อำมาตย์
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
อำมาตย์ คือ ข้าราชการ ข้าเฝ้า ขุนนาง (มาจากคำว่า อมาตย์) ที่ปรึกษาชั้นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ คอยถวายความเห็นแด่พระมหากษัตริย์เพื่อให้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย เคยใช้เป็นยศพลเรือน [1]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้เป็นคำเรียกตำแหน่งข้าราชพลเรือน จัดเป็น 3 ชั้น คือ รองอำมาตย์ อำมาตย์ มหาอำมาตย์ ชั้นหนึ่งมี 3 คือ เอก โท ตรี แต่ชั้นมหาอำมาตย์มีสูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง คือ มหาอำมาตย์นายก เป็นชั้นพิเศษ ยศดังกล่าวนี้ถูกเลิกใช้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475[2][3]
ที่ปรึกษาชั้นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับพระราชาเช่น สมุหนายก มีหน้าที่ ผู้ว่าราชการแทนพระมหากษัตริย์บริหารแผ่นดิน สมุหพระกลาโหม ควบคุมเกี่ยวกับทางทหารทั่วประเทศ มหาดเล็ก และ ราชครู
ยศข้าราชการพลเรือน
แก้ยศ | มหาอำมาตย์นายก | มหาอำมาตย์เอก | มหาอำมาตย์โท | มหาอำมาตย์ตรี | มหาอำมาตย์จัตวา | อำมาตย์เอก | อำมาตย์โท | อำมาตย์ตรี | รองอำมาตย์เอก | รองอำมาตย์โท | รองอำมาตย์ตรี | ว่าที่รองอำมาตย์ตรี | ราชบุรุษ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
RTCSS | Maha Am-mat Nayok | Maha Am-mat Ek | Maha Am-mat Tho | Maha Am-mat Tri | Maha Am-mat Chattawa | Am-mat Ek | Am-mat Tho | Am-mat Tri | Rong Am-mat Ek | Rong Am-mat Tho | Rong Am-mat Tri | Wa-thi Rong Ammat Tri | Ratcha Bu-rut | |
อักษรย่อ | ไม่มี | ม.อ.อ. | ม.อ.ท. | ม.อ.ต. | ม.อ.จ. | อ.อ. | อ.ท. | อ.ต. | ร.อ.อ. | ร.อ.ท. | ร.อ.ต. | ว่าที่ ร.อ.ต. | ร.บ. | |
Anglicised version | Field Marshal | General | Lieutenant General | Major General | Brigadier
(not obtainable anymore) |
Colonel | Lieutenant Colonel | Major | Captain | Lieutenant | Second Lieutenant | Second Lieutenant | Officer Cadet | |
UK equivalent | Field Marshal | General | Lieutenant General | Major General | Brigadier | Colonel | Lieutenant Colonel | Major | Captain | Lieutenant | Second Lieutenant | Second Lieutenant | Officer Cadet | |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ http://guru.sanook.com/dictionary/พจนานุกรม_ไทย-ไทย_ราชบัณฑิตยสถาน/ก/
- ↑ http://guru.sanook.com/dictionary/พจนานุกรม_ไทย-ไทย_อ.เปลื้อง_ณ_นคร/ก/
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2019-09-05.