การบินไทยสมายล์
บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ส จำกัด เป็นสายการบินในภูมิภาคไทยที่เริ่มกิจการใน พ.ศ. 2555 และเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมดของการบินไทย[1]
| |||||||
ก่อตั้ง | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 | ||||||
เลิกดำเนินงาน | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 | ||||||
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ||||||
เมืองสำคัญ | ท่าอากาศยานเชียงใหม่ | ||||||
สะสมไมล์ | รอยัลออร์คิดพลัส | ||||||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ (สมาชิกคอนเน็กติง) | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 20 | ||||||
จุดหมาย | 31 (อัปเดตล่าสุด 1 พ.ค. 63) | ||||||
บริษัทแม่ | การบินไทย | ||||||
สำนักงานใหญ่ | 89 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร | ||||||
บุคลากรหลัก | วิเศรษฐ์ สนธิชัย รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร | ||||||
เว็บไซต์ | http://www.thaismileair.com |
ประวัติ
แก้ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554 นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย(ในขณะนั้น) ได้ออกมาพูดเกี่ยวกับไทยสมายล์ ซึ่งแผนเดิมจะเริ่มจากเส้นทางภายในประเทศก่อน ได้แก่ อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น เชียงราย และสุราษฎร์ธานี[2] ในวันที่ 29 มิถุนายน 2555 การบินไทย และไทยสมายล์ได้รับมอบเครื่องบินลำแรก คือ HS-TXA (อุบลราชธานี)[3] จากนั้นวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ไทยสมายล์ได้เริ่มบินเที่ยวแรก คือ กรุงเทพ-มาเก๊า ด้วยเครื่องบินแอร์บัส A320-200 ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้โดยสารเป็นอย่างดี โดยเที่ยวบินแรกมีอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (เคบินแฟคเตอร์) 100% ส่วนยอดจองตั๋วโดยสารล่วงหน้าในเส้นทางบินอื่นๆ ยอดจองมีอย่างต่อเนื่องในทุกเส้นทางบินในประเทศที่เปิดทำการบิน โดยมีเคบินแฟคเตอร์เฉลี่ย 70-72%[4]
ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ(พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติในขณะนั้น) ไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิดไทยสมายล์อย่างเป็นทางการ[5] ในช่วงแรก ไทยสมายล์ทำการบินโดยใช้รหัสสายการบินเดียวกันกับการบินไทย คือ TG และหลังจากนั้น วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 การบินไทยสมายล์ได้รับรหัสสายการบินจากกรมการบินพลเรือนของตัวเอง คือ WE[6]
ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ไทยสมายล์ได้เพิ่มฐานการบิน โดยบินจากท่าอากาศยานดอนเมือง ไปยังเชียงใหม่ ขอนแก่น และภูเก็ต ซึ่งเป็นการแบ่งมาเส้นทางมาจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิบางส่วน[7]
ในปีพ.ศ. 2558 ไทยสมายล์ได้เปลี่ยนแนวคิดจาก Trendy – Friendly – Worthy เป็น SMART – SABAI – SMILE ซึ่งในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558 ได้เปิดตัวเครื่องแบบพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินใหม่ ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 8 รูปแบบ[8] และในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 การบินไทยสมายล์ได้เปิดตัวเครื่องแบบพนักงานบริการภาคพื้นใหม่เช่นกัน[9]
วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 ไทยสมายล์ได้ย้ายฐานการบินจากท่าอากาศยานดอนเมืองกลับไปรวมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[10] เพื่อให้สามารถบริหารจัดการการบินของไทยสมายล์ง่ายขึ้น
ในปี 2562 ไทยสมายล์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ ไออาตา (IATA)[11] และในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ไทยสมายล์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกคอนเน็กติงเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์[12]
ในปี พ.ศ. 2566 การบินไทยได้ยุติบทบาทของสายการบินไทยสไมล์ โดยรวมธุรกิจทั้งหมดมาบริหารจัดการภายใต้บริษัทเดียว[13] ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของบริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด มีผลประกอบการขาดทุนมาโดยตลอด โดยเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2564 บริษัทขาดทุนสะสมกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท[14] โดยไทยสไมล์ได้บินจำนวน 4 เส้นทางสุดท้ายก่อนยุติการดำเนินงานเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม[15]
จุดหมายปลายทาง
แก้ไทยสมายล์บินไปยัง 31 จุดหมายปลายทางใน 9 ประเทศบนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ไทยสมายล์ให้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยรองรับเที่ยวบินให้สามารถเดินทางต่อกับสายการบินไทยได้อย่างราบรื่น จุดหมายแรกที่การบินไทยสมายล์เริ่มทำการบินคือ มาเก๊า โดยเริ่มให้บริการในเดือนกรกฎาคม จำนวน 2 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป ทั้งนี้ แต่เดิมสายการบินไทยสมายล์ได้มีการให้บริการผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง ไปยังจุดหมายปลายทางทั้งสิ้น 3 เส้นทางบินไป - กลับ ได้แก่ เชียงใหม่ วันละ 3 เที่ยวบิน, ขอนแก่น วันละ 3 เที่ยวบิน และ ภูเก็ต วันละ 2 เที่ยวบิน นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พุทธศักราช 2557 มาโดยตลอดจนกระทั่งถึงวันที่ 15 มกราคม พุทธศักราช 2560 ได้ให้บริการผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นวันสุดท้าย และได้ทำการย้ายฐานการบินไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งหมด นับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พุทธศักราช 2560 ต่อมาวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 การบินไทยสมายล์ ยกเลิกเที่ยวบินกรุงเทพแวะภูเก็ตไปกว่างโจว โดยเปลี่ยนเป็นบินตรง กรุงเทพไปกว่างโจว
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ไทยสมายล์ เปิดเส้นทางบินใหม่ไปกลับระหว่างฮ่องกงและภูเก็ต เที่ยวบิน WE608/WE609
ข้อตกลงการทำการบินร่วม
แก้ในปี พ.ศ. 2561 ทั้งไทยสมายล์และการบินไทยได้มีข้อตกลงการทำการบินร่วมกับนกแอร์ในเส้นทางดอนเมือง-แม่ฮ่องสอน โดยนกแอร์เป็นผู้ทำการบิน[16] (เที่ยวบินแรก วันที่ 25 มีนาคม 2561) และได้ทำการยกเลิกเส้นทางนี้ไปแล้ว ข้อตกลงระหว่างสายการบินไทย และนกแอร์ได้สิ้นสุดลง
ฝูงบิน
แก้ฝูงบินของไทยสมายล์มีอากาศยานดังนี้:
ชนิดเครื่องบิน | แบบ | ประจำการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
แอร์บัส เอ320-200 | 320 | 0 | โอนไปการบินไทยทั้งหมด |
32S | 0 | ||
รวมทั้งหมด | 0 |
การให้บริการ
แก้การบินไทยสมายล์มีการบริการที่มากกว่าสายการบินโลว์คอสต์ทั่วไป เช่น บริการเลือกที่นั่งและบริการเช็คอินเคานต์เตอร์โดยไม่คิดเงินเพิ่ม ให้อาหารว่างและเครื่องดื่มฟรีแก่ผู้โดยสารบนทุกเที่ยวบิน(ยกเว้นช่วงสถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้เป็นไปตามประกาศกพท.[17]) และให้น้ำหนักกระเป๋าสัมภาระ 20 กิโลกรัม แก่ผู้โดยสารชั้นประหยัด “Smile” และ 30 กิโลกรัม ในชั้น “Smile Plus” เท่ากับทุกเที่ยวบินของการบินไทย
เช็คอิน
แก้เที่ยวบินที่ไทยสมายล์ให้บริการเช็คอินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ Row B [18]
ห้องโดยสาร
แก้ห้องโดยสารบนเครื่องบินของการบินไทยสมายล์ในเส้นทางบินในประเทศได้รับการจัดวางเป็นที่นั่งชั้นประหยัด “Smile” จำนวน 156 ที่นั่ง และชั้นธุรกิจสำหรับเส้นทางบินระยะสั้น “Smile Plus” จำนวน 12 ที่นั่ง ส่วนเส้นทางบินระหว่างประเทศนั้นจัดวางที่นั่งชั้นประหยัด “Smile” จำนวน 150 ที่นั่ง และ ชั้นประหยัดพรีเมี่ยม “Smile Plus” จำนวน 16 ที่นั่ง โดยเลือกใช้เก้าอี้รุ่นใหม่ที่นั่งสบาย และการออกแบบตกแต่งภายในห้องโดยสารที่สอดคล้องกับบุคลิกที่สนุกสนานและทันสมัยของการบินไทยสมายล์
อาหารและเครื่องดื่ม
แก้- ผู้โดยสารในชั้น สมายล์พลัส จะได้อาหารร้อนและเครื่องดื่ม
- ผู้โดยสารในชั้นประหยัดทุกที่นั่งของการบินไทยสมายล์จะได้รับ สมายล์แพ็ค ประกอบด้วยขนมและเครื่องดื่มให้บริการฟรี
ผู้สนับสนุน
แก้ปัจจุบัน ไทยสมายล์เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของสโมสรฟุตบอลราชบุรี มิตรผล[19][20]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Thai Smile focuses on turning around unprofitable Thai Airways routes as new AOC is secured". Centre for Aviation (CAPA). 3 April 2014.
- ↑ "ดีเดย์ ก.ค.55 เปิด 'ไทยสมายล์' เส้นทางในประเทศ". ไทยรัฐ. 20 กันยายน 2554. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "การบินไทยสมายล์รับมอบเครื่องบินลำแรก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ 2020-05-03.
- ↑ ""ไทยสมายล์" พร้อมเหินฟ้า สยายปีกบินทั่วไทยก่อนรุกตลาดอาเซียน". ไทยรัฐ. 9 กรกฎาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พิธีเปิดไทยสมาล์อย่างเป็นทางการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-25. สืบค้นเมื่อ 2020-05-03.
- ↑ "การบินไทยสมายล์พร้อมทำการบินด้วยรหัสใหม่ WE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ 2020-05-03.
- ↑ "การบินไทยทำแผนฟื้นฟู ลดขาดทุนหมื่นล้าน ส่ง 'ไทยสมายล์' บินดอนเมืองวันแรก". ไทยรัฐ. 8 สิงหาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ปังมั้ย! ยูนิฟอร์มใหม่ "ไทยสมายล์" ออกแบบโดย "มิลิน"". positioningmag. 18 กันยายน 2558. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ไทยสมายล์ ปรับลุค!! พนักงานบริการภาคพื้นยกชุด". เดลินิวส์. 1 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ไทยสมายล์ย้ายไปสุวรรณภูมิ16ม.ค.2560". สนุก.คอม. 24 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ไทยสมายล์ได้รับบรรจุเป็นสมาชิกของไออาตา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ 2020-05-03.
- ↑ "ไทยสมายล์เข้าร่วมเป็น Connecting Partner". กรุงเทพธุรกิจ. 25 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "การบินไทย จ่อยุบไทยสมายล์ ควบรวม-ลดต้นทุนลุ้นผล ก.ค.นี้". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-02-22. สืบค้นเมื่อ 2023-02-23.
- ↑ kaset (2023-02-22). ""ไทยสมายล์" 9 ปี ขาดทุนสะสมกว่า 1.5 หมื่นล้าน". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2023-02-23.
- ↑ "ปิดตำนาน 11 ปี 'สายการบินไทยสมายล์' โพสต์คลิปอำลาผู้โดยสารครั้งสุดท้าย". กรุงเทพธุรกิจ. 31 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "การบินไทย นกแอร์ ไทยสมายล์ ร่วม MOU เที่ยวบินร่วมบริการ บินตรงสู่แม่ฮ่องสอน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ 2020-05-03.
- ↑ ประกาศกพท. เรื่อง แนวปฏิบัติในการให้บริการผู้โดยสารในเส้นทางการบินภายในประเทศในระหว่างสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
- ↑ "ไทยสมายล์ขอเรียนแจ้งผู้โดยสารให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงเคาน์เตอร์เช็คอิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-27. สืบค้นเมื่อ 2020-05-03.
- ↑ ""ไทยฮอนด้า" ทุ่ม 100 ล้าน ลุยไทยลีก ตั้งเป้าท็อป 10". สืบค้นเมื่อ 29 January 2017.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สายการบินแรก!ราชบุรีจับมือไทยสมายล์". สืบค้นเมื่อ 15 September 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การบินไทยสมายล์