หลวงประเสริฐมนูกิจ (ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำมาตย์ตรี หลวงประเสริฐมนูกิจ นามเดิม ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์ เป็นนักกฎหมายและอาจารย์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเป็นศาสตราจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ราชทินนามของหลวงประเสริฐมนูกิจนั้นเป็นราชทินนามคู่กับปรีดี พนมยงค์และถูกนำไปใช้เป็นชื่อของถนนประเสริฐมนูกิจ ในกรุงเทพมหานคร
หลวงประเสริฐมนูกิจ (ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์) | |
---|---|
เกิด | ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 |
เสียชีวิต | 16 เมษายน พ.ศ. 2512 (72 ปี) ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | นักกฎหมาย |
คู่สมรส | พิศ ศิริสัมพันธ์ พร ศิริสัมพันธ์ |
บุตร | ศิริพงษ์ ประเสริฐมนูกิจ พงษ์ศิริ ประเสริฐมนูกิจ ศิริทัศน์ ประเสริฐมนูกิจ นรชัย ประเสริฐมนูกิจ |
บิดามารดา | สี ศิริสัมพันธ์ ถนอม โรหิตรัตนะ |
การศึกษา
แก้เริ่มศึกษาที่โรงเรียนบพิตพิมุข โดยจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่อพ.ศ. 2447 หลังจากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนราชบูรณะและโรงเรียนอัสสัมชัญ ต่อมาได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนราชวิทยาลัย(โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์)และได้รับทุนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.6)ให้ไปศึกษาที่ Aldenham School ประเทศอังกฤษ และUniversity of Cambridge (มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์) ประเทศอังกฤษ
หน้าที่การงาน
แก้- ข้าหลวงเรื่องกฎหมายและศาลอยู่ทางภาคเหนือ (ดูแล 4 จังหวัด)
- อาจาร์ยสอนที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สำนักงานทนายความหลวงประเสริฐและคณะ
ลูกศิษย์
แก้นักการเมือง
แก้บรรพบุรุษ
แก้บรรพบุรุษของหลวงประเสริฐมนูกิจ (ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์)
พระนนทบุรี (ม่วง) | ||||||||||||||||
พระยาไกรโกษา (สองเมือง) | ||||||||||||||||
หลวงเสน่ห์สรชิต (แช่ม) | ||||||||||||||||
สี ศิริสัมพันธ์ | ||||||||||||||||
หลวงประเสริฐมนูกิจ (ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์) | ||||||||||||||||
ถนอม โรหิตรัตนะ | ||||||||||||||||
หมายเหตุ : คุณ ถนอม ภายหลังได้แต่งงานใหม่กับ พระยาพิศณุแสน (แดง โรหิตรัตนะ)
การเชิดชูเกียรติ
แก้- ถนนประเสริฐมนูกิจ (พ.ศ. 2545) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 351 มีระยะทาง 9.178 กิโลเมตร ตั้งตามราชทินนามของ"หลวงประเสริฐมนูกิจ"
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[1]
- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[2]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[3]
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕๘, ๒๓ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๓๐, ๑๕ ธันวาคม ๒๔๗๘