รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน[1] ในบทความนี้ต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติตรงตามนิยามมหาวิทยาลัย ณ วันที่ก่อตั้ง และจะต้องก่อตั้งก่อน พ.ศ. 2043[2] (ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หลังสถาปนากรุงศรีอยุธยามาแล้ว 150 ปี) และจะต้องมีการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้หยุดกิจกรรมอย่างสำคัญมาถึงปัจจุบัน
เนื่องจากการให้ปริญญาสำหรับการศึกษาขั้นสูงในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นในยุโรปและตะวันออกกลางเป็นส่วนใหญ่ และนิยามมหาวิทยาลัยสมัยใหม่หมายถึงสถานศึกษาที่มีความสามารถในการให้ปริญญา มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีคุณสมบัติตรงนิยามสมัยใหม่ดังกล่าวจึงอยู่ในยุโรปหรือ ตะวันออกใกล้[3][4] แต่หากขยายนิยามให้กว้างขึ้นรวมไปถึงมหาวิทยาลัยโบราณที่เดิมไม่ได้มีการให้ปริญญาในขณะนั้นแต่ให้ในปัจจุบันด้วยแล้ว รายชื่อนี้อาจมีมากขึ้นโดยรวมไปถึงสถาบันอื่นๆ ทั้งในยุโรปและส่วนอื่นของโลกอีกหลายมหาวิทยาลัย
สุดท้าย แม้ด้วยบทบัญญัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในยุโรปก็ยังมีข้อโต้เถียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการกำหนดว่ามหาวิทยาลัยใดกันแน่ที่เป็นมหาวิทยาลัยของแผ่นดินใหญ่ยุโรป มหาวิทยาลัยโบโลญญาที่เกิดก่อน มหาวิทยาลัยปารีสเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งโดยนักศึกษาที่รวมตัวกันหาครูผู้สอน ในขณะที่มหาวิทยาลัยปารีสก่อตั้งโดยคณะผู้สอนแล้วจึงหานักศึกษามาเรียน บางแห่ง (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยปารีส) ก็ยังพยามยามอ้างว่าตนเองเริ่มต้นด้วยการเป็นมหาวิทยาลัยแท้มาแต่ต้น แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามหาวิทยาลัยโบโลนาตั้งขึ้นก่อนมหาวิทยาลัยปารีส การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่ามีกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะของมหาวิทยาลัยได้มีมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 1621 (ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัย 170 ปี) ซึ่งหมายความว่ามหาวิทยาลัยแห่งแรกของยุโรปอาจเป็นมหาวิทยาลัยซาลามังกา (University of Salamanca) ซึ่งเก่าแก่มากกว่าทั้งสองมหาวิทยาลัยที่กล่าวมาแล้ว
มหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งก่อน พ.ศ. 2043
แก้ปี พ.ศ. | ที่ตั้งปัจจุบัน | ชื่อ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1631 | โบโลญญา, อิตาลี | มหาวิทยาลัยโบโลญญา | มหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งในโลกตะวันตกเป็นแห่งแรก |
1693 | ปารีส, ฝรั่งเศส | มหาวิทยาลัยปารีส | วันก่อตั้งแน่นอนไม่ปรากฏแต่ก่อน พ.ศ. 1693 เคยถูกให้พักการสอนเมื่อ พ.ศ. 1772 และเมื่อปี พ.ศ. 2513 ถูกแยกออกเป็น 13 มหาวิทยาลัย |
1710 | ออกซฟอร์ด, อังกฤษ | มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด | ไม่ปรากฏวันก่อตั้งแน่นอนแต่ก่อน พ.ศ. 1710 (เปิดให้มีการเรียนการสอนมาตั้งแต่ พ.ศ. 1639) ถูกพักการเรียนการสอนใน พ.ศ. 1752 เนื่องจากนักวิชาการถูกประหารชีวิต 2 คน) และในปี พ.ศ. 1878 (เนื่องจากเกิดการจลาจลระหว่างนักศึกษากับชาวบ้าน St. Scholastica riot) |
1718 | โมเดนา, อิตาลี | มหาวิทยาลัยโมเดนาและเรจโจเอมีเลีย University of Modena and Reggio Emilia | สืบเนื่องจากข้อเท็จจริงว่าเติบโตจากประวัติของการศึกษาโมเดนา (Modena's studies) |
1752 | เคมบริดจ์, อังกฤษ | มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ | ก่อตั้งโดยนักวิชาการที่ลาออกจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดหลังการไม่ลงรอยกัน. |
1761 | ซาลามังกา, สเปน | มหาวิทยาลัยซาลามังกา (University of Salamanca) | มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดที่เปิดสอนในสเปน คณะเทววิทยาและกฎหมายโรมันได้แยกออกมาเป็นมหาวิทยาลัยสันตะปาปาแห่งซารามังกา (Pontifical University of Salamanca) ในปี พ.ศ. 2395 |
1763 | มงเปอลีเย, ฝรั่งเศส | มหาวิทยาลัยมงเปอลีเย | ถูกปิดใน พ.ศ. 2336 เนื่องจากการปฏิวัติฝรั่งเศส และคณะวิชาต่างๆ ถูกสลายตั้งเป็นมหาวิทยาลัยจักรวรรดิฝรั่งเศส (Imperial University of France) เมื่อ พ.ศ. 2351 |
1765 | ปาดัว, อิตาลี | มหาวิทยาลัยปาดัว | ก่อตั้งโดยนักศึกษากลุ่มใหญ่และคณาจารย์ที่แยกตัวมาจากมหาวิทยาลัยโบโลญญาเพื่อแสวงหาอิสรภาพทางการศึกษา ถูกพักการเรียนการสอน พ.ศ. 1780 - พ.ศ. 1804, พ.ศ. 2052 - พ.ศ. 2060, พ.ศ. 2391 - พ.ศ. 2393 |
1767 | เนเปิลส์, อิตาลี | มหาวิทยาลัยเนเปิลส์ เฟเดรีโกที่ 2 (University of Naples Federico II) | ก่อตั้งโดยจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เฟรเดอริกที่ 2 Frederick II ถูกปิด พ.ศ. 1978-1994, 1994-2009, 2017-2014, 2039-2050, 2070-207, 2074, 2090, 2105, 2128 ฯลฯ[5] |
1772 | ตูลูซ, ฝรั่งเศส | มหาวิทยาลัยตูลูซ | ก่อตั้งโดยเคาท์เรย์มอนด์ ที่ 7 Raymond VII.[6] |
1776 | แบกแดด, อิรัก | มหาวิทยาลัยมุสตานสิริยา Mustansiriya University1 (Arabic: الجامعة المستنصرية) |
ก่อตั้งโดยอับราชิด กาหลิบ อัล-มุสตานไซร์ (Abbasid Caliph al-Mustansir) ในปี พ.ศ. 1776 และถูกผนวกเข้ากับมหาวิทยาลัยแบกแดดเมื่อ พ.ศ. 2505 |
1783 | ซีเอนา, อิตาลี | มหาวิทยาลัยซีเอนา (University of Siena | เดิมเรียกชื่อว่า 'Studium Senese'. ถูกปิดเมื่อ พ.ศ. 1945-1947 และ พ.ศ. 2351-2357 |
1790 | กูอิงบรา, โปรตุเกส | มหาวิทยาลัยกูอิงบรา (University of Coimbra) | ก่อตั้งในกรุงลิสบอนและอยู่ที่นั่นใน พ.ศ. 1833-1851, 1881-1897 และ 1920- 2080 |
1846 | โรม, อิตาลี | มหาวิทยาลัยโรมลาซาปีเอนซา (University of Rome La Sapienza) | ก่อตั้งโดยพระสันตะปาปาบอนิฟาเซ ที่ 8 (Pope Boniface VIII) แต่กลายเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐเมื่อ พ.ศ. 2478 สารานุกรมแคทอลิกอ้างว่า มหาวิทยาลัยถูกปิดในตลอดสมัยของพระสันตะปาปาเคลเมนต์ ที่ 7 |
1849 | ออร์เลอ็อง, ฝรั่งเศส | มหาวิทยาลัยออร์เลอ็อง (University of Orléans) | พ.ศ. 1849 คือปีที่ได้รับการรับรองตามพระบัญญัติพระสันตะปาปาอย่างเป็นทางการ ปีที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยจริงๆ แต่ไม่ได้รับการรับรองคือ พ.ศ. 1778 |
1851 | เปรูจา, อิตาลี | มหาวิทยาลัยเปรูจา (University of Perugia) | ได้รับการรับรองโดยพระสันตะปาปาเคลเมนต์ ที่ 5 |
1846 | ฟลอเรนซ์ อิตาลี | มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ (University of Florence) | ย้ายไปเมืองปิซาระหว่าง พ.ศ. 2016-2040 และ พ.ศ. 2058-2403 |
1886 | ปิซา, อิตาลี | มหาวิทยาลัยปิซา (University of Pisa) | ไม่มีหลักฐานบันทึกของมหาวิทยาลัยระหว่าง พ.ศ. 1946-2019 |
1889 | บายาโดลิด, สเปน | มหาวิทยาลัยบายาโดลิด (University of Valladolid) | อ้างว่ามีความติอเนื่องกับมหาวิทยาลัยปาเลนเซีย (University of Palencia) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1755 ที่พาเลนเซีย Palencia[7] |
1891 | ปราก, สาธารณรัฐเชค | มหาวิทยาลัยชาลส์แห่งปราก (Charles University of Prague) | สามในสี่คณะวิชาถูกปิดใน พ.ศ. 1962 รวมตัวกับมหาวิทยาลัยเยซูอิดเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “มหาวิทยาลัยชาลส์-เฟอร์ดินานด์" เมื่อ พ.ศ. 2105 แยกตัวเป็นสาขาเยอรมันและเชคเมื่อ พ.ศ. 2425 สาขาเชคถูกปิดสมัยนาซียึดครอง (พ.ศ. 2482-2488) สาขาเยอรมันถูกปิดเมื่อ พ.ศ. 2488 (....ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา 2 ปี) |
1899 | อ็องเฌ, ฝรั่งเศส | มหาวิทยาลัยอ็องเฌ (University of Angers) | ก่อนการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 1899 ได้เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากมาแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 (ประมาณ พ.ศ. 1544-1643)[8] |
1904 | ปาวีอา, อิตาลี | มหาวิทยาลัยปาวีอา ( University of Pavia) | ถูกปิดในระยะสั้นๆ ระหว่างสงครามอิตาลี (Italian Wars), สงครามนโปเลียน (Napoleonic wars), และ การปฏิวัติปี พ.ศ. 2391 (en:Revolutions of 1848 Revolutions of 1848) |
1907 | กรากุฟ, โปแลนด์ | สถาบันกรากุฟ (Cracow Academy) | การดำเนินงานติดขัดในระยะแรกและตั้งตัวได้ตั้งแต่ :en: เป็นต้นมา |
1908 | เวียนนา, ออสเตรีย | มหาวิทยาลัยออสเตรีย University of Vienna | เป็นรูปแบบสำหรับมหาวิทยาลัยปารีส |
1929 | ไฮเดลแบร์ก, เยอรมนี | มหาวิทยาลัยรูเพรชท์ คาลส์ แห่งไฮเดลแบร์ก (Ruprecht Karls University of Heidelberg) | โอนย้ายไป Neustadt an der Haardt ใน พ.ศ. 2119 - 2126, ถูกกดขี่ระหว่าง [[พ.ศ. 2175]] - 2195 และย้ายออกไปที่ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ และที่อื่นในปี พ.ศ. 2232 - 2243[9] |
1934 | แฟร์รารา, อิตาลี | มหาวิทยาลัยแฟร์รารา (University of Ferrara) | ไม่มีการสอนระหว่าง พ.ศ. 2337 – 2367 และ พ.ศ. 2391- 2393 [1] |
1939 | ซาดาร์, โครเอเชีย | มหาวิทยาลัยซาดาร์ ( University of Zadar) | |
1941 | โซล, เกาหลีใต้ | มหาวิทยาลัยซุงคยุนควัน (Sungkyunkwan University) |
ก่อตั้ง พ.ศ. 1941 เมื่อราชวงศ์โจซุนขึ้นครองราชย์แทนราชวงศ์โครยอ |
1947 | ตูริน, อิตาลี | มหาวิทยาลัยตูริน (University of Turin) | ไม่มีมหาวิทยาลัยในตูรินระหว่าง พ.ศ. 2079–2109 และในช่วงเวลาระหว่างการยึดครองของนโปเลียน |
1952 | ไลพ์ซิจ, เยอรมนี | มหาวิทยาลัยไลพ์ซิจ | ก่อตั้งเมื่อเจ้าหน้าที่ที่พูดภาษาเยอรมันหนีออกจากปรากเนื่องจากวิกฤติการณ์จาน ฮุส (Jan Hus crisis) |
1952 | มาร์แซย์/แอ็กซ็องพรอว็องส์, ฝรั่งเศส | มหาวิทยาลัยพรอว็องส์ (University of Provence) | |
1953 | เซนต์แอนดรูวส์, สกอตแลนด์ | มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์ | แต่งตั้งโดยสาสน์พระสันตะปาปา |
1962 | รอสตอค, เยอรมนี | มหาวิทยาลัยรอสตอค (University of Rostock) | ในช่วงการปฏิรูปโปรเตสแตนท์ (Protestant Reformation), "มหาวิทยาลัยรอสตอคปิดโดยตลอด ปิดนานจนผู้ก่อตั้งใหม่รู้สึกว่าเป็นสถาบันใหม่"[10] |
1968 | เลอเฟน, เบลเยียม | มหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งเลอเฟน (Catholic University of Leuven) 1 | ย้ายไป บรัสเซลส์ ใน พ.ศ. 2331 ถูกปิดโดยสาธารณรัฐฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2331, เปิดใหม่ พ.ศ. 2359 จัดรูปแบบใหม่ พ.ศ. 2377 ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 แยกเป็นมหาวิทยาลัยใช้ภาษาฝรั่งเศส (Université catholique de Louvain), Louvain-la-Neuve และมหาวิทยาลัยใช้ภาษาดัตช์ (Katholieke Universiteit Leuven) และยังคงตั้งอยู่ที่เลอเฟนถึงปัจจุบัน |
1974 | ปัวตีเย, ฝรั่งเศส | มหาวิทยาลัยปัวตีเย (University of Poitiers) 1 | มหาวิทยาลัยสมัยใหม่ในปอยเตียส์ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2439 โดยรวมกับโรงเรียนอื่นหลายโรง มหาวิทยาลัยดั้งเดิมถูกยุบระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส |
1975 | กาน, ฝรั่งเศส | มหาวิทยาลัยกาน (University of Caen | |
1977 | กาตาเนีย, อิตาลี | (University of Catania) | เก่าแก่ที่สุดใน ซิชิลี. |
1981 | ลุนด์ (Lund), สวีเดน | มหาวิทยาลัยลุนด์ (University of Lund) | ถูกยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2079 เมื่อเกิดการการปฏิรูปเดนมาร์ก มหาวิทยาลัยลุนด์ได้รับการสถาปนาใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2209 เดิมเป็นส่วนหนึ่งของเดนมาร์กก่อนมีการเจรจาสันติภาพโรสคิลเด |
1984 | บอร์โด, ฝรั่งเศส | มหาวิทยาลัยบอร์โด (University of Bordeaux) | ตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 1984 โดยสาสน์พระสันตปาปา ถูกปิดเนื่องจากเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2336 คณะวิทยาศาสตร์และคณะอักษรศาสตร์ได้รับการจัดตั้งใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2381 แต่มาได้รับการรับรองสถานะมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2439[11] |
1993 | บาร์เซโลนา, สเปน | มหาวิทยาลัยบาร์เซโลนา ( University of Barcelona) | มหาวิทยาลัยบาร์เซโลนาถูกปิดโดยราชวงศ์บูร์บงและโอนไปอยู่ที่เมืองเซร์เบรา (Cervera) หลังสงครามสเปนระหว่าง พ.ศ. 2257- -2380 |
1994 | กลาสโกว์, สกอตแลนด์ | มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ | |
1996 | อิสตันบูล, ตุรกี | มหาวิทยาลัยอิสตันบูล ( Istanbul University) 1 | แรกก่อตั้งเป็นสถาบันชั้นสูงด้านปรัชญาและเทววิทยา ก่อตั้งใหม่อีกครั้งเมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม :en: ใช้ชื่อว่า Darülfünun หรือ “สำนักสหวิทยาศาสตร์” (House of Multiple Sciences) และก่อตั้งใหม่อีกครั้งเป็น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2476 เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะและวิทยาศาสตร์ (Arts and Sciences University). |
1999 | ไกรฟ์สวัลด์ (Greifswald), เยอรมนี | มหาวิทยาลัยไกรฟ์สวัลด์ (University of Greifswald) | มีการเรียนการสอนมาตั้งแต่ พ.ศ. 1979 ถูกปิดระหว่างการปฏิรูปโปรเตสแตนท์ (พ.ศ. 2070 – 2082) |
2000 | ฟรีบูร์, เยอรมนี | มหาวิทยาลัยลุดวิกส์แห่งฟรีบูร์ Albert Ludwigs University of Freiburg | ย้ายชั่วคราวไปอยู่ที่เมืองคอนสแตนซ์ระหว่าง พ.ศ. 2229 – 2241 และ พ.ศ. 2256 - 2258 |
2003 | บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ | มหาวิทยาลัยบาเซิล University of Basel | |
2003 | น็องต์, ฝรั่งเศส | มหาวิทยาลัยน็องต์ (University of Nantes) | |
2015 | มิวนิก, เยอรมนี | มหาวิทยาลัยลุดวิกส์ แมกซิมิลเลียนส์ แห่งมิวนิก (Ludwig Maximilians University of Munich) | ต่อตั้งในอิงโกสแตดท์ (Ingolstadt) ใน พ.ศ. 2002 ย้ายไปลานด์ชัท (Landshut) ในปี พ.ศ. 2343 แล้วจึงย้ายไปมิวนิกใน พ.ศ. 2369 |
2020 | ทือบิงเงิน (Tübingen), เยอรมนี | มหาวิทยาลัยเอเบอร์ฮาร์ด คาลส์ แห่งทือบิงเงิน (Eberhard Karls University of Tübingen) | |
2020 | ไมนทซ์ (Mainz), เยอรมนี | มหาวิทยาลัยโยฮันเนส กูเทนแบร์ก แห่งไมนทซ์ (Johannes Gutenberg University of Mainz) | ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2020 ถูกปิดเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2335 หลังจากนั้นจึงกลับมาเปิดการเรียนการสอนใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2489 ภายหลังการสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่สอง |
2020 | อุปซอลา, สวีเดน | มหาวิทยาลัยอุปซอลา | |
2202 | โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก | มหาวิทยาลัยโคปนเฮเกน (University of Copenhagen) | |
2038 | แอเบอร์ดีน, สกอตแลนด์ | มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน | King's College คิงส์คอลเลจก่อตั้งในปี พ.ศ. 2038 และมาริสชอลซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2136 ต่อมาทั้งสองสถาบันรวมตัวกันเมื่อ พ.ศ. 2403 |
2038 | ซานเตียโกเดกอมโปสเตลา, สเปน | มหาวิทยาลัยซานเตียโกเดกอมโปสเตลา (University of Santiago de Compostela) | เมื่อปี พ.ศ. 2047 สันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ได้อนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยในซานเตียโกเดกอมโปสเตลาแต่ “สาสน์ตราตั้งไม่ได้รับการอนุมัติจากสันตะปาปาคลีเมนต์ ที่ 7 จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2069”[12] |
2042 | มาดริด, สเปน | มหาวิทยาลัยกอมปลูเตนเซแห่งมาดริด (Complutense University of Madrid) | อ้างว่ามีความต่อเนื่องร่วมมากับ Estudio de Escuelas Generales de Alcalá ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 1836 ที่อัลกาลาเดเอนาเรส (Alcalá de Henares) |
2042 | บาเลนเซีย, สเปน | มหาวิทยาลัยบาเลนเซีย (University of Valencia) | (.....รัชสมัยพระเชษฐาธิราช ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งแรก 70 ปี) |
1 - ข้อถกเถียง/ข้อขัดแย้ง: เกี่ยวกับการนิยามคำว่า มหาวิทยาลัย ซึ่งรวมถึงความสามารถในการประสาทปริญญาในสาขาต่างๆ ที่กว้างขวางนั้น การจัดประเภทของสถาบันการเรียนรู้ที่เก่าแก่มาก เช่นมหาวิทยาลัยโบราณที่มีความติอเนื่องถึงปัจจุบันที่นับเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาโต้เถียงกันได้มาก ตัวอย่างเช่น ถ้าขยายนิยามในกว้างขึ้นให้รวมไปถึงสถาบันดึกดำบรรพ์ที่ไม่ได้ให้ปริญญาในตอนแรกแต่เป็นโรงเรียนศาสนาที่เข้มงวดมาเป็นเวลานับศตวรรษ หรือที่หายไปโดยปราศจากร่องรอยเป็นเวลานานมานับได้แล้ว การจัดกลุ่มประเภทอาจรับได้ในบางแง่มุมก็จริงแต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง”
มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดหลัง พ.ศ. 2046 จัดตามประเทศและภูมิภาค
แก้ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่มีมหาวิทยาลัยมาก่อน พ.ศ. 2043 หลังจากนี้จึงได้แพร่หลายในในประเทศต่างๆ ทั่วโลก:
- แอลจีเรีย: มหาวิทยาลัยแอลเจียร์ (University of Algiers), พ.ศ. 2452
- อเมริกากลางและใต้ (Americas): เป็นทางการ: มหาวิทยาลัยแห่งชาติเซนมาร์ก (National University of Saint Mark), เปรู, พ.ศ. 2094. ไม่เป็นทางการ: มหาวิทยาลัย (Universidad Autonoma de Santo Domingo, สาธารณรัฐโดมินิกัน, พ.ศ. 2081 หรือ พ.ศ. 2101
- แองโกลา: มหาวิทยาลัยอากุชติญญู เนตู (Agostinho Neto University (Estudos Gerais Universitários de Angola) พ.ศ. 2505
- อาร์เจนตินา: มหาวิทยาลัยแห่งชาติกอร์โดบา Universidad Nacional de Córdoba พ.ศ. 2156
- อาร์มีเนีย: มหาวิทยาลัยเยเรวาน (Yerevan State University) พ.ศ. 2464
- เอเชีย: มีมหาวิทยาลัยของฟิลิปปินส์ 2 แห่ง (Philippine| ขัดแย้งในการอ้างปีก่อตั้งคือ พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2154 (ดูข้างล่าง)
- ออสเตรเลีย: มหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney), พ.ศ. 2393
- อาเซอร์ไบจาน: มหาวิทยาลัยบากู (Baku State University), พ.ศ. 2464
- ประเทศแถบบอลติก: มหาวิทยาลัยวิลนีอัส (Vilnius University), พ.ศ. 2122, ถูกปิดและเปิดใหม่ 2 ครั้ง
- บังกลาเทศ: มหาวิทยาลัยธากา (University of Dhaka), พ.ศ. 2464
- เบลารุส: มหาวิทยาลัยเบลารุส ( Belarusian State University), พ.ศ. 2464
- โบลิเวีย: มหาวิทยาลัยสันตะปาปาเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์ (Royal and Pontificial Major University of St. Francis Xavier) of Chuquisaca, พ.ศ. 2167
- บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา: มหาวิทยาลัยซาราเยโว (University of Sarajevo), พ.ศ. 2483 เดิมโรงเรียนกฎหมายอิสลามที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2074
- บราซิล: มหาวิทยาลัยรีโอเดจาเนโร (Universidade Federal do Rio de Janeiro) พ.ศ. 2351
- บัลแกเรีย: มหาวิทยาลัยโซเฟีย (University of Sofia) พ.ศ. 2431
- แคนาดา: มหาวิทยาลัยลาวาล (Université Laval) พ.ศ. 2206 นับเป็นมหาวิทยาลัยใช้ภาษาฝรั่งเศสที่เก่าแก่ที่สุดในอมเริกาเหนือ มหาวิทยาลัยนิวบรุนส์วิก (University of New Brunswick) นับเป็นมหาวิทยาลัยใช้ภาษาอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดในแคนาดา ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2328; ตามด้วย มหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ (University of King's College) พ.ศ. 2332, (Saint Mary's University|) in พ.ศ. 2354, มหาวิทยาลัยดาลฮูซี (Dalhousie University) พ.ศ. 2361, มหาวิทยาลัยแมกกิลล์ (McGill University) ใน พ.ศ. 2364, และมหาวิทยาลัยโทรอนโท (University of Toronto) ในปีพ.ศ. 2370 รวมทั้ง: วิทยาลัยการทหารแห่งแคนาดา (Royal Military College of Canada) ที่มีชื่อเสียงที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2419
- ชิลี: มหาวิทยาลัยชิลี (Universidad de Chile) 19 สิงหาคม พ.ศ. 2165, ในชื่อเซนต์โทมัส อควินัส
- จีน:
- มหาวิทยาลัยนานกิง (Nanking University|) เป็นสถานศึกษาแห่งที่ชื่อภาษาอังกฤษว่า university เป็นแห่งแรกของจีนเมื่อ พ.ศ. 2431 รวมทั้งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศจีนที่สอนและให้ปริญญาเอกเมื่อ พ.ศ. 2456
- มหาวิทยาลัยเปยยาง (Beiyang University), พ.ศ. 2439
- มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น เซี่ยงไฮ้ (St. John's University, Shanghai) มหาวิทยาลัยแรกของจีนที่ให้ปริญญาตรีเมื่อ พ.ศ. 2450
- มหาวิทยาลัยฮ่องกง (University of Hong Kong) พ.ศ. 2453 วิวัฒนาการจากวิทยาลัยการแพทย์ฮ่องกงเมื่อ พ.ศ. 2430
- โคลัมเบีย: มหาวิทยาลัยอาวร์เลดีออฟโรซารี (Our lady of the Rosary University), พ.ศ. 2196
- โครเอเชีย: มหาวิทยาลัยซาเกร็บ (University of Zagreb) พ.ศ. 2212
- คิวบา: มหาวิทยาลัยลาอาบานา (Universidad de La Habana) พ.ศ. 2271
- ดอมินีกา: มหาวิทยาลัยรอสส์ (Ross University) พ.ศ. 2521
- โดมินิกัน: มหาวิทยาลัยซานโตโดมิงโก (Santo Tomas de Aquino University), (Santo Domingo), เปิดสอนไม่เป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2081 ก่อตั้งเป็นทางการ พ.ศ. 2101 อาจพิจารณาได้ว่าใช่หรือไม่ใช่ก็ได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยแรกของผืนทวีปอเมริกา ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยอิสระซานโต โดมิงโก (เนื่องจากการหายไป 35 ปีระหว่าง พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2402 จึงไม่นับเป็นมหาวิทยาลัยที่สอนต่อเนื่องที่เก่าที่สุดในอเมริกา
- อียิปต์: มหาวิทยาลัยไคโร (Cairo University), พ.ศ. 2541 เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ
- เอสโตเนีย: มหาวิทยาลัยตาร์ตู (University of Tartu) พ.ศ. 2345 สืบทอดมาจาก Academia Gustaviana (พ.ศ. 2175 - พ.ศ. 2253)
- ฟินแลนด์: มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (University of Helsinki) พ.ศ. 2183 เดิมคือ The Royal Academy of Turku ที่ย้ายไปเฮลซิงกิเมื่อ พ.ศ. 2370
- ประเทศจอร์เจีย: มหาวิทยาลัยทบิลิซี (Tbilisi State University) พ.ศ. 2461
- กานา: มหาวิทยาลัยกานา (University of Ghana) พ.ศ. 2491
- กรีก: มหาวิทยาลัยเอเธนส์ (University of Athens) พ.ศ. 2380
- กรีเนดา: มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (St. George's University), พ.ศ. 2519
- กัวเตมาลา: มหาวิทยาลัยซังการ์โลสเดกัวเตมาลา ( Universidad de San Carlos de Guatemala) พ.ศ. 2219
- ฮอนดูรัส: มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮอนดูรัส (Universidad Nacional Autónoma de Honduras) พ.ศ. 2390
- ฮังการี: มหาวิทยาลัยเอิตเวิช โลรานด์ (Eötvös Loránd University), พ.ศ. 2178
- อินเดีย:
- มหาวิทยาลัยเซรัมพอร์ (Serampore College), พ.ศ. 2361 มหาวิทยาลัยแรกที่ได้รับสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย (แม้จะไม่ใช่มหาวิทยาลัย) ที่ประสาทปริญญาสาขาเทววิทยา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีอินเดีย (Thomason College of Civil Engineering, (เดิมคือมหาวิทยาลัย Roorkee), พ.ศ. 1847, ซึ่งถือเป็นวิทยาลัยอิสระด้านวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย แต่ยังไม่นับเป็นมหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยกัลกัตตา (University of Calcutta) พ.ศ. 2400 มหาวิทยาลัยเอนกสาขาที่สมบูรณ์แห่งแรกของเอเซียใต้ที่รองรับพื้นที่ตั้งแต่ลาฮอร์ ย่างกุ้งไปจนถึงศรีลังกา
- มหาวิทยาลัยมัทราส ( University of Madras) พ.ศ. 2400
- มหาวิทยาลัยมุมไบ (University of Mumbai), พ.ศ. 2400
- อินโดนีเซีย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีบันดุง ( InstitutTeknologi Bandung), พ.ศ. 2463 เมื่อเริ่มตั้งมีชื่อภาษาดัชท์ว่า Technische Hogeschool et Bandoeng
- อิหร่าน:
- มหาวิทยาลัยจันดิสฮาเปอร์ (Jundishapur University) ประมาณ พ.ศ. 343 ก่อตั้งโดยชาร์เปอร์ที่ 1 กษัตริย์ซัซซาเนียน ราชวงศ์ซัซซานิดส์แห่งอิหร่านสืบเชื้อสายมาเมื่อประมาณ 2200 ปีก่อน
- มหาวิทยาลัยเตะหราน (University of Tehran, พ.ศ. 2477 ต่อเนื่องจากดาร์ อัล-ฟูนันเมื่อ พ.ศ. 2394 ที่ต่อเนื่องมาจากอีกหลายสถาบันการศึกษาอื่นๆ ก่อนหน้านั้นอีกหลายแห่ง
- ไอร์แลนด์: มหาวิทยาลัยทรินิตีคอลเลจดับลิน ( Trinity College, Dublin), พ.ศ. 2135
- อิรัก: มหาวิทยาลัยแบกแดด (University of Baghdad), พ.ศ. 2499 - วิทยาลัยการแพทย์ของมหาวิทยาลัยตั้งมาก่อนแล้วเมื่อ พ.ศ. 2471
- อิสราเอล: สถาบันเทคโนโลยีเทคเนียน (Technion|), พ.ศ. 2467
- ญี่ปุ่น: มหาวิทยาลัยโตเกียว (University of Tokyo), พ.ศ. 2420, สืบต่อสำนักเตมโมกะตะ (Temmonkata), พ.ศ. 2227
- เกาหลี: มหาวิทยาลัยยอนเซอิ (Yonsei University), พ.ศ. 2428 มหาวิทยาลัยสตรีอิวฮา Ewha Womans University, พ.ศ. 2429
- คอซอวอ: มหาวิทยาลัยพริสตีนา (University of Prishtina), พ.ศ. 2521
- เลบานอน: มหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งเบรุต (American University of Beirut, พ.ศ. 2409
- ลิทัวเนีย: มหาวิทยาลัยวิลนีอัส (University of Vilnius), พ.ศ. 2122, สืบต่อจากสถาบันวิลเนียสเมื่อ พ.ศ. 2113, แม้การเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยถูกปิดระหว่าง พ.ศ. 2375 ถึง พ.ศ. 2462 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2487
- มาเลเซีย: มหาวิทยาลัยมาเลเซีย (University of Malaya), พ.ศ. 2448
- มอลตา: มหาวิทยาลัยมอลตา (University of Malta, พ.ศ. 2312, ต่อเนื่องจาก Collegium Melitense พ.ศ. 2135
- เม็กซิโก: มหาวิทยาลัยอิสระแห่งชาติเม็กซิโก (National Autonomous University of Mexico), พ.ศ. 2094 ในสถานะเป็นมหาวิทยาลัยสันตะปาปาแห่งเม็กซิโก (เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยเม็กซิโกเมื่อ พ.ศ. 2453 [2])
- โมซัมบิก: มหาวิทยาลัยเอดูอาร์โด มอนด์ลานี (Eduardo Mondlane University) (Estudos Gerais Universitários de Moçambique), พ.ศ. 2505
- พม่า: มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (Rangoon University), พ.ศ. 2421
- เนเธอร์แลนด์: มหาวิทยาลัยไลเดน ( University of Leiden), พ.ศ. 2118
- นิวซีแลนด์: มหาวิทยาลัยโอทาโก (University of Otago), พ.ศ. 2412
- ไนจีเรีย: มหาวิทยาลัยอีบาดัน (University of Ibadan), พ.ศ. 2491
- ไอร์แลนด์เหนือ: มหาวิทยาลัยราชินีเบลฟัสต์ (Queen's University Belfast, พ.ศ. 2353 (โดยพระราชเสาวนีย์ พ.ศ. 2388)
- นอร์เวย์: มหาวิทยาลัยออสโล ( University of Oslo) พ.ศ. 2354
- ปากีสถาน: มหาวิทยาลัยปัญจาบ (University of the Punjab), พ.ศ. 2425
- เปรู: มหาวิทยาลัยแห่งชาติซานมาร์โกส (National University of San Marcos), ลิมา, พ.ศ. 2094, หรือ "dean university of America” (เป็นทางการที่เก่าแก่ที่สุดแห่งแรก), เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวบนแผ่นดินใหญ่อมเริกาที่รอดและดำเนินการสอนต่อเนื่องมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16
- ฟิลิปปินส์: มีข้อโต้แย่งกัน 2 แห่ง:
- มหาวิทยาลัยซานการ์โลส (University of San Carlos), ก่อตั้งในชื่อ Colegio de San Ildefonso เมื่อ พ.ศ. 2138 โดยคณะเยซูอิดเมื่อ พ.ศ. 2312, เปิดใหม่ พ.ศ. 2326 โดยบิชอปท้องถิ่น ถ่ายโอนกิจการให้โดมินิกัน (พ.ศ. 2395), ต่อถึงวินเซนเชียน (พ.ศ. 2410), สุดท้ายตกทอดแก่ฟาเธอร์ในสมาคม Divine Word เมื่อ พ.ศ. 2478 ถูกปิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2484 และเปิดใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2488 ได้รับสถานะเป็นทางการอีกครั้งในปี พ.ศ. 2451
- มหาวิทยาลัยซานโตโตมัส (University of Santo Tomas), ก่อตั้งในชื่อ Colegio de Nuestra Señora del Santísimo Rosario เมื่อ พ.ศ. 2154, ได้รับตราตั้งเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2188, หยุดสอนระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เปิดใหม่หลังสงครามเลิก เป็นของโดมินิกันมาตั้งแต่ต้นถึงปัจจุบัน
- เปอร์โตริโก: มหาวิทยาลัยเปอร์โตริโก, รีโอเปียดรัส ( University of Puerto Rico, Rio Piedras) พ.ศ. 2446
- โรมาเนีย: มหาวิทยาลัยอาเลกซันดรู อีวัน กูซา (Alexandru Ioan Cuza University), พ.ศ. 2403 ต่อเนื่องมาจากสถาบันมิไฮลีนา (Mihaileana Academy) (พ.ศ. 2377 – พ.ศ. 2390) สืบทอดต่อมาจากสถาบันชั้นสูงแห่งลาซี (พ.ศ. 2254- พ.ศ. 2364); ที่สืบต่อจากวิทยาลัยวาซิลัน (พ.ศ. 2177 - พ.ศ. 2196)
- รัสเซีย: ทั้ง มหาวิทยาลัยมอสโก (Moscow State University|Moscow State University|Moscow State University), พ.ศ. 2298 หรือ มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอรส์เบิร์ก (Saint Petersburg State University) (พ.ศ. 2267 - พ.ศ. 2346, พ.ศ. 2362)
- เซอร์เบีย: มหาวิทยาลัยเบลเกรด (Belgrade University), พ.ศ. 2448, สืบต่อจากโรงเรียนขนาดใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2351; สถาบันคริสเตียนออร์โทดอกซ์ (Orthodox Christian Academy) ในปี พ.ศ. 2337; วิทยาลัยครู (Teacher's college) พ.ศ. 2321
- สิงคโปร์: มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ( National University of Singapore), พ.ศ. 2448
- สโลเวเนีย: มหาวิทยาลัยลูบลิยานา (University of Ljubljana), พ.ศ. 2462
- แอฟริกาใต้: มหาวิทยาลัยเคปทาวน์ (University of Cape Town), พ.ศ. 2372
- อเมริกาใต้: มหาวิทยาลัยแห่งชาติซานมาร์โกส ( National University of San Marcos), เปรู, พ.ศ. 2094
- สวีเดน: มหาวิทยาลัยอุปซอลา (Uppsala University), พ.ศ. 2138, สืบต่อมาจาก มหาวิทยาลัยแคทอลิก (พ.ศ. 2020 - พ.ศ. 2058)
- ซูดาน: มหาวิทยาลัยคาร์ทูม (University of Khartoum), พ.ศ. 2445,รู้จักกันใรระยะแรกว่า มหาวิทยาลัย Gordon Memorial College
- ซีเรีย: มหาวิทยาลัยดามัสกัส (University of Damascus) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2466 โดยการรวมกับโรงเรียนแพทย์ (ก่อตั้ง พ.ศ. 2446 และโรงเรียนกฎหมาย (ก่อตั้ง พ.ศ. 2456).
- ไทย:
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐาน โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยมี 4 คณะแรกตั้ง ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เมื่อปีพ.ศ. 2459
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ริเริ่มก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาแห่งแรกในประวัติศาสตร์ไทย วิชาเริ่มแรกที่เปิดสอนมี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิต ซึ่งสอนวิชากฎหมายเป็นหลัก และวิชาการบัญชี ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปีพ.ศ. 2477
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนช่างไหม ได้รับการพัฒนาการเรียนการสอนจนสถาปนาขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางด้านการเกษตรเป็นแห่งแรกของไทย โดยมีคณะเกษตรศาสตร์ คณะการประมง คณะวนศาสตร์ และคณะสหกรณ์ เป็นคณะแรกตั้ง ในปัจจุบันคือ คณะเกษตร คณะประมง คณะวนศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และคณะเศรษฐศาสตร์ เมื่อปีพ.ศ. 2486
- มหาวิทยาลัยมหิดล มีการแยกคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล, คณะทันตแพทยศาสตร์. คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ต่อมาได้รับพระราชทานนามมหาวิทยาลัยใหม่ ว่า มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปีพ.ศ. 2486
- มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย ถือกำเนิดจาก โรงเรียนปราณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็นโรงเรียนศิลปากร และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคมพ.ศ. 2486 พระยาอนุมานราชธนร่วมกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์) เมื่อปีพ.ศ. 2486
- ตุรกี: มหาวิทยาลัยเทคนิคอิสตันบุล (Istanbul Technical University) ก่อตั้ง พ.ศ. 2316
- ยูกันดา: มหาวิทยาลัยมาเคเรอรี (Makerere University|Makerere|Makerere University), พ.ศ. 2465
- ยูเครน: มหาวิทยาลัยลวีฟ (University of Lviv), พ.ศ. 2204
- สหรัฐ: ดูมหาวิทยาลัยแรกในสหรัฐ (First university in the United States)
- เวเนซุเอลา: มหาวิทยาลัยเวเนซุเอลา (Central University of Venezuela), พ.ศ. 2264
- เวลส์: มหาวิทยาลัยแลมพิเตอร์แห่งเวลส์ ( University of Wales, Lampeter), พ.ศ. 2365
ข้อควรระวัง
แก้วันที่แน่นอนที่นับเป็นวันเริ่มต้นดำเนินการของมหาวิทยาลัยมักไม่ชัดเจน และมักมีความแตกต่างกันไม่น้อยจากตำนานที่ตกทอดกันมา หรือจากวันที่ สถาบันบรรพบุรุษ (สถาบันเดิมก่อนเป็นมหาวิทยาลัย) ก่อตั้ง ตัวอย่างเช่น การที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในปัจจุบัน ได้แก่วันก่อตั้งของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดที่ไม่แน่นอน ซึ่งอาจอยู่ระหว่างช่วงกลางตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 12 ก็ได้ อย่างไรก็ตาม เป็นที่เห็นกันได้ว่าวิทยาลัยที่มีฉันทานุมัติให้ใบปริญญาตรีได้ด้วยตนเองจริงๆ ได้แก่มหาวิทยาลัยเก่าของอเมริกันซึ่งนับเป็นมหาวิทยาลัยสมัยใหม่แล้ว และถ้านับโดยเงื่อนไขอย่างยุโรป, วิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้รับอำนาจเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2185 มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่เรียกตัวเองว่า “มหาวิทยาลัย” แต่ทั้งฮาร์วาร์ดหรือมหาวิทยาลัยยุคอาณานิคม 7 แห่ง (seven other Colonial American colleges) ในสมัยนั้น ไม่มีแห่งใดที่จะมีขนาดและหลากหลายเท่ามหาวิทยาลัยในยุโรปในยุคนั้น มหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งแรกที่เปิดการสอนระดับบัณฑิตศึกษาและให้ปริญญาเอกได้แก่มหาวิทยาลัยเยลเมื่อ พ.ศ. 2403
ดูเพิ่ม
แก้- มหาวิทยาลัยโบราณ Ancient university
- มหาวิทยาลัยยุคกลาง Medieval university
- มหาวิทยาลัยยุคกลาง (เอเซีย) Medieval university (Asia)
- ข้อถกเถียงว่าด้วยมหาวิทยาลัยเก่าแก่ลำดับที่ 3 ของอังกฤษ Third oldest university in England debate
อ้างอิง
แก้- ↑ นี่คือรายชื่อของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่รอดมาได้ทุกวันนี้ การตรวจสอบที่สถาบันอยู่ที่นี่ก็เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างแนวคิดของวิทยาลัย โดยปกติจะพิจารณาว่าการให้ประกาศนียบัตรหรือปริญญาเป็นหนึ่งในปัจจัย เป็นผลให้แนวความคิดนี้ไม่รวมถึงสถาบันการศึกษาภาษาจีนเช่น University of Nanking (จิงอิมพีเรียลสถาบัน) ซึ่งยังคงมีอยู่ก่อตั้งขึ้นในปี 259 เป็นมันไม่ได้ให้ "จบการศึกษา" ในความหมายที่เข้มงวดที่สุด แต่เตรียมที่ นักเรียนสำหรับการทดสอบที่ได้มาตรฐานถูกทำโดยรัฐเพื่อให้เกิดการศึกษาระดับปริญญาหรือตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ในทำนองเดียวกันคุณควรจะตั้งคำถามความเหมาะสมของสถาบันการศึกษาในยุคกลางของประเทศอาหรับ (Madrassas) ในรายการนี้เพราะสถาบันไม่ได้ให้สิทธิ์ "ประกาศนียบัตร" หรือ "จบการศึกษา" ใบอนุญาตลงนามอาจารย์ในชื่อของตัวเองไม่ได้เป็นสถาบันที่นักเรียนเสร็จสิ้นการฝึกอบรมของเขากับคอลเลกชันของใบอนุญาตสำหรับครูผู้สอน แต่ไม่ได้ของสถาบันดังกล่าว | William J. Courtenay, Jürgen Miethke, David B. Priest. Universities and Schooling in Medieval Society. Brill Academic Publishers, 2000. ISBN 90-04-11351-7. Page 96.
- ↑ Bender, Thomas (1991), The university and the city: from medieval origins to the present, Oxford: Oxford University Press, pp. 13–14, ISBN 978-0-19-506775-0, "The statement that all universities are descended either directly or by migration from these three prototypes [Oxford, Paris, and Bologna] depends, of course, on one's definition of a university. And I must define a university very strictly here. A university is something more than a center of higher education and study. One must reserve the term university for—and I'm quoting Rashdall here—"a scholastic guild, whether of masters or students, engaged in higher education and study," which was later defined, after the emergence of universities, as studium generale."
- ↑ Alatas, Syed Farid, "From Jami`ah to University: Multiculturalism and Christian–Muslim Dialogue", Current Sociology, 54 (1): 112–32
- ↑ Makdisi, George (April–June 1989), "Scholasticism and Humanism in Classical Islam and the Christian West", Journal of the American Oriental Society, 109 (2): 175-182 [175-77]
{{citation}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) - ↑ Grenler, Paul F. The Universities of the Italian Renaissance. Johns Hopkins University Press, 2004. Pages 43-44.
- ↑ Britannica Online Encyclopedia, Universities of Toulouse I, II, and III
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-12. สืบค้นเมื่อ 2008-06-27.
- ↑ Catholic Encyclopedia, University of Angers
- ↑ See: Ridder-Symoens, Hilde de. A History of the University in Europe. Cambridge University Press, 2003. Page 83.
- ↑ Quoted from: Chadwick, Owen. The Early Reformation on the Continent. Oxford University Press, 2003. Page 257.
- ↑ Official website of University of Bordeaux IV, History เก็บถาวร 2008-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ See: Ridder-Symoens, Hilde de. A History of the University in Europe. Cambridge University Press, 2003. Page 84.