คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Medicine, Chiang Mai University) เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 3 ของประเทศไทยต่อจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังเป็นเป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย[2] และได้รับการรับรองจากแพทยสภาและเป็นแห่งที่ 3 ของประเทศ[3]ถัดจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีพันธกิจในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม เป็นสากล สร้างสรรค์งานวิจัยมาตรฐานสากล เพื่อชี้นำด้านสุขภาพ ให้บริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานระดับสากล[4]

คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Medicine,
Chiang Mai University
ตราสัญลักษณ์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถาปนาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
• 28 ตุลาคม พ.ศ. 2502 (64 ปี)
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• 16 มีนาคม พ.ศ. 2508 (59 ปี)
คณบดีศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์[1]
ที่อยู่
110 ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
วารสารวารสารเชียงใหม่เวชสาร
สี███ สีเขียวใบไม้
มาสคอต
งูพันคบเพลิง
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ศูนย์ศรีพัฒน์
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์
เว็บไซต์www.med.cmu.ac.th

สถานที่ตั้งปัจจุบันของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ เลขที่ 110 ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่(โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยระดับตติยภูมิขั้นสูง Super Tertiary Care) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในสังกัดของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class) ประจำปี 2562[5] และปี 2565[6] จากการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติในแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเผยแพร่ สนับสนุน และผลักดันให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาคการผลิตและการบริการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ องค์กรที่มีวิธีปฏิบัติและผลการดำเนินการในระดับมาตรฐานโลกจะได้รับการประกาศเกียรติคุณด้วยรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และองค์กรที่ได้รับรางวัลจะนำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำองค์กรของตนไปสู่ความสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างให้องค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์เพื่อให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งรางวัลคุณภาพแห่งชาติถือเป็นรางวัลระดับโลก (World Class) เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA)[7]

ประวัติ แก้

 
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีต้นกำเนิดมาจากการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2499 และพัฒนามาเป็น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์(มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) นับเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 3 ของประเทศไทยต่อจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ หรือคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน

การจัดตั้งโรงเรียนแพทย์เกิดขึ้นเนื่องจากความต้องการแพทย์ยังมีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ทั้งประเทศมีโรงเรียนแพทย์อยู่เพียง 2 แห่ง และทางมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์เห็นว่าการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์จะเป็นการกระจายโอกาสด้านการศึกษาแพทย์ในท้องถิ่น ทำให้นักศึกษาแพทย์เกิดความรักในท้องถิ่น จึงเสนอโครงการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ที่จังหวัดเชียงใหม่ในพ.ศ. 2497 โดยได้ร่วมมือกับองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (USOM) ช่วยเหลือจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งในด้านงบประมาณ อุปกรณ์การสอน และวิทยาการ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499

หลังจากได้รับการอนุมัติจัดตั้งโรงเรียนแพทย์เชียงใหม่เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ก็ได้มีความเจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ เมื่อมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้มีการโอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปเป็นคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2508 หลังจากที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มีการก่อตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว

มีประวัติโดยสรุปดังนี้

  • 12 ธันวาคม พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์เชียงใหม่ ตามที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้เสนอ
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2502 โอนโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ของกระทรวงสาธารณสุขมาสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • 28 ตุลาคม พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • 22 มกราคม พ.ศ. 2507 มีพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 24 มกราคม พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 16 มีนาคม พ.ศ. 2508 โอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มาสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[8]

อันดับโลก แก้

การจัดอันดับของ QS world university ranking by subject

ผลการจัดอันดับ ประจำปี 2023

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย และอันดับที่ 251 - 300 ของโลก[9]

- สาขา Medicine

หลักสูตรการศึกษา แก้

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)

  • สาขาวิชาแพทยศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • กายวิภาคศาสตร์
  • จุลชีววิทยา
  • ชีวเคมี
  • ปรสิตวิทยา
  • พิษวิทยา
  • เภสัชวิทยา
  • ฟิสิกส์การแพทย์
  • สรีรวิทยา
  • ปรสิตวิทยา (นานาชาติ)
  • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา (นานาชาติ)
  • วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (นานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • กายวิภาคศาสตร์
  • จุลชีววิทยา
  • ชีวเคมี
  • นิติวิทยากระดูก
  • ปรสิตวิทยา
  • เภสัชวิทยา
  • ระบาดวิทยาคลินิก
  • สรีรวิทยา
  • กายวิภาคศาสตร์ (นานาชาติ)
  • ชีวเคมี (นานาชาติ)
  • ปรสิตวิทยา (นานาชาติ)
  • เภสัชวิทยา (นานาชาติ)
  • วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (นานาชาติ)
  • เวชศาสตร์ชุมชน (นานาชาติ)
  • สรีรวิทยา (นานาชาติ)
  • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา (นานาชาติ)

หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง

  • กุมารเวชศาสตร์
  • จักษุวิทยา
  • จิตเวชศาสตร์
  • พยาธิวิทยากายวิภาค
  • วิสัญญีวิทยา
  • รังสีวินิจฉัย
  • รังสีรักษา
  • เวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • เวชศาสตร์ครอบครัว
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
  • ศัลยศาสตร์
  • สูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา
  • โสต ศอ นาสิกวิทยา
  • ออร์โธปิดิกส์
  • อายุรศาสตร์

หลักสูตรอื่นๆ แก้

หลักสูตรที่คณะต่าง ๆ ร่วมบริหารหลักสูตร แก้

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

หลักสูตรที่ร่วมสอนกับคณะอื่น แก้

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)

หลักสูตรปริญญาคู่ แก้

หลักสูตรปริญญาคู่ ร่วมกับ Graduate School of Medical Sciences, Kumamoto University, Japan

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาชีวเคมี (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาสรีรวิทยา (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาเภสัชวิทยา (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา

ทำเนียบคณบดี แก้

ทำเนียบคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
0. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชาร์ลส์ อี ริชาร์ดส์ พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2508
(รักษาการคณบดี คณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์)[10]
1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2512
2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ระเบียบ ฤกษ์เกษม พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2515
3. ศาสตราจารย์ นาวาอากาศเอก นายแพทย์ ตะวัน กังวานพงศ์ พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2518
4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ชาญ สถาปนกุล พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2521
5. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ อาวุธ ศรีศุกรี พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2525
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ พิสิฏฐ์ โนตานนท์ พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2529
7. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เตชะทัต เตชะเสน พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2533
8. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ชาลี พรพัฒน์กุล พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2537
9. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ กำพล กลั่นกลิ่น พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2541
10. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปิยะ เนตรวิเชียร พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2545
11. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ สุพจน์ วุฒิการณ์ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549
12. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2555
13. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ วัฒนา นาวาเจริญ พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2559
14. ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) นายแพทย์ บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน

ภาควิชา-หน่วยงาน แก้

ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มีภาควิชาทั้งสิ้น 22 ภาควิชา และหน่วยงานอีก 14 หน่วยงาน ดังต่อไปนี้[11]

ภาควิชา แก้

หน่วยงาน แก้

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง แก้

ดูบทความหลักที่ รายชื่อบุคคลจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและสถาบันร่วมผลิตแพทย์ แก้

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6) ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสมทบที่ผลิตแพทย์ร่วมกับทางคณะอีก 2 โรงพยาบาล โดยได้มีการจัดตั้ง "ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก" ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ร่วมผลิตแพทย์ เพื่อเป็นหน่วยงานในการจัดการเรียนการสอน และเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและการบริการร่วมกับทางคณะ โดยมีดังนี้

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จังหวัด สังกัด
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ จังหวัด สังกัด
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง แก้

  1. รายนามผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. "ประวัติ - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่". web.med.cmu.ac.th.
  3. แพทยสภา. โรงเรียนแพทย์ภายในประเทศ ที่แพทยสภารับรอง เรียงลำดับ. 18 กุมภาพันธ์ 2565
  4. "วิสัยทัศน์/พันธกิจ - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่". web.med.cmu.ac.th.
  5. "ปี 2562". Thailand Quality Award สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-02-05.
  6. "ปี 2565". Thailand Quality Award สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-02-24.
  7. "ความเป็นมารางวัลคุณภาพแห่งชาติ". Thailand Quality Award สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  8. พระราชบัญญัติ โอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ราชกิจจานุเบกษา หน้า 154 เล่ม 82 ตอน 26 วันที่ 30 มีนาคม 2508
  9. "QS World University Rankings for Medicine 2023". Top Universities (ภาษาอังกฤษ).
  10. "Hall of fame". w2.med.cmu.ac.th.
  11. ภาควิชาและหน่วยงาน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  12. นักศึกษาเก่าดีเด่นประจำปีการศึกษา 2554
  13. สมาคมศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  14. ข่าวหุ้นธุรกิจ. "RAM แต่งตั้ง "นพ.พิชญ"-"นพ.เอื้อชาติ" นั่งบอร์ดบริหาร มีผล 8 ม.ค. | ข่าวหุ้นธุรกิจ". LINE TODAY.
  15. "แพทยสภา :: The Medical Council of Thailand". tmc.or.th (ภาษาอังกฤษ).
  16. สมาคมศิษย์เก่าแพทย์เชียงใหม่
  17. "แพทย์สตรีดีเด่น 2562 แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ". www.tmwa.or.th.
  18. ครีเอทีฟ/ดีไซน์...จุดประกายธุรกิจ "สุวิน ไกรภูเบศ"
  19. เข้าใจให้ตรงกัน! "หมอลี่" ไม่ใช่แพทย์ประจำทีมชาติไทยนะครับทุกคน

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้