เขตจตุจักร

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

จตุจักร เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

เขตจตุจักร
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Chatuchak
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
แหล่งรวมพันธุ์ไม้ หลากหลายการคมนาคม เกษตรกรคนนิยม ชมสินค้าตลาดนัด
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตจตุจักร
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตจตุจักร
พิกัด: 13°49′43″N 100°33′35″E / 13.82861°N 100.55972°E / 13.82861; 100.55972
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด32.908 ตร.กม. (12.706 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด154,003[1] คน
 • ความหนาแน่น4,679.80 คน/ตร.กม. (12,120.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10900
รหัสภูมิศาสตร์1030
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 5 ซอยวิภาวดีรังสิต 34 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/chatuchak
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

เขตจตุจักรตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติศาสตร์ แก้

แต่เดิม ตำบลลาดยาว เป็นท้องที่ปกครองของอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร สภาพทั่วไปเป็นทุ่งนา มีประชากรตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ตามริมคลองสายหลัก เช่น คลองเปรมประชากร คลองบางซื่อ คลองบางเขน คลองลาดยาว เป็นต้น ต่อมาจึงได้มีชุมชนและบ้านจัดสรรต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของตัวเมืองในช่วงหลังจาก พ.ศ. 2507 อันเป็นปีที่ขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพซึ่งครอบคลุมตำบลลาดยาวด้วย

ใน พ.ศ. 2514 มีประกาศรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งเปลี่ยนการเรียกคำว่าตำบลและอำเภอใหม่ ตำบลลาดยาวจึงมีฐานะเป็น แขวงลาดยาว ขึ้นกับเขตบางเขน

ภายหลังพื้นที่เขตบางเขนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกแขวงลาดยาวและประกาศจัดตั้งเป็น เขตจตุจักร ตามชื่อของสวนจตุจักรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขต พร้อมกับการจัดตั้งเขตดอนเมือง ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงในเขตจตุจักรใหม่ โดยจัดตั้งแขวงเสนานิคม แขวงจันทรเกษม แขวงจอมพล และแขวงจตุจักร แยกออกจากแขวงลาดยาว เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและการให้บริการของเขต เพราะเดิมเขตจตุจักรมีเพียงแขวงลาดยาวเพียงแขวงเดียว แต่มีพื้นที่กว้างขวางและมีประชากรอาศัยหนาแน่น จึงทำให้มีเลขที่บ้านซ้ำกันเป็นจำนวนมาก โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน[2][3] ทำให้ในปัจจุบัน เขตจตุจักรแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่น
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
ลาดยาว Lat Yao
10.690
39,304
3,676.71
 
2.
เสนานิคม Sena Nikhom
2.826
20,317
7,189.31
3.
จันทรเกษม Chan Kasem
6.026
37,787
6,270.66
4.
จอมพล Chomphon
5.488
35,336
6,438.78
5.
จตุจักร Chatuchak
7.878
21,259
2,698.53
ทั้งหมด
32.908
154,003
4,679.80

ประชากร แก้

การคมนาคม แก้

ทางสายหลัก
ทางสายรอง
ทางด่วน
ทางน้ำ
รถไฟฟ้า

รถโดยสารประจำทาง

สถานที่สำคัญ แก้

สถานศึกษา แก้

ระดับอุดมศึกษา แก้

ระดับประถมศึกษา/มัธยมศึกษา แก้

สถานที่สำคัญทางราชการ แก้

สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา แก้

พิพิธภัณฑ์และสวนสาธารณะ แก้

สถานที่สำคัญอื่นๆ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
  4. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้