อธิการบดี เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาสูงสุดและรับผิดชอบงานทั้งปวงของมหาวิทยาลัย

ประวัติและการได้มาซึ่งตำแหน่ง

แก้

ในประเทศไทย อธิการบดีมาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกครั้งได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้ ส่วนอำนาจหน้าที่ของอธิการบดีย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ที่กฎหมายหรือตราสารจัดตั้งมหาวิทยาลัยบัญญัติหรือกำหนดไว้

อนึ่ง ในสมัยก่อน มหาวิทยาลัยบางแห่งเรียกอธิการบดีว่า "ผู้บัญชาการ" เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)[2] นอกจากนี้ ยังมีตำแหน่ง "ผู้ประศาสน์การ" ซึ่งเป็นชื่อสำหรับตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปัจจุบัน) มีความหมายเทียบเท่าตำแหน่งอธิการบดี โดยบุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้ประศาสน์การมีเพียงท่านเดียว คือ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ และก่อนหน้านั้น มหาวิทยาลัยศิลปากร ใช้ตำแหน่ง "ผู้อำนวยการ" โดยตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร จะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยศิลปากรโดยตำแหน่ง ต่อมาจึงแยกหน่วยงานออกจากกันระหว่างกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงเปลี่ยนชื่อตำแหน่งจาก "ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยศิลปากร" เป็น "อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร"

ผู้บัญชาการในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของทหาร/ตำรวจ

แก้

ผู้บัญชาการ เป็นตำแหน่งผู้บังคับหน่วยของทหาร/ตำรวจ ซึ่งใช้เรียกตำแหน่งผู้บังคับหน่วยที่มีอัตราตั้งแต่ พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี และพลตำรวจตรี เป็นต้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของหน่วยงานนั้น ๆ ด้วย ปัจจุบันผู้บัญชาการสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วย

ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ถือเป็นผู้บัญชาการสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังกล่าว

อ้างอิง

แก้
  1. ทำเนียบอธิการบดี จุฬาฯ
  2. "ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมหาวิทยาลัย/อธิการบดี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-15. สืบค้นเมื่อ 2015-08-22.

ดูเพิ่ม

แก้