สุชาดา กีระนันทน์
ศาสตราจารย์กิตติคุณ คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์ (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 — ) ประธานกรรมการอิสระ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)อดีตนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนายกสภาฯ หญิงคนแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสมาคมสถิติแห่งประเทศไทย, และอดีตอธิการบดีและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหญิงคนแรก ประธานคณะกรรมการบริหารทุนจุฬาสงเคราะห์
สุชาดา กีระนันทน์ | |
---|---|
![]() | |
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2547 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2551 (3 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร |
ถัดไป | ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | เทียนฉาย กีระนันทน์ |
ประวัติ แก้
สุชาดา กีระนันทน์ สำเร็จการศึกษา พาณิชยศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง (เหรียญทอง) จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2510 และศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในคณะสถิติศาสตร์ สำเร็จในปี 2519
การทำงาน แก้
ในปี 2531-2532 ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2534 ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในวาระแรก และในปี 2538 ได้ดำรงอีกวาระหนึ่ง ปี 2542 - 2547 ดำรงตำแหน่งตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปี 2547-2551 ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณหญิงสุชาดาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสถิติแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ช่วงปี 2549-2550 ประธานกรรมการดำเนินงานร้านภูฟ้า กรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี [1] และกรรมการสภากาชาดไทย ทั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน)
เคยเป็น Visiting Assistant Professor ภาควิชาสถิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา และยังเคยดำรงกรรมการการสอบโทเฟลระหว่างปี 2540-2543
สุชาดา กีระนันทน์ ยังเป็นกรรมการอิสระในธนาคารกสิกรไทยอีกด้วย[2]
ผลงานทางวิชาการ แก้
- สถิติกับชีวิตประจำวัน 2547
- เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ: ข้อมูลในระบบสารสนเทศ 2542
- ทฤษฎีและวิธีการสำรวจตัวอย่าง 2538
- การอนุมานเชิงสถิติ : ทฤษฎีขั้นต้น 2530
ชีวิตส่วนตัว แก้
สุชาดาสมรสกับเทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรชาย 2 คน คือ เทียนชาต กีระนันทน์ และ เทียนไท กีระนันทน์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 4 จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.)[5]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
- พ.ศ. 2565 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง แก้
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-23. สืบค้นเมื่อ 2012-05-04.
- ↑ รายชื่อคณะกรรมการธนาคารจากเว็บไซต์ของธนาคารกสิกรไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๕, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๕๘, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
ก่อนหน้า | สุชาดา กีระนันทน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
รองศาสตราจารย์ ดร. ธัชชัย สุมิตร |
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (1 เมษายน พ.ศ. 2547 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2551) |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล |