สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ศาสตราจารย์พิเศษ[1] สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร ฉายา ปยุตฺโต หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ป. อ. ปยุตฺโต" เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2481 ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 13 ปี เมื่อ ปี พ.ศ. 2494 และเข้ามาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร จนสอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร นับเป็นรูปที่สองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นรูปที่สี่ในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยได้รับการอุปสมบทโดยเป็นนาคหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระอุปัชฌาย์
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) | |
---|---|
![]() | |
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าประคุณ |
ชื่ออื่น | ป. อ. ปยุตฺโต |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 มกราคม พ.ศ. 2481 (85 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | ป.ธ. 9 (นาคหลวง), นักธรรมชั้นเอก, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 1), พ.ม. |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดญาณเวศกวัน นครปฐม |
อุปสมบท | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 |
พรรษา | 61 พรรษา |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน |
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระนักวิชาการนักคิดนักเขียนผลงานทางพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ มีผลงานทางวิชาการพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ผลงานของท่านที่เป็นที่รู้จัก เช่น พุทธธรรม เป็นต้น ท่านได้รับการยกย่องจากทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก ด้วยผลงานของท่านทำให้ท่านได้รับรางวัลและดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบันทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education) [2] นอกจากนี้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ท่านได้รับรวมมีมากกว่า 15 สถาบัน ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ไทยที่ได้รับการยกย่องให้ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มากที่สุดในปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2549 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปัจจุบันสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และจำพรรษาอยู่ที่วัดญาณเวศกวัน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ชาติภูมิแก้ไข
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิมว่า ประยุทธ์ อารยางกูร เกิดวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2481 ณ บ้านใกล้ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) ฝั่งตะวันออก บริเวณตลาดศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 5 จากบุตรเก้าคน[ต้องการอ้างอิง] ของนายสำราญ และนางชุนกี อารยางกูร[3]ทางครอบครัวประกอบกิจการค้าขายผ้าแพร ผ้าไหม ขายของชำ และโรงสีไฟ
เมื่ออายุได้ 6 ขวบเข้าเรียนชั้นอนุบาลในโรงเรียนอนุบาลครูเฉลียวที่ตลาดศรีประจันต์ จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์ จากนั้นบิดาได้พาเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนปทุมคงคา โดยพักอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ เด็กชายประยุทธ์เป็นเด็กเรียนเก่ง จึงได้รับทุนเรียนดีจากกระทรวงศึกษาธิการจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น และมีความใส่ใจในการเรียนมาก ช่วงเวลาปิดเทอมกลับมาอยู่ที่บ้าน ก็สามารถสอนภาษาอังกฤษแก่น้อง ๆ ได้ มีนิสัยรักการอ่านหนังสือ ชอบหนังสือต่างๆโดยเฉพาะสารานุกรม ฝึกเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง
การบรรพชา และอุปสมบทแก้ไข
เนื่องจากเป็นเด็กสุขภาพไม่ใคร่ดีตั้งแต่เล็กจนโต จากคำบอกเล่าของญาติพี่น้องและคนใกล้ชิดกล่าวว่า วัยเยาว์ของท่านจะควบคู่ไปกับการเจ็บป่วยเรื่อยมา เป็นเกือบทุกโรค เป็นต้นว่า หัวใจรั่ว ท้องเสีย ท้องอืด ต้องผ่าตัดถึงสองครั้ง หูเป็นน้ำหนวกอักเสบเข้าไปในกระดูกพรุนถึงโพรงศีรษะ แพ้อากาศ โรคปอด นิ่วในไต หลอดลมอักเสบ กล้ามเนื้อแขนอักเสบ ไวรัสเข้าตา สายเสียงอักเสบ เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองข้างซ้ายเล็กลีบ เป็นต้น จากสุขภาพที่ไม่แข็งแรงเช่นนี้ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียนตามปกติ หลังจากจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทางบ้านจึงสนับสนุนให้ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านกร่าง ตำบลศรีประจันต์ ซึ่งอยู่ใกล้กับบ้าน เพราะเล็งเห็นว่าการอยู่ในเพศบรรพชิตจะเอื้ออำนวยต่อการศึกษาได้มากกว่า เพราะไม่ต้องยุ่งยากเดินทางไปโรงเรียน และยังสามารถศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดได้ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้เริ่มเล่าเรียนทางพระปริยัติธรรม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2496 ก็เดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร มาจำพรรษาที่ วัดพระพิเรนทร์ สอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงรับเป็นนาคหลวง โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาจนกระทั่งได้รับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 จาก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การศึกษาแก้ไข
- สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษาวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
- สอบไล่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักศาสนศึกษาวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง
- พ.ศ. ๒๕๐๕ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จากสถาบันการศึกษามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. ๒๕๐๖ สอบได้ วิชาชุดครู พ.ม
สมณศักดิ์แก้ไข
- พ.ศ. 2512 โปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่ พระศรีวิสุทธิโมลี[4]
- พ.ศ. 2516 โปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวรมุนี ศรีปริยัติบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- พ.ศ. 2530 โปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเวที ศรีวิสาลปาพจนรจิต ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
- พ.ศ. 2536 โปรดพระราชทานสัญญาบัตร ตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปิฎก อดุลญาณนายก ปาพจนดิลกนิวิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
- พ.ศ. 2547 โปรดสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏที่ พระพรหมคุณาภรณ์ สุนทรธรรมสาธก ตรีปิฎกปริยัติโกศล วิมลศีลาจาร ศาสนภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [8]
- พ.ศ. 2559 โปรดสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้น เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลกวรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาสนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฎ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[9]
ตำแหน่งการปกครองแก้ไข
- พ.ศ. 2515 - 2519 เป็น เจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน เป็น เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม
- พ.ศ. 2559 - 2562 เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม (โดยตำแหน่งสมณศักดิ์สมเด็จพระราชาคณะ)
- พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน เป็น ที่ปรึกษามหาเถรสมาคม
เกียรติคุณแก้ไข
ตลอดชีวิตของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ท่านได้ใช้ความรู้พระไตรปิฎกแท้ ๆ เพื่อช่วยปกป้องสังฆมณฑลในประเทศไทยหลายกรณี ไม่ว่า กรณีสันติอโศกหรือกรณีวัดพระธรรมกาย ท่านได้ช่วยชี้แจงให้คนไทยได้รับทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับพระไตรปิฎกภาษาบาลีที่ถูกต้องเอาไว้หลายครั้ง ในขณะเดียวกัน ท่านยังมีบทบาทในการชี้แนะสังคมไทยในด้านการบริหารประเทศหลายครั้ง เช่น ในหนังสือ มองอเมริกาแก้ปัญหาไทย ได้ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของระบบทุนนิยมเสรีในประเทศไทย และยังได้ชี้ให้เห็นว่าสังคมตะวันตก หรืออเมริกา มีแง่มุมที่ไม่ควรเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศไทย ที่จะทำให้เน้นแต่พัฒนาวัตถุ ทำให้นักคิดไทยหลายคนตื่นตัวมาหาหลักพุทธธรรมเป็นแนวในการพัฒนา จนได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และเกียรติคุณต่างๆ ดังนี้
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๕
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๙
- ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาหลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๙
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศึกษาศาสตร์-การสอน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๐
- อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๑
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาภาษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๑
- การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญาการศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๓๓
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ๒๕๓๖
- ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๓๗
- ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) นวนาลันทามหาวิหาร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย พ.ศ. ๒๕๓๘
- อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (จริยศาสตร์ศึกษา) มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๘
- วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๑
- ศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๔
- ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. ๒๕๔๔
- ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาวิชาการบริหารองค์กร มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. ๒๕๔๕
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๕๒
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ๒๕๕๒
- นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. ๒๕๕๒
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พัฒนาทรัพยากรมนุษย์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๓
- ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ พ.ศ. ๒๕๕๔
- ประกาศเกียรติคุณและรางวัล
- พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ในการฉลอง ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์
- พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับรางวัลวรรณกรรมชั้นที่ ๑ ประเภทร้อยแก้ว สำหรับงานนิพนธ์พุทธธรรม จากมูลนิธิ ธนาคารกรุงเทพ
- พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานโล่รางวัล 'มหิดลวรานุสรณ์'
- พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับโล่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อการศึกษา ในวาระครบรอบ ๒๐ ปี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ 'สังข์เงิน' สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา
- พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)
- พ.ศ. ๒๕๓๘ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกาศเชิดชูเกียรติเป็น 'ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม'
- พ.ศ. ๒๕๓๘ สถาบันนวนาลันทา ประเทศอินเดีย ถวายตำแหน่ง "ตรีปิฎอาจารย์" หมายถึงอาจารย์ผู้รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก
- พ.ศ. ๒๕๔๑ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย ถวายรางวัล TTF Award (Toyota Thailand Foundation: Honorary Award)สาขาสังคมศาสตร์และ มานุษยวิทยาสำหรับผลงานทางวิชาการดีเด่น หนังสือ 'การพัฒนาที่ยั่งยืน'
- พ.ศ. ๒๕๔๔ รางวัล 'สาโรช บัวศรี ปราชญ์ผู้ทรงศีล' จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- พ.ศ. ๒๕๔๔ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็น 'ศาสตราจารย์พิเศษ' ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. ๒๕๔๗ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก ถวายตำแหน่ง 'เมธาจารย์' (Most Eminent Scholar) ในฐานะนักปราชญ์ ทางพระพุทธศาสนาสายเถรวาท
- พ.ศ. ๒๕๔๙ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[10]
- พ.ศ. ๒๕๕๒ โล่วัชรเกียรติคุณ จาก คณะกรรมการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม
- พ.ศ. ๒๕๕๒ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย จาก คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
แรงบันดาลใจให้อยู่เป็นพระสืบอายุพระศาสนาแก้ไข
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เคยให้สัมภาษณ์ว่าแรงบันดาลใจที่ทำให้ท่านบวชเป็นสามเณรอยู่เป็นระยะเวลานานจนมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุมาตลอดเป็นเพราะได้อ่านนวนิยายอิงธรรมะของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ทำให้รู้สึกอยากเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกองทัพธรรม เช่น
- ใต้ร่มกาสาวพัสตร์
- กองทัพธรรม
- อาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก
งานการศึกษาแก้ไข
- อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- บรรยายเรื่อง Buddhism and Thai Culture ที่ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
- บรรยายพิเศษด้านพระพุทธศาสนาที่ Swarthmore College มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
- อาคันตุกาจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ผลงานทางวิชาการพุทธศาสนาแก้ไข
- พุทธธรรม
- พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์
- พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม
- สถาบันสงฆ์กับสังคมไทยในปัจจุบัน
- รุ่งอรุณของการศึกษา เบิกฟ้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- จารึกอโศก
- ธรรมนูญชีวิต
- มองอเมริกาแก้ปัญหาไทย
- พระพุทธศาสนากับสังคมไทย
- การพัฒนาที่ยั่งยืน
- นรก- สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
- เมื่อธรรมดามาถึง รู้ให้ทันและทำให้ถูก
- ลักษณะสังคมพุทธ
- กรณีธรรมกาย:บทเรียนเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา และสร้างสรรค์สังคมไทย
- ตื่น กันเสียที จากความเท็จของหนังสือ
"เหตุเกิดพ.ศ. 1" และสืบเนื่องจากภาพยนตร์ เรื่อง กำเนิดพระพุทธเจ้า บทเรียนที่มักถูกลืม
- ศึกษา ฝึกฝน พัฒนาตนให้สูงสุด
- แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
- ทำอย่างไร ? จะพูดได้เต็มปากว่า...
เรารักในหลวง
- ฅนไทยใช่กบเฒ่า เถรวาท VS ลัทธิอาจารย์
- นิติศาสตร์แนวพุทธ
- การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน
- การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์
- กรณีเงื่อนงำ:พระพุทธเจ้าปรินิพานด้วยโรคอะไร
- การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย
- ศิลปศาสตร์แนวพุทธ
- ธุดงค์ ทำอะไร ที่ใหน เพื่ออะไร
- คู่สร้างคู่สม ชีวิตคู่ในอุดมคติ
- คู่มือชีวิต
- วิสัยธรรม เพื่อเบิกนำวิสัยทัศน์
- ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
- หลักสูตรอารยชน (ฉบับ ไทย-อังกฤษ )
- ถ้าเชิดชูพระคุณแม่ขึ้นมาได้ สังคมไทยไม่สิ้นความหวัง
- ทำอย่างไรจะหายโกรษ
- เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
- ร่าเริงสดใสสู่ความเกษมศานต์
- ปัญหาขัดแย้งในโลก แก้ได้ด้วยกฐิน
- กาลานุกรม
- วิถีสู่สันติภาพ
- บทนำสู่พุทธธรรม
- สถาบันสงฆ์กับสังคมปัจจุบัน
- สันติภาพเกิดจากอิสรภาพและความสุข
- ถึงเวลา มารื้อปรับระบบพัฒนาคนกันใหม่
- ความสุขอยู่ที่นี่ มัวไปหากันที่ใหน
- ขอคำตอบจาก ผบ.ทหารสูงสุด
- เกณฑ์วิฉัย ความหมายและคุณค่าของพุทธธรรม
- คนไทยกับเทคโนโลยี
- ข้อคิดชีวิตทวนกระแส
- ก้าวใหม่ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- คติจตุคามรามเทพ
- ของขวัญของชีวิต
- คนไทยกับป่า
- จาริกบุญ จารึกธรรม
- มองธรรมถูกทาง มีสุขทุกที่
- ครองเรือน ครองรัก จักเลิศแท้ด้วยครองธรรม
- ถ้ารู้จักพระพุทธศาสนา ความสุขต้องมาทันที
- รักษาโรคยามป่วยไข้
- เมืองไทยจะวิกฤต ถ้าคนไทยมีศรัทธาวิปริต
- รู้จักพระไตรปิฎก ให้ชัด ให้ตรง
- การเกิดเป็นทุกข์ เกิดดีเป็นสุข
- ตอบเรื่อง สีลัพพตปรามาส วินัย ดูใจ
- หลักชาวพุทธ (ฉบับ ไทย-อังกฤษ )
- ระลึกถึงความตาย และวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องต่อความตาย
- ร่ำรวย ยิ่งใหญ่ เลื่อนลอย หรือเพื่ออะไร?
- ตามทางพุทธกิจ
- วันสำคัญของชาวพุทธไทย
- สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ
- หลักชาวพุทธ: จุดเริ่มจุดร่วมที่มารวมกันรุ่งโรจน์
- สมาธิ:ฐานสู่สุขภาพจิตและสติปัญญาหยั่งรู้
- เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม
- ตอบดร.มาร์ติน พุทธวินัยถึงภิกษุณี
- พรที่สัมฤทธิ์ผลแก่ผู้ดำเนินชีวิตที่ดี
- พัฒนาสังคมไทย ด้วยความรู้เข้าใจไตรภูมิ
- สถานการณ์พระพุทธศาสนา:ทวนกระแสไสยศาสตร์
- ฯลฯ
งานสาธารณสงเคราะห์แก้ไข
- ที่ปรึกษาทางวิชาการ ประจำ มูลนิธิแผ่นดินธรรม ในพระสังฆราชูปถัมภ์
อ้างอิงแก้ไข
- หนังสือชีวประวัติ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) สนพ.ธรรมสภา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ, เล่ม ๑๑๘, ตอน ๘๔ ง, ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔, หน้า ๗
- ↑ รายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ .เว็บไซต์องค์การยูเนสโก
- ↑ "Wat Nyanavesakavan". Wat yanavesakavan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-01. สืบค้นเมื่อ Feb. 12, 2008.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๘๖, ตอน ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ, ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๒, หน้า ๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๐, ตอน ๑๗๗, ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖, หน้า ๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๔, ตอน ๒๕๓, ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐, หน้า ๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๐, ตอน ๒๐๒, ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๑, ตอน ๑๗ ข, ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์,เล่ม 133, ตอนที่ 42 ข, 5 ธันวาคม 2559, หน้า 1
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พระพรหมคุณาภรณ์ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ศาสตราจารย์ คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส)
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
ก่อนหน้า | สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) | สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในสมณศักดิ์ |