เทียนฉาย กีระนันทน์

ศาสตราจารย์กิตติคุณ เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ รองประธานกรรมการคณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รองประธานกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [1] กรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[2] อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนเกษียณอายุราชการดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 11 ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เทียนฉาย กีระนันทน์
ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
30 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 6 กันยายน พ.ศ. 2558
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2539 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2543
(3 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา
ถัดไปรศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 กันยายน พ.ศ. 2488 (78 ปี)
อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสศ.ดร.คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์

ประวัติ แก้

เทียนฉาย กีระนันทน์ เกิดเมื่อปี 30 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของนายเทียนวัณ กีระนันทน์ และนางองุ่น (เปล่งวานิช) กีระนันทน์ [3] จบการศึกษารัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, M.A. (Economics & Demography) มหาวิทยาลัยฮาวาย, A.M. และ Ph.D. ด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยดุ๊ก หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ว.ป.อ.รุ่น 37 ท่านเคยดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ, และอธิการบดี จุฬาฯ เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ของ วช., บุคคลดีเด่นของชาติ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ พ.ศ. 2539 และดำรงตำแหน่งอื่น ๆ อีกมากมาย

หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ศ.ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 [4] โดยได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557 [5]และได้รับตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560

เทียนฉาย กีระนันทน์ สมรสกับ สุชาดา กีระนันทน์ อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรชาย 2 คน คือ เทียนชาต กีระนันทน์ และ เทียนไท กีระนันทน์

ประวัติการทำงาน แก้

  • อาจารย์จุฬาฯ (ปี พ.ศ. 2514 - 2547)
  • หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ริเริ่มโครงการโรงพิมพ์และโครงการสวัสดิการข้าราชการจุฬาฯ
  • ได้รับเชิญให้ช่วยราชการตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ( ปี พ.ศ. 2521 - 2524, 2526 - 2528)
  • ศาสตราจารย์สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
  • คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ (ปี พ.ศ. 2533)
  • ได้รับเลือกให้เป็นอธิการบดีจุฬาฯ ต่อจาก ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ที่ลาออกก่อนครบวาระ
  • อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (27 มีนาคม พ.ศ. 2539 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2543)
  • ลาออกจากตำแหน่งประธานที่ประชุมอธิการบดีทั่วประเทศ (ทปอ.) ระบุสาเหตุจากวิกฤติกำลังคน ที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัย โดยเป็นผลมาจากนโยบายลดอัตรากำลังคนภาครัฐ (21 สิงหาคม พ.ศ. 2542)
  • ประธานและสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

ตำแหน่งอื่น ๆ แก้

  • กรรมการสภาจุฬาฯ ประเภทผู้แทนผู้บริหาร
  • กรรมการวิจัยแห่งชาติสาขาเศรษฐศาสตร์ (ปี 2528-2538)
  • อนุกรรมการการวิจัย ป.ป.ป.
  • อ.ก.พ.สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
  • กรรมการประเมินผลรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล
  • กรรมการทบวงมหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • นายกสมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) แทนนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ รัฐบาลชวน 2/3 ที่ขอถอนตัว (20 ตุลาคม พ.ศ. 2542)

เกียรติคุณ-รางวัล แก้

  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2538 จากคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
  • บุคคลดีเด่นของชาติด้านเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ ประจำปี 2539 จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ (ตุลาคม พ.ศ. 2540)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!
  2. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-20. สืบค้นเมื่อ 2019-06-20.
  3. ประวัติ เทียนฉาย กีระนันท์
  4. ไม่พลิก!‘เทียนฉาย’นั่งประธานสปช. เก็บถาวร 2014-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,คม ชัด ลึก, 25 ตุลาคม 2557
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนพิเศษ 218 ง, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2021-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๓, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖


ก่อนหน้า เทียนฉาย กีระนันทน์ ถัดไป
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์
จรัส สุวรรณเวลา
   
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(1 เมษายน พ.ศ. 2539 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2543)
  รองศาสตราจารย์ ดร.
ธัชชัย สุมิตร