ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานหลักของประเทศไทย

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ สนามบินสุวรรณภูมิ (IATA: BKKICAO: VTBS) เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ที่ถนนเทพรัตนและทางพิเศษบูรพาวิถี ในเขตตำบลหนองปรือและตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานครประมาณ 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549[3] แต่มีปัญหารันเวย์แตกจึงไม่สามารถใช้งานได้และเริ่มใช้งานได้จริงเมื่อ กันยายน 2550 ข้อมูลจากหอจดหมายเหตุโครงสร้างพื้นฐานนานาชาติประเทศญี่ปุ่น บันทึกโดยวิศวกรชาวญี่ปุ่นตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ซึ่งมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลไทยเมื่อ พ.ศ. 2539[4]

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
พื้นที่บริการสมุทรปราการ
กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งถนนเทพรัตน ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
เปิดใช้งาน28 กันยายน พ.ศ. 2549 (18 ปี 6 วัน)
ฐานการบินPassenger

Secondary Hub

Cargo

เมืองสำคัญ
เหนือระดับน้ำทะเล5 ฟุต / 2 เมตร
พิกัด13°41′33″N 100°45′00″E / 13.69250°N 100.75000°E / 13.69250; 100.75000
เว็บไซต์suvarnabhumi.airportthai.co.th/
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
01/19 13,123 4,000 ยางมะตอย
02R/20L 12,139 3,700 ยางมะตอย
02L/20R 13,123 4,000[1] ยางมะตอย
สถิติ (2019)
Total passengers65,425,879 เพิ่มขึ้น3.23%
International passengers52,933,212 เพิ่มขึ้น4.05%
Domestic passengers11,967,340 เพิ่มขึ้น0.87%
Aircraft movements380,067 เพิ่มขึ้น2.86%
Freight & Mail (tonnes)1,324,268 ลดลง11.39%
Sources:AOT 2019[2]

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport)[5] และ เป็นท่าอากาศยานที่มีสายการบินจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย รัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินในทวีปเอเชีย อีกทั้งการเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553[6]ปัจจุบันคุณ กิตติพงศ์ กิตติขจร เป็นผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีหอควบคุมที่สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก (132.2 เมตร) และอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก (563,000 ตารางเมตร) ปัจจุบันเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยในปี พ.ศ. 2562 มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก 65,421,844 ราย ในปีเดียวกันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีจำนวนสินค้าทางอากาศยานมากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก จากการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนขนส่งสินค้า โดยปริมาณขนส่งอยู่ที่ 1,326,914 ตัน[7][8]ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2564 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังมีพื้นที่เชิงตารางกิโลเมตรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 10 ของท่าอากาศยานทั่วโลกโดยพื้นที่รวมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิคือ 32.4 ตารางกิโลเมตร (32.4 km2)

อย่างไรก็ตามจำนวนเที่ยวบินช่วงที่การควบคุมจราจรทางอากาศหนาแน่นมากที่สุดตามรายงานของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้แก่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินระหว่างประเทศมากถึง 25,881 เที่ยวบิน เที่ยวบินภายในประเทศ 8,106 รวม 33,987 เที่ยวบิน[9]ซึ่งเป็นสถิติเที่ยวบินระหว่างประเทศมากที่สุดตั้งแต่ดำเนินกิจการ รองลงมาคือ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินระหว่างประเทศมากถึง 825,400 เที่ยวบิน เที่ยวบินภายในประเทศ 285,660 รวม 33,289 เที่ยวบิน ตลอดปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 980,967 เที่ยวบิน

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้บริการสายการบินที่ทำการบินแบบประจำในช่วง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สูงสุด 104 สายการบิน ขนส่งอากาศยาน 11 สายการบิน และสายการบินเช่าเหมาลำ 1 สายการบิน สายการบินเช่าเหมาลำภายในประเทศทำการบินไปสนามบินเกาะไม้ซี้ 1 สายการบิน รวม 117 สายการบิน ซึ่งถือว่าบริการตามจำนวนสายการบินมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (สามารถรองรับเที่ยวบิน 76 เที่ยวต่อชั่วโมงและผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปี) [10]และศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ (สามารถรองรับสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี) [10] นอกจากนี้ยังมีทางหลวงพิเศษที่ทันสมัยซึ่งเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยาน กรุงเทพมหานคร และนิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์น ซีบอร์ด สายการบินหลายแห่ง ได้แก่ การบินไทย การบินไทยสมายล์ บางกอกแอร์เวย์ และไทยเวียดเจ็ทแอร์ ได้เลือกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบิน

ในปี พ.ศ. 2567 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินจากประเทศจีน 40 เมือง[11][12]เมืองล่าสุดของการขนส่งผู้โดยสารได้แก่ยฺวิ่นเฉิง และเมืองล่าสุดของขนส่งอากาศยานได้แก่ นครเอ้อโจว ทำการบินไปประเทศจีนมากกว่า ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ที่มีเพียง 38 เมือง

ชื่อสนามบิน

แก้

ชื่อสุวรรณภูมิ มีความหมายว่า "แผ่นดินทอง" เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 โดยใช้แทนชื่อเดิมคือ "หนองงูเห่า" พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545[13]

ตัวสะกดชื่อของสนามบินใน อักษรโรมัน คือ "Suvarnabhumi" ซึ่งเป็นการสะกดตามหลักการเทียบ อักษรไทย เป็นอักษรโรมันแบบภาษาบาลีและสันสกฤต มิได้ใช้ระบบ การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งจะสะกดได้ว่า "Suwannaphum"

ประวัติ

แก้

การซื้อที่ดินและการก่อสร้างในช่วงแรก

แก้

แนวคิดในการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 2 ในกรุงเทพมหานครเริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดตั้ง "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เช่นเดียวกับการศึกษาของบริษัทลิตช์ฟีลด์และ สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกาซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการสร้างท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่ 2 ในกรุงเทพมหานคร รัฐบาลจึงเริ่มเวนคืนและจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานกว่า 14 ปี ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ ตำบลบางโฉลง และตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ[14] พื้นที่ที่เวนคืนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ ทำให้หมู่บ้านหายไปกว่า 7 หมู่ครึ่ง โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินให้ครอบครัวละ 800,000 บาท[15] นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนย้ายศาสนสถาน 1 แห่ง และโรงเรียนอีก 3 แห่งไปสร้างบริเวณใหม่[16]

รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ให้สัมปทานแก่บริษัทนอร์ททรอปแห่งสหรัฐอเมริกา แต่ยังไม่ทันก่อสร้างก็เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา จนสัมปทานถูกยกเลิก[17] ต่อมารัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาแทมส์เพื่อศึกษาพื้นที่ในการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ จนเมื่อ พ.ศ. 2521 ก็ได้ข้อสรุปตามเดิมว่า หนองงูเห่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด[17] เมื่อถึง พ.ศ. 2534 รัฐบาล อานันท์ ปันยารชุน ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2 ณ บริเวณหนองงูเห่า โดยมอบหมายให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) เป็นผู้ดำเนินการ และต่อมาในรัฐบาล ชวน หลีกภัย ได้อนุมัติงบประมาณ 120,000 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินโครงการ และให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ไม่ต้องนำเงินกำไร 50% ส่งเข้าคลังเป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอที่จะอพยพโยกย้ายประชาชนออกจากพื้นที่เวนคืน[18]

พ.ศ. 2539 เริ่มต้นด้วยการลงนามในสัญญาเงินกู้ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น และต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้จัดตั้งบริษัท เซคันด์ ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพ จำกัด (SBIA) หรือ บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ขึ้นเป็นองค์กรดำเนินโครงการ และดำเนินโครงการเป้าหมายคือ การสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 รับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคน/ปี และเปิดบริการในปี 2543 [19]

พ.ศ. 2540 รัฐบาล นายชวน หลีกภัย เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ส่งผลกระทบกับหลายประเทศในภูมิภาค ในส่วนโครงการสนามบินหนองงูเห่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ปรับลดโครงการฯ ให้รับผู้โดยสารได้ 20 ล้านคน/ปี วงเงินลงทุน 68,832,734 ล้านบาท และให้แล้วเสร็จในปี 2546[20] ในสุดเปิดเมื่อ 28 กันยายน 2549 ในรัฐบาลนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์

การก่อสร้าง

แก้

สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร คือ เฮลมุต ยาห์น ชาวอเมริกัน-เยอรมัน และบริษัทเมอร์ฟี/ยาห์น ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา สถาปนิกและบริษัทเดียวกันนี้ ได้ออกแบบตึกของบริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ ในสิงคโปร์เมื่อปี 2536[21]แต่แบบอาคารในท่าอากาศยานเป็นจำนวนมากได้ถูกปรับเปลี่ยนขนาด และวัสดุก่อสร้างจากแบบเดิมไปในหลายส่วน เช่น เพิ่มการประดับยักษ์ และสถาปัตยกรรมไทยเพิ่มเข้าไปโดยสถาปนิกชาวไทย เป็นต้น

รายชื่อบริษัทที่ร่วมก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ:[22]

งบประมาณการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิร้อยละ 50 เป็นงบประมาณของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในขณะที่อีกร้อยละ 50 มาจากข้อตกลงระหว่างท่าอากาศยานไทยกับ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น [23] ฝ่ายจัดหาที่เกี่ยวข้องกับสนามบินปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่นอย่างเคร่งครัดในด้านความโปร่งใสและการเปิดเผย ถึงแม้ว่าท่าอากาศยานดังกล่าวก่อสร้างขึ้นตามนโยบายประชานิยม ดังที่เคยประกาศไว้ว่าท่าอากาศยานดังกล่าวสำหรับผู้โดยสาร แต่บริษัทส่งออกทั้งไทยและต่างประเทศก็ต้องการให้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานตามทางหลวงพิเศษระหว่างโรงงานอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร และแหลมฉบัง ด้วยเช่นกัน

การออกแบบ[24]

แก้

สถาปัตยกรรมได้ถูกออกแบบขึ้น โดย Helmut Jahn สถาปนิกชาวเยอรมัน เจ้าของบริษัท Murphy/Jahn ผู้ซึ่งออกแบบสนามบินชิคาโก และตึกโซนี่เซ็นเตอร์ ที่ประเทศเยอรมัน ซึ่งถือเป็นวิศวกรรมโดยเน้นแก่นแท้เพื่อประสิทธิแห่งการใช้สอยเป็นสำคัญ และเพื่อสัญลักษณ์การเป็นสนามบินที่ยิ่งใหญ่ของไทย

เทคโนโลยีของการก่อสร้างถูกนำมารวบรวมไว้ เพื่อเพิ่มสมรรถภาพของอาคารแห่งอนาคต วัสดุหลักคือกระจกก็เลือก มาใช้ผสมผสาน คุณสมบัติให้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ทั้งภายนอกและระบบนิเวศน์ภายในอาคารเอง ทั้งกระจกและแสงได้ถูกออกแบบให้เกิดมิติ และประสบการณ์ใหม่ อันหลากหลายแก่ผู้ใช้อาคาร

ระบบนิเวศน์ภายในอาคารก็ได้ถูกออกแบบไว้เพื่อประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงประหยัดพลังงานเป็นสำคัญ มีการนำระบบพื้น หล่อเย็นมาใช้ซึ่งทำให้ประหยัดพลังงาน ในระบบปรับอากาศอย่างยิ่งยวดเป็นต้น

สะท้อนความเป็นไทยผ่านงานศิลปกรรมของศิลปินไทย ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมไทย ทั้งร่วมสมัย และแบบดั่งเดิม อันประกอบด้วยบุษบก 2 หลัง ศาลาไทย 2 หลัง ยักษ์ 12 ตน ภาพเขียนของ จิตรกรอาวุโสนับร้อยกว่าชิ้น เป็นต้น รูปแบบอาคารได้ถูกสะท้อนผ่านกระบวนการออกแบบโดยผสมผสาน วิศวกรรมสาขาต่างๆ ออกมาอย่างง่ายๆ ตรงไปตรงมา จึงมีความโดดเด่น และประกาศความเป็นหนึ่งเดียวของสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม

ข้อมูลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ ตัวอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน คือ ระยะห่างระหว่างเสาแต่ละต้นของตัวอาคารผู้โดยสาร คือ 9 เมตร โดยเสาหลักหรือเสาไพลอนที่ค้ำซูเปอร์ทรัส หรือคานหลักรั้น มี 2 ตัวต่อ 1 คาน รวมกันเป็น 1 ชุด (เสา 2 ตัวที่ค้ำคานนี้จะห่างกัน 81 เมตร เลข 8 และ 1 บวกกันได้เลข 9)

ชุดเสาที่อยู่ทางทิศตะวันออกจะห่างจากชุดเสาทางด้านทิศตะวันตก 126 เมตร (เลข 3 ตัว บวกกันได้ 9) และหลังคาผ้าใยสังเคราะห์ที่ติดตั้งกับอาคารเทียบเครื่องบินมี ทั้งหมด 108 bays ซึ่งสามารถหารด้วยเลข 9 ลงตัว

สำหรับทางเลื่อนระนาบผิวเฉพาะในอาคารเทียบเครื่องบินมีทั้งหมด 95 ชุด โดยมีความยาวตั้งแต่ 27 เมตร และ 108 เมตร (2+7 เท่ากับ 9 หรือ 1+0+8 ก็เท่ากับ 9) ความเร็วของทางเลื่อนในอาคารรวมทั้งทางเลื่อนลาดเอียง มีความเร็ว 45 เมตรต่อนาที เอาเลข 4 บวก 5 เท่ากับ 9

ปัญหาในการวางแผนก่อสร้าง

แก้

ระหว่างการวางแผนและก่อสร้างสนามบินนั้น โครงการได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น และที่เกรงว่าอาจจะเกิดในอนาคต ปัญหาเหล่านี้ถูกยกเป็นประเด็นในแวดวงวิชาการ วิชาชีพ และในสื่อ ปัญหาในการวางแผนก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสามารถประมวลได้ดังนี้:

ปัญหาทางเทคนิควิศวกรรม สถาปัตยกรรม

แก้
  • ในการก่อสร้างช่วงแรก พบปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่การก่อสร้าง
  • ปัญหาการทรุดตัวไม่เท่ากัน ของแต่ละช่วงของ ทางขึ้นลงของเครื่องบิน และทางเชื่อมไปยังรันเวย์ (แท็กซี่เวย์) เนื่องจากเทคนิคการถมและบดอัด
  • ปัญหาคุณภาพและความคงทนของวัสดุผ้าใบหลังคาอาคารผู้โดยสาร
  • ปัญหาระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็นต้องใช้พลังงานและกระแสไฟฟ้ามาก เพราะผนังอาคารเป็นกระจกและเพดานสูง 20 เมตร ทำให้ต้องใช้ระบบหล่อน้ำเย็นใต้พื้นชดเชย ซึ่งทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายและการดูแลยากกว่าระบบทั่วไป สิ้นเปลืองพลังงานและต้องเสียค่าน้ำเย็นจากโรงทำน้ำเย็น
  • ปัญหาระบบเสียง อะคูสติกไม่มีวัสดุกรุผนังอื่น นอกจากกระจก ทำให้ไม่ส่งเสริมให้เกิดการกระจายเสียงที่ดี อาจก่อให้เกิดปัญหาในการกระจายเสียงได้
  • ปัญหาจำนวนห้องสุขา ไม่ได้ตามมาตรฐานอาคารสาธารณะขนาดใหญ่พิเศษ
  • ปัญหาความพร้อมของระบบตามมาตรฐานการบินนานาชาติ ซึ่งมีผลต่อการเปิดสนามบิน ที่มีการเลื่อนวันเปิดไป-มา จนมาลงเอยที่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งเช้ามืดในวันดังกล่าวจะมีการหยุดใช้สนามบินนานาชาติกรุงเทพ (ดอนเมือง) อย่างถาวร จึงจะต้องมีการขนย้ายทุกอย่างให้จบสิ้นลง ก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ดำเนินกิจการสายการบินต่างๆ เป็นอันมาก
  • ปัญหาหลังคารั่ว - ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะยังไม่เปิดการบริการทางพาณิชย์อย่างเต็มที่นั้น หลังคาอาคารผู้โดยสารได้เกิดรั่ว เนื่องจากซิลิโคนที่เชื่อมกระจกหลุด ซึ่งอาจเกิดจากการถูกขูดระหว่างพนักงานทำความสะอาดกระจกหลังคา นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาลอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่าจะซ่อมเสร็จภายในกำหนดการเปิดใช้ และหลังจากนั้น 1 ปีแล้วทุกอย่างจะเสร็จสมบูรณ์ [25]

ปัญหาการพัฒนาพื้นที่

แก้

จากการสัมมนาทางวิชาการหลายเวที โดยเฉพาะทางด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรม ผังเมือง และวิศวกรรม ได้แก่ การสัมมนาทางวิชาการในงานสถาปนิก 49, การสัมมนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมสถาปนิกสยาม สมาคมนักผังเมืองไทย การสัมมนาทางวิชาการที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีปัญหาด้านการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ อาจสรุปเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้

  • ปัญหาด้านเสียงจากการจราจรทางอากาศ ต่อการพัฒนาที่ดินเป็นแหล่งพักอาศัยโดยรอบ
  • ปัญหาน้ำท่วมของพื้นที่โดยรอบและใกล้เคียง เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นแนวระบายน้ำหลักและพื้นที่หน่วงน้ำ "แก้มลิง" ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร[26]
  • ปัญหาระบบจราจรและโครงข่ายถนนเพื่อการเข้าถึงสนามบิน ระบบป้ายนำทาง ความสะดวกของผู้ใช้สนามบินในการเดินทางไปยังอาคารผู้โดยสาร [27]

ปัญหาอื่น

แก้
  • การออกแบบที่ยังไม่อำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ โดยไม่คำนึงถึงการให้บริการในส่วนที่คนพิการจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งในระดับสากลแล้วการสร้างระบบการให้บริการจำเป็นต้องมี และทางหน่วยงานคนพิการทั้งหลายในประเทศไทยเอง พยายามเสนอวิธีแก้ไขปัญหา แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับอย่างชัดเจน[28]
  • เนื่องจากอาคารผู้โดยสารสายต่างประเทศและภายในอยู่ในที่เดียวกัน ทำให้ระยะทางเดินต่อเครื่อง ยาวโดยเฉลี่ย 800-1,000 เมตร หรือในจุดที่ยาวสุดระยะทางถึง 3,000 เมตรนั้น เป็นระยะทางที่ไกล ก่อให้เกิดปัญหาได้ในกรณีที่ระยะเวลาต่อเครื่องนั้นกระชั้นชิด อีกทั้งไม่มีรถรางขนส่งดังเช่นแผนเดิมที่ออกแบบไว้[28]

อุบัติเหตุ

แก้
 
โบอิง 777-300อีอาร์ของอีวีเอแอร์ที่ได้รับความเสียหายบริเวณเครื่องยนต์จากอุบัติเหตุในปี 2566
  • 25 มกราคม พ.ศ. 2554 สายการบินควอนตัส เที่ยวบิน QF2 เครื่องทะเบียน VH-OJT แจ้งลงฉุกเฉินที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเนื่องจากเครื่องยนต์เสีย[29]
  • 8 กันยายน พ.ศ. 2556 การบินไทย เที่ยวบินที่ 679 A330-300 ทะเบียน HS-TEF ล้อหักในขณะที่เครื่องบินทำการจอดที่รันเวย์
  • 29 กันยายน พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่ตรวจวัสดุแปลกปลอมบนลานจอดเสียชีวิตเนื่องจากถูกรถรถแทรกเตอร์ลากจูงตู้สินค้าชน[30]
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 106 ประสบอุบัติเหตุตกโดจทำการบินจากท่าอากาศยานนครราชสีมาเครื่องบินทะเบียน HS-FGB มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 5 ราย ที่คลองหนองจอก เขตหนองจอก ห่างจาก ท่าอากาศยานประมาณ 15 กิโลเมตร[31]
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 แอโรฟลอต เที่ยวบินที่ SU-270 ประสบอุบัติเหตุตกหลุมอากาศมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 27 คน[32]
  • 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561 การบินไทย เที่ยวบินที่ 679 B747-400 ทะเบียน HS-TGF เครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์
  • 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ออสเตรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบิน 26 ทะเบียน OE-LPB[33] เตาอบภายในเครื่องบินเสีย นักบินตัดสินใจบินกลับมาลงที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[34]
  • 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เครื่องบินของสายการบินอีวีเอแอร์ เที่ยวบินที่ 202 B777-36NER ทะเบียน B-16722[35] ลายเฮลโลคิตตี ถูกรถรถแทรกเตอร์ลากจูงตู้สินค้าชนส่งผลให้เครื่องยนต์เสียหายและต้องยกเลิกเที่ยวบิน BR202
  • 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เครื่องบินโบอิง 777-300อีอาร์ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 321 ลงจอดฉุกเฉินหลังประสบความปั่นป่วนอย่างรุนแรงขณะบินผ่านอ่าวเบงกอล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บอย่างน้อย 30 ราย[36]
 
ชั้นทางเข้าหน้าอาคารผู้โดยสารหลักของท่าอากาศยาน

การทดสอบสนามบิน และการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ

แก้

เดิมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีกำหนดการเปิดในตอนปลายปี พ.ศ. 2548 แต่ก็ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากข้อบกพร่องในการก่อสร้าง และข้อกล่าวหาในการฉ้อราษฎร์บังหลวง นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในทางความเชื่ออีกว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ ซึ่งคนงานก่อสร้างที่เห็นวิญญาณเหล่านั้นเกิดความกลัว ดังนั้น เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2548 ท่าอากาศยานไทยจึงได้จัดพิธีสวดมนต์ของพระสงฆ์ 99 รูปเพื่อสะกดดวงวิญญาณ[37]

สนามบินได้เปิดทดลองเต็มรูปแบบ และมีการขายตั๋วที่นั่งให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก เกิดขึ้นในเช้าวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดยมีสายการบินภายในประเทศ 6 สายการบินร่วมทดลอง ได้แก่ การบินไทย นกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์ พีบีแอร์ และโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จาก 20 เที่ยวบินภายในประเทศโดยเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ภายในประเทศเที่ยวแรกคือ TG1881 ออกจาก ท่าอากาศยานดอนเมือง เวลา 7.45 น.มาถึง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 8.09 น.และทำการบินต่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตถึงเวลา 9.19 น.​ ทำการบินโดยสารการบินไทยเครื่องบินแบบโบอิง 747-400 ​โดยลงจอดที่ท่าอากาศยาน​สุวรรณภูมิ ​8.09 น. พร้อมนายกรัฐมนตรี​ทักษิณ ชินวัตร​และผู้โดยสาร 375 คน ก่อนที่จะทำการบินต่อไปท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต[38][39] ส่วนเที่ยวบินทดสอบระหว่างประเทศเที่ยวบินแรกเกิดขึ้นในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยมีการส่งเครื่องบินไทย 2 ลำไปยังสิงคโปร์ และฮ่องกง ซึ่งเป็นการทดสอบทั้งความสามารถของท่าอากาศยานในการรองรับการจราจรทางอากาศที่แออัด และในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ทำการบินนำผู้โดยสารไปยังท่าอากาศยานอินชอนประเทศเกาหลีใต้ TG6561 นับเป็นเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศเที่ยวบินแรกของสุวรรณภูมิ

ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานเริ่มเปิดให้บริการเที่ยวบินรายวันอย่างจำกัด โดยเจ็ตสตาร์ เอเชีย แอร์เวย์ มีเที่ยวบิน 3 เที่ยวต่อวันไปยังท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ ส่วนการบินไทยมีเที่ยวบินภายในประเทศไปยังจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอุบลราชธานี ตามด้วยสายการบินบางกอกแอร์เวย์ แอร์เอเชีย ไทยแอร์เอเชีย และนกแอร์ ซึ่งระหว่างช่วงเริ่มต้นใช้งานนั้น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ใช้รหัสสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศชั่วคราว คือ NBK

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549[40]

ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 22.59 น.ตามเวลาประเทศแคนาดา แอร์แคนาดา ได้ทำการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์แวนคูเวอร์ประเทศแคนาดา ไปกลับในเที่ยวบิน AC65 และ AC66 นับเป็นครั้งแรกที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินตรงจากประเทศแคนาดาและเป็นเที่ยวบินผู้โดยสารจากทวีปอเมริกาเหนือหลังจากหยุดบินเที่ยวบินผู้โดยสารทวีปอเมริกาเหนือนานถึง 7 ปี โดยเที่ยวบินดังกล่าวมาถึงในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 6.33 น.ตามเวลาในประเทศไทย

การขยายโครงการก่อสร้าง

แก้

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา อีพีเอ็ม คอนซอร์เตี้ยม เป็นผู้บริหารจัดการโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ 2554-2560) ทั้งนี้ การขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 62,500 ล้านบาท พร้อมกับจ้างที่ปรึกษาบริหารจัดการโครงการ ซึ่งได้อีพีเอ็ม คอนซอร์เตี้ยม มาเป็นผู้ดำเนินงาน แผนการระยะยาว เราจะพัฒนารันเวย์ให้มีขนาด 4 รันเวย์ ให้ขนานกับตัวอาคารผู้โดยสาร และสร้างอาคารผู้โดยสารย่อยรอบๆ อาคารผู้โดยสารหลัก จะสร้างหลังจากสร้างอาคารผู้โดยสารหลักเสร็จภายใน 3-5 ปี เพื่อเพิ่มพื้นที่การรองรับผู้โดยสารจำนวน 150 ล้านคน หลุมจอดเครื่องบิน 224 หลุมจอด และ 6.4 ล้านตันสำหรับการขนส่งสินค้าต่อปี [41]

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 โครงการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิระยะที่ 2 และ การดำเนินงานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ได้เสร็จสิ้นลง โดยเหลือการตกแต่งสถาปัตยกรรมภายใน และทำการทดสอบระบบการปฏิบัติงานต่างๆ ร่วมกัน ท่าอากาศยานไทย

อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 เปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566

การปรับปรุงพัฒนาบริการ

แก้

วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สถานีตำรวจภูธรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดบริการอย่างเป็นทางการวัตถุประสงค์เพื่อดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัยของคนไทยและชาวต่างชาติ[42]

วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้กำหนดเริ่มปรับปรุงทางวิ่งอากาศยานฝั่งตะวันออกกำหนดแล้วเสร็จภายใน วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการตรวจค้นโดยให้บริการตรวจค้นรูปแบบใหม่ซึ่งสามารถตรวจค้นเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า หรือ 3,600 คนต่อชั่วโมงโดยใช้งบลงทุน 155 ล้านบาท

พ.ศ. 2560 โรงพยาบาลสมิติเวช เปิด สมิติเวชสุวรรณภูมิ คลินิกเวชกรรมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับตำรวจตรวจคนเข้าเมืองให้บริการเปิดช่องทางพิเศษผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ถือหนังสือเดินทางประเทศจีน

วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562 และ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับแอร์ไชน่า ทำการบินรับส่งผู้โดยสารพิเศษที่เข้าร่วม การประชุมสุดยอดอาเซียน ด้วยเครื่องบินชนิดโบอิง 747-8I นับเป็นครั้งแรกที่เครื่องบิน โบอิง 747-8I ซึ่งเป็นเครื่องขนส่งผู้โดยสารขนาดใหญ่รองจาก แอร์บัส เอ380 ทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ในปี พ.ศ. 2566 ทุกสายการบินที่จะเดินทางไปกลับจากท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูชวงหลิวได้เปลี่ยนสนามบินเป็น ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูเทียนฟู่ ซึ่งอยู่ในเขตเจี๋ยนหยาง อย่างไรก็ตามยังมีเครื่องบินขนส่งอากาศยานบริการระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปกลับท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูชวงหลิว ส่งผลให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิบริการ เมืองเฉิงตู ทั้งสองท่าอากาศยาน

วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 การบินไทยทำการบินเที่ยวบิน TG8838 นำนาย เศรษฐา ทวีสิน และคณะ บินตรงไปยัง ท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโก นับเป็นครั้งแรกที่การบินไทยและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินผู้โดยสารบินตรงไปสหรัฐหลังหยุดบินตรงนานถึง 7 ปี

วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกำหนดติดตั้งระบบอุปกรณ์ตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel) รุ่นใหม่[43]

เที่ยวบินระยะทางมากกว่าหนึ่งหมื่นไมล์

แก้

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินที่ทำการบินโดยไม่เปลี่ยนเครื่องบิน ระยะทางมากกว่าหนึ่งหมื่นไมล์จำนวน 6 เที่ยวบินเป็นขนส่งอากาศยานสองเที่ยวบินได้แก่ เที่ยวบิน แอร์แคนาดา 7266 และ ควอนตัส 7581 นอกจากนั้นเป็นเที่ยวบินเฉพาะกิจดังต่อไปนี้

ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 เที่ยวบินของการบินไทย เที่ยวบินที่ TG8848 ทะเบียน HS-TLD นำอดีตนายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์[44]และคณะเดินทางไปกรุงลิมา ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[45] ซึ่งบินแวะท่าอากาศยานซือริช เดินทางถึงกรุงลิมาในวันที่ 21 พฤศจิกายน[46]

ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563 ไอบีเรียแอร์ไลน์ เที่ยวบิน IB2836 ทะเบียน EC-NBE ทำการบินขนส่งผู้โดยสารจากท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธ[47][48]มายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปลายทางท่าอากาศยานมาดริด-บาราฆัสเมืองมาดริดประเทศสเปน[49]เที่ยวบินดังกล่าวนับเป็นเที่ยวบินไปมาดริดในรอบ 4 ปี และเป็นเที่ยวบินแวะพักที่ไม่เปลี่ยนเครื่องบินระยะทางไกลที่สุดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทำการบินตามระยะทางที่บินจริง 18,291 กิโลเมตร

ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563 การบินไทยเที่ยวบินที่ 8096 ทำการบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังฮาวายปลายทางเมืองอเล็กซานเดรียรัฐเวอร์จิเนีย[50]ระยะทาง 17,554 กิโลเมตร[51]เป็นเที่ยวบินเช่าเหมาลำทางทหาร

วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ต้อนรับผู้โดยสารจากท่าอากาศยานนานาชาตินูอาร์ก ลิเบอร์ตีในเที่ยวบิน SQ9023[52]ทำการบินโดยสิงคโปร์แอร์ไลน์ ทะเบียน 9V-SGD นับเป็นเที่ยวบินจากสหรัฐในรอบ 6 ปีและทำการบินจากสหรัฐมาประเทศไทยระยะทางบินไกลที่สุดนับตั้งแต่เปิดสนามบิน ระยะทางบินจริง 15,879 กิโลเมตรทำลายสถิติเที่ยวบิน TG791 โดยเที่ยวบินนี้ทำการบินต่อไปยังท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ ทำการบินตามระยะทางที่บินจริงรวม 17,335 กิโลเมตร

วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566 นายเศรษฐา ทวีสินและคณะ เดินทางด้วยเครื่องบินทะเบียน HS-TQB TG8832 จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดีปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติวอชิงตันดัลเลส

รายละเอียดท่าอากาศยาน

แก้

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนเทพรัตน ประมาณกิโลเมตรที่ 15 อยู่ในเขตตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานครไปประมาณ 25 กิโลเมตร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 1 ใช้งบประมาณก่อสร้างในกรอบวงเงิน 123,942.25 ล้านบาท[53]

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีรันเวย์ขนาน 3 เส้น กว้างเส้นละ 60 เมตร ยาว 3,700 เมตร และ 4,000 เมตร ห่างกัน 2,200 เมตร และ 400 เมตร และมีทางขับขนานกับทางวิ่งทั้ง 3 เส้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่อากาศยานขาออกและขาเข้าได้พร้อมกัน[54] และมีหลุมจอดอากาศยาน มีจำนวน 148 หลุมจอด (จอดประชิดอาคาร 79 หลุมจอด และจอดระยะไกลอีก 69 หลุมจอด) รวมถึงหลุมจอดอากาศยานที่สามารถรองรับอากาศยานแอร์บัส เอ 380 ได้ถึง 13 หลุมจอดและระยะไกลอีก3หลุมจอดทำให้สามารถรับได้สูงสุด 13 ลำ รวม 13 หลุมจอด มีท่าเทียบรวม 79 จุด

ในช่วงแรกของการก่อสร้าง ท่าอากาศยานมีศักยภาพรองรับปฏิบัติการเที่ยวบินได้76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง, ผู้โดยสารได้กว่า 45 ล้านคนต่อปี หลุมจอด 120 หลุมจอดแบ่งเป็น จอดประชิดอาคาร 51 หลุมจอด และจอดระยะไกลอีก 69 หลุมจอด และสินค้า 3 ล้านตันต่อปี[55] และหน้าอาคารผู้โดยสารหลักเป็นโรงแรมภายใต้เครื่องหมายการค้าโนโวเตล ซึ่งมีจำนวน 600 ห้อง อีกทั้งระหว่างอาคารผู้โดยสารและโรงแรมก็มีอาคารจอดรถ 5 ชั้น จำนวน 2 หลัง ซึ่งสามารถรองรับรถยนต์ได้ถึง 5,000 คัน นอกจากนี้ยังมีพื้นที่จอดรถเหนือพื้นดินที่สามารถรองรับรถยนต์ได้อีก 1,000 คัน และพื้นที่จอดรถในระยะยาวที่สามารถรองรับรถยนต์ได้ 4,000 คัน และรถโดยสารอีก 78 คัน

นอกจากนี้ ท่าอากาศยานไทยยังมีแผนการที่จะขยายและปรับปรุงสนามบินสุวรรณภูมิด้วยงบประมาณ 800 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มเป้าผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 80 ล้านคนต่อปี ภายในปี พ.ศ. 2559 และยังเพิ่มความสามารถในการรองรับผู้โดยสารภายในประเทศโดยการลงทุนสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และทางวิ่งที่สามเพิ่มขึ้นอีก[56]

รายละเอียดส่วนหลักสนามบินสุวรรณภูมิสามารถประมวลได้ ดังนี้:

อาคารผู้โดยสารหลักที่ 1

แก้

อาคารผู้โดยสารหลักที่ 1 เป็นอาคารเดี่ยว ช่วงกว้าง ไม่มีเสากลางอาคาร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 563,000 ม.² มี 9 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน 2 ชั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้:[57]

  • ชั้นใต้ดิน (B2) - ชานชาลาของสถานีรถไฟฟ้า (เปิดใช้สายละ 1 ชานชาลา)
  • ชั้นใต้ดิน (B1) - สถานีรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
  • ชั้น 1 - สถานีรถโดยสาร ศูนย์การแพทย์ และสำนักงานตรวจสอบไฟฟ้าท่าอากาศยานไทยและศูนย์ควบคุมท่าอากาศยาน
  • ชั้น 2 - ห้องโถงสำหรับผู้โดยสารขาเข้าทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
  • ชั้น 3 - ห้องนั่งเล่น จุดนัดพบ ร้านค้า จุดตรวจ และเคาเตอร์ให้บริการ
  • ชั้น 4 - ห้องโถงสำหรับผู้โดยสารขาออกทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จุดตรวจควบคุมภาษีศุลกากร ศูนย์ราชการบางแห่ง บูทสายการบิน เคาท์เตอร์ข้อมูลสนามบิน
  • ชั้น 5 - สำนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และกลุ่มสายการบินสตาร์ อัลไลแอนซ์
  • ชั้น 6 - สำนักงานสายการบิน
  • ชั้น 7 - ชั้นชมทัศนียภาพ
พื้นที่ตรวจบัตรโดยสารภายในอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1

แก้

อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ตั้งอยู่ห่างจากอาคารผู้โดยสารหลักที่ 1 ประมาณ 1 กิโลเมตร พื้นที่ประมาณ 216,000 ตร.ม. มีรายละเอียดดังต่อไปนี้[58]

  • ชั้น B2 : สถานีขนส่งผู้โดยสาร
  • ชั้น B1 : ระบบลำเลียงกระเป๋าและสัมภาระ
  • ชั้น GF : ลานจอดเครื่องบิน
  • ชั้น 2 : ส่วนบริการผู้โดยสารขาเข้า เคาท์เตอร์ผู้โดยสารเปลี่ยนเครื่อง และส่วนสำหรับเจ้าหน้าที่
  • ชั้น 3 : ส่วนบริการผู้โดยสารขาออก โดยมีทางออกขึ้นเครื่อง S101-S128 เชื่อมสะพานเทียบเครื่องบินรวม 28 สะพาน อีกทั้งยังมีร้านค้าปลอดอากรอีกด้วย
  • ชั้น 4 : ส่วนบริการผู้โดยสารพิเศษ ภัตตาคาร และร้านค้า

การจัดแสดงงานศิลปะและวัฒนธรรมไทย

แก้
 
รูปปั้นตำนานกวนเกษียรสมุทร ที่ชั้นขาออก สนามบินสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้มีการติดตั้งผลงานศิลปะไทย ทั้งภายในและภายนอกอาคารของสนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่ารวมกันทั้งสิ้นกว่า 100 ล้านบาท เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจในบรรยากาศประเทศไทย ด้วยการสะท้อนความงามของศิลปะและวัฒนธรรมไทย เช่น ประติกรรมจำลองยักษ์จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จำนวน 12 คน ซึ่งเป็นตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ มูลค่า 48 ล้านบาท ภาพจิตรกรรมฝาผนังจำลองของศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย เป็นต้น[59]

งานภูมิทัศน์

แก้
 
สวน "ชนบท" ด้านนอกอาคารสนามบินสุวรรณภูมิ

งานออกแบบภูมิทัศน์โดยรอบสนามบินและภายในส่วนเปิดโล่งของอาคารผู้โดยสารมีลักษณะของความเป็นไทย เดิมออกแบบโดย ปีเตอร์ วอล์กเกอร์ ภูมิสถาปนิกชาวอเมริกัน วอล์กเกอร์ระบุว่า ภูมิทัศน์ถนนภายในสนามบินสุวรรณภูมินั้น ประกอบด้วยงานภูมิทัศน์ขนาดใหญ่ที่สามารถสัมผัสได้แม้จากในรถที่กำลังแล่น

ส่วนภูมิทัศน์ภายในท่าอากาศยาน ได้ออกแบบให้เป็นงานภูมิทัศน์ภายในสนามบินขนาดใหญ่แบบ Monumental garden 2 สวน ขนาดพื้นที่ถึงแปลงละ 135×108 ม.[60] ตามแบบเดิมนั้นมีแนวความคิดหลักสองแนวคิด คือ สวน "เมือง" และ สวน "ชนบท" โดยการออกแบบได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดภูมิจักรวาลและอารยธรรมชาวน้ำ

ในเวลาต่อมา เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณและสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคต ใน พ.ศ. 2545 ได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่ โดยกลุ่มภูมิสถาปนิกและทีมที่ปรึกษาชาวไทย คือ RPU Design Group ภายใต้การนำของสำนักงานออกแบบระฟ้า ภูมิสถาปนิกที่ร่วมกำหนดแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ เมื่อ พ.ศ. 2537 ทั้งนี้ยังคงแนวคิดหลักของสวนเมืองและชนบทอยู่ แต่ได้ปรับแนวความคิดในขั้นรายละเอียดและเนื้อหาใหม่

"สวนเมือง" มีลักษณะเป็นสวนน้ำพุ ประดับด้วยกระเบื้อง ประติมากรรมรูปทรงเจดีย์และน้ำพุ ได้อาศัยคติความเชื่อของไทยตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ความเชื่อเรื่องระบบภูมิจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง เรื่องการเลือกทำเลในการตั้งเมืองใกล้น้ำ (อารยชนชาวน้ำ) การใช้เส้นสายที่ปรากฏในจิตรกรรมไทย นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง

ส่วน "สวนชนบท" มีการประดับโดยใช้หญ้าท้องถิ่นและต้นไม้ตัดแต่งรูปฝูงช้าง ได้ใช้ลักษณะภูมิประเทศของไทย ซึ่งประกอบด้วยภูเขา แม่น้ำลำคลองและทุ่งราบ มีภูเขาทองเป็นประธาน ในส่วนประติมากรรมได้ใช้ฝูงนกเป็นกลุ่มๆ ที่สามารถไหวได้ตามแรงลม โดยทั้งสองสวนจะสื่อถึงความเป็นไทย และมีรูปแบบทันสมัยเพื่อให้กลมกลืนกับรูปแบบอาคารสนามบินได้โดยไม่ดูล้าสมัย มีความยืดหยุ่นรองรับการขยายตัวของอาคารผู้โดยสารได้ และการออกแบบองค์ประกอบและพืชพันธุ์ต่าง ๆ ได้คำนึงถึงเรื่องการควบคุมจำนวนนกภายในสนามบินด้วย

สถิติโลก

แก้
 
หอบังคับการบินสนามบินสุวรรณภูมิ เคยเป็นหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก[61]
 
เซสนา 208บี แกรนด์คาราวาน ของไทย ฟลายอิ้ง เซอร์วิส เครื่องบินเล็กที่สุดที่ทำการบินไปสนามบินเกาะไม้ซี้

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น "ความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ" และยังเป็นสิ่งก่อสร้างที่ทำลายสถิติโลกในหลายประการ[62] ได้แก่

  • หอบังคับการบินที่สนามบินสุวรรณภูมิเคยเป็นหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก ด้วยความสูง 132.2 เมตร แต่ในปัจจุบันถูกทำลายสถิติแล้ว[61]
  • ล็อบบี้ของโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร มีห้องพักถึง 600 กว่าห้อง เป็นบริเวณล็อบบี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ถึง 17 ไร่
  • อาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเคยเป็นอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่ถูกบันทึกว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในการก่อสร้างครั้งเดียว โดยมีพื้นที่ใช้สอยราว 563,000 ม.² แต่ในปัจจุบัน สถิติดังกล่าวตกเป็นของอาคารผู้โดยสารที่ 3 ของท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยราว 1,500,000 ม.²[63]
  • ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีสายการบินประจำที่ทำการบินแบบมีผู้โดยสารและขนส่งสินค้าที่เป็นสายการบินเส้นทางประจำ จำนวน 100 สายการบิน 2 ปีติดต่อกัน
  • ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีสายการบินประจำที่ทำการบินแบบมีผู้โดยสารและขนส่งสินค้าที่เป็นสายการบินเส้นทางประจำ จำนวน 105 สายการบิน มากกว่า 100 สายการบินเป็นปีแรกตั้งแต่เปิดทำการ
  • ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2558 ถึง ปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้อันดับที่ 9 จากการจัดอันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ ถึง 5 ปีซ้อน โดยในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศมากกว่า 52,933,565 คน มากกว่า 52 ล้านคนเป็นปีแรก
  • ในปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการจัดอันดับที่ 19 จากการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนผู้โดยสาร 65,421,844 ราย
  • ในปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการจัดอันดับที่ 10 จากการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนผู้โดยสาร เฉพาะท่าอากาศยานในทวีปเอเซีย
  • ในปี พ.ศ. 2561 และ ในปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการจัดอันดับที่ 21 จากการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนขนส่งสินค้า โดยปริมาณขนส่งในปี พ.ศ. 2562 อยู่ที่ 1,326,914 ตัน[64][65]
  • ในปี พ.ศ. 2564 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการจัดลำดับที่ 10 จากการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีพื้นที่มากที่สุดของโลก โดยพื้นที่รวมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิคือ 32.4 ตารางกิโลเมตร
  • นับตั้งแต่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 จนถึง วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินผู้โดยสาร ที่ทำการบินไม่เปลี่ยนเครื่องบินระยะทาง เกิน 12,000 กิโลเมตร ทั้งหมด 11 เส้นทางบินโดยเที่ยวบินล่าสุดได้แก่แอร์แคนาดา เที่ยวบินที่ 65 ระยะทางรวม 12,482 กิโลเมตร
  • ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2567 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีจำนวนเที่ยวบิน แอร์บัส เอ380 จำนวน 5,515 เที่ยวบิน มากเป็นอันดับ 5 ของโลก[66]

รายละเอียดสายการบิน

แก้
 
จุดหมายปลายทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ในอดีตท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเคยมีเที่ยวบินไปกลับระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับ เอเธนส์ โจฮันเนสเบิร์ก เคเมโรโว และเคยทำการบินโดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องบินกับสหรัฐ 5 เมืองโฮโนลูลูชิคาโกลอสแองเจลลิสซานฟรานซิสโกและนิวยอร์ก

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีการเปลี่ยนแปลงตารางบินในฤดูการเปลี่ยนแปลงตารางบินทุก 6 เดือน ช่วงปลายเดือนตุลาคม และปลายเดือนมีนาคมซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่อาจมีการเปลี่ยนแปลงเวลาขึ้นลงของแต่ละสายการบินทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของ IATA อย่างไรก็ตามท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นจุดหมายของสายการบินต่าง ๆ โดยในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 ไทยสมายล์ ได้ย้ายฐานการบินมาที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งหมด

ในปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานที่รับผู้โดยสาร นักบิน และ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จาก 55 ประเทศทั่วโลก หากนับรวมประเทศไทยด้วย ท่าอากาศยานแห่งนี้รับผู้โดยสาร จาก 56 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมากถึงร้อยละ 29 ของจำนวนประเทศทั่วโลก โดยประเทศซาอุดีอาระเบีย ทำการบินเฉพาะช่วงพิธีฮัจญ์ ไม่นับรวมแซ็ง-เดอนี ฮ่องกง และมาเก๊า ซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษ มีจำนวนสายการบินที่ทำการบินทั้งเครื่องขนส่งสินค้าอย่างเดียวและเครื่องขนส่งผู้โดยสารและสินค้าซ้ำกัน 4 สายการบินได้แก่ ไชนาแอร์ไลน์ ออล นิปปอน แอร์เวย์ อีวีเอแอร์ ฮ่องกงแอร์ไลน์

ในปี พ.ศ. 2562 ตลอดทั้งปี มีสายการบินทำการบินทั้งหมด 121 สายการบิน แบ่งเป็นขนส่งผู้โดยสาร 105 สายการบิน ขนส่งอากาศยาน 13 สายการบิน รวมเป็นสายการบินประจำ 118 สายการบินเช่าเหมาลำ ระหว่างประเทศ 2 สายการบิน สายการบินเช่าเหมาลำ ภายในประเทศ 1 สายการบิน นับว่าในแง่ของสายการบินมีจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่เปิดกิจการ

ในปี พ.ศ. 2562 มีเครื่องขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียวหรือขนส่งอากาศยาน 13 สายการบิน โดยเที่ยวบินขนส่งสินค้าในไชน่าแอร์ไลน์ อีวีเอแอร์ ออล นิปปอน แอร์เวย์ ฮ่องกงแอร์ไลน์ ไม่ได้นับรวมในสายการบินขนส่งสินค้าเนื่องจากเป็นบริษัทเดียวกันกับที่ทำการบินในเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสาร ยกเว้นสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์กับสิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก แม้ใช้รหัส IATA เดียวกัน แต่ถือเป็นคนละสายการบิน ในปี พ.ศ. 2562 ขนส่งอากาศยาน มีสายการบินใหม่ที่ทำการบินมาที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2 สายการบินได้แก่ สายการบิน มาย เจ็ทเอกซ์เพรส แอร์ไลน์ (MY Jet Xpress Airlines) และสายการบิน หยวนทง คาร์โกแอร์ไลน์ (YTO Cargo Airline)

ในปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิรับเครื่องบินแบบแอร์บัส เอ380 มากถึง 6 สายการบิน ได้แก่ การบินไทย เอเชียน่าแอร์ไลน์ [67]ลุฟท์ฮันซ่า เอมิเรตส์แอร์ไลน์ โคเรียนแอร์ และกาตาร์แอร์เวย์

ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 สายการบินแอร์อาระเบียทำการบินจากเมืองชัรญะฮ์ มายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในเที่ยวบิน G9825 นับเป็นเส้นทางบินใหม่ในปี พ.ศ. 2566

ในปี พ.ศ. 2567 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินที่บินตรงแบบประจำที่ระยะทางไกลที่สุดอันดับแรกได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์แวนคูเวอร์ทำการบินโดยแอร์แคนาดาเที่ยวบินที่ 65 [68]ระยะทางบินตามจริง 12,482 กิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2567 เที่ยวบินแวะพักที่ทำการบินไกลที่สุดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยไม่เปลี่ยนเครื่องบินได้แก่ควอนตัส เที่ยวบินที่ 7581 ซึ่งเป็นขนส่งอากาศยานทำการบินทั้งหมด 6 ประเทศ เริ่มจากท่าอากาศยานซิดนีย์ คิงส์ฟอร์ด สมิทมาแวะท่าอากาศยานนานาชาติออกแลนด์[69]แวะท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน[70]แวะท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[71]แวะท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง[72]แวะท่าอากาศยานแองคอเรจ[73]ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี[74]ระยะทางรวม 32,320 กิโลเมตร

เที่ยวบินแวะพักแบบมีผู้โดยสารที่ทำการบินไกลที่สุดของสนามบินอันดับแรกได้แก่อีวีเอแอร์เที่ยวบินที่ 67 และอีวีเอแอร์เที่ยวบินที่ 68 ทำการบินไทเป–เถา-ยฺเหวียนแวะพักท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปลายทางท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ ทั้งขาไปและขากลับ ระยะทางรวม 13,357 กิโลเมตร [75][76]

ในปี พ.ศ. 2567 สายการบินที่ทำการบินแบบประจำ เครื่องบินขนาดเล็กที่สุดที่บินที่นี่ ได้แก่ เอทีอาร์ 42 และขนาดใหญ่ที่สุดได้แก่ แอร์บัส เอ380

ในปี พ.ศ. 2567 จำนวนประเทศที่บินมากกว่า 4 เมืองขึ้นไปรวมขนส่งอากาศยาน ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอินเดีย ประเทศรัสเซีย ประเทศเวียดนามและประเทศไทย จำนวนเมืองที่บินสองท่าอากาศยานได้แก่สุราษฎร์ธานี ปักกิ่ง เฉิงตู สิงคโปร์[77]และ ลอนดอน

ในปี พ.ศ. 2567 เที่ยวบินที่ทำการบินใกล้ที่สุดได้แก่ เที่ยวบินของการบินไทยในวันที่ 30 พฤษภาคม บินจากท่าอากาศยานดอนเมืองมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะทางทำการบิน 114 กิโลเมตร ในเที่ยวบิน TG673[78]TG304[79][80]รองลงมาเป็นคาเธ่ย์แปซิฟิค เที่ยวบิน 703 ทำการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) เป็นเที่ยวบินที่ไม่สามารถลงที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้เนื่องจากฝนตกหนัก

ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 มาดริด[81] กลับมาให้บริการอีกครั้งโดยสายการบินอิเบโรเจ็ทเที่ยวบิน 845

ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567 สายการบินพัทยาแอร์เวย์เปิดเส้นทางบินขนส่งอากาศยานเที่ยวบินที่ PTW886 และ PTW887 ทำการบินไปกลับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา)

ในปี พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2567 เที่ยวบินแบบแวะพักโดยไม่เปลี่ยนเครื่องบินระยะทางไกลที่สุดเป็นของขนส่งอากาศยาน 4 ปีติดต่อกัน

สายการบินที่ทำการบินทวีปอเมริกาเหนือ

แก้

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเคยรับผู้โดยสารเที่ยวบินจากสหรัฐอเมริกา จำนวน 5 เมือง เที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ ชิคาโก แวะพักที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทำการบินโดยยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ในเที่ยวบินที่ UA881 ซึ่งเป็นเที่ยวบินผู้โดยสารที่ทำการบินตามตารางบินระยะไกลที่สุดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยไม่เปลี่ยนเครื่องบินตราบจนปัจจุบันระยะทางรวม 15,103 กิโลเมตร เที่ยวบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิสแวะพักที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทำการบินโดยยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ในเที่ยวบินที่ UA891 และการบินไทย TG744 ระยะทาง 13,745 กิโลเมตร เที่ยวบินจากซานฟรานซิสโก แวะพักที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทำการบินโดยในยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ UA837 และ นอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน NW27 ระยะทาง 13,500 กิโลเมตร นอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน NW21 ทำการบินท่าอากาศยานนานาชาติแดเนียล เค. อิโนเอโฮโนลูลูแวะพักที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทางรวม 10,785 กิโลเมตร

เที่ยวบินของการบินไทย TG691/TG692 แวะลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ก่อนไปยังท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส ระยะทางรวม 14,653 กิโลเมตร เที่ยวบินของการบินไทยไปกลับระหว่างท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี นิวยอร์ก TG790/TG791 ระยะทางรวม 14,050 กิโลเมตร เที่ยวบินบินตรงของการบินไทย TG794/TG795 ระหว่างท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส ระยะทาง 13,325 กิโลเมตร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เส้นทางบินทวีปอเมริกาเหนือเหลือเพียงเส้นทางเดียวได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์แวนคูเวอร์ทำการบินโดยแอร์แคนาดาเที่ยวบินที่ 65 อย่างไรก็ตามท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีขนส่งอากาศยานจากสหรัฐมาทุกปี

เส้นทางการบินที่ให้บริการในปัจจุบัน

แก้
ตารางสีเพื่อใช้ประกอบการดูหมายเหตุ
ระหว่างประเทศ
ภายในประเทศ

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
9 แอร์ กว่างโจว[82] ระหว่างประเทศ
กัลฟ์แอร์ บาห์เรน, สิงคโปร์[83] ระหว่างประเทศ
กาตาร์แอร์เวย์ โดฮา, ฉงชิ่ง[84], ฮ่องกง[85], หางโจว ระหว่างประเทศ
กาตาร์แอร์เวย์ ภูเก็ต ยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต ภายในประเทศ
การบินจี๋เสียง เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง ระหว่างประเทศ
การบินไทย กัวลาลัมเปอร์, โกจจิ, กว่างโจว, เกาสฺยง, กาฐมาณฑุ, การาจี, โกลกาตา, คยา (10 ตุลาคม)คุนหมิง, เซี่ยเหมิน, โคเปนเฮเกน, โคลัมโบ, จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา, เจดดาห์ หยุดชั่วคราว 31 มี.ค. 67, เจนไน, เฉิงตู–เทียนฟู่, ซือริช, เซ็นได, เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง, โซล–อินช็อน, ปีนัง, เด็นปาซาร์/บาหลี, เดลี, โตเกียว–นาริตะ, โตเกียว-ฮาเนดะ, ไทเป–เถา–ยฺเหวียน, ธากา, นาโงยะ–เซ็นแทรร์, บรัสเซลส์, บริสเบน, เบงคาลูรุ, ปารีส–ชาร์ล เดอ โกล, ปูซาน, ลาฮอร์, ปักกิ่ง–นครหลวง, พนมเปญ, เพิร์ท, แฟรงก์เฟิร์ต, ฟุกุโอกะ, ซัปโปโระ–ชิโตเซะ, ซิดนีย์, มอสโก–โดโมเดโดโว, เมลเบิร์น, มะนิลา, มิลาน–มัลเปนซา, มิวนิก, มุมไบ, ย่างกุ้ง, โรม–ฟีอูมีชีโน, ลอนดอน–ฮีทโธรว์, เวียงจันทน์, เวียนนา, สต็อกโฮล์ม–อาร์ลันดา, เสียมราราฐ-อังกอร์ (28 ตุลาคม), สิงคโปร์, ออสโล–การ์เดอร์มอน, ออกแลนด์, อิสตันบูล, อิสลามาบัด, โอซากะ–คันไซ, ฮ่องกง, ฮานอย, โฮจิมินห์, ไฮเดอราบาด ระหว่างประเทศ
การบินไทย กระบี่, ขอนแก่น, เชียงราย, เชียงใหม่, หาดใหญ่, อุดรธานี, อุบลราชธานี, ภูเก็ต, นราธิวาส หยุดชั่วคราว 31 มี.ค. 67 ภายในประเทศ
การบินลาว ปากเซ, เวียงจันทน์, สุวรรณเขต, หลวงพระบาง ระหว่างประเทศ
การูดาอินโดนีเซีย จาการ์ตา–ซูการ์โน–ฮัตตา ระหว่างประเทศ
เกรทเตอร์ เบย์ แอร์ไลน์ส ฮ่องกง ระหว่างประเทศ
โกแอร์ เดลี[86], มุมไบ[86] ระหว่างประเทศ
ควอนตัส ซิดนีย์, เมลเบิร์น[87] ระหว่างประเทศ
ควานอท ชาร์ก แอร์ไลน์ ทาชเคนต์[88] ระหว่างประเทศ
ค็อนดอร์ แฟรงก์เฟิร์ต ระหว่างประเทศ
คาเธ่ย์แปซิฟิค สิงคโปร์, ฮ่องกง ระหว่างประเทศ
คุนหมิงแอร์ไลน์ คุนหมิง ระหว่างประเทศ
คูเวตแอร์เวย์ คูเวต ระหว่างประเทศ
เคนยาแอร์เวย์ กว่างโจว, ไนโรบี–โจโมเคนยัตตา ระหว่างประเทศ
เคแอลเอ็ม อัมสเตอร์ดัม, มะนิลา[89], ฮ่องกง[90] ระหว่างประเทศ
แคมโบเดียแอร์เวย์ พนมเปญ ระหว่างประเทศ
โคเรียนแอร์ โซล–อินช็อน, ปูซาน ระหว่างประเทศ
จินแอร์ โซล–อินช็อน, ปูซาน ระหว่างประเทศ
จีเอ็กแอร์ไลน์ หนานหนิง ระหว่างประเทศ
เจซีอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ พนมเปญ, พระสีหนุ, เสียมราฐ ระหว่างประเทศ
เจแปนแอร์ไลน์ โตเกียว–นาริตะ, โตเกียว–ฮาเนดะ, โอซากะ–คันไซ ระหว่างประเทศ
เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์ สิงคโปร์ ระหว่างประเทศ
เจ็ตสตาร์แอร์เวย์ เมลเบิร์น, เพิร์ท ระหว่างประเทศ
เจ็ทสตาร์แปซิฟิก ฮานอย, โฮจิมินห์ ระหว่างประเทศ
เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ จาการ์ตา–ซูการ์โน–ฮัตตา, โตเกียว–นาริตะ ระหว่างประเทศ
ชานตงแอร์ไลน์ ชิงเต่า ระหว่างประเทศ
ช่างไห่แอร์ไลน์ ฝูโจว, เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง ระหว่างประเทศ
เชจูแอร์ เชจู[91], โซล–อินช็อน, ปูซาน, มูอัน[92] ระหว่างประเทศ
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ คุนหมิง , ปักกิ่ง-ต้าซิง , ผู่ตง ระหว่างประเทศ
ไชนาแอร์ไลน์ ไทเป–เถา-ยฺเหวียน, เกาสฺยง ระหว่างประเทศ
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ กว่างโจว, หนานหนิง, เชินเจิ้น, ซัวเถา ระหว่างประเทศ
ซาลามแอร์ มัสกัต[93] ระหว่างประเทศ
ซิปแอร์โตเกียว โตเกียว–นาริตะ ระหว่างประเทศ
เซบูแปซิฟิก เซบู, คลาร์ก[94], มะนิลา ระหว่างประเทศ
เซาเดีย เจดดาห์[95], รียาด[96] ระหว่างประเทศ
เซาเดีย เฉพาะฮัจญ์ เจดดาห์ ขาออก, มะดีนะฮ์ ขาเข้า ระหว่างประเทศ
เซินเจิ้นแอร์ไลน์ เซินเจิ้น,ยฺวิ่นเฉิง ระหว่างประเทศ
เซี่ยเหมินแอร์ไลน์ เซี่ยเหมิน, เทียนจิน, เฉวียนโจว ,ซูโจว, ต้าเหลียน, ฝูโจว ระหว่างประเทศ
ดรุกแอร์ คูวาหตี, คยา, พาโร, ภาคโฑครา, สิงคโปร์[97] ระหว่างประเทศ
เตอร์กิชแอร์ไลน์ อิสตันบูล, ฮ่องกง[98] ระหว่างประเทศ
เติร์กเมนิสถานแอร์ไลน์ อาชกาบัต ระหว่างประเทศ
ทีเวย์แอร์ไลน์ โซล–อินช็อน, แทกู ระหว่างประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ กว่างโจว, ปักกิ่ง–ต้าซิง, หนิงปัว[99], มาเก๊า, ฟู้โกว๊ก, โอกินาวา, ฟูกูโอกะ[100], ญาจาง, ดานัง, เจิ้งโจว, ฉางโจว, ไหโข่ว, นานกิง, เสียมราฐ–อังกอร์, พนมเปญ, สิงคโปร์, ด่าหลัต ยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต[101], ไฮฟอง, ไทเป–เถา-ยฺเหวียน, เจียหยาง, นาฮะ
ตามฤดูกาล: เกิ่นเทอ
ระหว่างประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ กระบี่, เชียงราย, เชียงใหม่, ภูเก็ต, อุดรธานี, หาดใหญ่, ขอนแก่น, อุบลราชธานี, สุราษฎร์ธานี ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กัวลาลัมเปอร์ ยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต ระหว่างประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กระบี่, เชียงใหม่, ภูเก็ต,หาดใหญ่ ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชียเอกซ์ นาโกยา (เริ่ม 1 ส.ค. 67), เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, เบงคาลูรุ, ดูไบ, ทบิลิซี[102], ชัรญะฮ์[103], ซิดนีย์[104], ฮ่องกง[105], เมลเบิร์น, เดลี[106], บริสเบน[107], โอกินาวา, โอซากะ–คันไซ, โตเกียว–นาริตะ, โซล–อินช็อน ระหว่างประเทศ
นอร์สแอตแลนติกแอร์เวย์ ออสโล–การ์เดอร์มอน ระหว่างประเทศ
เนปาลแอร์ไลน์ กาฐมาณฑุ ระหว่างประเทศ
บริติชแอร์เวย์ ลอนดอน–แกตวิก (เริ่มต้น 28 ตุลาคม พ.ศ. 2567) ระหว่างประเทศ
บังคลาเทศพิมาน ธากา ระหว่างประเทศ
บางกอกแอร์เวย์ส ญาจาง, ดานัง ยกเลิกก่อน กลับมาในอนาคต, เนปยีดอ, พนมเปญ, พระสีหนุ, ฟู้โกว๊ก, มัณฑะเลย์, มาเล, มุมไบ, ย่างกุ้ง, เวียงจันทน์, หลวงพระบาง, เสียมราฐ-อังกอร์ ระหว่างประเทศ
บางกอกแอร์เวย์ส กระบี่, เกาะสมุย, เชียงใหม่, ตราด, ภูเก็ต, ลำปาง, สุโขทัย แม่ฮ่องสอน ผ่านลำปาง,หาดใหญ่ จะกลับมาในอนาคต ภายในประเทศ
แบมบูแอร์เวย์ โฮจิมินห์, ฮานอย ระหว่างประเทศ
ปากีสถานอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ, ลาฮอร์ ระหว่างประเทศ
เป่ย์จิงแคปิตอลแอร์ไลน์ นานกิง[108], หางโจว, ฉางซา, เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง[108] ระหว่างประเทศ
แปซิฟิกแอร์ไลน์ ฮานอย[109], โฮจิมินห์ ระหว่างประเทศ
พีช นาฮะ, โอซะกะ ระหว่างประเทศ
ฟินน์แอร์ เฮลซิงกิ, สต็อกโฮล์ม–อาร์ลันดา ระหว่างประเทศ
ฟิลิปปินแอร์ไลน์ เซบู, มะนิลา ระหว่างประเทศ
ไฟร์ฟลาย ปีนัง ระหว่างประเทศ
ภูฏานแอร์ไลน์ โกลกาตา, พาโร, คยา ระหว่างประเทศ
มัลดิเวียน มาเล ระหว่างประเทศ
มาเลเซียแอร์ไลน์ กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ ระหว่างประเทศ
มาฮานแอร์ เตหะราน ระหว่างประเทศ
เมียนมาร์แนชนัลแอร์ไลน์ มัณฑะเลย์, ย่างกุ้ง ระหว่างประเทศ
เมียนมาร์แอร์เวย์อินเตอร์เนชันแนล มัณฑะเลย์, ย่างกุ้ง ระหว่างประเทศ
ยูโรวิงส์ มิวนิก ระหว่างประเทศ
ยูเอสบังคลาแอร์ไลน์ ธากา, จิตตะกอง[110] ระหว่างประเทศ
รอยัลจอร์แดเนียน กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ, อัมมาน, ฮ่องกง ระหว่างประเทศ
รอยัลบรูไนแอร์ไลน์ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ระหว่างประเทศ
รุ่ยลี่แอร์ไลน์ ลี่เจียง ระหว่างประเทศ
ลอตโปลิชแอร์ไลน์ วอร์ซอ[111] ระหว่างประเทศ
ลัคกี้แอร์ คุนหมิง, เจิ้งโจว, เฉิงตู–เทียนฟู่ ระหว่างประเทศ
ลุฟท์ฮันซ่า แฟรงก์เฟิร์ต, มิวนิก ระหว่างประเทศ
วิสตารา เดลี (สิ้นสุด 11พฤศจิกายน), มุมไบ (สิ้นสุด 11พฤศจิกายน) ระหว่างประเทศ
เวสต์แอร์ เจิ้งโจว, ฉงชิ่ง ระหว่างประเทศ
เวียดเจ็ทแอร์ ฮานอย, โฮจิมินห์, ไฮฟอง ระหว่างประเทศ
เวียดทราเวล ฮานอย[112] ระหว่างประเทศ
เวียดนามแอร์ไลน์ ดานัง[113], ฮานอย, โฮจิมินห์ ระหว่างประเทศ
ศรีลังกันแอร์ไลน์ โคลัมโบ ระหว่างประเทศ
สกายอังกอร์แอร์ไลน์ พนมเปญ ระหว่างประเทศ
สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม โคเปนเฮเกน [114] ระหว่างประเทศ
สตาร์ลักซ์แอร์ไลน์ ไทเป–เถา–ยฺเหวียน ระหว่างประเทศ
สปริงแอร์ไลน์ เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง, หนานชาง, หนานหนิง, อู๋ซี[115] ระหว่างประเทศ
สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ ซือริช ระหว่างประเทศ
สไปซ์เจ็ต โกลกาตา, เดลี, มุมไบ, อะห์มดาบาด, ปูเณ[116] ระหว่างประเทศ
สายการบินสกู๊ต สิงคโปร์ ระหว่างประเทศ
เอทิฮัด อาบูดาบี ระหว่างประเทศ
เอทิฮัด ภูเก็ต[117] ภายในประเทศ
สิงคโปร์แอร์ไลน์ สิงคโปร์ ระหว่างประเทศ
เสฉวนแอร์ไลน์ เฉิงตู–เทียนฟู่ ระหว่างประเทศ
หลันเหมยแอร์ไลน์ พนมเปญ, เสียมราฐ ระหว่างประเทศ
เหอเป่ย์แอร์ไลน์ กุ้ยหยาง[118], ฉือเจียจวง, เหลียนหยุนกัง ระหว่างประเทศ
ไห่หนานแอร์ไลน์ ปักกิ่ง–นครหลวง, ไหโข่ว ระหว่างประเทศ
ออล นิปปอน แอร์เวย์ โตเกียว–นาริตะ, โตเกียว–ฮาเนดะ ระหว่างประเทศ
ออสเตรียนแอร์ไลน์ เวียนนา, ไทเป–เถา-ยฺเหวียน[119] ระหว่างประเทศ
อินดิโก โกลกาตา, เจนไน, เบงคาลูรุ, พาราณสี, มุมไบ[120] ระหว่างประเทศ
อิเบโรเจ็ท มาดริด ระหว่างประเทศ
อียิปต์แอร์ ไคโร , ฮ่องกง ระหว่างประเทศ
อีวีเอแอร์ ไทเป–เถา–ยฺเหวียน, ลอนดอน–ฮีทโธรว์, เวียนนา, อัมสเตอร์ดัม ระหว่างประเทศ
อีสตาร์เจ็ต โซล–อินช็อน, ปูซาน ระหว่างประเทศ
อุซเบกิสถานแอร์เวย์ ทาชเคนต์ ระหว่างประเทศ
เอเชียนาแอร์ไลน์ โซล–อินช็อน ระหว่างประเทศ
เอธิโอเปียนแอร์ไลน์ อาดดิสอาบาบา, ฮ่องกง ระหว่างประเทศ
เอมิเรตส์ ดูไบ–นานาชาติ, ฮ่องกง, เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง ระหว่างประเทศ
เอสเซเวนแอร์ไลน์ มอสโก–โดโมเดโดโว, อีร์คุตสค์ ระหว่างประเทศ
แอโรฟลอต ครัสโนยาสค์, โนโวซีบีสค์, วลาดีวอสตอค, มอสโก–เชเรเมเตียโว, อีร์คุตสค์[121] ระหว่างประเทศ
แอร์แคนาดา แวนคูเวอร์ ระหว่างประเทศ
แอร์ไชนา ปักกิ่ง–นครหลวง, หางโจว ระหว่างประเทศ
แอร์ฟรานซ์ ปารีส–ชาร์ล เดอ โกล ระหว่างประเทศ
แอร์มาเก๊า มาเก๊า ระหว่างประเทศ
แอร์เอเชียเอกซ์ กัวลาลัมเปอร์ ระหว่างประเทศ
แอร์อาระเบีย ชัรญะฮ์ ระหว่างประเทศ
แอโรสทราล แซ็ง-เดอนี ระหว่างประเทศ
แอร์อัสตานา อัสตานา, อัลมาเตอ ระหว่างประเทศ
แอร์อินเดีย โกลกาตา, เดลี, มุมไบ ระหว่างประเทศ
แอร์เจแปน โตเกียว–นาริตะ ระหว่างประเทศ
แอร์ปูซาน ปูซาน, โซล–อินช็อน ระหว่างประเทศ
แอร์พรีเมีย โซล–อินช็อน ระหว่างประเทศ
เอ็ลอัล เทลอาวีฟ ระหว่างประเทศ
โอมานแอร์ มัสกัต ระหว่างประเทศ
ฮ่องกงแอร์ไลน์ ฮ่องกง ระหว่างประเทศ

เที่ยวบินขนส่งสินค้า (คาร์โก)

แก้

ในปี พ.ศ. 2562 ถึง ปัจจุบัน​ ขนส่งอากาศยานที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับความไว้วางใจทำการบินด้วยเครื่องบินขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ขนาดใหญ่ อาทิ โบอิง747-8F 6 สายการบิน ได้แก่ สายการบินโคเรียนแอร์คาร์โก ยูพีเอส คาร์โกลักซ์ เอเอ็นเอคาร์โก แอร์บริจคาร์โก ควอนตัส และ ทำการบินด้วย โบอิง747-4F 6 สายการบิน ได้แก่ ซิลค์ เวย์ เวสต์ แอร์ไลน์ อีวีเอแอร์คาร์โก ไชนาแอร์ไลน์คาร์โก สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก เนชั่นแนล แอร์ไลน์ เอเชียนาคาร์โก เที่ยวบินขนส่งท่าอากาศยานเป็นเที่ยวบินที่ทำการบินรัฐอะแลสกาสหรัฐ​ ไปกลับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่มีเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารไปกลับ สหรัฐ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 ขนส่งอากาศยานยังให้บริการในประเทศที่ขนส่งอากาศยานให้บริการโดยที่ไม่มีเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารได้แก่ ประเทศเม็กซิโก และประเทศอาเซอร์ไบจาน

ในปี พ.ศ. 2564 เที่ยวบินตรงที่ทำการบินระยะไกลที่สุดเป็นเที่ยวบินขนส่งอากาศยานจากลอสแอนเจลิสบินตรงมาที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของสายการบินเอธิโอเปียแอร์ไลน์คาร์โกเที่ยวบินที่ ET3639 ระยะทางรวม 13,315 กิโลเมตร ส่วนบินเที่ยวบินแบบแวะพักเป็นของแอร์แคนาดาเที่ยวบิน AC7266 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแวะโซล–อินช็อน[122] ปลายทางแฮลิแฟกซ์ (รัฐโนวาสโกเชีย)[123]ระยะทางรวม 16,246 กิโลเมตร

ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เที่ยวบินแวะพักที่ทำการบินไกลที่สุดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยไม่เปลี่ยนเครื่องบินได้แก่ควอนตัส เที่ยวบินที่ 7581 ซึ่งเป็นขนส่งอากาศยานเครื่องบินแบบ Boeing 747-47UF และเครื่องบินแบบ Boeing 747-46NF ทำการบินทั้งหมด 6 ประเทศ เริ่มจากท่าอากาศยานซิดนีย์ คิงส์ฟอร์ด สมิทมาแวะท่าอากาศยานนานาชาติออกแลนด์[124]แวะท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน[125]แวะท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[126]แวะท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง[127]แวะท่าอากาศยานแองคอเรจ[128]ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี[129]ระยะทางรวม 32,320 กิโลเมตร

ปี พ.ศ. 2566[130]เที่ยวบิน NCR822 จาก ท่าอากาศยานมาดริด-บาราฆัส ประเทศสเปน เป็นเที่ยวบินขนส่งสินค้าเที่ยวบินตรงระยะทางไกลที่สุด

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
กาตาร์แอร์เวย์ โดฮา,กว่างโจว
ควอนตัส เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง , ซิดนีย์[131], แองเคอเรจ[132]
คาร์โกลักซ์ เม็กซิโกซิตี [133][134], กัวดาลาฮารา [135][136], จาการ์ตา [137], ฮานอย[138], โฮจิมินห์ซิตี้ [139], เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง[140], แองเคอเรจ[141], เซี่ยเหมิน , บากู , ลักเซมเบิร์ก , โดฮา , เชินเจิ้น[142]ดูไบ , ฮานอย , เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง , อัมมาน​ , [143]เจิ้งโจว[144] , บาห์เรน [145]
คาเธ่ย์แปซิฟิคคาร์โก ปีนัง , สิงคโปร์ , ฮ่องกง
เค-ไมล์ แอร์ ธากา , จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา , พนมเปญ , สิงคโปร์ , ฮ่องกง , ฮานอย , โฮจิมินห์ , ภูเก็ต , เชินเจิ้น
โคเรียนแอร์คาร์โก เจนไน , โซล–อินช็อน , สิงคโปร์ , โฮจิมินห์
คาร์โกโลจิกส์แอร์ แฟรงก์เฟิร์ต
ไชนาโพสเทิลแอร์ไลน์ คุณหมิง
เจียงซูจิงตงคาร์โก้แอร์ไลน์ เอ้อโจว , เย่วหยาง , ออร์โดส
ไชนานอร์ทเวสอินเตอร์แนชนัลคาร์โก เฉิงตู-ชวงหลิว
ไชนาคาร์โกแอร์ไลน์ ไทเป–เถา-ยฺเหวียน , เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง , สิงคโปร์
ไชนาแอร์ไลน์คาร์โก ไทเป–เถา-ยฺเหวียน , อัมสเตอร์ดัม[146]
ซูพาร์นาแอร์ไลน์ เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง , เจิ้งโจว
ซิลค์เวย์เวสต์แอร์ไลน์ บากู , ดูไบ
ดีเอชแอล โอกแลนด์[147]
ดีเอชแอลอินเตอร์แนชนัลเอวิเอชัน บาห์เรน,ฮ่องกง
นิปปงคาร์โกแอร์ไลน์ โตเกียว–นาริตะ , สิงคโปร์
นอร์ธเวสเทิร์นอินเตอร์เนชั่นแนลคาร์โกแอร์ไลน์ เฉิงตู-ซวงหลิว [148]หางโจว
แนชนัลแอร์ไลน์ ฮ่องกง , [149]มาดริด[150] , โซล–อินช็อน[151]
บัสเจ็ทไลน์ ย่างกุ้ง , ฮานอย , โฮจิมินห์ซิตี้
มายเจ็ท เอกซ์เพรส ฮานอย , โฮจิมินห์ซิตี้ , กัวลาลัมเปอร์
มาย อินโดแอร์ไลน์ เชินเจิ้น
เมียนมาร์แนชนัลแอร์ไลน์ ย่างกุ้ง
ราย่า แอร์ไลน์ กัวลาลัมเปอร์-สุบัง , ฮานอย[152]
ภูฏานแอร์ไลน์ พาโร
พัทยาแอร์เวย์ส อู่ตะเภา , ย่างกุ้ง
เฟดเอกซ์เอกซ์เพรส กว่างโจว , ฮานอย , จาร์กาตา , คลาร์ก , สิงคโปร์ , โอซากะ
ยูเอสพีแอร์ไลน์ โคโลญ/บ็อน , เชินเจิ้น , เดลี
ยูโรเปียนแอร์ทรานสปอร์ต ไลพ์ซิช ไลพ์ซิช , ฮ่องกง
หยวนทงคาร์โกแอร์ไลน์ ซีอาน , ฉือเจียจวง[153]เอ้อโจว , หนิงปัว
สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง , สิงคโปร์ , โซล–อินช็อน
สกายแคปปิตอลคาร์โก ธากา
เอมิเรตส์ สกายคาร์โก มุมไบ , [154] เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง , ดูไบ-อาล มักตูม[155]
เอเอ็นเอคาร์โก โตเกียว–นาริตะ , ไทเป–เถา-ยฺเหวียน , สิงคโปร์ , โอซากะ–คันไซ
แอร์เบลเยียม ลีแยฌ ​, ดูไบ
แอร์ไชนา เฉิงตู-ชวงหลิว
เตอร์กิชแอร์ไลน์ อิสตันบูล[156]
แอร์บริจคาร์โก มอสโก[157] , ฮ่องกง[158]
อีวีเอแอร์คาร์โก[159] จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา , ไทเป–เถา-ยฺเหวียน , ปีนัง , สิงคโปร์ , ฮานอย[160]
เทียนจินแอร์คาร์โก เจิ้งโจว[161] , หนานจิง
หลงเฮ่าแอร์ไลน์ เชินเจิ้น[162], หนานหนิง[163]
เอเชียนาคาร์โก โซล–อินช็อน , ฮานอย
เอสเอฟแอร์ไลน์ เชินเจิ้น , หางโจว[164]
เอวิเอคอน ซิโตทราน นาคปุระ[165]
อียิปต์แอร์ ไคโร , ฮ่องกง
เอธิโอเปียแอร์ไลน์คาร์โก อาดดิสอาบาบา , ฮานอย[166] , ลอสแอนเจลิส
แอโรลอจิก สิงคโปร์ , เบงคาลูรุ , แฟรงก์เฟิร์ต , โฮจิมินห์ , ไลพ์ซิช[167][168][169][170]
ฮ่องกงแอร์คาร์โก ฮ่องกง
เอ็มเอเอสคาร์โก กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ , ฮ่องกง[171]

เที่ยวบินเชิงเทคนิค

แก้

เที่ยวบินเชิงเทคนิคหมายถึงเที่ยวบินที่ใช้ย้ายฐานการบินทำการบินไปเพื่อซ่อมบำรุงเช็คสมรรถภาพของเครื่องบินใน ปี พ.ศ. 2562 มีรายงานผู้โดยสารจากท่าอากาศยานดอนเมืองเพียง 2 ราย

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
ไทยสมายล์ ท่าอากาศยานดอนเมือง
การบินไทย- ท่าอากาศยานดอนเมือง [172]อู่ตะเภา
บางกอกแอร์เวย์ ท่าอากาศยานดอนเมือง

สถิติ

แก้

สถิติผู้ใช้บริการ

แก้
ข้อมูลการจราจรในแต่ละปีปฏิทิน
ปี พ.ศ. ผู้ใช้บริการ เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน เที่ยวบิน สินค้า
(ตัน)
2550 41,210,081 1,220,001
2551 38,603,490  06.3251% 1,173,084
2552 40,500,224  04.9133% 1,045,194
2553 42,784,967  05.6413% 1,310,146
2554 47,910,744  011.9803% 299,566
2555 53,002,328  010.6272% 312,493
2556 51,363,451  03.0921% 288,004 1,236,223
2557 46,423,352  09.6179% 289,568 1,234,176
2558 52,902,110  013.9558% 317,066 1,230,563
2559 55,892,428  05.6530% 336,356 1,306,435
2560 60,860,704  08.8884% 350,508 1,439,913
2561 63,379,077  04.1379% 369,476 1,494,599[173]
2562 65,421,879  03.2294% 380,051 1,324,268 [174]
2563 16,706,235  074.4654% 152,614 904,362[175]
2564 5,663,701  066.0983% 111,729 1,120,357[176]
2565 28,754,350  0407.6954% 221,331 1,184,157 [177]
2566 51,699,104  079.7957% 307,505 1,137,373
ที่มา: Airports Council International[178]

ทั้งนี้จากสถิติดังกล่าวในปี พ.ศ. 2554 เป็นปีแรกที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีผู้โดยสารเกิน 45 ล้านคน ซึ่งถือว่าเลยขีดจำกัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปัญหานี้ส่งผลให้เกิดปัญหาการรอคอยของผู้โดยสารในการตรวจคนเข้าเมืองนานมาก กองตรวจคนเข้าเมืองต้องทำงานหนักเกินไปและมีปัญหาสุขภาพเช่น กระเพาะปัสสาวะ อักเสบ ในปี พ.ศ. 2555 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้อันดับที่ 14 ประเภทจำนวนผู้โดยสารสูงสุดของโลก [179] นับเป็นปีแรกที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีจำนวนผู้โดยสารภายใน 15 อันดับท่าอากาศยานหนาแน่นที่สุดของโลกใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีจำนวนเที่ยวบินที่ให้บริการลดลงเป็นปีแรกในรอบ 4 ปี ลดลง 12.07% เมื่อเทียบกับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555[180]

และจากปัญหานี้เอง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จึงได้ยื่นแผนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 ขึ้น โดยจะก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 2 และอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ทางทิศใต้ขึ้น โดยใช้สถาปัตยกรรมภายนอกแบบเดียวกันกับอาคารหลังที่ 1 แต่ตกแต่งภายในใหม่ทั้งหมด แต่เนื่องจากการก่อสร้างท่าอากาศยานต้องใช้เวลาอย่างต่ำถึง 5 ปี จึงทำให้แผนการรื้อฟื้นท่าอากาศยานดอนเมืองจึงถูกนำมาใช้ชั่วคราว จนกว่าการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแบบเต็มเฟสจะเสร็จสิ้นโดย เฟส 2 จะเปิดให้บริการในเดือน มกราคม พ.ศ. 2563[181]

ในปี พ.ศ. 2564 จำนวนผู้โดยสารของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิน้อยที่สุดนับตั้งแต่เปืดดำเนินกิจการและเมื่อเทียบกับจำนวนผู้โดยสารในปี พ.ศ. 2562 ผู้โดยสารลดลง 59,762,178 คนหรือคิดเป็น -91.34333 %

สถิติการให้บริการ

แก้

เครื่องบินที่ท่าอากาศยานให้บริการขนาดเล็กที่สุดได้แก่ เครื่อง เซสน่า 208 คาราวาน ขนาดใหญ่ที่สุดได้แก่ แอร์บัส เอ380 โบอิง 747-8I โบอิง 747-8F ในปี พ.ศ. 2561 เที่ยวบินภายในประเทศ ที่มีผู้ใช้บริการน้อยที่สุดได้แก่ เที่ยวบินไปกลับ ระหว่าง สนามบินเกาะไม้ซี้ ไปกลับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากบริการให้กับนักท่องเที่ยวของบริษัท โซเนวา คีรี จำกัด เท่านั้น ด้วยเครื่องบิน ทะเบียน HS-SPL และ HS-SKR[182]ซึ่งเป็นเครื่อง Cessna 208B Grand-Caravan

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทำการบินเชิงพาณิชย์ระยะสั้นที่สุดได้แก่ท่าอากาศยานหัวหินในเที่ยวบิน TRB171 ระยะทางเพียง 150 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2566 เส้นทางดังกล่าวทำการบินโดยสายการบินวีไอพีเจ็ท ซึ่งดำเนินธุรกิจเครื่องบินส่วนตัวระยะทางทำการบินจริง 207 กิโลเมตรซึ่งเป็นระยะทางบินที่สั้นที่สุดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยเครื่องบินทะเบียน HS-VIP[183]เครื่องบินที่ใช้เป็นเครื่องบินแบบเซสน่า 510

เอมิเรตส์ (สายการบิน)เที่ยวบิน EK418/EK419 เป็นเที่ยวบินแวะพัก 2 ประเทศตราบจนปัจจุบัน ประเทศนิวซีแลนด์แวะพักประเทศออสเตรเลียและประเทศไทยได้ทำการบินขนส่งผู้โดยสาร เส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติโอกแลนด์แวะท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ[184]ก่อนหน้านี้เอมิเรตส์ (สายการบิน) เที่ยวบิน EK418/EK419 ทำการบินไครสต์เชิร์ชแวะท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ ทั้งสองเส้นทางระยะทางบินรวม ประมาณ 14,900 กิโลเมตร ถึง 14,980 กิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2561 จำนวนเที่ยวบินเฉลี่ยที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 998 เที่ยวบินต่อวัน[185]

ในอดีตท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังเป็นหนึ่ง ในท่าอากาศยานที่รับผู้โดยสารจากเที่ยวบิน TG790 และ TG791 ไปกลับจาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปกลับ ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี และ เที่ยวบิน TG794 และ TG795 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปกลับ ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส ซึ่งเป็นเที่ยวบินแบบบินตรงที่เดินทางเป็นระยะไกลมากที่สุดติดสิบอันดับแรก ของการทำการบินเชิงพาณิชย์ทั่วโลก

หากนับเที่ยวบินที่ทำการบินแบบแวะพักโดยไม่เปลี่ยนเครื่องบินสถิตินี้จะเป็นของยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ในเที่ยวบินที่ UA881 ทำการบินท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ ชิคาโก แวะพักที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ในตลอดเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินระหว่างประเทศมากถึง 25,881 เที่ยวบิน เที่ยวบินภายในประเทศ 8,106 รวม 33,987 เที่ยวบิน[186]ซึ่งเป็นสถิติเที่ยวบินระหว่างประเทศมากที่สุดตั้งแต่ดำเนินกิจการ

เส้นทางการบินที่มีผู้ใช้บริการรวมเกินเก้าแสนราย

แก้

ตลอดปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนเที่ยวบินรวมทั้งหมด 380,067 เที่ยวบิน มีจำนวนท่าอากาศยานที่ให้บริการระหว่างประเทศไปกลับโดยมีผู้โดยสารรวมมากกว่า 1000000 รายในแต่ละเมืองมากถึง 14 ท่าอากาศยาน ซึ่งหากรวมท่าอากาศยานภายในประเทศแล้ว ท่าอากาศยานที่ให้บริการผู้โดยสารไปกลับรวมมากกว่า 1000000 ราย มีทั้งหมด 17 ท่าอากาศยาน

อย่างไรก็ตามตลอดปี พ.ศ. 2562 เมื่อเรียงลำดับจำนวนท่าอากาศยาน 20 ลำดับแรกที่มีผู้โดยสารไปกลับจำนวนมากที่สุด พบว่า 20 ท่าอากาศยาน มีผู้โดยสารไปกลับจำนวนเกิน 9 แสนรายขึ้นไป

มีจำนวน 34 ท่าอากาศยานให้บริการผู้โดยสารไปกลับเกิน 500000 รายขึ้นไป ซึ่งเท่ากับว่าจำนวนท่าอากาศยานที่ให้บริการผู้โดยสารเกิน 500000 รายขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 100 ( 100 %) เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน ท่าอากาศยานที่ให้บริการผู้โดยสารไปกลับ เกิน 1000000 ราย

Busiest international routes (2019)
Rank Airport Passengers 2019 % Change
2018/19
Passengers 2018
1 ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง 3,756,449   6.57 4,020,613
2 ท่าอากาศยานภูเก็ต 3,358,876   0.03 3,356,831
3 ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ 3,258,422   3.04 3,162,160
4 ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ 2,864,525   1.61 2,915,108
5 ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน 2,689,306   4.93 2,562,998
6 ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน 1,928,536   3.58 1,861,851
7 ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ 1,707,276   11.82 1,936,223
8 ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง 1,600,930   7.18 1,493,614
9 ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย 1,546,570   8.22 1,686,857
10 ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน 1,510,461   8.96 1,386,259
11 ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต 1,238,942   2.52 1,208,464
12 ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว 1,230,506   9.81 1,120,555
13 ท่าอากาศยานนานาชาตินินอย อากีโน 1,179,861   17.34 1,005,478
14 ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด 1,166,972   13.66 1,026,698
15 ท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี 1,107,099   2.01 1,085,238
16 ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ 1,089,048   8.70 1,192,823
17 ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ 1,078,045   5.26 1,137,939
18 ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ 976,966   26.52 772,127
19 ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง 956,320   0.51 951,389
20 ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ 929,294   12.46 862,529
Source: [1]

เที่ยวบินที่ทำการบินผู้โดยสารน้อยที่สุดระหว่างประเทศ

แก้

หากดูรายประเทศ ประเทศที่มีการขนส่งผู้โดยสารน้อยที่สุดใน ปี พ.ศ. 2562 ได้แก่ประเทศสเปน เมืองซาราโกซา มีผู้โดยสารรวม 8 ราย[187]ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ผู้โดยสารที่จะไปทวีปอเมริกาเหนือจำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องบิน เนื่องจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่มีบริการเที่ยวบินผู้โดยสารระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับทวีปอเมริกาเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแบบบินตรงหรือแวะท่าอากาศยานประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศญี่ปุ่น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2565 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินจากทวีปอเมริกาเหนืออีกครั้ง โดยบินตรงท่าอากาศยานนานาชาติแวนคูเวอร์ประเทศแคนาดา

วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ต้อนรับผู้โดยสารจากท่าอากาศยานนานาชาตินูอาร์ก ลิเบอร์ตีในเที่ยวบิน SQ9023[188]ทำการบินโดยสายการบินสิงคโปร์นับเป็นเที่ยวบินจากสหรัฐในรอบ 6 ปี และเป็นเที่ยวบินตรงที่ไกลที่สุดของสุวรรณภูมินับตั้งแต่เปิดดำเนินกิจการ

นับตั้งแต่เปิดบริการ ในปี พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่มีเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารไปทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเที่ยวบินพิเศษของการบินไทย เที่ยวบินที่ TG8848 ทะเบียน HS-TLD นำอดีตนายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์[189]และคณะเดินทางไปกรุงลิมา ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[190] เดินทางถึงกรุงลิมาในวันที่ 21 พฤศจิกายน[191]อย่างไรก็ตามท่าอากาศยานในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีเที่ยวบิน "บินตรง" ไปกลับ ทวีปอเมริกาใต้

ในปี พ.ศ. 2565 เที่ยวบินที่ทำการบินเที่ยวบินระหว่างประเทศน้อยที่สุดในแง่การขนส่งผู้โดยสารได้แก่เที่ยวบินรับเครื่องบินของการบินไทยในช่วงเดือนเมษายน จาก เมืองเอเวอร์เร็ต รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา มีผู้โดยสารเดินทางมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 5 ราย[192]

เส้นทางการบินระหว่างประเทศที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด

แก้
เส้นทางการบินระหว่างประเทศ ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด (พ.ศ. 2556)[193]
อันดับ ท่าอากาศยาน จำนวนผู้โดยสารในปี พ.ศ. 2556 (คน) ความเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) จำนวนผู้โดยสารในปี พ.ศ. 2555 (คน)
1 ฮ่องกง 3,566,950  9.17 3,267,195
2 สิงคโปร์ 3,344,500  1.84 3,407,354
3 โซล-อินช็อน 2,121,430  1.25 2,095,145
4 โตเกียว-นะริตะ 1,787,405  13.46 1,575,302
5 ไทเป-เถาหยวน 1,328,120  17.03 1,134,857
6 เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง 1,279,536  40.12 913,177
7 ดูไบ-นานาชาติ 1,196,795  12.23 1,066,391
8 กัวลาลัมเปอร์ 1,029,057  29.21 1,453,681
9 กว่างโจว 894,087  3.29 924,457
10 นิวเดลี 865,595  0.83 858,511
11 โฮจิมินห์ซิตี 838,856  10.86 941,065
12 ปักกิ่ง-แคพิทอล 826,018  26.41 653,435
13 อาบูดาบี 768,051  7.12 717,032
14 ย่างกุ้ง 766,279  11.21 863,035
15 ลอนดอน-ฮีทโธรว์ 707,294  1.03 700,049
16 มะนิลา 703,592  9.56 642,218
17 โดฮา 671,402  19.31 562,726
18 ฮานอย 654,945  0.06 654,549
19 โอซะกะ-คันไซ 609,645  8.68 560,947
20 ซิดนีย์ 608,515  0.81 603,608
21 มุมไบ 604,156  19.16 747,384
22 แฟรงก์เฟิร์ต 592,522  0.9 587,228
23 จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา 588,171  21.32 484,822
24 โตเกียว-ฮะเนะดะ 500,275  5.12 475,913
25 อัมสเตอร์ดัม 456,811  3.12 443,005
26 ปารีส-ชาลส์เดอโกล 453,531  9.52 414,108
27 โกลกาตา 434,281  1.67 427,137
28 พนมเปญ 428,845  4.51 449,122
29 เมลเบิร์น 416,847  6.28 444,761
30 ปูซาน 373,709  11.1 336,363
31 โคลัมโบ 367,232  3.55 380,757
32 มาเก๊า 351,853  33.58 529,746
33 นะโงะยะ-เซ็นแทรร์ 332,906  18.93 279,929
34 เวียงจันทน์ 319,278  15.47 276,503
35 มอสโก-โดโมเดโดโว 316,055  7.2 340,594
36 ซูริก 299,831  1.41 304,131
37 โคเปนเฮเกน 291,740  21.59 372,068
38 มัสกัต 285,836  0.79 288,109
39 อิสตันบูล-อาตาตุร์ก 285,312  12.66 253,247
40 มอสโก-เชเรเมเตียโว 266,889  32.64 201,216
41 เฮลซิงกิ 262,456  0.06 262,301
42 เสียมราฐ 262,154  12.09 233,878
43 สต็อกโฮล์ม-อาร์ลันดา 258,674  12.87 229,170
44 คุนหมิง 258,015  35.23 190,796
45 เวียนนา 236,074  1.64 232,274
46 โนโวซีบีสค์ 212,715  28.7 165,286
47 ธากา 243,253  6.71 260,750
48 ออสโล-การ์เดอร์มอน 202,570  37.78 147,022
49 เทลอาวีฟ 209,384  11.15 188,386
50 มิวนิก 200,313  5.75 212,526

เส้นทางการบินภายในประเทศที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด

แก้
เส้นทางการบินภายในประเทศ ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด (พ.ศ.2564 - พ.ศ. 2565) [194][195]
อันดับ ท่าอากาศยาน จำนวนผู้โดยสารในปี พ.ศ. 2565 (คน) ความเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) จำนวนผู้โดยสารในปี พ.ศ. 2564 (คน)
1 เชียงใหม่ 2,215,786  162.19 845,095
2 ภูเก็ต 2,447,027  186.29 854,716
3 สุราษฎร์ธานี-สมุย 948,287  238.84 280,691
4 สงขลา-หาดใหญ่ 1,002,073  97.29 507,901
5 เชียงราย 661,414  116.72 305,183
6 กระบี่ 614,673  191.24 211,053
7 ขอนแก่น 674,319  135.18 286,724
8 อุดรธานี 672,029  142.30 277,315
9 นครศรีธรรมราช 311,308  44.04 216,114
10 อุบลราชธานี 408,749  94.24 210,426
11 สุราษฎร์ธานี 151,240  23.42 186,670
12 นราธิวาส 99,564  125.38 44,176
13 น่าน 40,753  37.62 65,334
14 ลำปาง 86,832  175.65 31,500
15 สุโขทัย 45,897  207.93 14,905
16 ตราด 41,359  104.80 20,194
17 นครพนม 22,146  2.88 21,562
18 เลย 0  N/A 5,078
19 แม่ฮ่องสอน ​ 0  N/A 103
20 ตาก-แม่สอด 0  N/A 74
21 บุรีรัมย์ 0  N/A 314
22 ตรัง 20,355  N/A 0
23 ชุมพร 0  N/A 82
24 ร้อยเอ็ด 25,755  N/A 0
25 สมุทรปราการ 441  137.09 186

ในปี พ.ศ. 2559 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ​ให้บริการขนส่งผู้โดยสารภายในประเทศที่จำนวน 25 ท่าอากาศยานภายในประเทศ แบ่งเป็น 23 จังหวัด โดยให้บริการ สนามบินเกาะไม้ซี้ ท่าอากาศยานชุมพร ท่าอากาศยานนครราชสีมาท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ในปีนั้นให้บริการจำนวนจังหวัดและจำนวนท่าอากาศยานภายในประเทศสูงสุดตราบจนถึงปัจจุบันซึ่งเฉพาะท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ไปกลับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีผู้โดยสารตามรายงานสถิติจราจรทางอากาศมากถึง 249 ราย[196]ในปีนั้นมีเที่ยวบินที่ไม่มีรายผู้โดยสารอีกจำนวนสามท่าอากาศยานได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา) ท่าอากาศยานแม่สอด และ ท่าอากาศยานตาคลี

ในปี พ.ศ. 2563 การขนส่งนักบินและเจ้าหน้าที่มีนักบินทำการบินขนย้ายเครื่องบินจากท่าอากาศ​ดอนเมืองมายังท่าอากาศยาน​สุวรรณภูมิ​และนำเครื่องบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง–พัทยา)​มายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ​ เช่น TG8406 ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ในปี พ.ศ. 2564 การบินไทยทำการบินระหว่างประเทศและภายในประเทศ ทั้งขาไปและขากลับในเที่ยวบิน TG918/TG919 ขนส่งผู้โดยสารจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ​แวะส่งผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานภูเก็ตปลายทางท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์นับเป็นเที่ยวบินภายในประเทศรวมกับระหว่างประเทศที่ระยะทางไกลที่สุด ทำการบินระยะทางรวม 11,175 กิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2564 ให้บริการผู้โดยสารภายในประเทศสูงสุด 23 ท่าอากาศยานภายในประเทศโดยรวมสนามบินเกาะไม้ซี้เพิ่มจากรายงานสถิติจราจรทางอากาศของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยอีกหนึ่งแห่งโดยตัดการบินท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปกลับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิออก นับเป็นการให้บริการท่าอากาศยานภายในประเทศจำนวนท่าอากาศยานรองจาก ปี พ.ศ. 2559

ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2565 ท่าอากาศยาน​สุวรรณภูมิ​ให้บริการเที่ยวบินไปกลับท่าอากาศยานร้อยเอ็ด​ทำการบินโดยการบินไทยสมายล์ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2566 สายการบินบางกอกแอร์เวย์ได้เปิดเส้นทางไปท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอนโดยแวะท่าอากาศยานลำปางเป็นเที่ยวบินประจำเส้นทางล่าสุดภายในประเทศ

ผลการดำเนินงาน

แก้

รางวัลและการจัดอันดับ

แก้

ผลการดำเนินงานของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้รับรางวัลและการจัดอันดับดังต่อไปนี้[197]:

รางวัลบริการดีเด่น

แก้
  • พ.ศ. 2551 – อันดับที่ 5 รางวัลบริการดีเด่น ประเภทท่าอากาศยานขนาดใหญ่ซึ่งรองรับผู้โดยสารมากกว่า 40 ล้านคนต่อปี ประจำปี พ.ศ. 2551 จากโครงการจัดอันดับท่าอากาศยานที่ให้บริการดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2551 ของสภาท่าอากาศยานสากล (ACI) [198]
  • พ.ศ. 2552 – อันดับที่ 3 ของโลก ประเภทดีเด่นด้านอาหารประจำปี พ.ศ. 2552 จาก SKYTRAX
  • พ.ศ. 2553 – อันดับที่ 5 รางวัลบริการดีเด่น ประเภทท่าอากาศยานขนาดใหญ่ซึ่งรองรับผู้โดยสารมากกว่า 40 ล้านคนต่อปี ประจำปี พ.ศ. 2553 จากโครงการจัดอันดับท่าอากาศยานที่ให้บริการดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2553 ของสภาท่าอากาศยานสากล (ACI) [199]
  • พ.ศ. 2555 – อันดับที่ 5 รางวัลบริการดีเด่น จากการสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้บริการสนามบินสำรวจโดยเว็บไซด์ Agoda.com บริษัทผู้ให้บริการเว็บไซต์สำรองห้องพักในโรงแรมแบบออนไลน์[200]

รางวัลท่าอากาศยานดีเด่น จากสกายแทร็กซ์

แก้
  • พ.ศ. 2552 – อันดับที่ 16 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2552 จากสกายแทร็กซ์
  • พ.ศ. 2553 – อันดับที่ 10 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2553 จากสกายแทร็กซ์ (นับเป็นปีแรกที่ติด 10 อันดับของโลก)
  • พ.ศ. 2554 – อันดับที่ 13 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2554 จากสกายแทร็กซ์
  • พ.ศ. 2555 – อันดับที่ 25 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2555 จากสกายแทร็กซ์
  • พ.ศ. 2556 – อันดับที่ 38 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2556 จากสกายแทร็กซ์
  • พ.ศ. 2557 – อันดับที่ 48 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2557 จากสกายแทร็กซ์
  • พ.ศ. 2558 – อันดับที่ 47 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2558 จากสกายแทร็กซ์
  • พ.ศ. 2559 – อันดับที่ 36 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2559 จากสกายแทร็กซ์
  • พ.ศ. 2560 – อันดับที่ 38 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2560 จากสกายแทร็กซ์
  • พ.ศ. 2561 – อันดับที่ 36 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2561 จากสกายแทร็กซ์[201]
  • พ.ศ. 2562 – อันดับที่ 46 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2562 จากสกายแทร็กซ์
  • พ.ศ. 2563 – อันดับที่ 48 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2563 จากสกายแทร็กซ์
  • พ.ศ. 2564 - อันดับที่ 66 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2564 จากสกายแทร็กซ์
  • พ.ศ. 2565 - อันดับที่ 77 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2565 จากสกายแทร็กซ์
  • พ.ศ. 2566 - อันดับที่ 68 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2566 จากสกายแทร็กซ์
  • พ.ศ. 2567 - อันดับที่ 58 ประเภท "ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก" ประจำปี พ.ศ. 2567 จากสกายแทร็กซ์

รางวัลท่าอากาศยานดีเด่นจากผลลงคะแนนทั่วไป

แก้
  • พ.ศ. 2551 – อันดับที่ 3 ประเภทท่าอากาศยานดีเด่นของโลก จากผลโหวต ประจำปี พ.ศ. 2551 ของนิตยสารท่องเที่ยวของประเทศอังกฤษ Wanderlust
  • พ.ศ. 2552 – อันดับที่ 3 ประเภทท่าอากาศยานดีเด่นของโลกจากผลโหวต ประจำปี พ.ศ. 2552 ของนิตยสาร Smart Travel ท่องเที่ยวออนไลน์ Smarttravelasia.com
  • พ.ศ. 2555 – อันดับที่ 1 ประเภทอันดับสถานที่ยอดนิยมที่มีการถ่ายภาพแล้วแบ่งปันผ่านอินสตาแกรมมากที่สุดในโลก[202]
  • พ.ศ. 2556 – อันดับที่ 1 ประเภทท่าอากาศยานที่เป็นมิตรกับชาวมุสลิมและอิสลามมากที่สุดในโลกCrescentrating's Halal Friendly Travel (CRaHFT) Ranking 2013 Top Halal Friendly Airports for 2013 non-OIC category[203]

ปัญหาหลังจากเปิดให้บริการ

แก้

ปัญหาจากการบริการ

แก้
  • ปัญหาการจราจรเข้าสู่สนามบิน - ปัญหานี้เกิดเนื่องจากขาดการประสานงานด้านประชาสัมพันธ์ที่พอเพียง ต่อมา ทอท. ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ประชาสัมพันธ์ และติดป้ายบอกทางทั่วกรุงเทพฯ และบริเวณทางด่วน
  • ปัญหาสายพานรับส่งกระเป๋า ทำให้เกิดความล่าช้า และสูญหายของกระเป๋า ในระยะสัปดาห์แรกของการให้บริการ มีกระเป๋าตกค้าง และล่าช้าอยู่ราว 6000 ใบ
  • ปัญหาจำนวนห้องน้ำไม่พอ[204] - ปัญหานี้ภายหลังได้มีการแก้ไขโดยมีโครงการก่อสร้างห้องน้ำเพิ่มเติม[205] โดยนายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้สั่งการให้ทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ใช้งบประมาณเร่งด่วนของปี พ.ศ. 2550 จำนวนประมาณ 40 ล้านบาท มาสร้างห้องน้ำทั้งภายในอาคารผู้โดยสารและนอกอาคารเพิ่มอีก 20 จุด รวม 205 ห้อง (ห้องน้ำชาย 95 ห้อง และห้องน้ำหญิงอีก 110 ห้อง) [204]
  • ปัญหาการประชาชนจำนวนมากเข้ามาเที่ยวชม - ทำให้เกิดความแออัด จราจรติดขัด และไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง ร้านอาหารราคาแพงและไม่เพียงพอ ซึ่งทาง ทอท.ได้แก้ปัญหาโดยใช้เงินลงทุนประมาณ 15 ล้านบาทในการก่อสร้าง ร้านอาหารราคามิตรภาพ บริเวณอาคารเทียบเครื่องบิน A และ G อีกแห่งละจุดรวมเป็น 2 จุด แต่ละจุดจะมีห้องน้ำ 25 ห้อง จะมีการก่อสร้างร้านอาหารที่บรรจุคนได้ 500 ที่นั่ง ส่วนที่บริเวณศูนย์การขนส่งสาธารณะจะก่อสร้างห้องน้ำเพิ่มเติมอีก 25 ห้อง ห้องอาบน้ำ 10 ห้อง พร้อมทั้งที่พักและร้านอาหารราคาถูก 500 ที่นั่ง[204]
  • ปัญหาสายการบินต้นทุนต่ำมีค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ - ลงทุนที่สุวรรณภูมิไม่คุ้ม ทำให้เกิดการร้องเรียนที่จะกลับไปใช้สนามบินดอนเมือง [206]
  • ปัญหาความปลอดภัย จำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่พอเพียง เนื่องจากพื้นที่กว้างใหญ่ของสนามบิน และมีกรณีร้องเรียนของพนักงานและเจ้าหน้าที่หญิงที่ถูกคุกคาม[207]
  • ปัญหาความคับคั่งและปัญหาสั่งสมอื่นที่ต้องพิจารณา - เนื่องจากความเสียหายหลายจุดที่ทางวิ่งใกล้คอนคอร์สอี ด้านทิศตะวันออก จำเป็นต้องมีการปิดซ่อมสนามบินสุวรรณภูมิบางส่วน ทำให้เกิดการจราจรที่คับคั่งภายในสนามบินและเครื่องบินต้องวนคอยเพราะไม่สามารถลงจอดได้ เช่น เหตุการณ์เครื่องบินสายการบินไทยน้ำมันหมด ต้องลงจอดฉุกเฉินแต่เติมน้ำมัน ที่สนามบินอู่ตะเภาเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2550 และที่ประชุมของกรรมการบอร์ด ทอท.ให้ทำการซ่อมผิวทางขับที่เป็นปัญหา ในคืนวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 และก่อนหน้านั้นได้มีมติให้เที่ยวบิน pint-to-point ที่เป็นสายในประเทศ สามารถย้ายกลับมาใช้สนามบินดอนเมืองได้ตามความสมัครใจ โดยเริ่มตั้งแต่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป มีความเห็นหลากหลายทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยหลายฝ่าย[208]
  • ปัญหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนพิการไม่พอเพียงและไม่เหมาะสม ได้แก่ ห้องน้ำ ทางลาด สัญญานเสียง ป้ายอักษรแบรลล์ ไม่มีเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ จนนายณรงค์ ปฏิบัติสรกิจ ประธานมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย และพ.ต.ศิริชัย ทรัพย์ศิริ นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล ได้ออกมาเรียกร้อง ผ่านทางน.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ประธานคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร[209][210]

ปัญหาด้านสิ่งปลูกสร้าง

แก้
  • ปัญหาหลังคารั่ว[204] - ขณะฝนตกหนักในช่วงวันเปิด ได้เกิดหลังคารั่ว จากการชี้แจงของผู้เกี่ยวข้องว่าเกิดการรอยต่อที่ยาซิลิโคนไว้หลุดร่อน และได้ทำการแก้ไขเฉพาะหน้าไปโดยการใช้ถังรองน้ำฝนที่รั่ว และให้ช่างยาแนวรอยรั่วในวันต่อมา
  • ปัญหาคาร์โก - เกิดการติดขัดของการออกของที่ส่วนคาร์โก เนื่องจากความไม่พร้อม ในส่วนของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจากผู้ประกอบการรายใหม่อย่างบริษัทบางกอก ไฟลท์ เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ BFS จนทำให้บรรดาตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ลุกขึ้นมาโวยจนเป็นเรื่องราวใหญ่โต กรณีนี้บีเอฟเอสถูกระบุว่าไม่เป็นมืออาชีพพอที่จะเข้ามาให้บริการคลังสินค้าและขนถ่ายสินค้า จนทำให้มีสินค้าตกค้างอยู่ในโกดังไม่สามารถนำออกมาได้เป็นจำนวนมาก[211]
  • ปัญหาพื้นทางวิ่งร้าว ทรุด - วันที่ 24 ต.ค. ผู้บริหารบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ได้ทำหนังสือถึงสายการบินทุกแห่ง เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ได้ปิดปรับปรุงทางวิ่ง-ทางขับ (แท็กซี่เวย์) บริเวณที 13 ซึ่งเป็นลานจอดเครื่องบินบริเวณ อี 4-อี 8 และแท็กซี่เวย์บริเวณบี โดยเป็นช่วงระหว่างแท็กซี่เวย์ซี 4 และซี 5 หรือตรงกับรันเวย์ 19 ด้านซ้ายของสนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจากเกิดการทรุดตัว ซึ่งหากเครื่องบินใช้พื้นที่ดังกล่าวแท็กซี่เวย์เพื่อเข้าหลุมจอดมากเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะถ้าก้อนหิน หรือคอนกรีตปลิวเข้าไปในใบพัดเครื่องบิน โดยที่กัปตันไม่ทราบอาจทำให้เครื่องบินเกิดอุบัติเหตุได้[212][213]
  • ปัญหาทางเทคนิคสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมของอาคารและทางวิ่งกว่า 60 รายการ เช่น น้ำซึมใต้บริเวณ Taxi way, ระบบไฟฟ้าให้แสงสว่างภายในอาคารไม่พอ, สาย 400 Hz เพื่อส่งไฟให้เครื่องบินสั้นเกินไป, ระบบเครื่องปรับอาคารเย็นไม่พอ, วัสดุไม่ได้มาตรฐาน เช่น กระจก temper laminated ของบานประตูหมุน, จำนวนห้องน้ำต่อพื้นที่ใช้สอย, ภาพลักษณ์ที่เป็นลบในสายตาประชาชนส่วนใหญ่, การปะปนของคนงานก่อสร้างภายในอาคาร, สนามบิน ไม่มีแบบก่อสร้าง และ AS BUILT DRAWING, เกิดอุบัติเหตุกับคนข้ามถนนภายในบริเวณสนามบิน, ระบบ ITภายในอาคารยังใช้งานไม่ได้ 100 %, ระบบป้ายที่ไม่เป็นเอกภาพ, รถเข็นกระเป๋า ไม่เพียงพอ, ความไม่พร้อมของทางหนีภัย ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน, ความไม่พร้อมของบุคลากร ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน,สนามบินไม่คำนึงถึงผู้พิการ, ฯลฯ[214]
  • ปัญหาท่อน้ำประปาแตกและน้ำนองลงมาในอาคารผู้โดยสาร ทำความเสียหายให้กับกระเป๋า และสำนักงานศุลกากร สร้างความตกตะลึงให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการสนามบินจำนวนมาก เมื่อ 11 น. ของวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2550[215]
  • ปัญหาอื่นๆ ที่ตรวจพบโดยพรรคประชาธิปัตย์ - นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2550 ว่า จากการตรวจสอบในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พบจุดอันตรายเพิ่มอีก 2 จุด และอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางการบินของเอเชียได้ คือ 1) อาคารสินค้าเขตปลอดอากรที่ไม่ มีการถมทรายในชั้นรากฐาน และการก่อสร้างหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจพังลงมาได้ทุกเวลา และ 2) อาคารผู้โดยสารหลัก ที่อาจเกิดการทรุดตัวของอาคาร โดยพบว่ากระจกด้านริมอาคารเริ่มจะปริแตกออก[215]

ปัญหาด้านกฎหมาย

แก้
  • ปัญหาการผิดกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานและดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือกฎหมายร่วมทุน ของสัมปทานพื้นที่ร้านค้าของ บริษัทคิงพาวเวอร์ - มติของ บอร์ด ทอท. เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ได้ระบุว่ารายละเอียดของสัญญาสัมปทานของบริษัท คิง เพาเวอร์ ในส่วนของสัญญาการประกอบกิจการร้านค้าปลอดภาษีและสัญญาการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้ง 2 สัญญาที่คิง เพาเวอร์ทำกับ ทอท.นั้น เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎหมายร่วมทุน เนื่องจากงานในแต่ละสัญญาน่าจะมีวงเงินในการลงทุนมากกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่งจะเข้าข่ายกฎหมายร่วมทุน แต่ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายร่วมทุน[216]
  • ปัญหาเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมอาคาร - ทางบริษัทผู้ออกแบบ คือ บริษัทกิจการร่วมค้าเมอร์ฟี่ จาห์น แทมป์ แอนด์ แอ๊ค (เอ็มเจทีเอ) ผู้ออกแบบอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องสนามบินสุวรรณภูมิ ได้แถลงชี้แจงข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยยอมรับว่า การออกแบบอาคารอาจจะผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร คือทางหนีไฟที่ประตูมีการล็อก และห้องน้ำจำนวนน้อยเกินไป[217]
  • ปัญหาจากการที่กรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) ไม่ได้มีการต่ออายุใบอนุญาตชั่วคราวทำการบินของสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งหมดอายุลง และไม่ได้ต่ออายุเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หลายส่วนในสนามบินตามคู่มือที่เรียกว่า Aerodrome Operation Manual ขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีโอ) ยังไม่มีความสัมพันธ์กัน ปัญหานี้ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในการใช้สนามบิน[215]
  • ปัญหาจากการที่ประชาชนจำนวนหนึ่งไปร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้มีคำสั่งระงับการบินในเวลากลางคืนและจ่ายค่าชดเชย[218]

การคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยาน

แก้

รถยนต์

แก้

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเส้นทางเข้าออกสำหรับรถยนต์อยู่ 5 เส้นทาง ซึ่งรถแท็กซี่ รถโดยสารขนส่งมวลชนกรุงเทพ และรถโดยสารแอร์พอร์ตเอกซ์เพรส ใช้เพื่อการคมนาคมด้วย โดยทางเข้าหลักคือ เส้นทางจากทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (ถนนกรุงเทพมหานคร-ชลบุรี) อีกเส้นทางหนึ่งสามารถเข้าได้จากทางพิเศษบูรพาวิถีหรือถนนเทพรัตน

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

แก้

เส้นทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ระยะทาง 28.6 กิโลเมตร ใช้รถไฟฟ้าความเร็วสูงแบบทางคู่ ยกระดับขนานไปตามแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก มีสถานีรายทางจำนวน 8 สถานี ได้แก่ สถานีพญาไท, สถานีราชปรารภ, สถานีมักกะสัน (สถานีขนส่งผู้โดยสารท่าอากาศยานในเมือง), สถานีรามคำแหง, สถานีหัวหมาก, สถานีบ้านทับช้าง, สถานีลาดกระบัง และจะตีโค้งแล้วลดระดับลงไปยังอุโมงค์ใต้ดิน เพื่อเข้าสู่สถานีสุวรรณภูมิ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชั้นใต้ดินของอาคารผู้โดยสาร

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเดินรถในเส้นทางสายซิตี คิดค่าโดยสายเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท ตามระยะทาง โดยจะรับ-ส่งผู้โดยสารในทุก ๆ สถานีตลอดรายทาง วิ่งอยู่บนทางยกระดับ โดยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ได้เริ่มทดสอบการให้บริการ และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รถโดยสารประจำทาง

แก้

รถโดยสารประจำทางที่เดินรถเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีทั้งหมด 6 เส้นทาง โดยอัตราค่าโดยสารเข้าท่าอากาศยาน จะเก็บเพิ่มจากราคาตามระยะทางปกติอีก 10 บาท (ยกเว้นสาย 549 550 555 และ 559 ที่เดินรถโดย บจก.ราชาโร้ด (ในเครือไทยสมายล์บัส) ที่ยังจัดเก็บค่าโดยสารตามระยะทางปกติ) รถโดยสารประจำทางที่เดินรถเข้าภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีทั้งหมด 1 เส้นทาง โดยอัตราค่าโดยสารเข้าท่าอากาศยานจะเก็บราคา 60 บาท (ตลอดสาย) และรถโดยสารที่เดินรถผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีทั้งหมด 1 เส้นทาง โดยอัตราค่าโดยสารเข้าท่าอากาศยานจะเก็บราคาตามระยะทางปกติ รวมทั้งหมด 4 เส้นทาง โดยมีเส้นทางดังนี้

- สาย 555 รังสิต - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เดินรถโดยเขตการเดินรถที่ 1

เส้นทาง : รังสิต - ท่าอากาศยานดอนเมือง - แยกหลักสี่ - แยกลาดพร้าว - แยกสุทธิสาร - ทางด่วนดินแดง - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

- สาย S1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สนามหลวง เดินรถโดยเขตการเดินรถที่ 3

เส้นทาง : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 - ทางด่วนยมราช - ถนนหลานหลวง - สนามหลวง

  • รถโดยสารปรับอากาศเอกชนร่วมบริการ โดยบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด มีทั้งสิ้น 1 เส้นทาง คือ

- สาย 552 ปากน้ำ - ทางด่วน - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง

เส้นทาง : ปากน้ำ - สำโรง - ทางด่วนบางนา - กิ่งแก้ว - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ปากทางสุขสมาน - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง - ฉลองกรุง - นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง

  • รถโดยสารปรับอากาศเอกชนร่วมบริการ โดยบริษัท สมาร์ทบัส จำกัด (ในเครือไทยสมายล์บัส) มีทั้งสิ้น 2 เส้นทาง คือ

- สาย 554 รังสิต - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เส้นทาง : รังสิต - ท่าอากาศยานดอนเมือง - ม.ราชภัฏพระนคร - ถนนรามอินทรา - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

- สาย 558 เคหะธนบุรี - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เส้นทาง : เคหะธนบุรี - เซ็นทรัลพระราม 2 - แยกพระราม 2 - บางปะกอก - วัดสน กม.9 - ทางด่วนสุขสวัสดิ์ - ไบเทคบางนา - เซ็นทรัลบางนา - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

  • รถโดยสารปรับอากาศเอกชนร่วมบริการ โดยบริษัท ราชาโร้ด จำกัด (ในเครือไทยสมายล์บัส) มีทั้งสิ้น 3 เส้นทาง คือ

- สาย 549 มีนบุรี - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เส้นทาง : มีนบุรี - ม.เกษมบัณฑิต - ถนนร่มเกล้า - สน.ลาดกระบัง - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

- สาย 555 หมอชิตใหม่ - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เส้นทาง : หมอชิตใหม่ - สวนจตุจักร - แยกลาดพร้าว - แยกสุทธิสาร - แฟลตดินแดง - ทางด่วนพระราม 9 - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

- สาย 559 รังสิต - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เส้นทาง : รังสิต - ถนนรังสิต-นครนายก (คลอง 1 - คลอง 4) - ดรีมเวิลด์ - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 - สวนสยาม - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

โดยรถทั้ง 3 เส้นทาง (สาย 554 555 (รถ ขสมก.) 558) จะจอดที่ Bus Terminal ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสามารถโดยสารรถ Shuttle Bus ไปยังอาคารผู้โดยสารได้ ส่วนสาย 549 550 552 555 (รถไทยสมายล์บัส) 559 สามารถโดยสารรถ Shuttle Bus ไปยังอาคารผู้โดยสารได้ตามแนวถนนสุวรรณภูมิ 2

รถตู้โดยสารประจำทาง

แก้

รถตู้โดยสารประจำทางที่เดินรถเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีทั้งหมด 5 เส้นทาง ดังนี้

  • สาย 549 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - มีนบุรี

เส้นทาง : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สน.ลาดกระบัง - ถนนร่มเกล้า - ม.เกษมบัณฑิต - มีนบุรี

  • สาย 552 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - อ่อนนุช

เส้นทาง : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ถนนบางนา - รพ.จุฬารัตน์ 1 - รามคำแหง 2 - เซ็นทรัลบางนา - อุดมสุข - สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อ่อนนุช

  • สาย 552A ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สมุทรปราการ

เส้นทาง : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ถนนบางนา - รพ.จุฬารัตน์ 1 - รามคำแหง 2 - เซ็นทรัลบางนา - สำโรง - สมุทรปราการ

  • สาย 555 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ท่าอากาศยานดอนเมือง

เส้นทาง : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 - ทางด่วนพระราม 9 - ดินแดง - สุทธิสาร - ม.เกษตรศาสตร์ - แยกหลักสี่ - ท่าอากาศยานดอนเมือง

  • สาย 559 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต

เส้นทาง : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 - ดรีมเวิลด์ - ถนนรังสิต-นครนายก (คลอง 4 - คลอง 1) - ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต

รถ Shuttle Bus ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ท่าอากาศยานดอนเมือง

แก้
 
รถ Shuttle Bus วิ่งระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ท่าอากาศยานดอนเมือง

รถ Shuttle Bus ให้บริการฟรีสำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ท่าอากาศยานดอนเมือง เวลาที่ให้บริการตั้งแต่ 05.00-24.00 น. ซึ่งสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้โดยสารที่ต้องต่อเครื่องบินเท่านั้น โดยผู้ใช้บริการจะต้องมีตั๋วโดยสารของสายการบินที่จะต้องเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานเท่านั้น จึงจะสามารถใช้บริการได้

เส้นทาง : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ถนนสุวรรณภูมิ 1 - ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 - ทางพิเศษศรีรัช - ทางพิเศษเฉลิมมหานคร - ทางยกระดับอุตราภิมุข - ท่าอากาศยานดอนเมือง

รถ Shuttle Bus ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

แก้
 
รถ Shuttle Bus ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

รถ Shuttle Bus ให้บริการฟรีสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางเข้าท่าอากาศยานโดยรถโดยสารประจำทางและรถตู้โดยสารประจำทาง โดยเชื่อมต่อระหว่าง Bus Terminal กับส่วนต่างๆ ภายในท่าอากาศยาน มี 5 เส้นทาง ดังนี้

  • สาย A

เส้นทาง : Bus Terminal - ลานจอดระยะยาว B,E - ลานจอดระยะยาว A,C - บริษัท BAFS - ตรงข้ามสถานีดับเพลิง - ตึกปฏิบัติการภาคพื้นดิน การบินไทย - ตึกการบินไทย - ตึกฝ่ายช่าง - ช่องทาง 3 - ช่องทาง 2 - อาคารผู้โดยสารชั้น 1 ประตู 1 - อาคารผู้โดยสารชั้น 1 ประตู 10 - อาคารผู้โดยสารชั้น 2 ประตู 5 - ครัวการบิน บมจ.การบินไทย - สถานีดับเพลิง - Bus Terminal

  • สาย B

เส้นทาง : Bus Terminal - บริษัท LSG Sky Chefs - ตรงข้ามสถานีดับเพลิง - ตึกปฏิบัติการภาคพื้นดิน การบินไทย - อาคารผู้โดยสารชั้น 1 ประตู 1 - อาคารผู้โดยสารชั้น 1 ประตู 10 - VIP Room - จุดจอดเพิ่ม 1 ( Free Zone ) - จุดจอดเพิ่ม 2 ( Free Zone ) - จุดจอดเพิ่ม 3 ( Free Zone ) - ประตูทางออกหน้า ( Free Zone ) - แยกไฟแดง Free Zone - ครัวการบิน บมจ.การบินไทย - สถานีดับเพลิง - Bus Terminal

  • สาย C

เส้นทาง : Bus Terminal - สภ.ราชาเทวะ - ตรงข้าม สภ.ราชาเทวะ - แยกสุขสมาน - Sky Lane - ตรงข้าม ตึก ( AMF ) - กรมอุตุ ฯ - อาคารผู้โดยสารชั้น 1 ประตู 3 และ 8 - ทางออกเขตปลอดอากรประตู 2 - Bus Terminal

  • สาย D

เส้นทาง : Bus Terminal - ตรงข้ามสถานีดับเพลิง - ตึกปฏิบัติการภาคพื้นดิน การบินไทย - สำนักงานท่าอากาศยาน ( AOB ) - โรงแรมโนโวเทล - บริษัท วิทยุการบิน - ครัวการบินไทย - สถานีดับเพลิง - LSG Sky Chefs - Bus Terminal

  • สายด่วน Express

เส้นทาง : Bus Terminal - อาคารผู้โดยสารชั้น 4 ประตู 5 - อาคารผู้โดยสารชั้น 2 ประตู 5 - Bus Terminal

ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

แก้

ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติใต้ทางวิ่งเชื่อมอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566[219] โดยมีระยะทางรวม 1 กิโลเมตร ใช้รถไฟฟ้าล้อยางแบบไร้คนขับ (Automated People Mover หรือ APM) ซึ่งตัวรถไฟฟ้าเลือกใช้รถไฟฟ้าจากบริษัท ซีเมนส์ รุ่น Airval มีทั้งหมด 6 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ มีที่นั่งตู้ละ 25 ที่นั่ง รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 210 คนต่อขบวน วิ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง มีความถี่ให้บริการที่ 3 นาทีต่อขบวน ซึ่งจะสามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 3,590 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง[220][221][222][223]

สนามบินพี่น้อง

แก้

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามบันทึกสัญญาการทำงานร่วมกันในการลงนามสนามบินพี่น้องกับท่าอากาศยานทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานมิวนิก ประเทศเยอรมนี, ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้, ท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะ ประเทศญี่ปุ่น, ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ประเทศจีน, ท่าอากาศยานออสติน สหรัฐอเมริกา, ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง ประเทศลาว[224]

อ้างอิง

แก้
  1. Fernquest, Jon. "Suvarnabhumi: New runway by 2018". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 20 March 2019.
  2. "Air transport statistic 2019 summary" (PDF). Airports of Thailand PLC. 23 January 2020.
  3. "ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ". ประวัติความเป็นมาของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เก็บถาวร 2009-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553.
  4. https://www.jsce.or.jp/e/archive/project/pj17.html
  5. ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง รายชื่อสนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport) พ.ศ. ๒๕๖๖
  6. "ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ". ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แผ่นดินทอง ความภูมิใจของคนไทย เก็บถาวร 2010-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553.
  7. ACI reveals top 20 airports for passenger traffic, cargo, and aircraft movements
  8. "ACI reveals top 20 airports for passenger traffic, cargo, and aircraft movements". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
  9. AOT Air Traffic Report 2019
  10. 10.0 10.1 Suvarnabhumi Airport. About Suvarnabhumi Airport เก็บถาวร 2011-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553.
  11. Flightmapper Airport BKK
  12. SHENZHEN AIRLINES ADDS YUNCHENG – BANGKOK IN 2Q24
  13. Suvarnabhumi Airport: Thai Auspicious Name เก็บถาวร 2010-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  14. ศิริโชค เลิศยะโส. "จากหนองงูเห่าสู่สุวรรณภูมิ". NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับภาษาไทย. (ปีที่ 6, สิงหาคม 2549). ISSN 1513-9840. หน้า 81.
  15. ศิริโชค เลิศยะโส. "จากหนองงูเห่าสู่สุวรรณภูมิ". NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับภาษาไทย. (ปีที่ 6, สิงหาคม 2549). ISSN 1513-9840. หน้า 82.
  16. ศิริโชค เลิศยะโส. "จากหนองงูเห่าสู่สุวรรณภูมิ". NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับภาษาไทย. (ปีที่ 6, สิงหาคม 2549). ISSN 1513-9840. หน้า 83.
  17. 17.0 17.1 ศิริโชค เลิศยะโส. "จากหนองงูเห่าสู่สุวรรณภูมิ". NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับภาษาไทย. (ปีที่ 6, สิงหาคม 2549). ISSN 1513-9840. หน้า 87.
  18. วินัย สมพงษ์. "เบื้องหลังผลงานประชาธิปัตย์ เมกะโปรเจกต์ คมนาคม อดีตสู่อนาคตโลจิสติกส์ไทย พันเอก วินัย สมพงษ์ อดีตรัฐมนตรีคมนาคม" หน้า 38
  19. https://www.jsce.or.jp/e/archive/project/pj17.html
  20. https://www.silpa-mag.com/history/article_117083
  21. https://web.archive.org/web/20080219114021/http://www.ura.gov.sg/spore1_1/publication1-9.htm
  22. Architectural Record, ฉบับสิงหาคม 2550, หน้า 110
  23. "ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก: ข่าวที่ 11 / 09 – 5 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2544". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-02. สืบค้นเมื่อ 2009-10-17.
  24. "การออกแบบสนามบินสุวรรณภูมิ : ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ". m.baanjomyut.com.
  25. "เพ้ง" รับหลังคา "เทอร์มินอล" รั่ว อ้างเป็นเรื่องปกติสนามบินใหม่" นสพ.มติชน 19 ก.ย. 2549
  26. Bangkokpost newspaper (20 October 2005) Dream city called flood nightmare : Environmental chaos will ensue - Apirak
  27. นสพ.เดลินิวส์ 11 กย.49 ผู้โดยสาร 'ป่วนแน่!' 'แท็กซี่' เซ็ง! 'ไม่ไปสุวรรณภูมิ??'
  28. 28.0 28.1 สุวรรณภูมิในมุมมองวิศวกรไทย อย่าหลงระเริงกับความอลังการ มองไปข้างหน้า...ก้าวสู่ฮับให้ได้ดั่งฝัน, นสพ.มติชน 8 ก.ย. 2549
  29. Incident: Qantas B744 near Bangkok on Jan 25th 2011, engine consumed too much fuel
  30. "ช็อก! รถแทรกเตอร์ลากจูงเครื่องบินชนพนักงานลานจอด "สุวรรณภูมิ" ดับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-03. สืบค้นเมื่อ 2017-04-25.
  31. TRB106
  32. เครื่องรัสเซียบินมอสโก-กรุงเทพตกหลุมอากาศบาดเจ็บ27คน
  33. Incident: Austrian B772 near Bangkok on Jul 24th 2022, malfunctioning oven
  34. OS26 20220724
  35. eva-air-777-in-ground-handling-incident-at-bangkok-international-airport
  36. "Singapore Airlines: Passengers recall horror as turbulence hit flight". www.bbc.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  37. Richard Lloyd Parry, "Poo Ming – a blue ghost who haunts $4bn airport", The Times, 2006-09-27
  38. ThaiDay, "THAI discounts tickets for historic test flights" เก็บถาวร 2011-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, July 1, 2006.
  39. "PM Thaksin says Suvarnabhumi Airport ready in two months" เก็บถาวร 2007-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, MCOT, 29 July 2006.
  40. USA Today, "Bangkok's new airport opens to first commercial flights", 15 September 2006.
  41. AOT ว่าจ้างกลุ่ม EPM Consortium บริหารจัดการโครงการขยายสุวรรณภูมิเฟส2
  42. "Monitor EIA_ทสภ. ระยะก่อสร้าง 2-2562 - สำนักงานนโยบายและแผน ..." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-22. สืบค้นเมื่อ 2011-06-16.
  43. ไปเมืองนอกขึ้นเครื่องที่สุวรรณภูมิ แนะเผื่อเวลา 3 ชั่วโมง ไม่ใช่แค่การบินไทยแต่ทุกสายการบิน
  44. วาระงาน 20 พฤศจิกายน 2551
  45. "Thai PM at lima airport". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-26. สืบค้นเมื่อ 2022-07-26.
  46. การบินไทยชี้แจงเที่ยวบินนายกรัฐมนตรีล่าช้า
  47. IB2836 sydney-bangkok
  48. SYD-BKK
  49. IB2836
  50. TG8096
  51. https://flightaware.com/live/flight/THA8097 TG8097]
  52. SQ9023
  53. "มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาการขออนุมัติงบประมาณลงทุนประจำปี 2550 เพิ่มเติม (ครั้งที่ 6) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)". 15 มกราคม พ.ศ. 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-26. สืบค้นเมื่อ 2018-11-13. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  54. Bangkok Post, New Bangkok Airport - Now Aiming For July 2006 Opening เก็บถาวร 2007-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2005
  55. "Suvarnabhumi Airport: About Suvarnabhumi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-16. สืบค้นเมื่อ 2009-10-18.
  56. MCOT English. AoT to spend Bt800 billion to upgrade Suvarnabhumi Airport เก็บถาวร 2011-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดู 18-10-09
  57. "Suvarnabhuni Airport Fact Sheet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-05. สืบค้นเมื่อ 2009-10-18.
  58. "อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) สนามบินสุวรรณภูมิ". Realist Blog รีวิวบ้าน คอนโด อัพเดทข่าวอสังหาฯ รถไฟฟ้า ทางด่วน.
  59. Suvarnabhumi Airport: Thai Torch เก็บถาวร 2010-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  60. Peter Walker and Partners (2005) Landscape Architecture : Defining the Craft. ORO Edition
  61. 61.0 61.1 "The World's Tallest Air Traffic Control Towers". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-11-23.
  62. "Suvarnabhuni Airport: World Records". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-05. สืบค้นเมื่อ 2009-10-18.
  63. "Dubai airport passengers top 37m". The National. 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-01-30.
  64. ACI reveals top 20 airports for passenger traffic, cargo, and aircraft movements
  65. "ACI reveals top 20 airports for passenger traffic, cargo, and aircraft movements". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
  66. A380 year in the life
  67. Asiana Airlines W19 International service changes as of 18OCT19
  68. AC65 Vancouver-Bangkok
  69. QF7581 Sydney-Auckland
  70. QF7581 Auckland-Seoul
  71. QF7581 Seoul-Bangkok
  72. QF7581 Bangkok-Shang hai
  73. QF7581 Shang hai-Anchorage
  74. Anchorage-New York
  75. BR68
  76. BR68
  77. flight BKK-XSP
  78. TG673
  79. TG304
  80. CX703
  81. E9845
  82. JYH1007
  83. GFA166
  84. QTR8352
  85. QTR8344
  86. 86.0 86.1 "GoAir expands International network in July/August 2019". routesonline.com. 16 July 2019.
  87. QFA7706
  88. BFS Welcome qanot Sharq HH Inaugural flight
  89. KLM804
  90. KLM820
  91. "Jeju Air adds Jeju – Bangkok service from late-July 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 23 September 2019.
  92. JC2216
  93. OMS447
  94. "CEBU PACIFIC ADDS CLARK – BANGKOK SERVICE FROM APRIL 2023". AeroRoutes. สืบค้นเมื่อ 7 March 2023.
  95. SVA846l
  96. SVA846
  97. "Drukair, Royal Bhutan Airlines announces... - Drukair Royal Bhutan Airlines". Facebook. สืบค้นเมื่อ 23 September 2019.
  98. THY83
  99. VZ3500
  100. VZ810
  101. Thai VietJet Air plans Bangkok – Da Lat Dec 2017 launch
  102. xj908
  103. XJ920
  104. XJ383
  105. XJ595
  106. TAX340
  107. TAX310
  108. 108.0 108.1 "BEIJING CAPITAL SCHEDULES BANGKOK LATE-MARCH 2023 LAUNCH". AeroRoutes. สืบค้นเมื่อ 9 March 2023.
  109. Pacific Airlines 6823
  110. US-Bangla Airlines expands international service in 1H17
  111. LOT Polish Airlines 6519
  112. “เวียดทราเวล” เปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ ฮานอย-กรุงเทพฯ มองไทยตลาดสำคัญ
  113. "Vietnam Airlines expands SE Asia Network in W19". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 23 September 2019.
  114. sas opens new route to bangkok
  115. CQH889A
  116. SG81
  117. EY430 เที่ยวบินภูเก็ตกรุงเทพ
  118. "Hebei Airlines adds Guiyang – Bangkok from late-Oct 2018". Routesonline.com. สืบค้นเมื่อ 2 October 2018.
  119. OS6002
  120. PTI. "IndiGo to start daily flights from Mumbai to Singapore, Bangkok from 22 August". Livemint.com. สืบค้นเมื่อ 23 September 2019.
  121. "Aeroflot to launch flights to Bangkok from Irkutsk in January". ASEAN Briefing. 25 December 2022. สืบค้นเมื่อ 29 December 2022.
  122. Air canada 7266
  123. Air canada 7266
  124. QF7581 Sydney-Auckland
  125. QF7581 Auckland-Seoul
  126. QF7581 Seoul-Bangkok
  127. QF7581 Bangkok-Shang hai
  128. QF7581 Shang hai-Anchorage
  129. Anchorage-New York
  130. NCR822 MADBKK
  131. QF7581
  132. bangkok-Anchorage
  133. Cargolux Schedule Worldwide September 2022
  134. Cargolux Schedule Worldwide October 2022
  135. Cargolux Schedule Worldwide September 2022
  136. Cargolux Schedule Worldwide October 2022
  137. CLX7654
  138. CLX4625
  139. CLX4626
  140. CKX7985
  141. CLX8463
  142. Cargolux flight 7322
  143. Cargolux flight 7405 Amman-Bangkok-Ho Chi Minh City
  144. CLX9736 CGO-BKK 20221002
  145. BKK-BAH 20220918
  146. CI5542
  147. DHK002P
  148. CNW9622
  149. National Cargo 686
  150. NCR822 MAD-BKK
  151. NCR823 BKK-ICN
  152. Raya Airways 4144
  153. HYT9037
  154. EK9889
  155. EK9221
  156. THY6290
  157. AirBridgeCargo 9405
  158. AirBridgeCargo 9403
  159. EVA Air Cargo Schedule[ลิงก์เสีย]
  160. "EVA Air Cargo outlines Boeing 777 Freighter service in W17". Routesonline.com. สืบค้นเมื่อ 31 January 2018.
  161. The Inaugural Flight of Tianjin Air Cargo (HT)
  162. LHA4531
  163. LHA4534
  164. BFS Handled SF Airlines Charter Flight carrying Jack Ma Foundation’s Medical Supplies to Thailand.
  165. Aviacon Zitotrans 5004
  166. Ethiopian Cargo adds Bangkok and Hanoi flights
  167. BKK-BLR
  168. BKK-BLR-LEJ
  169. AeroLogic flight 3S531 SIN-BKK-BLR-LEJ
  170. flights 3S531 SIN-BKK-BLR-LEJ
  171. "MASKargo adds new intra-Asia routing in S18". Routesonline.com. สืบค้นเมื่อ 5 October 2018.
  172. TG8419
  173. "AOT2018 The Port Authority of New York and New Jersey Aviation" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-03-28.
  174. 2019 Annual Airport Traffic Report
  175. 2020 Air Traffic Report AOT
  176. 2021 Air Traffic Report AOT
  177. 2022 Air Traffic Report AOT
  178. "Passenger Traffic 2010 FINAL". Airports Council International. 2012-08-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-29. สืบค้นเมื่อ 2012-04-29.
  179. "2012 Passenger Traffic (Preliminary)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-15. สืบค้นเมื่อ 2013-04-30.
  180. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-05. สืบค้นเมื่อ 2014-01-09.
  181. สนามบินสุวรรณภูมิทุ่ม 1.3 แสนล้าน ลุยเฟส 2 ยันเดินหน้าตามแผน
  182. HS-SKR
  183. HS-VIP HHQ-BKK
  184. emirates nw16
  185. บวท.ปรับเส้นทางบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิใหม่ รับเที่ยวบินพุ่ง 1.8 พันเที่ยวต่อวัน
  186. AOT Air Traffic Report 2019
  187. AOT Transport Statistic 2019 International Scheduled & Non-Scheduled Traffic
  188. SQ9023
  189. วาระงาน 20 พฤศจิกายน 2551
  190. "Thai PM at lima airport". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-26. สืบค้นเมื่อ 2022-07-26.
  191. การบินไทยชี้แจงเที่ยวบินนายกรัฐมนตรีล่าช้า
  192. "Air transport statistic 2022 summary" (PDF). Airports of Thailand PLC. 6 May 2023.
  193. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-31.
  194. Page 23 2022 Traffic Report Airport of Thailand
  195. Page 38 2021 Traffic Report Airport of Thailand
  196. 2016 Traffic report Airport of Thailand Company Page 75
  197. ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. รางวัลและเกียรติยศของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เก็บถาวร 2010-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553
  198. Airport Council International. ACI Airport Service Quality Awards 2008 เก็บถาวร 2010-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. p.3 สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553.
  199. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-18. สืบค้นเมื่อ 2011-02-22.
  200. "รางวัลที่ได้รับ Thai Airway International (THAI)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-20. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
  201. 10 อันดับสนามบินที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2018
  202. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-05. สืบค้นเมื่อ 2013-05-01.
  203. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-27. สืบค้นเมื่อ 2013-06-04.
  204. 204.0 204.1 204.2 204.3 ข่าว"ธีระ"จี้ทอท.แก้"แท็กซี่เวย์"ร้าว! อัด40ล.เพิ่มห้องน้ำสุวรรณภูมิ มติชน 26 ตค. 49/
  205. ‘สุวรรณภูมิ’ ความภูมิใจหรือ... (1) ความอลังการบนความไม่พร้อม นสพ.เดลินิวส์, 17 ตุลาคม พ.ศ. 2549
  206. บินถูกรุกกลับดอนเมือง ชี้ลงทุนสุวรรณภูมิไม่คุ้ม นสพ.มติชน, 22 ตุลาคม พ.ศ. 2549
  207. บทความ‘สุวรรณภูมิ’ ความภูมิใจหรือ.. (1) ความอลังการบนความไม่พร้อม, นสพ.เดลินิวส์, 17 ตุลาคม พ.ศ. 2549
  208. เปิดสนามบินดอนเมืองดีเดย์15มี.ค.50 เก็บถาวร 2011-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, นสพ.ผู้จัดการรายวัน 12 มกราคม พ.ศ. 2550
  209. นสพ.ข่าวสด, 2 มกราคม พ.ศ. 2549
  210. "เว็บบอร์ดมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 2007-01-27.
  211. ข่าว‘สุวรรณภูมิ’ ความภูมิใจหรือ... (2) ปัญหาคาร์โก...ต้นตออยู่ที่ใคร (จบ) นสพ.เดลินิวส์, 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549
  212. 'สุวรรณภูมิ'ป่วน! สนามบินทรุด-สั่งปิดปรับปรุง, นสพ.เดลินิวส์, 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549
  213. "ธีระ"จี้ทอท.แก้"แท็กซี่เวย์"ร้าว! อัด40ล.เพิ่มห้องน้ำสุวรรณภูมิ, นสพ.มติชน, 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549
  214. "เว็บไซต์คณะทำงานชุดที่ 1 : แก้ไขปัญหาผู้โดยสาร พนักงานและประชาชน ของบอร์ดทอท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-18. สืบค้นเมื่อ 2007-04-10.
  215. 215.0 215.1 215.2 "ปชป."ร่วมขย่ม"สุวรรณภูมิ"ซ้ำ แฉอาคารสินค้า-ผู้โดยสารทรุด ท่อประปาแตกน้ำท่วมกระเป๋า!, นสพ.มติชน, 28 มกราคม พ.ศ. 2550
  216. บทความปฏิบัติเช็คบิล "คิง เพาเวอร์" อย่ารุกเพลินจนลืมระวังหลัง, นสพ.มติชน, 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
  217. ข่าว"เอ็มเจทีเอ"โต้ออกแบบสุวรรณภูมิ "ผู้รับเหมา-เจบิค"เซ็นรับรองแบบ, นสพ.มติชน, 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
  218. ชาวบ้านรอบ"สุวรรณภูมิ" สุดทนเสียงดังฟ้อง ทอท.รอบที่ 5ค้านขยายเฟส 2
  219. วันแรก เปิดให้บริการแบบ Soft Opening อาคาร SAT-1 สุวรรณภูมิ
  220. เผยโฉมรถไฟฟ้าวิ่งในสนามบินสุวรรณภูมิรับผู้โดยสาร 3.5 พันคนต่อชั่วโมง
  221. “ยานลูกSAT1สุวรรณภูมิ”..พร้อม!! ปล่อยรถไฟฟ้าAPMส่งขึ้นเครื่อง
  222. เม.ย.ปีหน้า “สุวรรณภูมิ” เปิดยานลูกSAT1 นั่งรถไฟฟ้าขึ้นเครื่องเสริมทัพไต่อันดับ
  223. 28 ก.ย. เปิดบริการ “SAT-1” สนามบินสุวรรณภูมิ นั่งรถไฟฟ้า APM เชื่อม 2 อาคาร
  224. "สุวรรณภูมิจับมือท่าอากาศยานหลวงพระบางเป็น Sister Airport". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-20. สืบค้นเมื่อ 2012-12-08.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°41′13″N 100°45′05″E / 13.68702°N 100.751495°E / 13.68702; 100.751495

ท่าอากาศยานใกล้เคียง
 
 BKK
 SGN (716 กม.)
 HAN (992 กม.)
 HKT (671 กม.)
 PEN (929 กม.)
 CNX (594 กม.)
 CEI (702 กม.)
 JHG (918 กม.)
 PNH (504 กม.)
 HDY (747 กม.)
 REP (333 กม.)
 UTP (114 กม.)
 RGN (583 กม.)
 MDL (1012 กม.)
 LGK (801 กม.)
 KNO (1170 กม.)
 VTE (516 กม.)
 LPQ (706 กม.)