โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา อยู่ในส่วนการศึกษาตามการจัดหน่วยขึ้นตรงของกองทัพอากาศไทย มีหน้าที่อำนวยการศึกษา ฝึกอบรม และปกครองนักเรียนนายเรืออากาศ เสนอแนะหลักสูตร และกำหนดแนวการสอน ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
Navaminda Kasatriyadhiraj Royal Air Force Academy | |
ประเภท | สถาบันการศึกษาของทหาร |
---|---|
สถาปนา | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 |
ที่ตั้ง | |
เว็บไซต์ | http://www.nkrafa.ac.th/index.php |
โดยมี พลอากาศโท จักรา ธรรมวิชัย [2] เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช พลอาอากาศตรี ประภาส เอี่ยมโมฬี เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช [3] ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชเรียกว่า "นักเรียนนายเรืออากาศ" (คำย่อ นนอ.)
ประวัติ
แก้ก่อนปี พ.ศ. 2493 กองทัพอากาศรับบุคลากรที่ผลิตจากสถาบันการศึกษาอื่นและมหาวิทยาลัยเข้ามาทำงานในกองทัพอากาศ ต่อมาภารกิจและกิจการของกองทัพอากาศมีมากขึ้น ประกอบกับยังไม่มีสถาบันที่จะผลิตนายทหารสัญญาบัตรของตนเอง นอกจากนี้ ทางกองทัพอากาศต้องการนายทหารที่มีความรู้เฉพาะสาขาวิชามากกว่าด้านความรู้ทั่วไป จึงได้เตรียมการเริ่มตั้ง "โรงเรียนนายเรืออากาศ" เพื่อผลิตนายทหารหลักให้กับกองทัพอากาศ แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัดประกอบกับปัญหาบางประการจึง ทำให้การก่อตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศต้องล่าช้าออกไปนานนับทศวรรษ
พ.ศ. 2493 กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ได้เสนอเสนาธิการทหารอากาศว่า นายทหารของกองทัพอากาศนั้น ควรที่จะได้รับการศึกษา และการฝึกฝนตลอดระยะเวลาที่รับราชการอยู่ในกองทัพอากาศ และในปีต่อมา เสนาธิการทหารอากาศได้มีคำสั่งให้กรมยุทธศึกษาทหารอากาศเตรียมโครงการเพื่อเปิดโรงเรียนนายเรืออากาศโดยละเอียด
โครงการจัดตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศได้รับนโยบายและความเห็นชอบจากผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้น จึงเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะรัฐบาล คณะรัฐมนตรีได้ประชุมลงมติอนุมัติเมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 แต่ยังไม่พร้อมที่จะทำการเปิดสอนได้
ต่อจากนั้นได้ทำการคัดเลือกนักเรียนนายเรืออากาศรุ่นแรก จำนวน 30 นาย และได้เข้ามารายงานตัวเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 โดยใช้ตึกเหลือง (กรมสวัสดิการทหารอากาศในปัจจุบัน) ซึ่งนายพลโตโจ้ได้สร้างไว้เพื่อบัญชาการรบในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นอาคารเรียนชั่วคราว และได้จัดให้มีพิธีเปิดโรงเรียนขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 จึงได้ถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาโรงเรียนนายเรืออากาศ
5 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารกองบัญชาการ ซึ่งเป็นอาคารหลังแรก ณ ที่ตั้งถนนพหลโยธิน ตรงข้ามกองบัญชาการทหารอากาศ และเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2506 จึงได้มีพิธีเปิดอาคาร และย้ายมาดำเนินการที่แห่งนี้อย่างเป็นทางการ
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช" ในโอกาสเฉลิมฉลอง 60 ปีของโรงเรียนนายเรืออากาศ [4]
โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ได้ย้ายไปยังที่ตั้งใหม่ ณ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[5]
สัญลักษณ์ประจำสถาบัน
แก้เครื่องหมายราชการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ มีพระอุณาโลมประดิษฐานอยู่ภายใน ส่วนยอดพระมหาพิชัยมงกุฎมีพระรัศมีล้อมรอบ เบื้องล่างพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นรูปอาร์มมีแถบสีธงไตรรงค์คาดเฉียง มีรูปปีกนกทรงรูปอาร์มไว้ทั้งด้านขวาและซ้าย (ปีกนักบินชั้นที่ 1) และภายใต้รูปอาร์มเป็นรูปดาว 5 แฉก มีช่อชัยพฤกษ์โค้งรองรับอยู่เบื้องล่าง รูปทั้งหมดอยู่ในวงกลมเบื้องล่างมีแพรแถบข้อความว่า “โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช”
- ปีกนักบินชั้นที่ 1 เป็นสัญลักษณ์ของนักบินทหารอากาศ แสดงถึงนักเรียนนายเรืออากาศซึ่งสำเร็จออกเป็นนายทหารสัญญาบัตร และจะเป็นนักบินของทหารอากาศต่อไป
- ดาว 5 แฉกสีเงิน แสดงถึง ความมีเกียรติ นักเรียนนายเรืออากาศทุกคนมุ่งมั่นปรารถนาที่จะรับราชการให้มีความก้าวหน้าสูงถึงขั้นนายพลอากาศ
- ช่อชัยพฤกษ์ใบสีทอง แสดงถึง ความสำเร็จด้านการศึกษาของนักเรียนนายเรืออากาศ เพื่อที่ออกไปรับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตรต่อไป
- วงกลมสีฟ้า และแถบปลายแฉกสะบัดสีเหลือง โดยสีฟ้า-เหลือง เป็นสีประจำโรงเรียนนายเรืออากาศฯ
โครงสร้างหน่วยงาน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- กองบัญชาการ
- กองการศึกษา
- สำนักบัณฑิตศึกษา
- กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์
- กองวิชาทหาร
- กองพลศึกษา
- กองบริการ
- กองส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
- กองสถิติและประเมินผล
- โรงพยาบาล
- กองร้อยทหารอากาศโยธิน
- กองร้อยทหารสารวัตร
- แผนกการเงิน
ทำเนียบผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ
แก้ลำดับ | รายนามผู้บัญชาการฯ | ดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | นาวาอากาศเอก ละเอิบ ปิ่นสุวรรณ์ | พ.ศ. 2495–2497 | |
2 | พลอากาศจัตวา โชติ ชินะศิริ | พ.ศ. 2497–2500 | |
- | พลอากาศโท หะริน หงสกุล | พ.ศ. 2500–2501 | รักษาราชการแทน |
- | พลอากาศตรี วงศ์ พุ่มพูนผล | พ.ศ. 2501–2502 | รักษาราชการแทน |
3 | พลอากาศตรี ประสงค์ คุณะดิลก | พ.ศ. 2502–2503 | |
- | นาวาอากาศเอก ชู สุทธิโชติ | พ.ศ. 2503–2504 | รักษาราชการแทน |
4 | พลอากาศตรี ละเอิบ ปิ่นสุวรรณ์ | พ.ศ. 2504–2505 | สมัยที่ 2 |
5 | พลอากาศตรี อุสาห์ ชัยนาม | พ.ศ. 2505–2507 | |
6 | พลอากาศตรี กงทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา | พ.ศ. 2507–2509 | |
7 | พลอากาศตรี บัญชา เมฆวินัย | พ.ศ. 2509–2513 | |
8 | พลอากาศตรี จรัส สุรัสวดี | พ.ศ. 2513–2516 | |
9 | พลอากาศตรี สุรยุทธ นิวาศะบุตร | พ.ศ. 2516–2518 | |
10 | พลอากาศตรี จรรยา สุคนธทรัพย์ | พ.ศ. 2518–2521 | |
11 | พลอากาศตรี จำลอง ปุณณะกิตติ | พ.ศ. 2521–2522 | |
12 | พลอากาศตรี เปรื่องวิทย์ หงสนันทน์ | พ.ศ. 2522–2524 | |
13 | พลอากาศตรี จิโรจ บูรณะบุตร | พ.ศ. 2524–2525 | |
14 | พลอากาศตรี วีระ กิจจาทร | พ.ศ. 2525–2527 | |
15 | พลอากาศตรี สุวิช จันทประดิษฐ์ | พ.ศ. 2527–2530 | |
16 | พลอากาศตรี เฉลิม ประเสริฐศรี | พ.ศ. 2530–2532 | |
16 | พลอากาศตรี เฉลิม ประเสริฐศรี | พ.ศ. 2532–2534 | สมัยที่ 2 |
17 | พลอากาศโท ธีร์ศิลป์ คัมภีรญาณนนท์ | พ.ศ. 2534–2535 | |
18 | พลอากาศโท ธนนิตย์ เนียมทันต์ | พ.ศ. 2535–2536 | |
19 | พลอากาศโท จรัล โกมุทแดง | พ.ศ. 2536–2538 | |
20 | พลอากาศโท วีระพงษ์ สิงหเสนี | พ.ศ. 2538–2539 | |
21 | พลอากาศโท มหินทรา เทียมทัศน์ | พ.ศ. 2539–2541 | |
22 | พลอากาศโท ชลิต พุกผาสุข | พ.ศ. 2541–2542 | |
23 | พลอากาศโท ทองเลื่อน ประพัฒน์ทอง | พ.ศ. 2542–2543 | |
24 | พลอากาศโท ไพศาล สีตบุตร | พ.ศ. 2543–2546 | |
25 | พลอากาศโท ถวัลย์ มหาดไทย | พ.ศ. 2546–2547 | |
26 | พลอากาศโท หม่อมหลวงสุปรีชา กมลาศน์ | พ.ศ. 2547–2550 | |
27 | พลอากาศโท คณิต สุวรรณเนตร | พ.ศ. 2550–2551 | |
28 | พลอากาศโท เพทาย อุดมศักดิ์ | พ.ศ. 2551–2553 | |
29 | พลอากาศโท สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์ | พ.ศ. 2553–2555 | |
30 | พลอากาศโท วัธน มณีนัย | พ.ศ. 2555–2557 | |
31 | พลอากาศโท วิเชียร ธรรมาธร | พ.ศ. 2557–2558 | |
32 | พลอากาศโท ฉัตรชัย บุญญานุรักษ์ | พ.ศ. 2558–2559 | |
33 | พลอากาศโท สิทธิพร เกสจินดา | พ.ศ. 2559–2561 | |
34 | พลอากาศโท พัทธนันท์ นุชพงษ์ | พ.ศ. 2561-2562 | |
365 | พลอากาศโท ธาดา เคี่ยมทองคำ | พ.ศ. 2562-2563 | |
36 | พลอากาศโท เดชอุดม คงศรี | พ.ศ. 2563-2563 | |
37 | พลอากาศโท ณรงค์ อินทชาติ | พ.ศ. 2563-2565 | |
38 | พลอากาศโท ณรงค์ศักดิ์ พิชิตชโลธร | พ.ศ. 2565-2565 | |
39 | พลอากาศโท วชิรศักดิ์ พูสิทธิ์ | พ.ศ. 2565-2566 | |
40 | พลอากาศโท[6] ธัชชัย อัจฉริยาการุณ[7] | พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน |
รายนามนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียง
แก้- พลอากาศเอก อนันต์ กลินทะ (รุ่นที่ 1) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล (รุ่นที่ 1) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พลอากาศเอก อมร แนวมาลี (รุ่นที่ 5) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
- พลอากาศเอก ปอง มณีศิลป์ (รุ่นที่ 9) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
- พลอากาศเอก คงศักดิ์ วันทนา (รุ่นที่ 12) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข (รุ่นที่ 13) องคมนตรี
- พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต (รุ่นที่ 17) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ (รุ่นที่ 18) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
- พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง (รุ่นที่ 20) อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง (รุ่นที่ 21) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
- พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ (รุ่นที่ 27) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
- พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ (รุ่นที่ 28) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
- พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ (รุ่นที่ 28) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
- พลอากาศเอก อลงกรณ์ วัณณรถ (รุ่นที่ 29) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
- พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล (รุ่นที่ 31) ผู้บัญชาการทหารอากาศ
- พลอากาศโท วชิระ เริงฤทธิ์ (รุ่นที่ 25) อดีตเจ้ากรมการข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
หลักสูตร
แก้หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต มี 5 สาขาวิชา
|
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต มี 2 สาขาวิชา
- สาขาวัสดุศาสตร์ทางการทหารและอากาศยาน
- สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
อ้างอิง
แก้- ↑ "โครงการปรับวางที่ตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช (มวกเหล็ก)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-10-04. สืบค้นเมื่อ 2022-05-13.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ ในหลวง'พระราชทานชื่อ ร.ร.นายเรืออากาศ 'นวมินทกษัตริยาธิราช', ไทยรัฐ
- ↑ "29 พ.ค.นี้ เปิดเรียนโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ที่มวกเหล็กเป็นวันแรก". mgronline.com. 2023-05-20.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 9 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 42 วันที่ 30 สิงหาคม 2566