ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี

ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี (IATA: URTICAO: VTSB) ตั้งอยู่ในตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากบ้านดอนประมาณ 26 กิโลเมตร โดยใช้พื้นที่ร่วมกับกองทัพอากาศ (กองบิน 7 สุราษฎร์ธานี) ซึ่งเป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] เป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport)[2] และได้ประกาศท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534[3]

ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี
อาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ / ทหาร
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน / กองทัพอากาศไทย
พื้นที่บริการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สถานที่ตั้งเลขที่ 73 หมู่ที่ 3 ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล6.1 เมตร / 20 ฟุต
พิกัด09°07′57″N 99°08′08″E / 9.13250°N 99.13556°E / 9.13250; 99.13556พิกัดภูมิศาสตร์: 09°07′57″N 99°08′08″E / 9.13250°N 99.13556°E / 9.13250; 99.13556
เว็บไซต์https://minisite.airports.go.th/suratthani/
แผนที่
URTตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
URT
URT
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในประเทศไทย
URTตั้งอยู่ในประเทศไทย
URT
URT
URT (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
04/22 3,000 9,843 ยางมะตอย
สถิติ (2562)
ผู้โดยสาร1,873,060
เที่ยวบิน12,375
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ประวัติ แก้

ท่าอากาศยานเดิมที่บ้านดอนนก แก้

ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่บ้านดอนนก ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีระยะทางห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร โดยมีกรมการขนส่ง เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยมีทางวิ่งขนาดกว้าง 60 เมตร ยาว 800 เมตร ผิวพื้นลูกรัง ต่อมากองทัพอากาศได้ขอปรับปรุงท่าอากาศยานแห่งนี้เพื่อใช้ในกิจการกองทัพอากาศด้วย โดยปรับปรุงเป็นขนาด 60 X 1,000 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้เพียงเครื่องบินเล็ก แบบดักลาส ดีซี-3

ในปี พ.ศ. 2514 กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) ได้พิจารณาเห็นว่าเมื่อบริษัท เดินอากาศไทย จำกัดได้เปลี่ยนเครื่องบินเป็นแบบ แอฟโร่ 748 จึงควรที่จะได้ปรับปรุงท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีให้สามารถรับเครื่องบินแบบนี้ได้ เพื่อจะได้เปิดบริการการขนส่งทางอากาศในจังหวัดต่อไป

หลังจากนั้น กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน) ได้ว่าจ้าง บริษัท วิศวกรไทย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา ทำการสำรวจศึกษาและพิจารณาเลือกบริเวณจุดที่ตั้งท่าอากาศยานใหม่ที่เหมาะสม เนื่องจากท่าอากาศยานเดิมอยู่ในเขตชุมชนกลางเมือง รวมทั้งการออกแบบเพื่อการก่อสร้างท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี หากสามารถทำได้ท่าอากาศยานที่จะก่อสร้างใหม่ควรจะอยู่ในจุดที่ตั้งที่สามารถจะให้บริการแก่ประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดนครศรีธรรมราชได้โดยสะดวกทั้งสองจังหวัด และให้สามารถรองรับเครื่องบินไอพ่นขนาดกลาง ซึ่งบริษัท เดินอากาศไทย จำกัดมีแผนที่จะนำมาใช้ด้วย

จากผลการสำรวจศึกษาของบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา ได้พิจารณาเลือกบริเวณจุดที่ตั้งท่าอากาศยานทั้งหมดรวม 6 แห่ง ปรากฏว่ามีเพียง 3 แห่ง ที่สมควรจะเลือกเป็นที่ก่อสร้างท่าอากาศยาน ส่วนบริเวณเขตติดต่อระหว่าง 2 จังหวัดไม่มีที่เหมาะสมจะใช้เป็นที่ก่อสร้างท่าอากาศยานได้ ในจำนวนนี้ 2 แห่ง อยู่ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีและอีกแห่งหนึ่งอยู่ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ

  1. บริเวณบ้านดอนนก (ท่าอากาศยานของกรมการขนส่งเดิม)
  2. บริเวณบ้านม่วงเรียง ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นท่าอากาศยานเดิม และกองทัพอากาศ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่แล้ว
  3. บริเวณบ้านชะเอียน เป็นท่าอากาศยานของกองทัพบกจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันใช้ได้กับเครื่องบินขนาดเล็กในราชการของกองทัพบก

จากการเปรียบเทียบข้อได้เปรียบเสียเปรียบจุดต่างๆ สำหรับเลือกเป็นที่ก่อสร้างท่าอากาศยาน โดยได้พิจารณาถึงในด้านวิศวกรรมการก่อสร้างท่าอากาศยาน ด้านเศรษฐกิจและสภาวะแวดล้อมแล้ว เห็นว่าบริเวณที่จะใช้เป็นที่ก่อสร้างท่าอากาศยานพาณิชย์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ บริเวณบ้านม่วงเรียง ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน เป็นที่เหมาะสมที่สุด กล่าวคือ เป็นท่าอากาศยานเดิมของกองทัพอากาศ ซึ่งสร้างไว้เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองและได้เลิกใช้ไป มีเนื้อที่ประมาณ 3,026 ไร่ จะต้องจัดหาที่เพิ่มเติมอีกไม่มากนัก ราคาที่ดินก็ไม่สูงเกินไป บริเวณโดยรอบไม่มีสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคต่อการขึ้นลงของเครื่องบินและการติดตั้งเครื่องช่วยในการเดินอากาศ สภาพพื้นดินเหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ก่อสร้างท่าอากาศยาน และลงทุนต่ำกว่าแห่งอื่นๆ นอกจากนั้น ยังสามารถจะขยายท่าอากาศยานนี้ออกไปในอนาคตได้ง่าย[4]

ท่าอากาศยานในพื้นที่ปัจจุบัน แก้

กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) จึงได้เห็นชอบในการเลือกจุดที่ตั้งท่าอากาศยานที่ ตำบลหัวเตย และให้บริษัทที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดสำหรับการก่อสร้าง พร้อมทั้งได้เสนอโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีนี้ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ 3 (พ.ศ. 2515 - 2519) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาและเห็นว่า ควรจะศึกษาความเหมาะสมในด้านเศรษฐกิจและความต้องการใช้ท่าอากาศยานของจังหวัดนี้และจังหวัดใกล้เคียงให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2516 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ระงับโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีไว้ก่อน โดยนำงบประมาณตามโครงการนี้ไปดำเนินการที่ท่าอากาศยานภูเก็ตแทน

 
ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565

ในปี พ.ศ. 2518 ราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ร้องขอให้รัฐบาลพิจารณาปรับปรุงท่าอากาศยานเพื่อเปิดการบินพาณิชย์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยด่วน กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน) จึงได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ เห็นว่าควรจะก่อสร้างท่าอากาศยานสำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้น เพื่อให้บริการประชาชนและใช้เป็นท่าอากาศยานสำรองของท่าอากาศยานหาดใหญ่และภูเก็ต สำหรับเครื่องบินสายภายในประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดด้วย ทั้งจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากจังหวัดมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ผลผลิตต่างๆ ของจังหวัดมีมาก ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเกษตร การประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ ฯลฯ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด ด้านการคมนาคมมีประชาชนทั้งในประเทศและชาวต่างประเทศเริ่มเดินทางไปทัศนาจรที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้กระทรวงกลาโหมก็มีความประสงค์ที่จะปรับปรุงสนามบินม่วงเรียง ที่ตำบลหัวเตย เพื่อใช้เป็นที่ตั้ง กองบินในภาคใต้ ของกองทัพอากาศ กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน)จึงเห็นว่าหากก่อสร้างท่าอากาศยานที่สามารถใช้ร่วมกันระหว่างกิจการบินพาณิชย์และกิจการทหารด้วยแล้ว ก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณได้มาก ดังนั้นจึงได้ตกลงเลือกสถานที่ก่อสร้างท่าอากาศยานของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน ซึ่งมีระยะทางห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 26 กิโลเมตร

 
ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานีเมื่อปี 2551

กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน) ได้ปรับปรุงแก้ไขแบบก่อสร้าง ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาได้จัดทำไว้เดิมให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน และได้เสนอโครงการนี้ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ 4 (พ.ศ. 2520 -2524) ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี ให้กรมการบินพานิชย์ (กรมท่าอากาศยาน) ดำเนินการในเดือนกรกฎาคม 2521 โดยเป็นการก่อสร้างทางวิ่งขนาดกว้าง 45 เมตร และยาว 2,500 เมตร พร้อมอาคารผู้โดยสารและหอบังคับการบิน

ต่อมาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี ได้เปิดทำการและเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2524 ระยะแรกเปิดทำการบินเส้นทางระหว่าง กรุงเทพฯ – สุราษฎร์ธานี – หาดใหญ่ - สุราษฎร์ธานี – กรุงเทพฯ และเส้นทาง กรุงเทพฯ – สุราษฎร์ธานี – ภูเก็ต – สุราษฎร์ธานี – กรุงเทพฯ สัปดาห์ละ 4 วัน ด้วยเครื่องบินแบบ แอฟโร่ 748 และ โบอิง 737 ต่อมาได้มีการเพิ่มเที่ยวบินที่มีความจุมากขึ้น ตามจำนวนผู้โดยสารและสินค้า ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตโดยเฉลี่ยประมาณ 8% ต่อปี

ต่อมากรมท่าอากาศยานได้ประกาศให้ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีเป็นท่าอากาศยานศุลกากรตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534[3] และระหว่างปี พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2539 มีเที่ยวบินเช่าเหมาจากประเทศเยอรมนี สิงคโปร์ จีน และเกาหลี นำนักท่องเที่ยวมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผลให้ธุรกิจท่องเที่ยวของจังหวัดคึกคักมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน จนในปี พ.ศ. 2539 กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน) ได้ต่อเติมความยาวทางวิ่งเพิ่มอีก 500 เมตร พร้อมเสริมผิวทางวิ่ง ทางขับขยายลานจอดอากาศยาน ติดตั้งเครื่องช่วยการเดินอากาศและระบบไฟฟ้าสนามบินเพิ่มเติม ทำให้มีความยาวทางวิ่งรวม 3,000 เมตร สามารถรองรับอากาศยานพานิชย์แบบเครื่องยนต์ไอพ่นขนาดกลางซึ่งมีความจุประมาณ 300 ที่นั่งได้ รวมทั้งสามารถให้บริการอากาศยานทางทหารได้อย่างปลอดภัย[4]

ในปี พ.ศ. 2564 กรมท่าอากาศยานมีแผนพัฒนาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี ที่ได้รับงบประมาณในปี 63-66 ดังนี้[5]

  1. งานขยายลานจอดอากาศยาน พร้อมระบบไฟฟ้าท่าอากาศยาน และติดตั้งสะพานเทียบอากาศยานพร้อมระบบนำจอด เพื่อให้สามารถรองรับอากาศยาน B737 จากเดิม 5 ลำ ให้สามารถรองรับทั้งหมดได้ 11 ลำ ในเวลาเดียวกัน
  2. งานนำระบบสายไฟลงใต้ดิน
  3. งานปรับปรุงขยายอาคารที่พักผู้โดยสารให้สามารถรองรับผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วน จากเดิม 800 คนต่อชั่วโมง หรือ 2.3 ล้านคนต่อปี เป็น 1,400 คนต่อชั่วโมง หรือ 3.5 ล้านคนต่อปี และสามารถจอดรถยนต์ได้ 700 คัน
  4. งานก่อสร้างเสริมความแข็งแรงทางวิ่ง ก่อสร้างทางขับขนานพร้อมระบบไฟฟ้า
  5. งานก่อสร้างศูนย์ขนส่งผู้โดยสารและปรับปรุงลานจอดรถยนต์ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี

อาคารสถานที่ แก้

อาคารผู้โดยสาร แก้

  • มีอาคารผู้โดยสาร 1 หลัง พื้นที่ 14,196 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารขาเข้าและขาออกได้ 784 คนต่อชั่วโมง รองรับจำนวนผู้โดยสารได้ 6,272 คนต่อวัน
  • ลานจอดเครื่องบินมีพื้นที่ 120×375 เมตร รองรับเครื่องบินได้ 40 เที่ยวบินต่อวัน มีหลุมจอดเครื่องบิน 5 หลุม และหลุมจอดเฮลิคอปเตอร์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 เมตร 4 หลุม[6]

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์) แก้

ทางวิ่งของท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานีมี 1 เส้น พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) ความกว้าง 45 เมตร และมีความยาว 3,000 เมตร พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 เมตร และความยาวข้างละ 75 เมตร โดยการบินพลเรือนกับการบินทหารใช้ทางวิ่งร่วมกัน[6]

ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานีมีทางขับสู่ลานจอด 2 เส้น โดยมีความกว้างเส้นละ 25 เมตร และมีความยาวเส้นละ 275 เมตร โดยอีก 8 เส้นเป็นทางขับฝั่งกองทัพอากาศ[6]

แผนการพัฒนาท่าอากาศยาน แก้

ปลายปี พ.ศ. 2563 กรมท่าอากาศยานมีแผนที่จะก่อสร้างศูนย์ขนส่งผู้โดยสาร และปรับปรุงลานจอดรถยนต์ภายในท่าอากาศยานต่างๆ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่ต้องการให้เชื่อมต่อการเดินทางจากทางอากาศไปทางบกแบบไร้รอยต่อ โดยในปี พ.ศ. 2564 ได้มีแผนนำร่องก่อสร้างก่อนที่ท่าอากาศยาน 2 แห่ง ได้แก่ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี และท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี[7]

รายชื่อสายการบิน แก้

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[8] หมายเหตุ
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ–ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ–ดอนเมือง, เชียงใหม่ ภายในประเทศ
นกแอร์ กรุงเทพฯ–ดอนเมือง ภายในประเทศ

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
เดินอากาศไทย กรุงเทพฯ–ดอนเมือง, กรุงเทพฯ–ดอนเมืองผ่านภูเก็ต, กรุงเทพฯ–ดอนเมืองผ่านหาดใหญ่[4] ภายในประเทศ
การบินไทย กรุงเทพฯ–ดอนเมือง, กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
นอร์ดวินด์แอร์ไลน์ เช่าเหมาลำเฉพาะฤดูกาล: ครัสโนยาสค์, โนโวซีบีสค์, มอสโก–เชเรเมเตียโว[9] ระหว่างประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ เชียงใหม่, หาดใหญ่ ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
มาลินโดแอร์ กัวลาลัมเปอร์-สุบัง ระหว่างประเทศ
แอร์เอเชีย กัวลาลัมเปอร์ ระหว่างประเทศ
กานต์แอร์ อู่ตะเภา ภายในประเทศ
ไทยสมายล์ กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
สปริงแอร์ไลน์ เฉิงตู ระหว่างประเทศ

สถิติ แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[10]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 180,621 1,531 4,646.35
2545 163,321   9.58% 1,510 2,472.06
2546 162,661   0.40% 1,518 2,070.01
2547 202,250   24.34% 1,629 1,858.76
2548 206,342   2.02% 1,793 1,698.92
2549 291,094   41.07% 2,812 1,412.82
2550 359,467   23.49% 3,316 1,061.95
2551 344,748   4.09% 2,904 1,464.76
2552 394,096   14.31% 3,266 1,301.99
2553 505,776   28.34% 4,460 1,152.31
2554 595,184   17.68% 5,251 1,369.13
2555 816,484   37.18% 6,308 1,541.00
2556 1,080,508   32.34% 8,457 1,568.07
2557 1,319,660   22.13% 10,175 1,571.29
2558 1,856,315   40.67% 13,257 1,601.26
2559 2,032,042   9.47% 13,813 1,575.77
2560 2,247,344   10.60% 15,396 1,036.80
2561 2,108,289   6.19% 14,000 1,144.99
2562 1,864,997   11.54% 12,340 829.87

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน แก้

ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 30 กิโลเมตร โดยตั้งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 เข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร และมีลานจอดรถความจุประมาณ 550 คัน

อุบัติเหตุ แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง รายชื่อสนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport) พ.ศ. ๒๕๖๖
  3. 3.0 3.1 "รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากร". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 "ประวัติความเป็นมาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "เปิดแผนพัฒนา "สนามบินสุราษฎร์ฯ" 5 โปรเจกต์". เดลินิวส์. 18 มกราคม 2564. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 "ข้อมูลทั่วไปของท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ผุดศูนย์ขนส่งผู้โดยสารสนามบิน เริ่มที่ "สุราษฎร์-อุบลฯ"". เดลินิวส์. 7 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "รายชื่อสายการบินที่ทำการบินมาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "Surat Thani, Thailand gains first intercontinental route". ch-aviation.com. 22 พฤศจิกายน 2562.
  10. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)