ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี

ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี หรือ สนามบินอุบลราชธานี (อังกฤษ: Ubon Ratchathani International Airport) (IATA: UBPICAO: VTUU) ตั้งอยู่ที่ 297 ถนนเทพโยธี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยตั้งอยู่ในเขตทหารกองทัพอากาศ (กองบิน 21 อุบลราชธานี) ซึ่งท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานีเป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] สร้างขึ้นในปี 2464[2] และได้ประกาศท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534[3] ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 1 กิโลเมตร โดยได้ปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร และแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2562

ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ (ศุลกากร)
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดอำนาจเจริญ
สถานที่ตั้งเลขที่ 297 ถนนเทพโยธี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล124 เมตร / 406 ฟุต
พิกัด15°15′04.60″N 104°52′12.83″E / 15.2512778°N 104.8702306°E / 15.2512778; 104.8702306พิกัดภูมิศาสตร์: 15°15′04.60″N 104°52′12.83″E / 15.2512778°N 104.8702306°E / 15.2512778; 104.8702306
เว็บไซต์https://minisite.airports.go.th/ubonratchathani/
แผนที่
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
UBP
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในประเทศไทย
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
UBP
UBP (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
05/23 3,000 9,842 ยางมะตอย
สถิติ (2563)
ผู้โดยสาร1,063,161
เที่ยวบิน8,704
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี มีรันเวย์ขนาดมาตรฐาน สามารถรองรับผู้โดยสารจากจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ รวมถึงผู้โดยสารจากประเทศเพื่อนบ้าน (ประเทศลาวตอนใต้) ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการบินพาณิชย์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ประวัติ แก้

ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานีได้มีการบินครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2464 ซึ่งขณะนั้นได้เกิดไข้ทรพิษและอหิวาตกโรคโรคระบาดในท้องที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ทางการได้ส่งนายแพทย์และเวชภัณฑ์ โดยทางเครื่องบินไปยังจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อบรรเทาทุกข์ของราษฏร จากนั้นเป็นท่าอากาศยานที่ใช้งานในสงครามเวียดนาม โดยเป็นที่ตั้งของฐานทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ที่ใช้เป็นฐานในการโจมตีเวียดนาม ตั้งอยู่ในบริเวณกองบิน 21 กองทัพอากาศ

เมื่อปี พ.ศ. 2531 ตามมติของคณะรัฐมนตรี (เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า) ในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี ที่มีเป้าหมายที่จะให้ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคอินโดจีน และท่าอากาศยานนานาชาติแห่งแรกของภาคอีสาน โดยต่อมาคณะรัฐมนตรีคราวประชุมเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2532 ได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการพัฒนาท่าอากาศยานอุบลราชธานีให้เป็นท่าอากาศยานพาณิชย์สากล ในปี พ.ศ. 2533 กรมการบินพาณิชย์ได้จัดซื้อที่ดินเพิ่ม และการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร หอบังคับการบิน และลานจอดเครื่องบิน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2535[4]

ในปี พ.ศ. 2561 กรมท่าอากาศยานได้เริ่มปรับปรุงภายในอาคารผู้โดยสารหลังจากไม่ได้มีการปรับปรุงอาคารหลังนี้มานานกว่า 20 ปี โดยทยอยปิดทีละส่วน จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562[5][6]

อาคารสถานที่ แก้

ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานีและกองบิน 21 มีพื้นที่ท่าอากาศยานรวมกันทั้งหมด 3,876 ไร่[7]

อาคารผู้โดยสาร แก้

  • มีอาคารผู้โดยสาร 1 หลัง ให้บริการผู้โดยสารภายในประเทศและระหว่างประเทศ มี 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยกว่า 18,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้จำนวน 1,000 คน/ชั่วโมง หรือประมาณ 2,880,000 คน/ปี สำหรับการออกแบบตกแต่งภายในของอาคารที่พักผู้โดยสารหลังนี้ จะเน้นโปร่ง โล่งสบาย ทันสมัย และนำศิลปวัฒนธรรมประเพณีของ จ.อุบลราชธานี เข้ามาสอดแทรก รวมทั้งนำลวดลายผ้าไหมของ จ.อุบลราชธานี มาแสดงโชว์เป็นลายผนังในพื้นที่ต่างๆ เช่น เคาน์เตอร์เช็คอิน และตามทางเดินภายในอาคาร เป็นต้น[6]
  • ลานจอดอากาศยานขนาดกว้าง 120 เมตร ยาว 270 เมตร พื้นผิวเป็นคอนกรีต สามารถจอดอากาศยานได้พร้อมกัน 5 ลำ และสามารถรองรับเที่ยวบินได้สูงสุด 40 เที่ยวบินต่อวัน
 
ฝั่งผู้โดยสารขาออกภายในประเทศ ท่าอากาศยานอุบลราชธานี

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์) แก้

ทางวิ่งของท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานีมี 1 เส้น ความกว้าง 45 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และมีความยาว 3,000 เมตร พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 เมตร และความยาวข้างละ 70 เมตร โดยการบินพลเรือนกับการบินทหารใช้ทางวิ่งร่วมกัน สามารถรองรับอากาศยาน CODE E

ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานีมีทางขับสู่ลานจอดอีก 2 เส้น โดยมีความกว้างเส้นละ 30 เมตร และมีความยาวเส้นละ 230 เมตร

แผนการพัฒนาท่าอากาศยาน แก้

ปลายปี พ.ศ. 2563 กรมท่าอากาศยานมีแผนที่จะก่อสร้างศูนย์ขนส่งผู้โดยสาร และปรับปรุงลานจอดรถยนต์ภายในท่าอากาศยานต่างๆ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่ต้องการให้เชื่อมต่อการเดินทางจากทางอากาศไปทางบกแบบไร้รอยต่อ โดยในปี พ.ศ. 2564 ได้มีแผนนำร่องก่อสร้างก่อนที่ท่าอากาศยาน 2 แห่ง ได้แก่ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี และท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี[8]

รายชื่อสายการบิน แก้

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[9][10] หมายเหตุ
การบินไทย กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
เชียงใหม่ ภายในประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ

บริการ Fly’n’Ride service ของนกแอร์ (Nok Air) สู่จังหวัดต่าง ๆ ได้แก่

  • กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - อุบลราชธานี - มุกดาหาร

รายชื่อสายการบินบริการขนส่งสินค้า แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทย กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ [11]
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง [11]
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง [11]

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ดานัง ระหว่างประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย ภูเก็ต ภายในประเทศ
อู่ตะเภา ภายในประเทศ
กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
เชียงใหม ภายในประเทศ
วัน-ทู-โก กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
เชียงใหม่ ภายในประเทศ
กานต์แอร์ อู่ตะเภา ภายในประเทศ
เชียงใหม่ ภายในประเทศ
นกแอร์ อุดรธานี ภายในประเทศ
หาดใหญ่ ภายในประเทศ
ภูเก็ต ภายในประเทศ
อู่ตะเภา ภายในประเทศ
โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ เชียงใหม่ ภายในประเทศ
เดินอากาศไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยสมายล์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ

สถิติ แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[12]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 247,242 1,832 763.64
2545 228,856   7.44% 1,770 964.26
2546 252,913   10.51% 2,136 984.22
2547 352,196   39.26% 2,610 1,171.67
2548 387,159   9.93% 2,986 1,196.29
2549 372,008   3.91% 3,265 1,226.92
2550 382,899   2.93% 3,297 1,192.68
2551 393,860   2.86% 3,392 1,415.50
2552 393,451   0.10% 2,932 1,467.53
2553 453,082   15.16% 3,904 1,401.71
2554 614,681   35.67% 5,379 1,531.75
2555 733,718   19.37% 5,606 1,596.43
2556 835,688   13.90% 6,370 1,748.94
2557 1,076,957   28.87% 7,752 1,818.45
2558 1,467,256   36.24% 10,951 2,467.49
2559 1,726,061   17.64% 11,697 2,303.48
2560 1,791,828   3.81% 12,042 1,683.96
2561 1,832,340   2.26% 11,795 725.54
2562 1,790,734   2.27% 12,017 575.18
2563 1,063,161   40.63% 8,704 259.36

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน แก้

ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานีตั้งอยู่ห่างจากถนนอุปลีสานประมาณ 1,200 เมตร หรือห่างจาก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (สีคิ้ว-เดชอุดม) ประมาณ 2 กิโลเมตร มีลานจอดสามารถจอดรถจักรยานยนต์ได้ประมาณ 100 คัน และลานจอดรถยนต์ทั้งหมด 2 ลานจอด สามารถจุรถยนต์ได้ประมาณ 700 คัน คือ[11]

  • ลานจอดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร เป็นลานจอดแบบไม่มีหลังคา มีกล้องวงจรปิด มีพื้นที่จอดได้ประมาณ 300 คัน
    • คิดค่าบริการชั่วโมงละ 15 บาท หากจอดรถ 8 ชั่วโมงขึ้นไปจะคิดเป็น 1 วัน วันละ 150 บาท
    • หากผู้โดยสารมีความประสงค์จะจอดรถค้างคืน กรุณาแจ้งพนักงานที่ลานจอดก่อน
  • ลานจอดตรงข้ามอาคารคลังสินค้า เป็นลานจอดแบบไม่มีหลังคา มีพื้นที่จอดได้ประมาณ 400 คัน
    • ไม่มีค่าบริการ
    • สามารถจอดรถบัสได้ 9 คัน มีเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนประจำ

ที่ท่าอากาศยานมีบริการรถเช่า และบริการแท็กซี่มิเตอร์ราคาเริ่มต้น 40 บาท และรถ Smart Bus เส้นทาง สนามบิน – ขนส่ง – สนามบิน อัตราค่าบริการ 20 บาทตลอดสาย[11]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน
  2. คำแถลงการณ์ของกรมเสนาธิการทหารบก เรื่อง สนามบินสำหรับจังหวัดอุบลราชธานี
  3. "รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากรของกรมท่าอากาศยาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2020-05-17.
  4. ประวัติท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
  5. "พบกับโฉมใหม่สนามบินอุบลฯ มี.ค.นี้". กรุงเทพธุรกิจ. 7 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 "คืบหน้าปรับปรุงอาคารผู้โดยสารสนามบินอุบลฯ เสร็จ ก.พ. 62". เดลินิวส์. 20 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานจากเว็บไซต์ กรมท่าอากาศยาน
  8. "ผุดศูนย์ขนส่งผู้โดยสารสนามบิน เริ่มที่ "สุราษฎร์-อุบลฯ"". เดลินิวส์. 7 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ตารางเที่ยวบิน ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
  10. สายการบินที่ให้บริการในปัจจุบัน ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 สิ่งอำนวยความสะดวกท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
  12. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2020-05-19.