จังหวัดตรัง
ตรัง เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ตรังหรือเมืองทับเที่ยงเป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้
จังหวัดตรัง | |
---|---|
คำขวัญ: ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี | |
อักษรไทย | ตรัง |
อักษรโรมัน | Trang |
ชื่อไทยอื่น ๆ | เมืองทับเที่ยง |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2563) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 4,917.519 ตร.กม. (1,898.665 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 43 |
ประชากร (พ.ศ. 2562)[2] | |
• ทั้งหมด | 643,164 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 39 |
• ความหนาแน่น | 130.79 คน/ตร.กม. (338.7 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 34 |
รหัสไอเอสโอ 3166 | TH-92 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia |
• ดอกไม้ | ศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia |
• สัตว์น้ำ | พะยูน |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง 92000 |
• โทรศัพท์ | 0 7521 8516 |
• โทรสาร | 0 7521 8516 |
เว็บไซต์ | http://www.trang.go.th |
![]() |
ประวัติแก้ไข
จังหวัดตรังในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรังเป็นจังหวัดแรกที่มีต้นยางพารามาปลูก โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) นำพันธุ์ยางพารามาจากมาเลเซีย และในตรังยังมีต้นยางพาราต้นแรกอีกด้วย
จังหวัดตรังเป็นจังหวัดหัวเมืองอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ติดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ชายฝั่งทะเลตะวันตก จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีที่ปรากฏในจังหวัดตรังมีอยู่ทั่วไป เช่น โครงกระดูกมนุษย์โบราณที่ถ้ำซาไก อำเภอปะเหลียน ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด เศษภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้ว เครื่องประดับ ตามถ้ำต่าง ๆ เช่น เขาสามบาตร ถ้ำเขาไม้แก้ว ถ้ำเขาเทียมป่า ภาพเขียนสีที่เขาแบนะ ถ้ำตรา ล้วนเป็นหลักฐานบอกความเป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์จนถึงแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ต่อมาจึงมีหลักฐานที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับอาณาจักรโบราณทางภาคใต้ในลักษณะที่เป็นเมืองท่าทางผ่าน และมีพัฒนาการมาตามลำดับ
ทำเนียบเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดแก้ไข
ลำดับ | พระนาม/นาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1. | พระยาดำรงสุจริต (คอซิมกอง ณ ระนอง) | พ.ศ. 2427 - 2433 |
2. | พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) | พ.ศ. 2433 - 2445 |
3. | พระยารณชัยชาญยุทธ์ (ถนอม บุญยเกตุ) | พ.ศ. 2445 - 2448 |
4. | พระสกลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณ ระนอง) | พ.ศ. 2448 - 2454 |
5. | พระยาอุตรกิจพิจารณ์ (สุด) | พ.ศ. 2455 - 2456 |
6. | พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เข็ม วสันตสิงห์) | พ.ศ. 2456 - 2457 |
7. | พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) | พ.ศ. 2457 - 2461 |
8. | พระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) | พ.ศ. 2461 - 2466 |
9. | พระยาสุรพลพิพิธ (เป้า สุมนดิษฐ์) | พ.ศ. 2466 - 2468 |
10. | พระยาอาณาจักรบริบาล (สมบุญ สวรรคทัต) | พ.ศ. 2468 - 2476 |
11. | พระสาครบุราณุรักษ์ (ปลิก สุวรรณานนท์) | พ.ศ. 2476 - 2476 |
12. | พระนรากรบริรักษ์ (เจิม บินฑรุจิ) | พ.ศ. 2476 - 2478 |
13. | พระบริรักษ์ภูธร (เพิ่ม กนิษฐายน) | พ.ศ. 2478 - 2481 |
14. | หลวงวุฒิราษฎร์รักษา (วุฒิ ศรสงคราม) | พ.ศ. 2481 - 2484 |
15. | หลวงอรรถวิภาคไพศาลย์ (กระจ่าง สินธุรงค์) | พ.ศ. 2484 - 2488 |
16. | นายศักดิ์ ไทยวัฒน์ | พ.ศ. 2488 - 2489 |
17. | นายอุดม บุญยประสพ | พ.ศ. 2489 - 2492 |
18. | นายผาด นาคพิน | พ.ศ. 2492 - 2497 |
19. | นายพุก ฤกษ์เกษม | พ.ศ. 2497 - 2500 |
20. | พ.ต.อ.บุญณรงค์ วัฒฑนายน | พ.ศ. 2500 - 2504 |
21. | นายสมอาจ กุยยกานนท์ | 20 เม.ย. 2504 - 5 ต.ค. 2505 |
22. | นายเวียง สาครสินธุ์ | 6 ต.ค. 2505 - 13 ม.ค. 2509 |
23. | ร.ต.ท.ระดม มหาศรานนท์ | 14 ม.ค. 2509 - 30 เม.ย. 2513 |
24. | นายจรัส สิทธิพงศ์ | 1 พ.ค. 2513 - 30 ก.ย. 2515 |
25. | ร.ต.ต.กร บุญยงค์ | 1 ต.ค. 2515 - 30 ก.ย. 2518 |
26. | นายฉลอง กัลยาณมิตร | 1 ต.ค. 2518 - 30 ก.ย. 2519 |
27. | นายศักดิ์ โกไศยกานนท์ | 1 ต.ค. 2519 - 7 ก.พ. 2522 |
28. | นายเติมศักดิ์ สมันตรัฐ | 8 ก.พ. 2522 - 14 ก.ย. 2522 |
29. | นายประสิทธิ์ โกมลมาลย์ | 17 ก.ย. 2522 - 12 พ.ค. 2525 |
30. | นายพีระพัชร สัตยพันธ์ | 13 พ.ค. 2525 - 30 ก.ย. 2529 |
31. | นายบุญช่วย หุตะชาติ | 1 ต.ค. 2529 - 30 ก.ย. 2531 |
32. | นายผัน จันทรปาน | 1 ต.ค. 2531 - 30 ก.ย. 2532 |
33. | นายภิญโญ เฉลิมนนท์ | 1 ต.ค. 2532 - 30 ก.ย. 2536 |
34. | นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ | 5 ต.ค. 2536 - 19 ต.ค. 2540 |
35. | นายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์ | 20 ต.ค. 2540 - 30 ก.ย. 2541 |
36. | นายเฉลิมชัย ปรีชานนท์ | 1 ต.ค. 2541 - 30 ก.ย. 2544 |
37. | นายสงวน จันทรอักษร | 1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546 |
38. | นายนเรศ จิตสุจริตวงศ์ | 1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2548 |
39. | นายเชิดพันธ์ ณ สงขลา | 1 ต.ค. 2548 - 12 พ.ย. 2549 |
40. | นายอานนท์ มนัสวานิช | 13 พ.ย. 2549 - 30 ก.ย. 2551 |
41. | นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ | 20 ต.ค. 2551 - 30 ก.ย. 2552 |
42. | นายไมตรี อินทุสุต | 1 ต.ค. 2552 - 27 พ.ย. 2554 |
43. | นายเสนีย์ จิตตเกษม | 28 พ.ย. 2554 - 26 เม.ย. 2555 |
44. | นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล | 27 เม.ย. 2555 - 30 ก.ย. 2556 |
45. | นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล | 1 ต.ค. 2556 |
46. | นายสมศักดิ์ ปะริสุทโธ เหมทานนท์ | 2 ต.ค. 2556 - 30 ก.ย. 2558 |
47. | นายเดชรัฐ สิมศิริ | 1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2559 |
48. | นายศิริพัฒ พัฒกุล | 1 ต.ค. 2559 - 30 ก.ย. 2561 |
49. | นายลือชัย เจริญทรัพย์ | 1 ต.ค. 2561 - 30 ก.ย. 2563 |
50. | นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา | 1 ต.ค. 2563 - ปัจจุบัน |
อาณาเขตแก้ไข
- ทิศเหนือ จรดจังหวัดกระบี่และจังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศตะวันออก จรดจังหวัดพัทลุง
- ทิศใต้ จรดจังหวัดสตูลและทะเลอันดามัน
- ทิศตะวันตก จรดทะเลอันดามันและจังหวัดกระบี่
การปกครองแก้ไข
แบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 87 ตำบล 723 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่นแก้ไข
มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
เทศบาลนครแก้ไข
เทศบาลเมืองแก้ไข
ประชากรแก้ไข
ประชากรในจังหวัดตรังส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นชาวมุสลิมร้อยละ 18.5 และศาสนาคริสต์ร้อยละ 1.5 มีวัด 129 แห่ง สำนักสงฆ์ 65 แห่ง มัสยิด 87 แห่ง โบสถ์คริสต์ 10 แห่ง ศาลเจ้า และโรงเจ 19 แห่ง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัดแก้ไข
- ตราประจำจังหวัด: ภาพกระโจมไฟและภาพลูกคลื่น ภาพกระโจมไฟหมายถึง จังหวัดตรังเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ ภาพลูกคลื่นหมายถึง ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรัง เป็นเนินเล็ก ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายลูกคลื่น
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นศรีตรังชนิด Jacaranda filicifolia
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia
- คำขวัญประจำจังหวัด: ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี
- คำขวัญส่งเสริมการท่องเที่ยว: เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา
สภาพอากาศแก้ไข
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย | พ.ค. | ก.ค. | มิ.ย. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ปี |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) |
32 (91) |
34 (94) |
35 (96) |
34 (94) |
32 (91) |
31 (89) |
31 (88) |
31 (88) |
31 (88) |
31 (88) |
30 (87) |
31 (88) |
32 (90) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) |
21 (70) |
21 (71) |
22 (72) |
23 (74) |
23 (75) |
23 (74) |
23 (74) |
25 (77) |
23 (74) |
22 (73) |
22 (72) |
21 (71) |
22 (73) |
ปริมาณน้ำฝน เซนติเมตร (นิ้ว) |
5 (2.1) |
2 (1.0) |
6 (2.6) |
19 (7.5) |
24 (9.7) |
24 (9.8) |
25 (10.2) |
29 (11.6) |
32 (12.8) |
32 (12.7) |
24 (9.5) |
11 (4.4) |
238 (93.9) |
แหล่งข้อมูล: Weatherbase
การศึกษาแก้ไข
ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง (อำเภอเมืองตรัง)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง (อำเภอสิเกา)
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรังและอำเภอห้วยยอด)
- มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาตรัง วิทยาคารห้วยยอด (อำเภอห้วยยอด)
- มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ศูนย์การศึกษาตรัง (อำเภอเมืองตรัง)
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ศูนย์การศึกษาตรัง ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง (อำเภอเมืองตรัง)
- มหาวิทยาลัยปทุมธานี ศูนย์การศึกษาตรัง ณ โรงเรียนห้วยยอด อำเภอห้วยยอด
- สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตตรัง (อำเภอย่านตาขาว)
- วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง (อำเภอกันตัง)
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง (อำเภอเมืองตรัง)
- วิทยาลัยเทคนิคตรัง (อำเภอเมืองตรัง)
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ตรัง
- วิทยาลัยสารพัดช่างตรัง
โรงเรียน
ศาสนสถานแก้ไข
ก.วัด
- วัดกะพังสุรินทร์
- วัดตันตยาภิรม
- วัดตรังคภูมิพุทธาวาส
- วัดน้ำพราย เป็นวัดที่มีพระเกจิที่นิพพานแล้วแต่เผาไม่ติดไฟ เลยบรรจุไว้ในโลงแก้ว
วัดพระพุทธสิหิงค์ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระคู่บ้านคู่เมืองตรัง
- วัดแจ้ง ตำบลบางรัก
- วัดนิโคธาราม
- วัดนิกรรังสฤษฎ์
- วัดโคกยาง อำเภอกันตัง
- วัดกมลศรี อำเภอสิเกา เป็นวัดที่มีพระเกจิที่นิพพานแล้วแต่เผาไม่ติดไฟ เลยบรรจุไว้ในโลงแก้ว เช่นกัน
ข.มัสยิด ในจังหวัดตรัง มีมัสยิด 152 แห่งอยู่ทั่วทั้งจังหวัด อาทิ
มัสยิดบ้านคลองลุ คลองลุ
การขนส่งแก้ไข
ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่างๆแก้ไข
- อำเภอนาโยง 11 กิโลเมตร
- อำเภอย่านตาขาว 22 กิโลเมตร
- อำเภอกันตัง 24 กิโลเมตร
- อำเภอห้วยยอด 30 กิโลเมตร
- อำเภอสิเกา 34 กิโลเมตร
- อำเภอวังวิเศษ 44 กิโลเมตร
- อำเภอหาดสำราญ 45 กิโลเมตร
- อำเภอปะเหลียน 46 กิโลเมตร
- อำเภอรัษฎา 55 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยวแก้ไข
- สวนพฤกษศาสตร์แห่งชาติ (ทุ่งค่าย)
- อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
- ควนตำหนักจันทร์
- วนอุทยานบ่อน้ำร้อนกันตัง(บ่อน้ำร้อนควนแคง)
- หาดและพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหาดราชมงคล
- หาดปากเมง
- เกาะไหง
- เกาะรอก
- เกาะกระดาน
- เกาะเหลาเหลียงเหนือ-ใต้
- เกาะมุก-ถ้ำมรกต
- ถ้ำเลเขากอบ
- ถ้ำเขาช้างหาย
- ถ้ำเขาปินะ
- สันหลังมังกร[3]
- ตรังอันดามันเกตเวย์
- สวนน้ำอันดามัน
- ลานวัฒนธรรม
ชาวจังหวัดตรังที่มีชื่อเสียงแก้ไข
- พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ) พระราชาคณะเจ้าคณะรอง เจ้าคณะใหญ่หนใต้ เจ้าอาวาสวัดกะพังสุรินทร์ จังหวัดตรัง
- พระบริสุทธศีลาจารย์ (วัน มะนะโส) พระคณาจารย์
- นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาไทย ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย ดำรงตำแหน่ง ๒ สมัย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ ๒๐ ดำรงตำแหน่ง ๒ สมัย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันเป็นประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 16 สมัย
- นายทวี บุณยเกตุ อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ ๕ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา อดีตนายกสภา และอดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
- พุฒ ล้อเหล็ก นักมวยไทย
- จิระนันท์ พิตรปรีชา กวี
- อาคม เฉ่งไล่ นักมวยสากลสมัครเล่น
- อัยยูบ ยอมใหญ่ นักแปล นักเขียน
- หลวงไก่ นักร้อง
- บ่าววี นักร้อง ทหารอากาศ
- สุรินทร์ โตทับเที่ยง นักธุรกิจ
- ไก่ วงกางเกง นักร้อง
- ปวีณา ตันฑ์ศรีสุโรจน์ นักแสดง พิธีกร
- เป็ด เชิญยิ้ม นักแสดงตลกชื่อดัง คณะเชิญยิ้ม และผู้ผลิตรายการ ก่อนบ่ายโชว์ และรายการ เดอะ คอมเมเดียน ไทยแลนด์
- ศรีสุภางค์ ธรรมาวุธ ผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
- เจษฎาภรณ์ ณ พัทลุง นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- ชัยวัฒน์ สุนทรนนท์ นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- ชยาพร น้อยหนู หรือ ตาล ชยาพร อาร์สยาม เดอะอาร์สยาม คนแรกของ ประเทศไทย (ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ โรงเรียนวิเชียรมาตุ
- วันดี ศรีตรัง ดารานักแสดง
- สุวิทย์ ญัตติมิต นักแข่งรถ
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2563. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2563.
- ↑ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1449804899
ดูเพิ่มแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
พิกัดภูมิศาสตร์: 7°34′N 99°37′E / 7.56°N 99.61°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดตรัง
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย