คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งเพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมหาวิทยาลัยเล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และยังเป็นคณะที่มีผลงานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่โดดเด่นและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติมากมาย

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Faculty of Environment and Resource Studies,
Mahidol University
สถาปนา26 กันยายน พ.ศ. 2516 (51 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
คณบดีสุระ พัฒนเกียรติ
ที่อยู่
999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
สี  สีเขียวน้ำทะเล
เว็บไซต์en.mahidol.ac.th

ประวัติ

แก้

นับแต่ช่วงทศวรรษ 2510 เป็นต้นมา การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการขยายตัวของปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ กรณีเรือน้ำมันล่มในอ่าวไทย การล่าสัตว์ป่าที่ทุ่งใหญ่นเรศวรและแม่น้ำแม่กลองเน่า เป็นต้น มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึง สถานการณ์ดังกล่าวและเล็งเห็นความสำคัญด้านการศึกษา วิจัยและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดตั้ง "โครงการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Education and Research Project)" ขึ้น เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยมีที่ทำการชั่วคราวที่อาคาร 72 ปี โรงพยาบาลศิริราช หลังจากนั้นโดยการสนับสนุนด้านงบประมาณเริ่มต้นจากมูลนิธิฟอร์ด

โครงการฯ ได้ย้ายไปเช่าโรงแรมราชศุภมิตร ถนนหลานหลวง (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นโรงแรมปริ๊นเซส) เพื่อเปิดการเรียนการสอนในระดับมหาบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม ใน ปี พ.ศ. 2521 โครงการฯ ได้พัฒนาเป็น "คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (Faculty of Environment and Resource Studies)" โดยมีสถานที่ของตนเอง ณ อาคารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ณ ศาลายา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ให้บริการด้านการศึกษา วิจัย ฝึกอบรม และการบริการวิชาการ ทางด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และนานาชาติ และในปีการศึกษา 2546 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มีการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรต่างๆ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกมาจนถึงปัจจุบัน [1]

ทำเนียบคณบดี

แก้
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์ พ.ศ. 2520 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 252813 กันยายน พ.ศ. 2533
3. รองศาสตราจารย์ ดร.อรพินท์ เอี่ยมศิริ 18 กันยายน พ.ศ. 253315 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
4. ศาสตราจารย์ ดร.นพ.เทพนม เมืองแมน 16 กรกฎาคม พ.ศ. 253530 กันยายน พ.ศ. 2538
5. รองศาสตราจารย์ รุ่งจรัส หุตะเจริญ 1 ตุลาคม พ.ศ. 253830 กันยายน พ.ศ. 2542
6. รองศาสตราจารย์ ดร.อนุชาติ พวงสำลี 1 ตุลาคม พ.ศ. 254230 กันยายน พ.ศ. 2546

1 ตุลาคม พ.ศ. 254630 กันยายน พ.ศ. 2550

7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช 1 ตุลาคม พ.ศ. 255030 กันยายน พ.ศ. 2554
8. รองศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาท ภักดีกุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 255430 กันยายน พ.ศ. 2558

1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562

9. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ 1ตุลาคม พ.ศ. 2562 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566
10. รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต 1 ตุลาคม พ.ศ.2566 - ปัจจุบัน

หลักสูตร

แก้
 
อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ให้บริการด้านการศึกษา วิจัย ฝึกอบรม และการบริการวิชาการ ทางด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และนานาชาติ และในปีการศึกษา 2546 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มีการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรต่างๆ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก รวม 10 หลักสูตร ได้แก่

หลักสูตรระดับปริญญาตรี (2 หลักสูตร)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Natural Resources and Environmental Management) (International Program) (EV)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES)
หลักสูตรระดับปริญญาโท (5 หลักสูตร)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม (ET)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม ภาคพิเศษ (ETS)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิชาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (AT/ATS)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (LE/LES)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี หลักสูตรนานาชาติ ภาคปกติและภาคพิเศษ (Master of Science Program in Environmental Management and Technology)
หลักสูตรระดับปริญญาเอก (1 หลักสูตร)
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาชาวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ Doctor of Philosophy in Environment and Resource Studies (International Program)

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติคณะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-02. สืบค้นเมื่อ 2016-10-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้