แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสาขาหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือ แม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน โดยมาบรรจบกันที่ปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยจะเห็นความแตกต่างของสายน้ำทั้งสองได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ แม่น้ำน่านมีสีค่อนข้างแดง ส่วนแม่น้ำปิงมีสีค่อนข้างเขียว เมื่อมาบรรจบกันแล้วจึงค่อย ๆ รวมตัวเข้าด้วยกันกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่[1] จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำในอำเภอเมืองสมุทรปราการและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำเจ้าพระยามุมมองจากสะพานตากสิน ฝั่งซ้าย (โรงแรม เพนนินซูลา ศูนย์การค้าไอคอนสยาม โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน) ฝั่งขวา (โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติ บางรัก)
แผนที่แสดงตำแหน่งลุ่มน้ำเจ้าพระยารวมกับลุ่มน้ำสาขาต่าง ๆ
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, นนทบุรี, กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำปากน้ำโพ
 • ตำแหน่งตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
 • พิกัดภูมิศาสตร์15°42′02.0″N 100°08′28.4″E / 15.700556°N 100.141222°E / 15.700556; 100.141222
 • ระดับความสูง25 เมตร (82 ฟุต)
ปากน้ำปากน้ำเจ้าพระยา
 • ตำแหน่ง
ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
 • พิกัด
13°32′37.9″N 100°35′28.8″E / 13.543861°N 100.591333°E / 13.543861; 100.591333พิกัดภูมิศาสตร์: 13°32′37.9″N 100°35′28.8″E / 13.543861°N 100.591333°E / 13.543861; 100.591333
 • ระดับความสูง
0 เมตร (0 ฟุต)
ความยาว372 กิโลเมตร (231 ไมล์)
พื้นที่ลุ่มน้ำ20,125 ตารางกิโลเมตร (7,770 ตารางไมล์)
ลุ่มน้ำ
ระบบแม่น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายแม่น้ำน่าน, แม่น้ำลพบุรี, คลองบางแก้ว, คลองเมือง, แม่น้ำป่าสัก, คลองบ้านพร้าว, คลองบางหลวงเชียงราก, แม่น้ำลัดเกร็ด
 • ขวาแม่น้ำปิง, แม่น้ำสะแกกรัง, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำน้อย, คลองบางบาล, คลองอ้อมนนท์, คลองบางกรวย, คลองบางกอกน้อย, คลองบางกอกใหญ่

ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แก้

จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่บริเวณปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน แม่น้ำทั้งสองรับน้ำมาจากทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาผีปันน้ำ ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีพื้นที่ 20,125 ตารางกิโลเมตร (ไม่รวมลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก และท่าจีน) และมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีน (คลองมะขามเฒ่า) ที่จังหวัดชัยนาท

ชื่อ แก้

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุว่า เมื่อ พ.ศ. 2041 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการขุดลอกคลองสำโรงเนื่องจากคลองตื้นเขิน เรือใหญ่เดินทางไปมาผ่านคลองสำโรงไม่สะดวก และมีการขุดพบรูปเทพารักษ์ 2 องค์ได้แก่ พระยาแสนตาและพระยาบาทสังขกร จึงเรียกชุมชนบริเวณนี้ว่า บางเจ้าพระยา ซึ่งต่อมาได้นำชื่อชุมชนบริเวณปากน้ำนี้มาตั้งเป็นชื่อแม่น้ำ[2]

การขุดลัดแม่น้ำ แก้

 
แผนที่การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสามครั้งในสมัยอยุธยา เส้นสีน้ำเงินคือแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม เส้นสีเขียวคือแนวคลองลัด

การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 ครั้งในสมัยอยุธยา ประกอบด้วยคลองลัดบางกอก พ.ศ. 2065[3] รัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช, คลองลัดบางกรวย พ.ศ. 2081 รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ, คลองลัดนนทบุรี พ.ศ. 2179 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และในสมัยรัตนโกสินทร์มีการขุดลอกคลองลัดโพธิ์ บริเวณตำบลทรงคะนองและตำบลบางยอ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยในการระบายน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้า[ต้องการอ้างอิง]

ลำน้ำสาขา แก้

ด้วยความที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสำคัญเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของภาคกลาง ทั้งในด้านการเดินทางและวิถีชีวิต นอกจากจะมีการสร้างสะพานและท่าน้ำจำนวนมากแล้ว ยังมีลำน้ำสาขา คลองธรรมชาติ และคลองขุด ซึ่งเชื่อมโยงแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ภายในให้สามารถติดต่อถึงกันได้ โดยลำน้ำสาขาและคลองมีจำนวนมาก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

ต้นน้ำ แก้

ต้นน้ำซึ่งได้ไหลมาลงยังแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบด้วย

ลำน้ำสาขาฝั่งขวา แก้

จังหวัดชัยนาท แก้

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แก้

จังหวัดปทุมธานี แก้

จังหวัดนนทบุรี แก้

กรุงเทพมหานคร แก้

จังหวัดสมุทรปราการ แก้

ลำน้ำสาขาฝั่งซ้าย แก้

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แก้

จังหวัดปทุมธานี แก้

จังหวัดนนทบุรี แก้

กรุงเทพมหานคร แก้

จังหวัดสมุทรปราการ แก้

ท่าน้ำ แก้

แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมอีกเส้นทางสำหรับคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้มีการสร้างท่าน้ำจำนวนมากเพื่อรองรับการขนส่งทางน้ำ โดยท่าน้ำในการเดินเรือโดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีดังนี้[4]

สถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ แก้

จังหวัดนครสวรรค์ แก้

จังหวัดชัยนาท แก้

จังหวัดสิงห์บุรี แก้

จังหวัดอ่างทอง แก้

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แก้

จังหวัดปทุมธานี แก้

จังหวัดนนทบุรี แก้

กรุงเทพมหานคร แก้

จังหวัดสมุทรปราการ แก้

การผลิตน้ำประปา แก้

แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาสำคัญของการประปาส่วนภูมิภาคในพื้นที่ภาคกลาง ส่วนเขตจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ รับผิดชอบโดยการประปานครหลวง โดยมีสถานีสูบน้ำดิบสำแล ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกระแชง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

การใช้เส้นทางทางน้ำในการพระราชพิธีทางชลมารค แก้

ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2562 กรมเจ้าท่าได้ประกาศกำหนดควบคุมการจราจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อการซ้อมรูปขบวนเรือพระราชพิธี ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

สัตว์น้ำหายากที่พบ แก้

  • วาฬบรูด้า[8]
  • ปลาทรงเครื่อง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos bicolor อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากา (Labeo chrysophekadion) ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกัน แต่มีรูปร่างที่เพรียวยาว มีขนาดเล็กกว่ามาก สีลำตัวสีแดงอ่อน ครีบหางสีแดงเข้ม มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 12 เซนติเมตร และยังเป็นปลาน้ำจืดเฉพาะถิ่นของไทย และพบได้ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนเท่านั้น[9]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ
  2. สุจิตต์ วงษ์เทศ. "แม่น้ำเจ้าพระยา ได้ชื่อ "เจ้าพระยา" จากเทวรูป พบที่คลองสำโรง สมุทรปราการ". มติชน.
  3. การบันทึกน่าจะคลาดเคลื่อน เพราะในปีนั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราชยังไม่ขึ้นครองราชย์
  4. "ข้อมูลท่าเทียบเรือ (สผง.)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-05. สืบค้นเมื่อ 2019-08-05.
  5. "สถานที่ท่าสำคัญ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-05. สืบค้นเมื่อ 2019-08-05.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-21. สืบค้นเมื่อ 2019-08-05.
  7. เขื่อนเจ้าพระยา
  8. “ดร.ธรณ์” ฝากคนกรุงเทพฯ รักษาภาพ “วาฬบรูด้า” โผล่แม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยการลดใช้ถุงพลาสติก
  9. “ปลาทรงเครื่อง” ไม่ใช่อาหาร แต่เป็นปลาสวยงามสัญชาติไทย
  • จารุภัทร วิมุตเศรษฐ์. สะพานข้ามเจ้าพระยา. กรุงเทพมหานคร. 2553.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้