ท่าอากาศยานเชียงใหม่
ท่าอากาศยานเชียงใหม่ หรือ สนามบินเชียงใหม่ (อังกฤษ: Chiang Mai International Airport) (IATA: CNX , ICAO: VTCC) ตั้งอยู่เลขที่ 60 ถนนมหิดล ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 4 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport)[1] และเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ 1 ใน 6 แห่ง ที่บริหารงานโดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ดูแล เป็นท่าอากาศยานที่สำคัญ เป็นศูนย์กลางทางการบินของภาคเหนือ โดยมีเที่ยวบินเข้าออกหนาแน่นเป็นลำดับสี่ รองจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานภูเก็ต
ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | สนามบินพาณิชย์/ศุลกากร/ทหาร | ||||||||||
เจ้าของ | กองทัพอากาศ | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) | ||||||||||
พื้นที่บริการ | จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดลำพูน | ||||||||||
ที่ตั้ง | เลขที่ 60 หมู่ 3 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ | ||||||||||
ฐานการบิน | นกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์ | ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 1,036 ฟุต / 316 เมตร | ||||||||||
พิกัด | 18°46′00″N 98°57′45″E / 18.76667°N 98.96250°E | ||||||||||
เว็บไซต์ | chiangmai | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
สถิติ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2482) | |||||||||||
|
ข้อมูลทั่วไป
แก้สนามบินเชียงใหม่เดิมชื่อ สนามบินสุเทพ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2464 การตั้งสนามบินเชียงใหม่เป็นพระดำริของนายพลโทหม่อมเจ้าบวรเดช อุปราชมณฑลพายัพ โดยเลือกพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ซึ่งขณะนั้นมีสภาพเป็นป่าไผ่ เมื่อสนามบินสร้างเสร็จได้มอบให้อยู่ในการดูแลของกระทรวงกลาโหม พร้อมกันนั้น ภาคเจ้านายและประชาชนเชียงใหม่ได้รวบรวมเงินเพื่อจัดซื้อเครื่องบินแบบเบร์เก 14 (Bréguet 14) ให้กองทัพไว้ใช้ในราชการฝ่ายเหนือ และมีการตั้งชื่อเครื่องบินนี้ว่า จังหวัดเชียงใหม่ 1
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 มีการเปิดสนามบินอย่างเป็นทางการ เครื่องบินจังหวัดเชียงใหม่ 1 ได้บินมาแตะพื้นรันเวย์สนามบินเชียงใหม่เป็นปฐมฤกษ์ ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น สนามบินเชียงใหม่ และ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตามลำดับ
ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่มีพื้นที่กว่า 1,600 ไร่ ปัจจุบันมีอาคารผู้โดยสาร 2 หลัง คือหลังเดิม เป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และหลังใหม่ เป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานแห่งนี้สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 8 ล้านคนต่อปี และมีสถิติปริมาณอากาศยานพาณิชย์ขึ้นลง ในปี พ.ศ. 2549 จำนวน 24,469 เที่ยวบิน, พ.ศ. 2550 จำนวน 26,708 เที่ยวบิน, พ.ศ. 2554 จำนวน 32,445 เที่ยวบิน และล่าสุด พ.ศ. 2555 จำนวนมากกว่า 37,000 เที่ยวบิน ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561 สายการบินวิสดอมแอร์เวย์ทำการบินประจำที่ท่าอากาศยานแห่งนี้โดยทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์จากท่าอากาศยานน่านนครมายังท่าอากาศยานเชียงใหม่ด้วยเครื่องบินทะเบียน HS-WIA[2] เส้นทางบินที่ไกลที่สุดของท่าอากาศยานเชียงใหม่ได้แก่ TG922 ทำการบินจากเชียงใหม่แวะกรุงเทพมหานครปลายทางแฟรงเฟิร์ต และ TG923 ทำการบินจากแฟรงเฟิร์ตแวะที่กรุงเทพมหานครปลายทางเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว
ท่าอากาศยานเชียงใหม่ สามารถรับเครื่องบิน ชนิด แอร์บัส เอ380 และ โบอิง 747 ได้
โดยวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 เครื่องบิน แอร์บัส A380 สายการบินไทย ได้ทำการบินมาลงที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ [3]
โครงสร้าง
แก้อาคารผู้โดยสารชั้นที่ 1
แก้ปีกทิศเหนือ
แก้- ด้านทิศเหนือเป็นส่วนของผู้โดยสารขาเข้าและขาออกภายในประเทศ
- เป็นทางเข้าสู่ตัวอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ โดยผ่านจุดตรวจความปลอดภัย
- มีประตูทางออกจากอาคาร
- สำนักงานประชาสัมพันธ์ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทอท.)
- สำนักแพทย์(ห้องพยาบาล) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทอท.)
- มีสำนักงานขายบัตรโดยสารของสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ ไทยไลอ้อนแอร์ นกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย ไทยสมายล์ การบินไทย
- มีเคาน์เตอร์เช็คอินของ ไทยสมายล์ นกแอร์ บางกอกแอร์เวย์ ไทยไลอ้อนแอร์ ไทยแอร์เอเชีย
- ภายในมีร้านกาแฟ ร้านขายของที่ระลึก แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และ บริษัทรถเช่า
- ห้องรับรองของสายการบิน การบินไทย บางกอกแอร์เวย์
- ร้านไอศกรีม Dairy Queen
- ร้านกาแฟวาวี Wawee Coffee
- คาเฟ่ อเมซอน Cafe Amazon
- ร้านกาแฟสตาร์บัคส์ Starbucks Coffee
- ร้านกาแฟแบล็คแคนยอน Black Canyon
- ร้านโครงการหลวง
- ร้านข้าวซอย เฮาส์
- ห้องสุขา
- มีประตูทางออกขึ้นเครื่อง 9 ประตู
- ประตู 11, 12, และ 14 เป็นแบบ Bus Gate
- โดยประตูทางออก 3 , 4 , 5 , 6 , 7 , 8 เป็นสะพานเทียบเข้าสู่เครื่องบิน
- ภายในมีร้านกาแฟ ร้านขายของที่ระลึก แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และ บริษัทรถเช่า
โถงกลางอาคาร
แก้- มีร้านค้าขายสินค้าที่ระลึก ร้านหนังสือ ร้านอาหาร
- บริเวณตรงกลางเป็นห้องรับรองพิเศษของสายการบินการบินไทย บางกอกแอร์เวย์
- ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานเชียงใหม่
- ศุลกากร
- ร้านไอศกรีม Dairy Queen
- เป็นที่ตั้งของไปรษณีย์ไทย สาขาท่าอากาศยานเชียงใหม่
- ตำรวจท่องเที่ยว ประจำท่าอากาศยานเชียงใหม่
- มีประตูทางออกจากอาคาร
ปีกทิศใต้
แก้- เป็นทางเข้าสู่ตัวอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ โดยผ่านจุดตรวจความปลอดภัย
- มีเคาน์เตอร์เช็คอินของ อีวีเอแอร์ เมียนมาแอร์ไลน์ ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ ปักกิ่งแคพิทอลแอร์ไลน์ คาเธ่ย์ ดรากอน ฮ่องกงเอ็กซเพรส จุนเหยาแอร์ไลน์ โคเรียนแอร์ ชานตงแอร์ไลน์ เสฉวนแอร์ไลน์ ซิลค์แอร์ สปริงแอร์ไลน์ ไทเกอร์แอร์
- ห้องสุขา
- มีประตูทางออกจากอาคาร
อาคารผู้โดยสารชั้นที่ 2
แก้ปีกทิศเหนือ ก่อนเข้าประตู (Gate) อาคารผู้โดยสารภายประเทศ
แก้- ร้าน ภัตตาคารการบินไทย
- ร้าน วนัสนันท์
- จุดตรวจความปลอดภัย วัตถุอันตราย DRG
- ร้านสินค้าปลอดภาษี King Power
โถงกลางอาคาร
แก้- ฝ่ายรักษาความปลอดภัย ท่าอากาศยานเชียงใหม่
- ร้าน Mcdonald's
- ร้าน Burger King
- ร้าน Starbucks
ปีกทิศใต้ ก่อนเข้าประตู (Gate) อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ
แก้- ตรวจหนังสือเดินทาง
สายการบิน
แก้สายการบินที่ให้บริการ
แก้
สายการบินที่เคยทำการบิน
แก้สายการบิน | จุดหมายปลายทาง |
---|---|
ไทยสมายล์ | ภูเก็ต, กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, นครศรีธรรมราช, เกาะสมุย, กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ |
การบินไทย | แม่ฮ่องสอน, กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, หาดใหญ่, เชียงราย |
นกแอร์ | หาดใหญ่, แม่ฮ่องสอน, ขอนแก่น, อู่ตะเภา |
กาตาร์แอร์เวย์ | โดฮา |
ไทยไลอ้อนแอร์ | หาดใหญ่ |
บางกอกแอร์เวย์ส | แม่ฮ่องสอน , มัณฑะเลย์, ย่างกุ้ง, หลวงพระบาง, อุดรธานี |
ข้อมูลการจราจรในแต่ละปี
แก้ปีปฏิทิน | ผู้ใช้บริการ (คน) | เปลี่ยนแปลง | เที่ยวบิน |
---|---|---|---|
2551 | — | — | |
2552 | 0.61% | — | |
2553 | 3.15% | 27,485 | |
2554 | 22.05% | 32,445 | |
2555 | 15.75% | 36,981 | |
2556 | 15.17% | 43,366 | |
2557 | 28.18% | 52,642 | |
2558 | 26.17% | 63,843 | |
2559 | 12.91% | 69,202 | |
2560 | 8.29% | 71,994 | |
2561 | 7.42% | 78,210 | |
2562 | 3.13% | 80,751 | |
2563 | 57.19% | 35,058 | |
ต.ค. 2564 | 77.49 | 10,858 | |
2565 | 26,757 | ||
2566 | 66.71% | 40,412 | |
ม.ค-ก.พ 2567 | 14.73% | 10,349 |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง รายชื่อสนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport) พ.ศ. ๒๕๖๖
- ↑ "HS-WIA". FlightAware.
- ↑ "แอร์บัส A380 เที่ยวปฐมฤกษ์"สุวรรณภูมิ-เชียงใหม่"เฉี่ยวผนังโรงซ่อมบำรุง". สำนักข่าวอินโฟเควสท์. 1 กันยายน 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2019.
- ↑ Kositchotethana, Boonsong (11 Oct 2013). "Air China eyes Chiang Mai". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 14 Oct 2013.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Air China Press Release (9 ตุลาคม 2013). "Air China to Commence Beijing-Chiang Mai Service on November 7". CNW Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2015.
- ↑ Air China Press Release (2013-12-04). "Air China to Commence Wuhan-Chiang Mai Service on December 10". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-20. สืบค้นเมื่อ 2015-06-01.
- ↑ "สถิติขนส่งทางอากาศ". Airports of Thailand Public Company Limited. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2014-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน