จรัส สุวรรณเวลา
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา เป็นข้าราชการชาวไทย ประธานกรรมการคณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ประธานกรรมการคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[1] นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอดีตนายกสภาและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จรัส สุวรรณเวลา | |
---|---|
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มกราคม พ.ศ. 2532 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 (7 ปี 88 วัน) | |
ก่อนหน้า | ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล |
ถัดไป | ศ.ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 จังหวัดตรัง ประเทศสยาม |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ศ.พญ.คุณหญิง นิตยา สุวรรณเวลา |
บุตร | ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ รศ.ดร.ทพญ.ใจแจ่ม สุวรรณเวลา |
ประวัติ
แก้ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา เกิดที่ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เป็นบุตรจ้อง และแล่ม สุวรรณเวลา มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน สมรสกับศาสตราจารย์กิตติคุณ แพทย์หญิง คุณหญิงนิตยา สุวรรณเวลา (สกุลเดิม อัศวนนท์) มีธิดา 2 คน คือ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง นิจศรี ชาญณรงค์ กรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ. 2562-2564 และ รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.ใจแจ่ม สุวรรณเวลา
ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง และชั้นเตรียมอุดมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สำเร็จเตรียมแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับเหรียญทองแดงคะแนนเยี่ยมปีที่ 1 และ 2 และปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้รับเหรียญทองแดงคะแนนเยี่ยมในการสอบและเหรียญทองคะแนนเยี่ยมตลอดหลักสูตร รวมทั้งเหรียญทองแดงคะแนนเยี่ยมในวิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา อายุรศาสตร์ และสูติ-นรีเวชวิทยา ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์เป็นคนแรก เพื่อไปศึกษาต่อวิชาประสาทศัลยศาสตร์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับปริญญา Master of Science จากมหาวิทยาลัยชิคาโก และ American Board of Neurological Surgery จาก Wake Forest University ได้รับเกียรติเป็นสมาชิกของ F.A.C.S. (Fellows of American College of Surgeons) และCongress of Neurological Surgeons
ประสบการณ์การทำงาน
แก้จรัส สุวรรณเวลา เป็นศาสตราจารย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นประสาทศัลยแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
จรัส เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT) president of the Academia Eurasiana Neurochirurgica. และ visiting professor, the Bowman Gray School of Medicine, North Carolina, USA
นอกจากนั้น ยังเคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ
- ประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
- นายกสมาคมวิทยาลัยศัลยแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย
- นายกสมาคมประสาทศัลยศาสตร์อาเซียน
- ที่ปรึกษาด้านการวิจัยสุขภาพและพัฒนาการวางแผนครอบครัว องค์การอนามัยโลก
- ที่ปรึกษาด้านอุดมศึกษา องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
- ประธานกรรมการ Council on Health Research for Development
- กรรมการ International Clinical Epidemiology Network
- Member of the Regional Scientific Committee for Asia and the Pacific, UNESCO
- Member, International World Conference on Higher Education Follow-up Committee, UNESCO
- Member, Board of the Association of Southeast Asian Institute of Higher Learning (ASAIHL)
- Member, Administrative Board of International Association of Universities
- Member, Editorial Board of International Journal of Medical Education
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สมาชิกวุฒิสภา
- กรรมการแพทยสภา
- อนุกรรมการข้าราชการพลเรือน กระทรวงสาธารณสุข
- กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ประธานกรรมการคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
จรัส เคยเป็นนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง ได้แก่ นายกสภาสถาบันราชภัฎพระนครศรีอยุธยา[2] นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ตำแหน่งในปัจจุบัน
แก้- นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- กรรมการสภากาชาดไทย
- กรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
- ประธานกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- ประธานกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
- ประธานกรรมการพิจารณาทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์
- ประธานอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
- รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายการแพทย์
- รองประธานศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- รองประธานมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.)
- อาจารย์พิเศษ หน่วยศัลยศาสตร์ประสาท ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประธานกรรมการคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
เกียรติประวัติ
แก้- นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2528 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สภาวิจัยแห่งชาติ
- รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สภาวิจัยแห่งชาติ
- รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น กองทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- Health-for-All Medal องค์การอนามัยโลก
- รางวัลบุคคลตัวอย่าง มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
- รางวัลเกียรติคุณบุคคลดีเด่นของชาติ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
- ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- Honorary Member, the Society of Neurologial surgeons
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
แก้สภาวิจัยแห่งชาติได้ประกาศให้จรัสเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี พ.ศ. 2528 เนื่องจากผลงานการวิจัยปัญหาและอุบัติการของกระดูกศีรษะโหว่งบริเวณเหนือจมูก การปรับปรุงวิธีการผ่าตัดรักษา การสร้างเครื่องมือราคาถูกสำหรับใช้ผ่าตัด การริเริ่มศึกษามาตรฐานและดัชกะโหลกศีรษะของคนไทยเพื่อใช้เปรียบเทียบความผิดปรกติ การวิจัยปัญหายาเสพติดในกลุ่มชาวเขาด้วยการปลูกพืชทดแทนและพัฒนาอาชีพ และการศึกษาสุขภาพอนามัยของชาวชนบท
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2559 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาแพทยศาสตร์[7]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[9]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
แก้- ↑ ""ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา" ภารกิจชาติ...กอบกู้วิกฤตการศึกษาไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2017-07-24.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏมหาสารคาม สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี และสถาบันราชภัฏกำแพงเพชร (นายนิสัย เวชชาชีวะ, ศาสตราจารย์จรัส สุวรรณเวลา, นายภูษณ ปรีย์มาโนช, ศาสตราจารย์เกษม จันทร์แก้ว)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๗ หน้า ๗, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๙ เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๓, ๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๗, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
ก่อนหน้า | จรัส สุวรรณเวลา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. เกษม สุวรรณกุล |
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2 มกราคม พ.ศ. 2532 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2539) |
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. เทียนฉาย กีระนันทน์ |