มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยรัฐในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยมหิดล (อังกฤษ: Mahidol University; อักษรย่อ: MU) เดิมชื่อ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์[1] เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ตั้งอยู่ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และมีที่ตั้งอีกหลายแห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอำนาจเจริญ

มหาวิทยาลัยมหิดล
Mahidol University
พระมหาพิชัยมงกุฎ กรมหลวงสงขลานครินทร์
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
ชื่อย่อม.มหิดล / MU
คติพจน์บาลี: อตฺตานํ อุปมํ กเร
(พึงปฏิบัติต่อผู้อื่น เหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง)
อังกฤษ: Wisdom of the Land
(ปัญญาของแผ่นดิน)
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486; 81 ปีก่อน (2486-02-02)[1]
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ13,614,769,800 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
นายกสภาฯศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร
อธิการบดีศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปิยะมิตร ศรีธรา
อาจารย์4,128 คน (พ.ศ. 2567)
บุคลากรทั้งหมด39,371 คน (พ.ศ. 2567)
ผู้ศึกษา31,057 คน (พ.ศ. 2566)
ที่ตั้ง
วิทยาเขตพื้นที่และวิทยาเขต
6
ต้นไม้กันภัยมหิดล
สี  สีน้ำเงิน[3]
เครือข่ายAUN, ASAIHL
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
กันภัยมหิดล (Afgekia mahidoliae) ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหิดลมีที่มาจากโรงเรียนแพทยากร (โรงพยาบาลศิริราชในปัจจุบัน) ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2432 ก่อนที่จะถูกรวมเข้ากับโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ เพื่อสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งเปลี่ยนสถานะเป็น คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล[4] ต่อมาในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ได้แยกคณะวิชาด้านแพทยศาสตร์สี่คณะ มาจัดตั้งเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์[1] และในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก[5]

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนใน 17 คณะ 6 วิทยาลัย 9 สถาบัน และ 3 วิทยาเขต และเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยจากการจัดอันดับของสำนักจัดอันดับหลายสำนัก และได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2552 และยังเป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network; AUN)

ประวัติ

แก้
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงศิริราชพยาบาลขึ้นบริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือที่เรียกว่า วังหลัง[6] ต่อมาใน พ.ศ. 2432 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง โรงเรียนแพทยากร[7] โดยจัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร 3 ปี หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามใหม่ว่า โรงเรียนราชแพทยาลัย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อววันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460[8] โดยใช้ชื่อว่า "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล" ซึ่งได้รับการพัฒนาวิชาการจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์[9] จนสามารถจัดการศึกษาถึงขั้นประสาทปริญญาบัตร[10] ซึ่งอนุมัติโดยสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[11]

ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น โดยแยกคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระเภสัชศาสตร์ และแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ จัดตั้งเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์[12] สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยได้จัดตั้งคณะต่าง ๆ หลายคณะ ต่อมาได้โอนคืนคณะที่ซ้ำซ้อนออกจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ โอนไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ โอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ โอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยมหิดล อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม[13] ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ[14] และใน พ.ศ. 2551 มีแผนแม่บทพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยปรับนโยบายในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อยกระดับความสำคัญและเอื้อต่อการทำกิจกรรม[15] นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน ปี 2558–2562 โดยมี 3 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การส่งเสริมความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ และการส่งเสริมให้เกิดพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน

สัญลักษณ์

แก้
 
ตราประจำมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • ตราสัญลักษณ์
    • สมัยที่ยังเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ตราสัญลักษณ์เป็นตราวงกลม 2 ชั้น ภายในเป็นรูปงูพันคบเพลิง วงนอกด้านบนเขียนว่า "อตฺตานํ อุปมํ กเร" ด้านล่างเขียนว่า "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์"
    • ต่อมาเมื่อมีการพระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยมหิดล" ได้เปลี่ยนเป็นตราวงกลม 2 ชั้น วงกลมชั้นในมีพื้นหลังเป็นสีน้ำเงิน ตรงกลางเป็นตราประจำราชสกุลมหิดลสีเหลืองทอง ส่วนวงกลมชั้นนอกนั้นมีพื้นหลังสีขาวตัวอักษรสีเหลืองทองด้านบนเขียนว่า "อตฺตานํ อุปมํ กเร" ด้านล่างเขียนว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล" คั่นด้วยดอกประจำยามสีเหลืองทอง[16] ตรานี้ร่างและออกแบบโดยนายแพทย์นันทวัน พรหมผลิน และกอง สมิงชัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี สถาปนิกพิเศษประจำสำนักพระราชวัง ในการปรับแก้ไขตรีและพระมหามงกุฎของตราให้เป็นแบบไทยและพระราชทานตราให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2512[17]
  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีน้ำเงิน โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระราชทานสีนี้ซึ่งเป็นสีแห่งความเป็นราชขัติยนุกูลแห่งบรมราชวงศ์ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2512[18]
  • ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นกันภัยมหิดล ซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระวินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542[19]

ทำเนียบอธิการบดี

แก้
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
ลำดับ อธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อำมาตย์ตรี พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกูร) 12 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 16 เมษายน พ.ศ. 2488
2 ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์ หลวงเฉลิมคัมภีร์เวชช์ (เฉลิม พรหมมาส) 17 เมษายน พ.ศ. 2488 – 15 กันยายน พ.ศ. 2500
3 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หลวงพิณพากย์พิทยาเภท (พิณ เมืองแมน) 16 กันยายน พ.ศ. 2500 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2501
4 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สวัสดิ์ แดงสว่าง 16 สิงหาคม พ.ศ. 2501 – 2 มิถุนายน พ.ศ. 2507
5 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชัชวาล โอสถานนท์ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2507 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2512
มหาวิทยาลัยมหิดล
ลำดับ อธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
5 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชัชชวาล โอสถานนท์ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2512 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 [20]
6 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ กษาน จาติกวนิช 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2522 [21][22][23][24]
7 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2522 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2534 [25][26][27][28][29]
8 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2538 [30]
9 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2538 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2542 [31]
10 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550 [32][33]
11 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554 [34]
12 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ รัชตะ รัชตะนาวิน 26 มกราคม พ.ศ. 2555 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 [35]
13 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ อุดม คชินทร 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 [36]
14 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บรรจง มไหสวริยะ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 [37]
15 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปิยะมิตร ศรีธรา 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน [38]

สภามหาวิทยาลัย

แก้
รายนาม ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน
ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการสรรหา เเละประธานกรรมการพิจารณาผลตอบแทน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.คลินิกพิเศษ นพ.เสรี ตู้จินดา อุปนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการ ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน บริษัท แพทย์รังสิตเฮลท์แคร์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
อดีตประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
อดีตอธิบดีกรมการแพทย์
อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ดร.โชค บูลกุล กรรมการสภามหาวิทยาลัย กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย

ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

โชติกา สวนานนท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)

อดีตกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล กรรมการสภามหาวิทยาลัย กรรมการอิสระ ประธานกรรมการเทคโนโลยี กรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล และกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ
อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
อดีตผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ศ.ดร.ปราณี ทินกร กรรมการสภามหาวิทยาลัย กรรมการอิสระ และประธานคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัธรรมศาสตร์
อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

มนูญ สรรค์คุณากร กรรมการสภามหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารงานบุคคล กลุ่มบริษัทเซ็นทรัล

อดีตรองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย กรรมการสมาคมอาเซียนแห่งประเทศไทย

อดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
อดีตอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ
อดีตเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ
อดีตรองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ กรรมการสภามหาวิทยาลัย กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จํากัด (มหาชน)

อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

วลัยรัตน์ ศรีอรุณ กรรมการสภามหาวิทยาลัย กรรมการในคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล

อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

ศ.ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล กรรมการสภามหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)

อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อดีตรองอธิการบดีฝ่ายการคลัง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและกฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

อดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง

ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร กรรมการกำกับความเสี่ยง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์)

ศ.เกียรติคุณ นพ.อภิชาติ วิชญาณรัตน์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย แพทย์ที่ปรึกษาโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลไทยนครินทร์

อดีตรองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

พื้นที่มหาวิทยาลัย

แก้
 
ภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ขวามือเป็นมหิดลสิทธาคาร

มหาวิทยาลัยมหิดลมีที่ตั้งในหลายพื้นที่ ได้แก่[39]

พื้นที่ศาลายา

ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นที่ตั้งหลักของมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วยคณะและวิทยาลัยส่วนใหญ่ และหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี บัณฑิตวิทยาลัย โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โรงเรียนสาธิตนานาชาติ นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของมหิดลสิทธาคารและอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

พื้นที่บางกอกน้อย

ตั้งอยู่ที่แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์ นอกจากนี้ยังมีศูนย์กายภาพบำบัดของคณะกายภาพบำบัด ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าในแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด

พื้นที่พญาไท

ตั้งอยู่ที่แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร มี 3 บริเวณย่อย ได้แก่

  • บริเวณถนนพระรามที่ 6 เป็นที่ตั้งของคณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา
  • บริเวณถนนราชวิถี เป็นที่ตั้งของคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคณะทันตแพทยศาสตร์
  • บริเวณถนนศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งของคณะเภสัชศาสตร์

นอกจากนี้ยังมีวิทยาลัยการจัดการ ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท

พื้นที่ต่างจังหวัด

การศึกษา

แก้

มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนในระบบหน่วยกิต ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยทั้งสิ้น 629 สาขาวิชา[a][40] ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทั้งในหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาเอกได้มากที่สุดในประเทศ[41] ในปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยรัฐที่มีปริมาณนักศึกษาต่างชาติมากที่สุด[42] และใน พ.ศ. 2549 และได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณประเภทธุรกิจบริการดีเด่นกลุ่มการศึกษานานาชาติจากนายกรัฐมนตรี (Prime Minister’s Export Award 2006) เพื่อประกาศเกียรติคุณมหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศมากที่สุด (Most recognized service) ในพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล เมื่อวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล[43]

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล มีส่วนงานและกลุ่มภารกิจในสังกัด ประกอบด้วย 17 คณะ 10 สถาบัน 6 วิทยาลัย 3 วิทยาเขต และหน่วยงานต่างๆ[44] นอกจากนี้ยังมีสถาบันสมทบอีกหลายสถาบัน ซึ่งนักศึกษาของบางสถาบันเข้าร่วมการเรียนการสอนกับมหาวิทยาลัยมหิดล ในขณะที่บางสถาบันมีหลักสูตรเป็นเอกเทศ

คณะ

แก้

วิทยาลัย

แก้

สถาบัน

แก้

ศูนย์และกลุ่มภารกิจ

แก้

วิทยาเขต

แก้

สถาบันสมทบ

แก้


สถาบันสมทบและสถาบันร่วมผลิตในอดีต

การจัดระเบียบ

แก้

โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์

แก้
 
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ และอาคารสถานีรถไฟธนบุรีเดิม

เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ จึงมีโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์หลายแห่ง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกและโรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียงผู้ป่วยมากที่สุดในประเทศไทย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ซึ่งสร้างขึ้นบนพื้นที่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยบริจาคให้ และสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช ศูนย์การแพทย์ทั้งสามแห่งตั้งอยู่บริเวณเดียวกันในแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย นอกจากนี้ คณะยังมีศูนย์การแพทย์อีกหนึ่งแห่ง นั่นคือ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพื้นที่ศาลายาโดยมีถนนบรมราชชนนีคั่นกลาง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์สองแห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 6 ในเขตราชเทวี และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ตั้งอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

นอกเหนือจากคณะแพทยศาสตร์แล้ว คณะเวชศาสตร์เขตร้อนก็มีโรงพยาบาลเป็นของตนเอง ตั้งอยู่ริมถนนราชวิถี ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เช่นเดียวกันกับคณะทันตแพทยศาสตร์ ที่มีโรงพยาบาลตั้งอยู่ภายในคณะ คณะสัตวแพทยศาสตร์มีโรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทรและโรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่าปศุปาลันในพื้นที่ศาลายา และวิทยาเขตนครสวรรค์ ก็มีศูนย์การแพทย์มหิดลเป็นของตนเองด้วยเช่นกัน

สื่อ

แก้

มหาวิทยาลัยมหิดลมีสถานีโทรทัศน์ มหิดลแชนเนล ซึ่งนำเสนอเนื้อหาจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก[50][51] นอกจากนี้ ยังมีช่องบนยูทูบสองช่องหลัก ชื่อว่า มหิดลแชนเนล[52] และ วีมหิดล

โพรไฟล์วิชาการ

แก้

หอสมุด

แก้
 
หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล มีฐานเดิมจาก "ห้องอ่านหนังสือ" ของโรงเรียนราชแพทยาลัย ต่อมาใน พ.ศ. 2468 ได้ก่อตั้งเป็น "ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์" และใน พ.ศ. 2499 กฤษฎีกาการจัดวางระเบียบราชการของกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้ยกฐานะห้องสมุดเป็น "แผนกห้องสมุด" สังกัดสำนักงานเลขานุการ กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นทำหน้าที่เป็นห้องสมุดของทั้งมหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลด้วย

ห้องสมุดยกฐานะเป็น "กองห้องสมุด" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 สิงหาคม 2520 ต่อมากองห้องสมุดได้รับการสถาปนาเป็น "สำนักหอสมุด" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 103 ตอนที่ 140 วันที่ 8 สิงหาคม 2529 โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะ มหาวิทยาลัยได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยดำเนินงานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้มีทรัพยากรห้องสมุดในรูปแบบที่หลากหลาย ต่อมาในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนชื่อสำนักหอสมุดเป็น "หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล" โดยเป็นส่วนงานหนึ่งในระดับคณะ[53]

พิพิธภัณฑ์

แก้

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลมีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุที่เปิดให้บริการหลายแห่ง[54] ทั้งในพื้นที่ศาลายา พื้นที่บางกอกน้อย พื้นที่พญาไท และวิทยาเขตกาญจนบุรี

งานวิจัย

แก้

มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นงานวิจัย โดยในปัจจุบันมีกลุ่มงานวิจัยใน 5 สาขาหลักด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์และคลินิก กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การจัดการ และศิลปศาสตร์ และกลุ่มภาษาและวัฒนธรรม[55] เมื่อพิจารณาจากจำนวนผลงานทางวิชาการระดับนานาชาตินั้น พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีจำนวนผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติบนฐานข้อมูลของ ISI databases เป็นอันดับ 1 ติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. 2542–2549[56] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน พ.ศ. 2548 คณะวิทยาศาสตร์มีจำนวนผลงานวิจัยเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งอื่นในประเทศ[57] มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนมากที่สุดในประเทศ[58]

การประเมินคุณภาพและการจัดอันดับ

แก้
อันดับมหาวิทยาลัย
(คัดเฉพาะอันดับนานาชาติไม่เกิน 500)
อันดับในประเทศ (อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัด อันดับ
CWTS (2017) 2 (458)
Nature Index (2016) 2 (-)
QS (Asia) (2018) 2 (58)
QS (World) (2018) 2 (334)
QS GER (2018) 2 (301-500)
RUR (2017) 2 (408)
RUR reputation (2017) 2 (246)
RUR research (2016) 3 (457)
RUR Academic (2017) 1(328)
THE (Asia-Pacific) (2017) 1 (101-110)
THE (Asia) (2017) 1 (97)
THE (BRICS) (2017) 1 (76)
UI Green (Overall) (2017) 1 (86)
URAP (2017-2018) 1 (443)

ใน พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดอันดับให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย ทั้งในด้านการเรียนการสอน ซึ่งได้คะแนนร้อยละ 61.11 จากคะแนนเต็มร้อยละ 80 และด้านการวิจัย ซึ่งได้คะแนนเต็ม[59][60]

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษา ผลปรากฏว่าในการประเมินครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2554) มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาควิชาฟิสิกส์, สาขาวิชาพรีคลินิก ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิชีววิทยา และเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชาจุลชีววิทยาและอณูชีววิทยา สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล[61][62]

นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน SCImago Institutions Ranking,[63] The Times Higher Education,[64][65][66][67] Academic Performance,[68] และ U.S. News & World Report[69] จัดอันดับให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยในด้านวิชาการ ส่วนในด้านอื่น ๆ อย่างด้านสิ่งแวดล้อม[70] และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ[71][72] มหาวิทยาลัยมหิดลก็ถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศด้วยเช่นกัน

ชีวิตนักศึกษา

แก้

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยมหิดล จะเข้าศึกษาที่พื้นที่ศาลายาร่วมกันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี จากนั้นจะแยกย้ายกันไปตามคณะในพื้นที่ต่างๆ บรรยากาศในการใช้ชีวิตของนักศึกษามีความหลากหลายมากเพราะนักศึกษามาจากต่างคณะกัน มีกิจกรรมมากมาย เช่น งานรักน้อง การเชียร์แสตนด์ งานอำลาศาลายา งานวันมหิดล เป็นต้น มีสถานที่ออกกำลังกายและลานกีฬาให้นักศึกษาได้เล่นตามความต้องการ การสัญจรหลักของนักศึกษาคือจักรยานหรือรถราง รวมถึงรถรับส่งจากพื้นที่ศาลายาไปยังพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร

การพักอาศัย

แก้

ที่พักอาศัยสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จะเรียกว่า บ้านมหิดล[73] โดยบริเวณที่พักมีการจัดเป็นสัดส่วน อยู่บริเวณทางด้านหลังศูนย์การเรียนรู้มหิดล บ้านมหิดลประกอบไปด้วยอาคารหอพัก 6 หลัง ได้แก่

นอกจากบ้านมหิดลแล้ว ยังมีหอพักแห่งอื่นที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ศาลายา ได้แก่ หอพักพยาบาลรามาธิบดี หอพักสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน หอพักสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล หอพักวิทยาลัยนานาชาติ หอพักน้ำทองสิกขาลัยของวิทยาลัยศาสนศึกษา อาคารชุดพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียม 4 อาคาร และโรงแรมศาลายาพาวิลเลียน

สำหรับพื้นที่บางกอกน้อย มีหอพักสำหรับนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและคณะพยาบาลศาสตร์ ได้แก่ หอมหิตลาธิเบศ หอหญิงเตี้ย หอหญิงสูง หอแปดไร่ และหอเจ้าพระยา พื้นที่พญาไทมีหอพักคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและหอพักคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และพื้นที่ต่างจังหวัด อันได้แก่ กาญจนบุรี นครสวรรค์ อำนาจเจริญ ต่างก็มีหอพักประจำวิทยาเขตด้วยกันทั้งสิ้น

กิจกรรมนักศึกษา

แก้

กิจกรรมที่จัดโดยนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยมหิดลจะจัดโดยองค์กรนักศึกษาและกลุ่มกิจกรรมนักศึกษา องค์กรนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ สโมสรนักศึกษาซึ่งมีทั้งระดับมหาวิทยาลัยและระดับส่วนงาน และสภานักศึกษา ส่วนกลุ่มกิจกรรมได้แก่ ชมรมซึ่งสังกัดอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสโมสรนักศึกษา และกลุ่มกิจกรรมอิสระ กิจกรรมนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดลจะเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. 2557

สโมสรนักศึกษา

แก้

สโมสรนักศึกษาเป็นศูนย์กลางส่งเสริมและจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรแก่นักศึกษา โดยมีคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาเป็นผู้ดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายของมหาวิทยาลัย คณะกรรมการสโมสรนักศึกษา ประกอบด้วย นายกสโมสร อุปนายกสโมสร เลขานุการ เหรัญญิก ปฏิคม ประชาสัมพันธ์ วิเทศสัมพันธ์ กรรมการด้านกีฬา กรรมการด้านศิลปะและวัฒนธรรม กรรมการด้านบำเพ็ญประโยชน์ กรรมการด้านวิชาการ และกรรมการอื่น ๆ อีกจำนวนไม่เกิน 14 คน

สภานักศึกษา

แก้

สภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล (อังกฤษ: Mahidol University Student Council) เป็นองค์กรนักศึกษาที่เป็นตัวแทนของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งขึ้นภายใต้ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. 2557 โดยมีหน้าที่กำกับดูแลและประสานงานกิจกรรมนักศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย[74]

สมาชิก
แก้

สภานักศึกษาประกอบด้วยผู้แทนนักศึกษาจากแต่ละส่วนงาน โดยแต่ละส่วนงานสามารถมีผู้แทนได้ไม่เกินสามคน การได้มาซึ่งผู้แทนเหล่านี้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สภานักศึกษากำหนดและต้องเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคมของทุกปี[74]

คุณสมบัติ
แก้

สมาชิกสภานักศึกษาต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้:

  1. เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเป็นนักศึกษาโดยสมบูรณ์แล้วในปีการศึกษานั้น
  2. มีผลการเรียนแต้มเฉลี่ยสะสมจนถึงภาคเรียนสุดท้ายก่อนภาคเรียนที่มีการแต่งตั้งมากกว่า 2.00
  3. ผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภานักศึกษาต้องเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป
  4. ไม่อยู่ในระหว่างถูกลงโทษทางวินัยตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
  5. ไม่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยหรือส่วนงาน หรือกรรมการชมรมระดับมหาวิทยาลัย
  6. ไม่เป็นผู้มีสภาพวิทยาทัณฑ์
วาระการดำรงตำแหน่ง
แก้

สมาชิกสภานักศึกษามีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละหนึ่งปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป[74]

การสิ้นสุดวาระ
แก้

การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานักศึกษาสิ้นสุดลงเมื่อ:

  1. ครบวาระ
  2. ตาย
  3. ลาออก
  4. พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
  5. ขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. 2557
  6. ถูกถอดถอนโดยอธิการบดี
  7. ถูกถอดถอนตามมติของสภานักศึกษา
การแทนที่สมาชิก
แก้

ในกรณีที่สมาชิกสภานักศึกษาสิ้นสุดวาระก่อนกำหนด จะมีการเลือกตั้งสมาชิกใหม่ภายใน 30 วัน ยกเว้นหากเหลือวาระไม่ถึง 60 วัน สามารถไม่เลือกตั้งสมาชิกใหม่ได้[74]

การถอดถอนสมาชิก
แก้

การถอดถอนสมาชิกสภานักศึกษาให้ดำเนินการโดยนักศึกษาจำนวนตั้งแต่ 250 คน หรือคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาจำนวน 2 ใน 3 หรือสมาชิกสภานักศึกษาจำนวน 1 ใน 5 สามารถยื่นเรื่องถอดถอนต่อประธานสภานักศึกษา และการถอดถอนจะเป็นไปตามมติของสภานักศึกษา

อำนาจหน้าที่ การประชุม และการดำเนินงาน
แก้

หน้าที่ของสภานักศึกษาประกอบด้วย:

  1. กำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมของสโมสรนักศึกษาทั้งระดับมหาวิทยาลัยและส่วนงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายของมหาวิทยาลัย
  2. อนุมัตินโยบาย โครงการ และงบประมาณของสโมสรนักศึกษา
  3. ออกประกาศ ข้อกำหนด หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสภานักศึกษา โดยไม่ขัดกับข้อบังคับและนโยบายของมหาวิทยาลัย
  4. ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของสโมสรนักศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภานักศึกษา
  5. จัดทำรายงานประเมินผลการดำเนินกิจกรรมในรอบปีและรวบรวมผลการดำเนินกิจกรรมของสโมสรนักศึกษาและชมรม เสนอต่ออธิการบดีเมื่อครบวาระ
  6. ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
  7. เสนอปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับโดยความเห็นชอบของอธิการบดี
  8. ถอดถอนสมาชิกสภานักศึกษา นายกสโมสรนักศึกษา และกรรมการสโมสรนักศึกษา

สภานักศึกษามีอำนาจในการเสนอให้ยุบสโมสรนักศึกษา โดยใช้มติ 4 ใน 5 ของสมาชิกสภานักศึกษาเพื่อยื่นเสนอต่ออธิการบดี โดยอธิการบดีจะเรียกประชุมคณะกรรมการฝ่ายกิจการนักศึกษาเพื่อพิจารณา

การประชุมและการดำเนินงานของสภานักศึกษา
แก้

การประชุมและการดำเนินงานของสภานักศึกษาจะเป็นไปตามประกาศสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การประชุมและการดำเนินงานของสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2567

โครงสร้าง
แก้

โครงสร้างของสภานักศึกษาประกอบไปด้วยคณะกรรมการบริหาร[75] คณะกรรมาธิการสามัญ และสำนักงานเลขาธิการ[76]

คณะกรรมการบริหารสภานักศึกษา
แก้

กิจการของสภานักศึกษาถูกบริหารโดยคณะกรรมการบริหารสภานักศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

  1. ประธานสภา
  2. รองประธานสภาคนที่ 1
  3. รองประธานสภาคนที่ 2
  4. เลขาธิการสภา
  5. รองเลขาธิการสภา
  6. เหรัญญิก
  7. ผู้ช่วยประธานสภา

ตำแหน่งที่ 1 ถึง 5 ได้จากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภานักศึกษาโดยถือเสียงข้างมาก ส่วนตำแหน่งที่ 6 และ 7 ได้จากการเสนอชื่อโดยประธานสภานักศึกษาและได้รับการรับรองจากที่ประชุมสภานักศึกษา โดยทุกตำแหน่งต้องได้รับการแต่งตั้งจากอธิการบดี

คณะกรรมาธิการสามัญ
แก้

คณะกรรมาธิการสามัญตามประกาศคณะกรรมการบริหารสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง คณะกรรมาธิการสามัญและสำนักงานภายในสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2567 ได้แก่

  1. คณะกรรมาธิการส่งเสริมเสรีภาพและความเท่าเทียม
  2. คณะกรรมาธิการพิทักษ์สิทธิและสวัสดิภาพ
  3. คณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณ
  4. คณะกรรมาธิการกิจกรรมนักศึกษา
  5. คณะกรรมาธิการวิชาการและพัฒนาการศึกษา
สำนักงานภายในสภานักศึกษา
แก้

สำนักงานภายในสภานักศึกษาตามประกาศคณะกรรมการบริหารสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง คณะกรรมาธิการสามัญและสำนักงานภายในสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2567 มีสำนักเดียว นั้นคือ สำนักงานเลขาธิการสภานักศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วยฝ่ายดังต่อไปนี้

  1. ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
  2. ฝ่ายสารสนเทศ
  3. ฝ่ายการประชุมและธุรการทั่วไป
อาจารย์ที่ปรึกษา
แก้

สภานักศึกษามีอำนาจในการเสนอชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาให้อธิการบดีพิจารณาแต่งตั้ง เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ และกำกับดูแลการปฏิบัติงานของสภานักศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

การยุบสภานักศึกษา
แก้

กรณีการยุบสภานักศึกษา นักศึกษาจำนวน 1 ใน 8 หรือมติเอกฉันท์ของคณะกรรมการสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัย สามารถเสนอยุบสภานักศึกษาได้ โดยอธิการบดีจะเรียกประชุมคณะกรรมการฝ่ายกิจการนักศึกษาเพื่อพิจารณา และอธิการบดีมีอำนาจในการยุบสภานักศึกษาได้หากมีเหตุผลสมควร

รายชื่อประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
แก้
ลำดับที่ ชื่อ ปีวาระ
44 ศุภกฤต วิทวัสสำราญกุล 2564 ครึ่งแรก
46 ณัฏฐ์ชุณินท์ หงษ์ณิภาษา 2564 ครึ่งหลัง
45 บุญเกื้อหนุน เป้าทอง 2565
46 ชนะโรจน์ เทียนธนะวัฒน์ 2566
47 ฌอน เช็พเพอร์ส[75] 2567
การได้มาซึ่งสมาชิกสภานักศึกษา
แก้

ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. 2557 นั้น ให้การได้มาซึ่งสมาชิกสภานักศึกษาเป็นไปตามที่สภานักศึกษากำหนดเอง

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

แก้
 
มหิดลสิทธาคาร เป็นสถานที่จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดลนับตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน

ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 พระองค์ได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธาน ณ ปะรำพิธีหน้าตึกรังสีวิทยา โรงพยาบาลศิริราช เมื่อครั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยมีบัณฑิตจากคณะต่าง ๆ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรต่อหน้าพระพักตร์ จำนวน 200 คน งานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรยังคงจัดขึ้นที่หอประชุมราชแพทยาลัยในโรงพยาบาลศิริราชเป็นประจำทุกปีจนถึง พ.ศ. 2520 ซึ่งเมื่อมีผู้สำเร็จการศึกษาเพิ่มมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนมาจัดที่สวนอัมพรแทน[77]

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา พิธีพระราชทานปริญญาบัตรจัดขึ้นที่หอประชุมมหิดลสิทธาคาร โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล[78]

การเดินทาง

แก้

ระบบขนส่งมวลชน

แก้
 
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสาย 515 ให้บริการระหว่างศาลายากับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

การเดินทางมายังมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีระบบขนส่งมวลชนหลากหลายรูปแบบ[79] รถโดยสารประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัยทั้งฝั่งถนนบรมราชชนนี ถนนพุทธมณฑล สาย 4 และทางหลวงชนบท นฐ.4006 มีหลายสาย ทั้งรถประจำทางสายที่ให้บริการโดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.), บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด และผู้ให้บริการเอกชนรายอื่น ๆ นอกจากรถประจำทางแล้ว ยังมีรถโดยสารที่ให้บริการโดยมหาวิทยาลัย ได้แก่ ชัตเทิลบัส ที่ให้บริการรับส่งระหว่างพื้นที่ศาลายา บางกอกน้อย และพญาไท และศาลายาลิงก์ ที่ให้บริการรับส่งระหว่างวิทยาลัยดุริยางคศิลป์กับสถานีบางหว้า[80] มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ยังตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟศาลายาบนทางรถไฟสายใต้ มีขบวนรถโดยสารจอดทุกขบวน ในอนาคตมีโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน ซึ่งผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว[81]

สำหรับพื้นที่พญาไท มีรถโดยสายประจำทางผ่านทางฝั่งถนนพระรามที่ 6 และถนนราชวิถี หลายสาย และมีรถไฟชานเมืองให้บริการที่ที่หยุดรถไฟโรงพยาบาลรามาธิบดี หลังคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นอกจากนี้ โรงพยาบาลรามาธิบดียังมีรถโดยสารรับส่งระหว่างคณะกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส พญาไท และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

พื้นที่บางกอกน้อย มีรถโดยสารประจำทางให้บริการฝั่งถนนอรุณอมรินทร์ โดยถนนสายนี้มีสะพานข้ามแยกศิริราชที่เปิดให้บริการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 นอกจากรถประจำทางแล้ว ยังมีรถสองแถวที่ให้บริการในหลายเส้นทาง และมีรถโดยสารของคณะ ได้แก่ ชัตเทิลบัสที่ให้บริการระหว่างคณะกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีไฟฉาย, เซ็นทรัลปิ่นเกล้า และหอพักนักศึกษาแพทย์ ทางรางมีรถไฟชานเมืองให้บริการที่สถานีรถไฟธนบุรี ในอนาคตมีโครงการสถานีร่วมศิริราชบนเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน และรถไฟฟ้าสายสีส้ม[81] ทางน้ำมีเรือด่วนเจ้าพระยา และเรือโดยสารสาธารณะ ไมน์ สมาร์ท เฟอร์รี่ ให้บริการที่ท่าพรานนกและท่ารถไฟ และมีเรือข้ามฟากให้บริการจากท่าวังหลังไปยังท่าพระจันทร์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), ท่ามหาราช และท่าช้าง

ระบบขนส่งภายในมหาวิทยาลัย

แก้
 
รถรางสาย 3 (สายสีแดง)

ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีรถรางวิ่งให้บริการทั้งหมด 4 สาย เรียงตามหมายเลข ได้แก่ สายสีเขียว, สายสีน้ำเงิน, สายสีแดง และสายสีเหลือง[82] นอกจากนี้ ยังมีจักรยานสาธารณะซึ่งนักศึกษาและบุคลากรสามารถยืมใช้ฟรีได้ที่ จักก้าเซ็นเตอร์ หน้าหอพักนักศึกษา โดยต้องลงทะเบียนเพื่อรับบัตรก่อนใช้งาน

บุคคลสำคัญ

แก้

คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทยมากที่สุด โดยมีรายพระนาม และรายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย เช่น

หมายเหตุ

แก้
  1. ข้อมูลสิ้นสุดสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 512 (9/2559) วันที่ 21 กันยายน 2559

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยสาตร
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๗, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. [1], เข้าถึงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
  4. ราชกิจจานุเบกษา. “ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” ratchakitcha.soc.go.th. 15 เมษายน 2460. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/21.PDF (21 มีนาคม 2561 ที่เข้าถึง).
  5. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ว่าด้วยกอมิตีผู้จัดการโรงพยาบาล ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจัดตั้งโรงพยาบาล (ที่วังกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขฝ่ายหลัง (วังหลัง), เล่ม ๔, ตอน ๕, ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐, หน้า ๓๔
  7. แจ้งความกระทรวงพระธรรมการ แผนกกรมพยาบาล เปิดโรงเรียนแพทยากร
  8. ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  9. Becker, William H. Innovative Partners The Rockefeller Foundation and Thailand. New York, New York: The Rockefeller Foundation, 2013. William H. Becker. “Assets: Rockefellerfoundation.” Rockefellerfoundation. 2013. https://assets.rockefellerfoundation.org/app/uploads/20131001203515/Innovative-Partners.pdf เก็บถาวร 2016-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (21 March 2018 accessed).
  10. ราชกิจจานุเบกษา. “พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๗๗.” เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา. 21 เมษายน 2477. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/A/82.PDF (26 สิงหาคม 2561 ที่เข้าถึง).
  11. หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2009, November 7). พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม. Retrieved from เว็บไซต์หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.memohall.chula.ac.th/article/พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม/
  12. "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๖" (PDF).
  13. "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๑๒" (PDF).
  14. "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF).
  15. "การพัฒนาตามผังแม่บท ศาลายา 2551" (PDF). สืบค้นเมื่อ 17 Aug 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗, ตอนพิเศษ ๙๘ ง, ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓, หน้า ๘๘
  17. "ที่มาแห่งตรามหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-09. สืบค้นเมื่อ 2011-01-27.
  18. "สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย : สีน้ำเงินแก่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-26. สืบค้นเมื่อ 2007-05-17.
  19. "ต้นกันภัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-28. สืบค้นเมื่อ 2005-08-26.
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 86 ตอน 116 ฉบับพิเศษ หน้า 2 วันที่ 29 ธันวาคม 2512
  21. คำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติที่ 45/2514 เรื่องแต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 88 ตอน 141 ฉบับพิเศษ หน้า 1 วันที่ 17 ธันวาคม 2514
  22. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอน 14 หน้า 219 วันที่ 29 มกราคม 2517
  23. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 5 ฉบับพิเศษ หน้า 1 วันที่ 11 มกราคม 2519
  24. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 94 ตอน 18 หน้า 413 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2521
  25. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอน 1 หน้า 5 วันที่ 1 มกราคม 2523
  26. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอน 17 ฉบับพิเศษ หน้า 4 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2525
  27. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอน 15 ฉบับพิเศษ หน้า 1 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2527
  28. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอน 10 ฉบับพิเศษ หน้า 24 วันที่ 22 มกราคม 2529
  29. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอน 17 หน้า 587 วันที่ 28 มกราคม 2531
  30. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอน 202 หน้า 11738 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2534
  31. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอน 96 ฉบับ ง หน้า 2 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2538
  32. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน 97 ฉบับ ง หน้า 1 วันที่ 7 ธันวาคม 2542
  33. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอน 102 ฉบับ ง หน้า 12 วันที่ 16 ธันวาคม 2546" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-04-10. สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
  34. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอน 5 ฉบับ ง หน้า 2 วันที่ 10 มกราคม 2551
  35. สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอน 28 ฉบับ ง หน้า 3 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555
  36. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล รักษาการ[ลิงก์เสีย]ประกาศนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 51 ฉบับ ง หน้า 27 วันที่ 5 มีนาคม 2558
  37. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 162 ฉบับ ง หน้า 2 15 กรกฏาคม 2563
  38. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนพิเศษ 268 ฉบับ ง หน้า 13 26 กันยายน 2567
  39. "ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-18. สืบค้นเมื่อ 2016-11-22.
  40. Mahidol University : จำนวนหลักสูตร
  41. จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา จำแนกตามประเภทสถาบันและระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2546, สำนักส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  42. รายงานประจำปี 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  43. "PM Award ประเภทธุรกิจบริการกลุ่มการศึกษานานาชาติที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศมากที่สุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-21. สืบค้นเมื่อ 2007-02-15.
  44. https://mahidol.ac.th/th/mahidol-organization/
  45. จัดตั้งส่วนงาน สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา
  46. การรับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล
  47. การรับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ 3 แห่ง เป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล
  48. 48.0 48.1 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553 เล่มที่ 127 ตอนที่ 69 ก ประกาศวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 บทเฉพาะกาลหน้าที่ 23
  49. "พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-11. สืบค้นเมื่อ 2020-01-12.
  50. Mahidol Channel
  51. "เปิดตัวสถานีโทรทัศน์ Mahidol Channel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-10-04.
  52. Youtube มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ[ลิงก์เสีย]
  53. "ประวัติหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-23. สืบค้นเมื่อ 2016-09-25.
  54. [2] เก็บถาวร 2016-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุแห่งปัญญา.
  55. "Mahidol University : Research". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-27. สืบค้นเมื่อ 2007-08-11.
  56. Svasti MRJ, Asavisanu R. Update on Thai Publications in ISI Databases (1999-2005) เก็บถาวร 2008-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ScienceAsia 2006;32 (2) :101-106.
  57. Svasti MRJ, Asavisanu R., Four Decades of Excellence in Research - Revealed by International Database Searches. เก็บถาวร 2011-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ใน "48 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2501-2549)" หนังสือที่ระลึก 4 รอบ แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 21 ตุลาคม 2549 หน้า 67-70.
  58. "Mahidol University : Notable facts - Has highest budget of any university in Thailand". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-04. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  59. "เปิด 50 อันดับมหาวิทยาลัยไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-08-20.
  60. สถาบันจัดอันดับแห่งประเทศไทย ฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย เก็บถาวร 2007-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2013-02-21
  61. "สกว.ประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2014-07-02.
  62. "สกว.ประเมินครั้งที่ 3 พ.ศ. 2554". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 2014-07-02.
  63. [3]
  64. [4]
  65. [5]
  66. [6]
  67. BRICS & Emerging Economies
  68. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-27. สืบค้นเมื่อ 2016-06-16.
  69. การจัดอันดับโดย U.S. News & World Report
  70. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-02. สืบค้นเมื่อ 2018-01-24.
  71. http://www.webometrics.info/en/Asia/Thailand
  72. http://www.4icu.org/th/
  73. "ที่พักอาศัยสำหรับนักศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  74. 74.0 74.1 74.2 74.3 "02 ข้อบังคับ กิจกรรมนักศึกษา.pdf". Google Docs.
  75. 75.0 75.1 "01 การประชุมและการดำเนินงานของสภานักศึกษา.PDF". Google Docs.
  76. "02 คณะกรรมาธิการสามัญ และสำนักงานภายใน.pdf". Google Docs.
  77. พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
  78. พิธีเปิด "มหิดลสิทธาคาร" เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557
  79. การเดินทาง[ลิงก์เสีย]
  80. ศาลายาลิงก์
  81. 81.0 81.1 "ครม. อนุมัติโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงไปแล้ว 3 เส้นทาง "ศาลายา-ตลิ่งชัน-ศิริราช" และ "รังสิต-ธรรมศาสตร์"". ผู้จัดการออนไลน์. 5 Mar 2019. สืบค้นเมื่อ 12 Aug 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  82. "รถราง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-08. สืบค้นเมื่อ 2016-11-29.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°47′36″N 100°19′21″E / 13.793406°N 100.322514°E / 13.793406; 100.322514