสกุล ในบริบททางการเมือง ในอดีตมีการใช้คำนี้เพื่อแสดงถึงสภาที่ปกครองในสาธารณรัฐหรืออาณาจักร และมีการใช้โดยสมาคมทางศาสนามาช้านาน รวมทั้งพุทธศาสนิกชน เชน และซิกข์ จากประวัติศาสตร์นี้ พุทธศาสนิกชนบางคนกล่าวว่าสาย สงฺฆ แสดงถึงสถาบันประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ของมนุษยชาติ[5]
ในศาสนาพุทธ สงฺฆ หมายถึงหมู่ของ ภิกษุ และ ภิกษุณี หมู่คณะเหล่านี้เรียกตามธรรมเนียมว่า ภิกษุสงฆ์ หรือ ภิกษุณีสงฆ์ อริยบุคคลไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือไม่ก็ตาม เรียกว่า อริยสงฆ์[6][7]
ตามศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและนิจิเร็นโชชู คำว่า สงฺฆ ไม่ได้หมายถึงหมู่สาวก (สาวกฆราวาส) และไม่ได้หมายถึงหมู่พุทธศาสนิกชนโดยรวม[8][9][7]
ความหมาย
แก้สงฆ์ หรือ สงฺฆ ในภาษาบาลีแปลว่า หมู่ เช่นในคำว่าภิกษุสงฆ์ แปลว่า หมู่ภิกษุ ใช้ในความหมายว่า ภิกษุทั้งปวงก็ได้ เช่น"จีวรนี้เป็นของสงฆ์ ควรจะจัดเป็นพิธีสงฆ์ถวาย"
เมื่อใช้ควบกับคำว่า พระ เป็น พระสงฆ์ ซึ่งมีความหมายว่าภิกษุ เช่น "นิมนต์ภิกษุสงฆ์มาฉันในงานเมื่อวาน มีพระสงฆ์มาเป็นจำนวนมาก" ตามพระวินัย ภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปจึงเรียกว่าสงฆ์ เช่นในคำว่า สังฆกรรม (กรรมที่สงฆ์ คือภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปพึงทำรวมกัน)
ประเภทของพระสงฆ์
แก้พระไตรปิฎกภาษาบาลีได้กล่าวถึงถึง พระสงฆ์ ไว้ 2 ประเภท ได้แก่ สาวกสงฆ์ และ ภิกขุสงฆ์[10]
สาวกสงฆ์
แก้สาวกสงฆ์ หรือที่สมัยหลังนิยมเรียกว่า อริยสงฆ์ คือหมู่พระอริยบุคคล ไม่ว่าเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ไม่ว่าเป็นมนุษย์หรือเทวดา ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า โดยการบรรลุมรรคผล อริยบุคคล 4 ประเภท คือ
- พระโสดาบัน
- พระสกทาคามี
- พระอนาคามี
- พระอรหันต์
ภิกขุสงฆ์
แก้ภิกขุสงฆ์ หรือที่สมัยหลังนิยมเรียกว่า สมมุติสงฆ์ คือ หมู่ภิกษุ ที่ได้รับการอุปสมบทตามพระบรมพุทธานุญาต จากพระเถระตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปเรียกว่าสงฆ์ เนื่องจากคำว่าสงฆ์แปลว่าหมู่ จึงเรียกหมู่พระภิกษุว่าภิกษุสงฆ์ และหมู่พระภิกษุณีว่าภิกษุณีสงฆ์ จัดเป็น 4 วรรค ตามตามพระบรมพุทธานุญาตให้ทำสังฆกิจตามพระวินัย คือ จตุวรรค 4 รูป ปญฺจวรรค 5 รูป ทสวรรค 10 รูป วิสติวรรค 20 รูป แต่ถ้าพระภิกษุ 2-3 รูป เรียกว่า คณะ (เนื่องจากแบ่งพวกกันฝ่ายละ 2 รูปมิได้) ถ้าพระภิกษุรูปเดียว จัดเป็นบุคคล
สังฆคุณ
แก้- สุปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติดีงาม
- อุชุปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติตรง ถูกต้อง
- ญายปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติชอบ , เพื่อธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์
- สามีจิปฏิปณฺโณ ผู้ปฏิบัติสมควร , เหมาะสม
- อนุตฺตรํ ปุญฺญเขตฺตํ โลกสฺส เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
- อาหุเนยฺโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา (นำมาถวาย เช่นนำมาใส่บาตรขณะบิณฑบาตร)
- ปาหุเนยฺโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ (จัดไว้รอท่าให้ท่านมารับ เช่น การนิมนต์มาฉันที่บ้าน)
- ทกฺขิเนยฺโย เป็นสงฆ์ควรแก่การรับทักษิณาทาน (การเอ่ยปากขอเองจากท่าน)
- อฺญชลีกรณีโย เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี (การประนมมือ)
อ้างอิง
แก้- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- ↑ "sangha". Lexico UK English Dictionary. Oxford University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2020.
- ↑ "sangha". American Heritage Dictionary of the English Language. Houghton Mifflin Harcourt. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2020. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "sangha". Collins English Dictionary. HarperCollins. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2020. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "Definitions for sangha". Suttacentral. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2020. สืบค้นเมื่อ 4 July 2020.
- ↑ Brahm, Ajahn (December 14, 2017). "Why the Buddhist Sangha is the World's Oldest Democracy". YouTube. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2020. สืบค้นเมื่อ March 27, 2022.
- ↑ "What is the Triple Gem?". www.accesstoinsight.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2016. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.
- ↑ 7.0 7.1 Sangha เก็บถาวร 14 กุมภาพันธ์ 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 2005–2012.
- ↑ Bhikkhu Bodhi (November 2010). "Sangha". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2015. สืบค้นเมื่อ 5 May 2012.
- ↑ Bhikkhu Bodhi. "Sangha – Bhikkhu – Gautama Buddha". Scribd. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2016. สืบค้นเมื่อ 11 September 2017.
- ↑ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), สงฆ์, พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์