ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน

ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน (IATA: HGNICAO: VTCH) ตั้งอยู่ที่ถนนนิเวศพิศาล ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน[2] เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[3] และได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2542[4] มีอาคารผู้โดยสารอยู่ 1 หลัง รองรับผู้โดยสารได้ 840,000 คนต่อปี รองรับเครื่องบินแบบ เอทีอาร์ 72 ได้ 4 ลำ ทางวิ่งใช้พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต ขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 2,000 เมตร[1] ในปี พ.ศ. 2563 มีสถิติจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการ จำนวน 17,768 คน

ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ (ศุลกากร)
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ที่ตั้งอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เหนือระดับน้ำทะเล771 ฟุต / 235 เมตร
พิกัด19°18′6″N 97°58′30″E / 19.30167°N 97.97500°E / 19.30167; 97.97500
เว็บไซต์http://minisite.airports.go.th/maehongson/
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
11/29 6,562 2,000 แอสฟอลต์คอนกรีต[1]
ลานจอดเฮลิคอปเตอร์
เลข ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
1 74 22.5 แอสฟอลต์คอนกรีต
8 74 22.5 แอสฟอลต์คอนกรีต
9 74 22.5 แอสฟอลต์คอนกรีต
สถิติ (2563)
ผู้โดยสาร17,768
เที่ยวบิน340
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ประวัติ

แก้

สนามบินแม่ฮ่องสอน เริ่มก่อตั้งขึ้นประมาณกลางปี พ.ศ. 2482 พื้นที่เดิมเป็นที่นาของราษฎร โดยทางจังหวัดได้รับบริจาคจากคหบดี เมื่อได้มาจึงเพียงแต่ปรับคันนาให้เรียบพอเป็นที่ ขึ้น – ลง ของเครื่องบินได้ มีความยาวประมาณ 600 เมตร กว้าง 25 เมตร ทิศทางทางวิ่ง เหนือ –ใต้ อันเป็นที่ตั้งของสถานี NDB กำหนดการบินจึงขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเป็นสำคัญ ในขณะนั้นไม่มีอาคารสถานีการบิน ผู้โดยสารที่จะมาขึ้นเครื่องบินต้องเข้าพักรอที่ใต้ถุนบ้านพักนายสถานีวิทยุคมนาคมของกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับทางวิ่ง เมื่อมีเครื่องบินมา ขึ้น – ลง เจ้าหน้าที่ซึ่งมีที่ทำการอยู่ในเมืองจะนำล้อเกวียนเทียมโคคู่ ออกมารับสัมภาระของผู้โดยสารเข้าเมืองไป ระยะทางจากสนามบินเข้าสู่ตัวเมืองประมาณกิโลเมตรเศษ ไม่มีพาหนะอื่นในการเดินทางเข้าเมือง โดยมี บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด เป็นผู้ทำการเปิดบินเป็นครั้งแรก ด้วยเครื่องบินแบบแฟร์ไชลด์ ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารได้ เที่ยวละ 3 – 4 คน โดยมีเส้นทางบิน เชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน – แม่สะเรียงเชียงใหม่

กระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงหยุดบินไประยะหนึ่ง เมื่อสงครามสงบ กองทัพอากาศไทยได้ปรับปรุงสนามบินอีกครั้ง โดยเปลี่ยนแนวทางวิ่งเป็น ทิศตะวันออก – ทิศตะวันตก พื้นผิวของทางวิ่ง เป็นดินลูกรังบดอัด ยาว 800 เมตร กว้าง 30 เมตร และเปิดให้ทำการบิน ขึ้น – ลง ได้ในเดือนกรกฎาคม 2489 ต่อมากองทัพอากาศได้มอบให้ สำนักงานการบินพลเรือน กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) เข้าปรับปรุงเป็นสนามบินพาณิชย์ และบริษัทเดินอากาศไทยได้นำ เครื่องบินแบบ แอล 5 ทำการบินแบบพาณิชย์ ในวันที่ 1 มีนาคม 2490[5]

อาคารสถานที่

แก้

อาคารผู้โดยสาร

แก้

ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอนมีอาคารผู้โดยสารอยู่ 1 หลัง รองรับผู้โดยสารได้ 2,800 คนต่อวัน (840,000 คนต่อปี) พร้อมลานจอดอากาศยานขนาด 18,300 ตารางเมตร รองรับเครื่องบินแบบ เอทีอาร์ 72 ได้ 4 ลำ และมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ขนาด 506.25 ตารางเมตรอยู่ 3 ลานจอด[1]

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)

แก้

ทางวิ่งใช้พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต ขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 2,000 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (Blastpads) ด้านทิศ 11 ขนาดกว้าง 30 เมตร และความยาว 60 เมตร[1]

ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอนมีทางขับจำนวน 3 เส้น ขนาดความกว้างเส้นละ 20 เมตร และความยาวเส้นละ 67 เมตร[1]

รายชื่อสายการบิน

แก้

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง [6]
บางกอกแอร์เวย์ส สุวรรณภูมิ ผ่านลำปาง

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ

แก้
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
กานต์แอร์ เชียงใหม่
การบินไทย เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
เดินอากาศไทย เชียงใหม่
นกแอร์ เชียงใหม่
กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
บางกอกแอร์เวย์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
เชียงใหม่
พีบีแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
วิสดอมแอร์เวย์ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
เอสจีเอแอร์ไลน์ เชียงใหม่
แอร์อันดามัน กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
แฮปปี้แอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ

สถิติ

แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ

แก้
ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[7]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 235,920 2,114 267.21
2545 167,927   28.82% 2,031 260.39
2546 130,772   22.13% 2,588 265.79
2547 127,631   2.40% 2,498 261.27
2548 119,783   6.15% 2,459 269.30
2549 105,107   12.25% 2,291 235.09
2550 96,432   8.25% 2,159 243.39
2551 86,148   10.66% 2,236 187.22
2552 76,211   11.53% 1,834 181.86
2553 53,466   29.84% 1,855 64.83
2554 55,213   3.27% 2,538 52.63
2555 56,618   2.54% 3,442 51.89
2556 54,983   2.89% 4,194 49.75
2557 34,578   37.11% 2,698 11.14
2558 39,740   14.93% 1,884 0.00
2559 55,368   39.33% 2,607 0.00
2560 61,432   10.95% 1,832 0.00
2561 63,328   3.09% 1,940 0.00
2562 54,813   13.45% 1,322 0.00
2563 17,768   67.58% 340 0.00

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน

แก้

ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอนตั้งอยู่ที่ถนนนิเวศพิศาล ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน[ต้องการอ้างอิง] มีบริการรถเช่าอยู่ 1 จุด[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "ข้อมูลเบื้องต้นของท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบิน เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๒ สนามบินแม่ฮ่องสอน ในท้องที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  3. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากร". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ประวัติความเป็นมาของท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ตารางการบินท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ประจำวันที่ 29 ตุลาคม 2566 -30 มีนาคม 2567". กรมท่าอากาศยาน. 2023-10-18. สืบค้นเมื่อ 2023-11-26.
  7. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)