จังหวัดสุพรรณบุรี

จังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย

14°30′49.69″N 100°07′50″E / 14.5138028°N 100.13056°E / 14.5138028; 100.13056

จังหวัดสุพรรณบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Suphan Buri
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ
เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม
สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน
ภาษาถิ่นชวนฟัง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสุพรรณบุรีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสุพรรณบุรีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสุพรรณบุรีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ พิริยะ ฉันทดิลก
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด5,358.008 ตร.กม. (2,068.738 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 39
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด826,391 คน
 • อันดับอันดับที่ 28
 • ความหนาแน่น154.23 คน/ตร.กม. (399.5 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 24
รหัส ISO 3166TH-72
ชื่อไทยอื่น ๆสุพรรณ / พันธุมบุรี / ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ / สองพันบุรี
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้มะเกลือ
 • ดอกไม้สุพรรณิการ์
 • สัตว์น้ำปลาม้า
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000
 • โทรศัพท์0 3540 8700, 0 3553 5376
เว็บไซต์http://www.suphanburi.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี

ประวัติศาสตร์

แก้

สุพรรณบุรีเป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทางโบราณคดีมีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500-3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสำริด ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี และศรีวิชัย สุพรรณบุรีเดิมมีชื่อว่า ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ พันธุมบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง

ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า สองพันบุรี[ต้องการอ้างอิง]

ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกว่า อู่ทอง จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว เมืองนี้จึงเรียกว่าชื่อว่า สุพรรณบุรี นับแต่นั้นมา[ต้องการอ้างอิง]

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง สภาพเมืองตลอดจนโบราณสถานถูกทำลายเหลือเพียงซากปรักหักพัง จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองสุพรรณบุรีได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่ และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน (ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้

ความสำคัญของสุพรรณบุรีในด้านประวัติศาสตร์การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ชัยชนะแห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอนเจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ

ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดีไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิ บ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์

สุพรรณบุรี ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ราบภาคกลางสืบสานความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตเมื่อ พ.ศ. 1420 จากนามเดิมเมืองพันธุมบุรีในยุคทวารวดีตามหลักฐานทางโบราณคดีได้จารึกชื่อไว้ในพงศาวดารเหนือ และนาม "สุพรรณภูมิ" ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุว่าเป็นนครรัฐที่มีความสำคัญมาก่อนกรุงศรีอยุธยา เมื่อมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมืองสุพรรณบุรีจึงจัดอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญอีกด้วย

ภูมิศาสตร์

แก้
แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ
จังหวัดสุพรรณบุรี (วิธีอ่าน)
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
 
 
6.7
 
32
19
 
 
8.9
 
34
22
 
 
18
 
36
24
 
 
65.1
 
37
25
 
 
143.4
 
35
25
 
 
101.4
 
34
25
 
 
113.9
 
34
25
 
 
136.1
 
33
25
 
 
275.5
 
32
25
 
 
192.8
 
32
24
 
 
39.8
 
31
22
 
 
11.2
 
30
19
อุณหภูมิ วัดเป็นองศาเซลเซียส
ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นมิลลิเมตร
ที่มา: [1]

ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของสุพรรณบุรีเป็นที่ราบต่ำติดชายฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี มีทิวเขาขนาดเล็กอยู่ทางเหนือและทางตะวันตกและทิศเหนือ มีอุทยานแห่งชาติพุเตย แหล่งนํ้าสำคัญคือเขื่อนกระเสียว ด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) ใช้เป็นพื้นที่ปลูกข้าว

ข้อมูลภูมิอากาศของสุพรรณบุรี
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.7
(89.1)
33.9
(93)
35.7
(96.3)
36.9
(98.4)
35.4
(95.7)
34.2
(93.6)
33.6
(92.5)
33.3
(91.9)
32.3
(90.1)
31.5
(88.7)
30.6
(87.1)
30.3
(86.5)
33.28
(91.91)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 19.2
(66.6)
21.7
(71.1)
23.5
(74.3)
25.1
(77.2)
25.3
(77.5)
25.0
(77)
24.6
(76.3)
24.6
(76.3)
24.6
(76.3)
24.4
(75.9)
22.4
(72.3)
19.4
(66.9)
23.32
(73.97)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 6.7
(0.264)
8.9
(0.35)
18.0
(0.709)
65.1
(2.563)
143.4
(5.646)
101.4
(3.992)
113.9
(4.484)
136.1
(5.358)
275.5
(10.846)
192.8
(7.591)
39.8
(1.567)
11.2
(0.441)
1,112.8
(43.811)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 1 1 2 5 12 13 15 16 19 13 4 1 102
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา

การเมืองการปกครอง

แก้

หน่วยการปกครอง

แก้

การปกครองแบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 110 ตำบล 977 หมู่บ้าน โดยทั้ง 10 อำเภอมีดังนี้

 
แผนที่อำเภอในจังหวัดสุพรรณบุรี
ชั้น หมายเลข อำเภอ ประชากร
(พ.ศ. 2560)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
รหัสไปรษณีย์ ระยะทางจากตัวเมือง
1 1 อำเภอเมืองสุพรรณบุรี 168,178 540.9 310.92 72000 -
1 2 อำเภอเดิมบางนางบวช 72,542 552.3 131.34 72120 51
2 3 อำเภอด่านช้าง 68,415 1,193.6 57.31 72180 74
2 4 อำเภอบางปลาม้า 77,966 481.3 161.99 72150 15
2 5 อำเภอศรีประจันต์ 62,895 181.0 347.48 72140 19
2 6 อำเภอดอนเจดีย์ 46,230 252.081 183.39 72170 33
1 7 อำเภอสองพี่น้อง 128,464 750.4 171.19 72110, 72190 38
2 8 อำเภอสามชุก 54,441 355.9 152.96 72130 36
1 9 อำเภออู่ทอง 123,510 630.29 195.95 72160, 72220 34
3 10 อำเภอหนองหญ้าไซ 49,362 420.2 117.47 72240 54
รวม 852,003 5,358.008 159.01


จังหวัดสุพรรณบุรีมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 127 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี, เทศบาลเมือง 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี และเทศบาลเมืองสองพี่น้อง, เทศบาลตำบล 44 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 80 แห่ง[3]

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด

แก้

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

การขนส่ง

แก้
ถนนที่สำคัญในสุพรรณบุรี

สำหรับถนนในหมายเลขที่ 1-10 เป็นถนนที่ใช้ชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน นิทานพื้นบ้านของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่

  1. ถนนพระพันวษา
  2. ถนนขุนไกร
  3. ถนนม้าสีหมอก และ ถนนหมื่นหาญ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3431)
  4. ถนนเณรแก้ว
  5. ถนนขุนแผน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3017)
  6. ถนนนางพิม
  7. ถนนขุนช้าง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3318)
  8. ถนนหลวงทรงพล
  9. ถนนพลายชุมพล
  10. ถนนขุนไกร

ส่วนถนนต่อไปนี้ เป็นถนนที่ตั้งชื่อขึ้นมาใหม่

  1. ถนนบางบัวทอง-ชัยนาท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340)
  2. ถนนมาลัยแมน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321)
  3. ถนนประชาธิปไตย
  4. ถนนวงแหวนรอบเมืองสุพรรณบุรี
สะพานที่สำคัญ
  • สะพานอาชาสีหมอก ๑
  • สะพานอาชาสีหมอก ๒
  • สะพานอาชาสีหมอก ๓
  • สะพานวัดพระรูป

ทางรถไฟ

จังหวัดสุพรรณบุรีนั้นมีทางรถไฟผ่านโดยเป็นทางรถไฟที่แยกมาจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี โดยเปิดเดินรถเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ปัจจุบันมีที่หยุดรถ/ป้ายหยุดรถ/สถานีในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีดังนี้

1.ที่หยุดรถหนองวัลย์เปรียง

2.ที่หยุดรถศรีสำราญ

3.ที่หยุดรถดอนสงวน

4.ป้ายหยุดรถดอนทอง

5.ที่หยุดรถหนองผักชี

6.ที่หยุดรถบ้านมะขามล้ม

7.ที่หยุดรถสะแกย่างหมู

8.สถานีสุพรรณบุรี

9.ที่หยุดรถมาลัยแมน

โดยในปัจจุบันนั้นมีรถไฟให้บริการ 2 ขบวน คือขบวนรถชานเมืองที่ 355/356 โดยขบวน 355 ปลายทางสุพรรณบุรีวันอาทิตย์ ขบวน 356 ต้นทางสุพรรณบุรีวันจันทร์ ส่วนวันอื่นๆนั้นขบวนรถจะสิ้นสุดปลายทางแค่ชุมทางหนองปลาดุก

การศึกษา

แก้
โรงเรียน
ระดับอุดมศึกษา
ระดับอาชีวศึกษา

สาธารณสุข

แก้

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้

นักร้อง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 6 มีนาคม 2565.
  3. ข้อมูลจำนวน อปท. แยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้