ภาคเหนือ (ประเทศไทย)

ภูมิภาคของประเทศไทย

ภาคเหนือ หรือ อุดร เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ต่อเนื่องมาจากทิวเขาชานในประเทศพม่าและประเทศลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การที่มีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลและมีเส้นละติจูดอยู่ตอนบนทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านนา

ภาคเหนือ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
ดอยผ้าห่มปก
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)
อุโมงค์ขุนตาน
ภาคเหนือในประเทศไทย
ภาคเหนือในประเทศไทย
เมืองใหญ่สุดเชียงใหม่
จังหวัด
พื้นที่
 • ทั้งหมด96,020 ตร.กม. (37,070 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)
 • ทั้งหมด6,290,583 คน
 • ความหนาแน่น66 คน/ตร.กม. (170 คน/ตร.ไมล์)
ดัชนีการพัฒนามนุษย์
 • HDI (2019)0.762 (สูง) [2]
เขตเวลาUTC+7 (ประเทศไทย)
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติศาสตร์

แก้

บริเวณพื้นที่ภาคเหนือ เดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา ซึ่งพญามังรายทรงสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 1835 จากการยุบรวมกันของอาณาจักรในช่วงยุคก่อนหน้า คือ หิรัญนครเงินยางเชียงแสนและหริภุญชัย และสถาปนาเมืองหลวงอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 1838 ในชื่อนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่

ภูมิศาสตร์

แก้
 
แผนที่แสดงภูมิประเทศของภาคเหนือ
 
ดอยทางภาคเหนือ
 
ภาพถ่ายดาวเทียม แสดงเทือกเขาและพื้นที่ป่าของภาคเหนือเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ
 
แผนที่ภาคเหนือ กำหนดตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ภูมิประเทศของภาคเหนือประกอบไปด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน และมีพื้นที่สำคัญของประเทศหลายจุด เช่น พื้นที่ทางด้านตะวันตกสุดของประเทศที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ทางด้านเหนือสุดของประเทศที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จุดสูงสุดของประเทศที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ภาคเหนือยังเป็นพื้นที่แรกของประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน โดยจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทยอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ภาคเหนือมีพื้นที่รวมทั้งหมด 93,690.85 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.06 ของพื้นที่บนผิวโลก

เขตแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคอื่น ๆ ของภาคเหนือ เรียงตามเข็มนาฬิกา ได้แก่ ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับประเทศพม่า ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับประเทศลาว ทิศใต้ติดกับภาคกลาง พื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และ สุโขทัย ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้มีพื้นที่ติดกับภาคตะวันตก บริเวณจังหวัดตาก

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

จังหวัดในภาคเหนือ กำหนดโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2521 และประกาศใช้โดยราชบัณฑิตยสถาน[3] เป็นการแบ่งตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประเพณี สังคม วัฒนธรรมและภาษา เป็นการแบ่งระบบ 6 ภูมิภาค ประกอบไปด้วย 9 จังหวัด ตามลักษณะภูมิภาคตามธรรมชาติที่ตั้งอยู่ในเขตภูเขา

นอกจากการแบ่งตามราชบัณฑิตยสถานแล้ว ยังมีหน่วยงานที่เคยจัดแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยขึ้นเพื่อกำหนดแผนบริหารงานด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นการแบ่งภูมิภาคอย่างไม่เป็นทางการได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยกำหนดให้ภาคเหนือมีทั้งหมด 17 จังหวัด[3] ประกอบด้วย 9 จังหวัดภาคเหนือข้างต้น กับอีก 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี

จังหวัดทั้ง 9 ของภาคเหนือในการแบ่งเช่นนี้อาจเรียกว่า ภาคเหนือตอนบน ซึ่งส่วนใหญ่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนามาก่อน (สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดตาก เคยเป็นบางส่วน) และมีภาษาถิ่นเป็นคำเมือง ส่วน 8 จังหวัดที่เหลืออาจเรียกว่า ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดนครสวรรค์ อันเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญ ปัจจุบันการแบ่งแบบนี้ไม่นิยมใช้อ้างอิงในเอกสารของทางราชการและบทความทางวิชาการอื่นๆ เนื่องจากราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดให้จังหวัดเหล่านี้ เป็นจังหวัดในเขตภาคกลาง ยกเว้นจังหวัดตากอยู่ในภาคตะวันตก

ภาคเหนือ แบ่งพื้นที่ตามราชบัณฑิตยสถานประกอบด้วย 9 จังหวัด ได้แก่

ตราประจำ
จังหวัด
ธงประจำ
จังหวัด
รายชื่อจังหวัด หน่วยการปกครอง จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่ทั้งหมด
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
ภาษาไทย อังกฤษ ภาษาล้านนา อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
 
 
จังหวัดเชียงราย Chiang Rai ᨩ᩠ᨿᨦᩁᩣ᩠ᨿ 18 124 1,753 1,298,977 11,678.4 111.22
 
 
จังหวัดเชียงใหม่ Chiang Mai ᨩ᩠ᨿᨦᩉᩲ᩠ᨾ᩵ 25 204 2,066 1,797,075 22,436 80.10
 
 
จังหวัดน่าน Nan ᨶᩣ᩠᩵ᨶ 15 99 893 472,722 11,472.1 41.20
 
 
จังหวัดพะเยา Phayao ᨻᨿᩣ᩠ᩅ 9 68 779 458,287 6,335.1 71.48
 
 
จังหวัดแพร่ Phrae ᨻᩯᩖ᩵ 8 78 645 426,331 6,538.6 65.20
 
 
จังหวัดแม่ฮ่องสอน Mae Hong Son ᨾᩯ᩵ᩁᩬ᩵ᨦᩈᩬᩁ 7 45 415 287,644 12,681.3 22.68
 
 
จังหวัดลำปาง Lampang ᩃᩣᩴᨻᩣ᩠ᨦ 13 100 855 711,478 12,534.0 56.76
 
 
จังหวัดลำพูน Lamphun ᩃᨻᩪᩁ 8 51 574 398,440 4,505.9 88.42
 
 
จังหวัดอุตรดิตถ์ Uttaradit ᩏᨲ᩠ᨲᩁᨯᩥᨲ᩠ᨳ᩺ 9 67 613 439,629 7,838.6 56.08

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ภาคเหนือ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดังนี้

  • องค์การบริหารส่วนจังหวัด 9 แห่ง ประกอบด้วย
    1. องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
    2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
    3. องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
    4. องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา
    5. องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
    6. องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
    7. องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
    8. องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน
    9. องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์
  • เทศบาลตำบล 375 แห่ง ประกอบด้วย
    1. จังหวัดเชียงราย มีเทศบาลตำบล 72 แห่ง
    2. จังหวัดเชียงใหม่ มีเทศบาลตำบล 115 แห่ง
    3. จังหวัดน่าน มีเทศบาลตำบล 18 แห่ง
    4. จังหวัดพะเยา มีเทศบาลตำบล 33 แห่ง
    5. จังหวัดแพร่ มีเทศบาลตำบล 25 แห่ง
    6. จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเทศบาลตำบล 6 แห่ง
    7. จังหวัดลำปาง มีเทศบาลตำบล 40 แห่ง
    8. จังหวัดลำพูน มีเทศบาลตำบล 38 แห่ง
    9. จังหวัดอุตรดิตถ์ มีเทศบาลตำบล 27 แห่ง
  • องค์การบริหารส่วนตำบล 506 แห่ง ประกอบด้วย
    1. จังหวัดเชียงราย มีองค์การบริหารส่วนตำบล 70 แห่ง
    2. จังหวัดเชียงใหม่ มีองค์การบริหารส่วนตำบล 89 แห่ง
    3. จังหวัดน่าน มีองค์การบริหารส่วนตำบล 80 แห่ง
    4. จังหวัดพะเยา มีองค์การบริหารส่วนตำบล 36 แห่ง
    5. จังหวัดแพร่ มีองค์การบริหารส่วนตำบล 57 แห่ง
    6. จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีองค์การบริหารส่วนตำบล 42 แห่ง
    7. จังหวัดลำปาง มีองค์การบริหารส่วนตำบล 61 แห่ง
    8. จังหวัดลำพูน มีองค์การบริหารส่วนตำบล 18 แห่ง
    9. จังหวัดอุตรดิตถ์ มีองค์การบริหารส่วนตำบล 53 แห่ง

ประชากรศาสตร์

แก้

ภาษา

แก้

พื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และบางส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์ เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา ทำให้เกิดลักษณะของตัวอักษรและสำเนียงเฉพาะถิ่น เรียกว่าอักษรธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง) และภาษาถิ่นพายัพ (กำเมือง)

สถิติประชากร

แก้
อันดับ จังหวัด จำนวน (คน)

(31 ธันวาคม 2561)[4]

จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2558)[5]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2557)[6]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2556)[7]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2555) [8]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2554) [9]
จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2553) [10]
1 เชียงใหม่ 1,763,742 1,728,242 1,678,284 1,666,888 1,655,642 1,646,144 1,640,479
2 เชียงราย 1,292,130 1,277,950 1,207,699 1,204,660 1,200,423 1,198,656 1,198,218
3 ลำปาง 742,883 752,356 753,013 754,862 756,811 757,534 761,949
4 น่าน 478,989 479,518 478,264 477,912 477,673 476,612 476,363
5 พะเยา 475,215 482,645 484,454 486,744 488,120 486,472 486,304
6 อุตรดิตถ์ 455,403 459,768 460,400 460,995 461,294 461,040 462,618
7 แพร่ 445,090 452,346 454,083 456,074 457,607 458,750 460,756
8 ลำพูน 405,955 406,385 405,468 405,268 404,673 403,952 404,560
9 แม่ฮ่องสอน 282,566 273,764 248,178 246,549 244,356 244,048 242,742
รวม 6,341,973 6,312,974 6,169,843 6,159,952 6,146,599 6,133,208 6,133,989

เมืองใหญ่

แก้
รายการเมืองใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ 20 อันดับแรก เรียงตามจำนวนประชากร

การศึกษา

แก้

สถาบันอุดมศึกษาที่สำคัญ ได้แก่

การขนส่ง

แก้

การขนส่งทางอากาศ

แก้

การขนส่งทางบก

แก้

สถานที่สำคัญ

แก้
ภาพพาโนรามาภูชี้ฟ้า

อุทยานแห่งชาติ

แก้

ในภาคเหนือตอนบนเป็นดอยสูงสลับซับซ้อนหลายชั้น มีอุทยานแห่งชาติสำคัญหลายแห่ง เช่น

เขื่อน

แก้

เขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ที่สำคัญ ได้แก่

เทือกเขาที่สำคัญ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "การแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อ 17 March 2023.
  2. "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
  3. 3.0 3.1 "ราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 2007-06-24.
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat61.htm[ลิงก์เสีย] 2562. สืบค้น 6 ธันวาคม 2561.
  5. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat57.html 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2553. สืบค้น 22 มีนาคม 2554.
  11. ฐานข้อมูลกรมการปกครอง

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

19°N 99°E / 19°N 99°E / 19; 99