ถนนศรีอยุธยา
ถนนศรีอยุธยา (อักษรโรมัน: Thanon Si Ayutthaya) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนราชปรารภ ต่อจากถนนจตุรทิศ ในเขตราชเทวี ไปทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนพญาไท (สี่แยกพญาไท) ถนนพระรามที่ 6 (สี่แยกศรีอยุธยา) ถนนกำแพงเพชร 5 และทางรถไฟสายเหนือ เข้าสู่ท้องที่เขตดุสิต จากนั้นตัดกับถนนสวรรคโลก (สี่แยกเสาวนี) ถนนพระรามที่ 5 (สี่แยกวัดเบญจฯ) ถนนราชดำเนินนอก (สี่แยกหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า) ถนนนครราชสีมา (สี่แยกหอประชุมทหารบก) และถนนสามเสน (สี่แยกสี่เสาเทเวศร์) และสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ประวัติ
แก้ถนนศรีอยุธยาเดิมชื่อ "ถนนดวงตะวัน" เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นถนนเส้นหนึ่งในโครงการถนนของอำเภอดุสิต ซึ่งทรงริเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตในปี พ.ศ. 2441 โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นในพื้นที่ตั้งแต่ถนนราชปรารภจนถึงแม่น้ำเจ้าพระยา พระราชทานชื่อถนนว่า "ดวงตะวัน" ซึ่งมาจากเครื่องลายครามของจีนที่มีภาพดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นจากทะเล ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนดวงตะวันนอก ถนนดวงตะวันใน และถนนดวงตะวันหน้า ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาถึงถนนราชปรารภ เป็น "ถนนศรีอยุธยา" โดยทรงตั้งชื่อตามพระนามกรมที่ทรงเคยดำรงตำแหน่ง คือ "กรมขุนเทพทวาราวดี" ซึ่งหมายถึง กรุงศรีอยุธยา
สถานที่สำคัญที่อยู่บนถนนศรีอยุธยา
แก้เขตดุสิต
แก้- กองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- วังปารุสกวัน (กองบัญชาการตำรวจนครบาล)
- สวนอัมพร
- กองทัพภาคที่ 1
- สนามเสือป่า
- สำนักพระราชวัง
- มูลนิธิชัยพัฒนา
- วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
- พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
- กรมสวัสดิการทหารบก
- อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
เขตราชเทวี
แก้- กระทรวงการต่างประเทศ
- กรมทางหลวง
- สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร
- โรงพยาบาลสงฆ์
- กองพันทหารสารวัตรที่ 11
- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- สถานีวิทยุศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ
- อาคารวรรณสรณ์
- วังสวนผักกาด
- โรงพยาบาลพญาไท 1
- ศูนย์การแพทย์รามาธิบดีศรีอยุธยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (กำลังก่อสร้าง แล้วเสร็จปี พ.ศ. 2573)[1]
สถาบันการศึกษาที่อยู่บนถนนศรีอยุธยา
แก้เขตดุสิต
แก้- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตโชติเวช
- โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- โรงเรียนจิตรลดา (สายอาชีพ)
เขตราชเทวี
แก้อ้างอิง
แก้- pongsakornlovic (2010-12-09). "CHN 166 ถนนศรีอยุธยา". ชื่อนั้น...สำคัญไฉน ?.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ถนนศรีอยุธยา
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์