ถนนประเสริฐมนูกิจ

ถนนประเสริฐมนูกิจ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 351 สายมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์–คันนายาว หรือที่นิยมเรียกกันว่า ถนนเกษตร-นวมินทร์ เป็นเส้นทางจราจรระหว่างท้องที่เขตจตุจักร เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม และเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร มีระยะทาง 11.656 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณถนนงามวงศ์วานตัดกับถนนพหลโยธินที่สี่แยกเกษตร เขตจตุจักร เป็นถนนขนาด 8 ช่องทางจราจร มุ่งไปทางทิศตะวันออกในพื้นที่แขวงเสนานิคม ข้ามคลองบางบัวเข้าสู่พื้นที่เขตลาดพร้าวในแขวงจรเข้บัว ตัดกับถนนลาดปลาเค้า จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เข้าสู่แขวงลาดพร้าว ตัดกับถนนสุคนธสวัสดิ์และถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าสู่พื้นที่แขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม ข้ามคลองลำเจียก ตัดกับถนนรัชดา-รามอินทรา ซ้อนกับแนวปากทางถนนนวลจันทร์และข้ามคลองบางขวดก่อนตัดกับถนนนวมินทร์ จากนั้นลดเหลือ 6 ช่องจราจร เข้าพื้นที่แขวงคลองกุ่ม ตรงไปทางทิศเดิม วกขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบวบขม ข้ามคลองลำปลาดุกเข้าสู่พื้นที่แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว และข้ามคลองครุก่อนไปสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (ถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน)[1] ซึ่งในอนาคตอาจมีการก่อสร้างเป็นทางแยกต่างระดับด้วย

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 351
ถนนประเสริฐมนูกิจ
ถนนประเสริฐมนูกิจตัดกับถนนประดิษฐมนูธรรม.jpg
ถนนประเสริฐมนูกิจช่วงที่ตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรม
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว12.328 กิโลเมตร (7.660 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตกถนนพหลโยธิน ใน เขตจตุจักร
ปลายทางทิศตะวันออก ทางบริการด้านใน ทล.พ.9 ใน เขตคันนายาว
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ประวัติ

แก้

ชื่อถนนประเสริฐมนูกิจตั้งตามราชทินนามของหลวงประเสริฐมนูกิจ (ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์; พ.ศ. 2439–2512) นักกฎหมายและศาสตราจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี พ.ศ. 2500 ราชทินนามหลวงประเสริฐมนูกิจเป็นราชทินนามคู่กับหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์; พ.ศ. 2443–2526)

เมื่อปี พ.ศ. 2546 กรุงเทพมหานคร (ดำริของนายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ได้ให้ทางเขตวังทองหลางและเขตห้วยขวางเปลี่ยนชื่อถนนประดิษฐ์มนูธรรม (เลียบทางด่วนรามอินทรา–อาจณรงค์) เฉพาะช่วงถนนพระราม 9 ถึงถนนลาดพร้าวเป็นชื่อ "ถนนประเสริฐมนูกิจ" โดยให้เหตุผลว่าถนนสายดังกล่าวมีความยาวมาก ทำให้การระบุที่อยู่และชื่อผู้รับทางไปรษณีย์ทำได้ไม่สะดวก อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนชื่อถนนประดิษฐ์มนูธรรมช่วงดังกล่าวได้ก่อให้เกิดเสียงคัดค้านขึ้นทั่วไป ทางคณะกรรมการกลางตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย วงเวียน ทางแยก คลอง สะพาน และสถานที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานครจึงได้พิจารณาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้เปลี่ยนชื่อถนนประเสริฐมนูกิจกลับมาเป็นถนนประดิษฐ์มนูธรรมตามเดิม

จากนั้น เมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 คณะกรรมการกลางตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย วงเวียน ทางแยก คลอง สะพาน และสถานที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่วมกับกรมทางหลวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นชอบให้ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 351 ที่นิยมเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า "ถนนเกษตรตัดใหม่" หรือ "ถนนเกษตร-นวมินทร์" เป็น ถนนประเสริฐมนูกิจ แทน

สถานที่สำคัญที่ถนนตัดผ่าน

แก้

รายชื่อทางแยก

แก้
รายชื่อทางแยกบน   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 351 (ถนนประเสริฐมนูกิจ) ทิศทาง: เกษตรศาสตร์–คันนายาว
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  เกษตรศาสตร์–คันนายาว (ถนนประเสริฐมนูกิจ)
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกเกษตรศาสตร์ เชื่อมต่อจาก:   ถนนงามวงศ์วาน (ทางลอด)
ถนนพหลโยธิน ไปบางเขน ถนนพหลโยธิน ไปลาดพร้าว
1+600 สะพานข้ามคลองบางบัว
2+110 แยกประเสริฐมนูกิจ-ลาดปลาเค้า ถนนลาดปลาเค้า ไป   ถนนรามอินทรา (แยกลาดปลาเค้า) ถนนลาดปลาเค้า ไปแยกวังหิน
4+120 แยกเสนานิเวศน์ ซอยประเสริฐมนูกิจ 27 ไปหมู่บ้านเสนานิเวศน์ ซอยประเสริฐมนูกิจ 18 ไปถนนเสนานิคม 1 (แยกวังหิน)
4+380 ซอยประเสริฐมนูกิจ 29 (มัยลาภ) ไป   ถนนรามอินทรา ไม่มี
5+500 แยกสุคนธสวัสดิ์ ถนนสุคนธสวัสดิ์ ไปถนนประดิษฐ์มนูธรรม ถนนสุคนธสวัสดิ์ ไปแยกโรงไม้
6+215 แยกประดิษฐ์มนูธรรม ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ไป   ถนนรามอินทรา (ทางแยกต่างระดับวัชรพล) ไม่มี
  ทางพิเศษฉลองรัช ไป   ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก)
(ทางพิเศษพาดผ่านถนน)
  ทางพิเศษฉลองรัช ไปบางนา
(ทางพิเศษพาดผ่านถนน)
ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ไปถนนรามอินทรา ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ไปถนนลาดพร้าว
7+130 ถนนคลองลำเจียก ไปถนนนวลจันทร์ ถนนคลองลำเจียก ไปถนนประดิษฐ์มนูธรรม
8+097 แยกประเสริฐมนูกิจ–รัชดา-รามอินทรา   ทล.350 ไปถนนนวลจันทร์, มีนบุรี (  ถนนรามอินทรา) ไม่มี
8+800 ถนนนวลจันทร์ ไปแยกนวลจันทร์–รัชดา-รามอินทรา ไม่มี
9+150 แยกนวลจันทร์-นวมินทร์ ถนนนวมินทร์ ไป   ถนนรามอินทรา (กม.8) ถนนนวมินทร์ ไปบางกะปิ
12+328   ทล.3902 ไป   ถนนรามอินทรา (ทางแยกต่างระดับรามอินทรา) ไม่มี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

เชิงอรรถ

แก้
  1. ช่วงตั้งแต่ถนนนวมินทร์ถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 เป็นช่วงที่ตัดขึ้นใหม่ในภายหลังและเปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2552 มีลักษณะเป็นถนนขนาด 6-8 ช่องทางจราจร

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°49′51″N 100°37′04″E / 13.830759°N 100.617860°E / 13.830759; 100.617860