ตราประจำจังหวัดของไทย

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

ตราประจำจังหวัดของไทย มีพัฒนาการมาจากตราประจำตำแหน่งของเจ้าเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และตราประจำธงประจำกองลูกเสือ 14 มณฑล ในสมัยรัชกาลที่ 6 - 7 ในสมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น รัฐบาลได้กำหนดให้แต่ละจังหวัดมีตราประจำจังหวัดของตนเองใช้เมื่อ พ.ศ. 2483 โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบตราตามแนวคิดที่แต่ละจังหวัดกำหนดไว้ ปัจจุบัน เมื่อมีการตั้งจังหวัดขึ้นใหม่ ก็จะมีการออกแบบตราประจำจังหวัดด้วยเสมอ แต่ตราของบางจังหวัดที่ใช้อยู่นั้นบางตราก็ไม่ใช่ตราที่กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ บางจังหวัดก็เปลี่ยนไปใช้ตราประจำจังหวัดเป็นแบบอื่นเสียก็มี บางที่ลักษณะของตราก็เพี้ยนไปจากลักษณะที่กรมศิลปากรออกแบบไว้ แต่ยังคงลักษณะหลัก ๆ ของตราเดิมไว้อยู่บ้างก็มี

ตราประจำจังหวัด

แก้

ภาคเหนือ

แก้
จังหวัด ภาพตรา ระยะเวลาการใช้ คำอธิบาย ตราอื่น หมายเหตุ
จังหวัดเชียงราย   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปช้างสีขาวกับเมฆ ลายที่ขอบตรามีรูปนาคเกี้ยว   ตราประจำจังหวัดรูปนี้จะเป็นตราแบบขาวดำ
จังหวัดเชียงใหม่   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปช้างเผือกยืนอยู่ในเรือนแก้ว ตรานี้เป็นตราเดิมในธงประจำกองลูกเสือมณฑลพายัพ
จังหวัดน่าน   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระธาตุแช่แห้งบนหลังโคอุสุภราช
จังหวัดพะเยา   พ.ศ. 2520 - ปัจจุบัน รูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ ประทับเหนือกว๊านพะเยา มีช่อรวงข้าวประดับอยู่สองข้าง เบื้องบนมีลายกนกเปลว 7 ลายลอยอยู่
จังหวัดแพร่   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระธาตุช่อแฮบนหลังม้าแก้วมหาพลอัศวราช  
จังหวัดแม่ฮ่องสอน   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปช้างเล่นน้ำ
จังหวัดลำปาง   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปไก่ ยืนอยู่ในประตูมณฑปวัดพระธาตุลำปางหลวง
จังหวัดลำพูน   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระบรมธาตุหริภุญไชย
จังหวัดอุตรดิตถ์   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปมณฑปประดิษฐานพระแท่นศิลาอาสน์ มีลวดลายกนกประกอบ  

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แก้
จังหวัด ภาพตรา ระยเวลาการใช้ คำอธิบาย ตราอื่น หมายเหตุ
จังหวัดกาฬสินธุ์   พ.ศ. 2490 - ปัจจุบัน รูปติณชาติ (หญ้า) กาฬสินธุ์ (บึงน้ำสีดำ) ภูเขา และเมฆ
จังหวัดขอนแก่น   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระเจดีย์ก่อไว้บนตอไม้ หมายถึง พระธาตุขามแก่น
จังหวัดชัยภูมิ   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปธงสามชายอันเป็นธงชัยประจำกองทัพสมัยโบราณ
จังหวัดนครพนม   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระธาตุพนม
จังหวัดนครราชสีมา   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหน้าประตูชุมพล
จังหวัดบึงกาฬ   พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน รูปภูทอก บึงโขงหลง และต้นไม้[1]
จังหวัดบุรีรัมย์   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปเทพยดาฟ้อนรำหน้าปราสาทหินพนมรุ้ง
จังหวัดมหาสารคาม   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปทุ่งนาและต้นรัง มาจากชื่อเมืองมหาสาลคาม (หมายถึงหมู่บ้านต้นรังใหญ่) ซึ่งสะกดเพี้ยนมาเป็นมหาสารคามในปัจจุบัน
จังหวัดมุกดาหาร   พ.ศ. 2525 - ปัจจุบัน รูปปราสาทสองนางสถิต ประดิษฐานแก้วมุกดาหาร   ตรานี้กรมศิลปากรไม่ได้เป็นผู้ออกแบบ
จังหวัดยโสธร   พ.ศ. 2515 - ปัจจุบัน รูปพระธาตุอานนท์ พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองในวัดมหาธาตุ มีสิงห์ขนาบสองข้าง มาจากชื่อที่ตั้งเมืองเมื่อแรกสร้างคือบ้านสิงห์ท่า รูปดอกบัวบานหมายถึงจังหวัดยโสธรแยกมาจากจังหวัดอุบลราชธานี รัศมีบนยอดแปดแฉกหมายถึงอำเภอทั้งแปดของจังหวัด  
จังหวัดร้อยเอ็ด   พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน รูปศาลหลักเมืองบนเกาะกลางบึงพลาญชัย เบื้องหลังเป็นรูปพระมหาเจดีย์ชัยมงคล โดยมีกรอบวงกลมเป็นรูปรวงข้าวล้อมรอบ เดิมตราจังหวัดร้อยเอ็ดมีเพียงรูปศาลหลักเมืองบนเกาะกลางบึงพลาญชัยเท่านั้น ส่วนปีที่ใช้ตราปัจจุบันอ้างตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งออกแบบโดยนายรังสรรค์ ต้นทัพไทย
จังหวัดเลย   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระธาตุศรีสองรัก เบื้องหลังเป็นทิวเขา
จังหวัดศรีสะเกษ   พ.ศ. 2512 - ปัจจุบัน รูปปรางค์กู่ มีดอกลำดวน 6 กลีบรองรับอยู่เบื้องล่าง   ตราปราสาทพระวิหาร ตราประจำจังหวัดศรีสะเกษระหว่าง พ.ศ. 2483 - 2512 ต่อมาได้เปลี่ยนตราใหม่ เพราะไทยเสียปราสาทเขาพระวิหารให้กัมพูชาตามคำตัดสินของศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 การจะใช้ตราเดิมต่อไปจึงเป็นการไม่สมควร
จังหวัดสกลนคร   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระธาตุเชิงชุม หน้าหนองหานหลวงและดอนสวรรค์
จังหวัดสุรินทร์   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระอินทร์ประทับบนแท่นศีรษะช้างเอราวัณ หน้าปราสาทหินศีขรภูมิ เดิมเรียกปราสาทหินศีขรภูมิว่าปราสาทหินบ้านระแงง
จังหวัดหนองคาย   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปกอไผ่ริมหนองน้ำ
จังหวัดหนองบัวลำภู   พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน รูปพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับยืนหน้าศาล เบื้องหลังเป็นหนองบัวลำภู   ในระยะแรก ตราที่ทางจังหวัดออกแบบเองมีเฉพาะรูปศาลสมเด็จพระนเรศวรในวงกลมเท่านั้น
จังหวัดอุดรธานี   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร เทพเจ้าประจำทิศเหนือ ตรานี้เป็นตราเดิมในธงประจำกองลูกเสือมณฑลอุดร
จังหวัดอุบลราชธานี   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปดอกบัวบานชูช่อพ้นน้ำ
จังหวัดอำนาจเจริญ   พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน รูปพระมงคลมิ่งเมือง พระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัด ก่อนหน้านี้ทางจังหวัดใช้ตราอีกแบบหนึ่ง แต่มีลักษณะคล้ายตราในปัจจุบัน

ภาคกลาง

แก้
เขตการปกครอง/จังหวัด ภาพตรา ระยะเวลาการใช้ คำอธิบาย ตราอื่น หมายเหตุ
กรุงเทพมหานคร   พ.ศ. 2516 - ปัจจุบัน รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ซ้ายทรงขอช้าง พระหัตถ์ขวาทรงวชิราวุธ ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายของพระอินทร์ ตรานี้กรมศิลปากรออกแบบโดยอาศัยภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นต้นแบบ เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 ฉบับที่ 60 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (สมัยเมื่อยังเป็นจังหวัดพระนครนั้นใช้ตราพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นตราประจำจังหวัด)[2] ตรานี้เคยใช้เป็นตราเทศบาลนครหลวงกรุงเทพธนบุรี โดยข้อความที่อยู่เหนือรูปพระอินทร์ทรงช้างนั้นเป็นคำว่า "เทศบาลนครหลวง"
จังหวัดกำแพงเพชร   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปกำแพงเมืองมีใบเสมาประดับเพชร
จังหวัดชัยนาท   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปธรรมจักรหน้าภูเขา ซึ่งหมายเอาได้ทั้งเขาสรรพยาและเขาธรรมามูล แบบที่จังหวัดใช้ในปัจจุบัน เพิ่มตราครุฑไว้ที่ส่วนล่างของตราด้วย
จังหวัดนครนายก   พ.ศ. 2483 - 2545

( ตราแบบมีองค์ประกอบที่อยู่เบื้องหลังรูปช้างชูรวงข้าว )

พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน ( แบบปัจจุบัน )

รูปช้างชูรวงข้าว เบื้องหลังเป็นลอมฟาง ใน พ.ศ. 2545 ตราของจังหวัดที่ประกาศอยู่ในราชกิจจานุเบกษาได้เพิ่มแถบชื่อจังหวัดและลายขอบตรา โดยตัดองค์ประกอบที่อยู่เบื้องหลังรูปช้างชูรวงข้าวออกทั้งหมด
จังหวัดนครปฐม   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระปฐมเจดีย์ ประดับด้วยเครื่องหมายเลข 4 ไทยในพระมหาพิชัยมงกุฎ ตรานี้เป็นตราเดิมในธงประจำกองลูกเสือมณฑลนครชัยศรี
จังหวัดนครสวรรค์   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปวิมาน 3 ยอด ตรานี้ดัดแปลงจากตราในธงประจำกองลูกเสือ มณฑลนครสวรรค์
จังหวัดนนทบุรี   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปหม้อน้ำดินเผาลายวิจิตร หมายถึง ชาวจังหวัดนนทบุรีมีอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีชื่อเสียงมาช้านาน
จังหวัดปทุมธานี   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปบัวหลวงและช่อรวงข้าวชูช่อเหนือน้ำ ตราที่จังหวัดใช้ในปัจจุบันเขียนขึ้นใหม่ โดยเพิ่มแถบชื่อจังหวัดไว้ที่ส่วนล่างของตรา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปสังข์ทักษิณาวัตร ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้าในปราสาทใต้ต้นหมัน ตรานี้เป็นตราเดิมในธงประจำกองลูกเสือมณฑลอยุธยา
จังหวัดพิจิตร   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปต้นโพธิ์ริมสระหลวง
จังหวัดพิษณุโลก   พ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน รูปพระพุทธชินราช พระคู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลก   เดิมกรมศิลปากรออกแบบให้ใช้ตราพระเจดีย์จุฬามณีอยู่เหนือลูกโลก 3 ลูก โดยหมายเอานามเมืองพิษณุโลกเป็นหลักในการผูกตรา
จังหวัดเพชรบูรณ์   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปเพชรกับภูเขาและไร่ยาสูบ
จังหวัดลพบุรี   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระนารายณ์สี่กร ประทับยืนหน้าพระปรางค์สามยอด
จังหวัดสมุทรปราการ   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระสมุทรเจดีย์
จังหวัดสมุทรสงคราม   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปกลองลอยน้ำ
จังหวัดสมุทรสาคร   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปสำเภาจีนในแม่น้ำท่าจีน
จังหวัดสระบุรี   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปมณฑปพระพุทธบาทสระบุรี   ตรานี้เขียนขึ้นจากภาพถ่ายจริงของมณฑปพระพุทธบาทสระบุรี
จังหวัดสิงห์บุรี   พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน รูปอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันในวงกลม ขอบวงกลมเป็นแถบสีธงชาติ[3]  
  เดิมทางจังหวัดใช้ตรารูปค่ายบางระจัน
 
วาดจากตราบนผ้าผูกคอลูกเสือเนตรนารี จังหวัดสิงห์บุรี
จังหวัดสุโขทัย   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับบนพระแท่นมนังคศิลาอาสน์  
จังหวัดสุพรรณบุรี   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปการทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชมังกะยอชวาที่ตำบลหนองสาหร่าย เมื่อ พ.ศ. 2135
จังหวัดอ่างทอง   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปรวงข้าวในอ่างน้ำสีทอง
จังหวัดอุทัยธานี   พ.ศ. 2520 - ปัจจุบัน รูปศาลสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เบื้องหลังคือเขาสะแกกรัง เดิมจังหวัดใช้ตราเขาสะแกกรังและพระอาทิตย์อุทัย

ภาคตะวันออก

แก้
จังหวัด ภาพตรา ระยะเวลาการใช้ คำอธิบาย ตราอื่น หมายเหตุ
จังหวัดจันทบุรี   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปกระต่ายในดวงจันทร์ ตรานี้เป็นตราเดิมในธงประจำกองลูกเสือมณฑลจันทบุรี
จังหวัดฉะเชิงเทรา   พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน รูปพระอุโบสถหลังใหม่วัดโสธรวรารามวรวิหาร   ตราเดิมเป็นรูปพระอุโบสถหลังเก่าของวัดโสธรวรารามวรวิหาร
จังหวัดชลบุรี   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปเขาสามมุก ริมทะเลอ่าวไทย
จังหวัดตราด   พ.ศ. 2529 - ปัจจุบัน รูปโป๊ะ เรือใบ และเกาะช้าง เดิมจังหวัดใช้ตรารูปเรือรบหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์ในยุทธนาวีเกาะช้าง
จังหวัดปราจีนบุรี   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปต้นพระศรีมหาโพธิ์
จังหวัดระยอง   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่ 5 บนเกาะเสม็ด
จังหวัดสระแก้ว   พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน รูปพระพุทธรูปปางสรงสรีระ ประทับยืนบนดอกบัว ด้านหลังเป็นภาพพระอาทิตย์ยามรุ่ง ตอนกลางเป็นภาพปราสาทเขาน้อยสีชมพู   ตรานี้กรมศิลปากรไม่ได้เป็นผู้ออกแบบ

ภาคตะวันตก

แก้
จังหวัด ภาพตรา ระยะเวลาการใช้ คำอธิบาย หมายเหตุ
จังหวัดกาญจนบุรี   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปด่านพระเจดีย์สามองค์ แบบที่จังหวัดใช้อยู่ในปัจจุบันมีการเพิ่มชื่อจังหวัดทั้งอักษรไทยและอักษรโรมันไว้ที่ขอบภาพด้วย
จังหวัดตาก   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงหลั่งทักษิโณทกเหนือคอช้าง
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ และมีภาพเกาะหลักอยู่เบื้องหลัง
จังหวัดเพชรบุรี   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปทุ่งนา ต้นตาลโตนด และพระนครคีรีหรือเขาวัง
จังหวัดราชบุรี   9 มิถุนายน พ.ศ. 2509 - ปัจจุบัน รูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์ 2 ชนิด คือ ฉลองพระบาทเชิงงอนและพระแสงขรรค์ชัยศรี รูปฉลองพระบาทมีที่มาจากตราในธงประจำกองลูกเสือมณฑลราชบุรี (ก่อนหน้านี้ทางจังหวัดใช้ตรารูปเขางู มีงูล้อมรอบ)

ภาคใต้

แก้
จังหวัด ภาพตรา ระยะเวลาการใช้ คำอธิบาย ตราอื่น หมายเหตุ
จังหวัดกระบี่   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปกระบี่ไขว้ เบื้องหลังเป็นรูปภูเขาและทะเล
จังหวัดชุมพร   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปเทวสตรียืนประทานพรหน้าค่าย มีต้นมะเดื่อขนาบอยู่ 2 ข้าง
จังหวัดตรัง   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปกระโจมไฟ ท่าเรือ และลูกคลื่นในท้องทะเล
จังหวัดนครศรีธรรมราช   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช มีตรา 12 นักษัตรล้อมรอบ. ทั้ง 12 นักษัตรเป็นตัวแทนของ 12 เมืองนักษัตรหรือนครรัฐซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรนครศรีธรรมราช
จังหวัดนราธิวาส   พ.ศ. 2520 - ปัจจุบัน รูปเรือกอและกางใบแล่นรับลมเต็มที่ ภายในใบเรือเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องคชาภรณ์ รูปช้างนั้นหมายถึงพระศรีนรารัฐราชกิริณีฯ ช้างสำคัญซึ่งจังหวัดนราธิวาสได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อ พ.ศ. 2520   จังหวัดนราธิวาสได้เปลี่ยนแปลงตรามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ตรารูปใบเรือขึงอยู่บนพื้น ภายในมีภาพกริชคดและพญานาคอยู่ เบื้องหลังเป็นรูปอาทิตย์อุทัย ต่อมาเปลี่ยนเป็นรูปคนงานกรีดยางพารา
จังหวัดปัตตานี   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปปืนใหญ่ศรีปัตตานีหรือนางพญาตานี
จังหวัดพังงา   พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน รูปเรือขุดเหมือง เขารูปช้าง และเกาะตาปู ภาพตรานี้เป็นตราที่ได้ประกาศรับรองให้ใช้เป็นตราราชการตามประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อ พ.ศ. 2545 แต่จะมีการปรับปรุงแบบจากตราเดิม (ซึ่งไม่มีรูปเกาะตาปู)
จังหวัดพัทลุง   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปเขาอกทะลุ
จังหวัดภูเก็ต   พ.ศ. 2528 - ปัจจุบัน รูปอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร วาดจากของจริง ตราเดิมที่กรมศิลปากรออกแบบไว้เป็นรูปสองวีรสตรี คือ ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทรยืนถือดาบ เบื้องหลังเป็นภาพเกาะถลาง
จังหวัดยะลา   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปคนงานทำเหมืองดีบุก
จังหวัดระนอง   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปปราสาทตั้งอยู่บนภูเขา มีรูปเลข 5 ไทย ประดิษฐานอยู่บนพานแว่นฟ้า
จังหวัดสงขลา   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปขอนสังข์วางอยู่บนพานแว่นฟ้า ตรานี้เป็นตราเดิมในธงประจำกองลูกเสือมณฑลนครศรีธรรมราช ที่มาของตราประจำจังหวัดนี้ว่า เดิมเคยเป็นตรากระดุมเสื้อฉลองพระองค์ ของกรมหลวงสงขลานครินทร์

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ต่อมากรมศิลปากร ออกแบบตราสังข์ ใช้เป็นเครื่องหมายตราจังหวัดสงขลา

จังหวัดสตูล   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระสมุทรเทวาประทับนั่งบนแท่นหิน เบื้องหลังเป็นพระอาทิตย์อัสดง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี   พ.ศ. 2483 - ปัจจุบัน รูปพระบรมธาตุไชยา

ตราประจำจังหวัดในอดีต

แก้
จังหวัด ภาพตรา ระยะเวลาการใช้ คำอธิบาย หมายเหตุ
จังหวัดธนบุรี   พ.ศ. 2483-2514 รูปพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
จังหวัดพระนคร   พ.ศ. 2483-2514 รูปพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ไม่มีภาพ พ.ศ. 2484-2489 รูปปราสาทวัดภู ในหนังสือ "ตราประจำจังหวัด" ซึ่งกรมศิลปากรจัดพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2542
มิได้ตีพิมพ์ภาพตราดังกล่าวประกอบไว้ มีเพียงข้อความบรรยายลักษณะตราเท่านั้น
จังหวัดพระตะบอง   พ.ศ. 2484-2489 รูปพระยาโคตรบองเงื้อกระบองทำท่าจะขว้าง
จังหวัดพิบูลสงคราม   พ.ศ. 2484-2489 รูปอนุสาวรีย์ไก่กางปีก
จังหวัดลานช้าง   พ.ศ. 2484-2489 รูปโขลงช้างยืนอยู่กลางลานกว้าง

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "เว็บไซต์สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-03. สืบค้นเมื่อ 2011-11-09.
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ ๖๐)
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-13. สืบค้นเมื่อ 2007-03-19.

บรรณานุกรม

แก้