เขตบางนา

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

บางนา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

เขตบางนา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Bang Na
เซ็นทรัลซิตีบางนา
เซ็นทรัลซิตีบางนา
คำขวัญ: 
สู่บูรพาวิถี ของดีสายใจไทย ศูนย์ประชุมใหญ่ไบเทค ร้านอาหารใหญ่เล็กรสเลิศ
สี่วัดประเสริฐชาวพุทธ ชุมชนเร่งรุดพัฒนา แหล่งวีรชนกล้าทหารเรือ
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางนา
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางนา
พิกัด: 13°40′48.29″N 100°35′30.48″E / 13.6800806°N 100.5918000°E / 13.6800806; 100.5918000
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด18.789 ตร.กม. (7.254 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด85,345[1] คน
 • ความหนาแน่น4,542.29 คน/ตร.กม. (11,764.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10260
รหัสภูมิศาสตร์1047
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 888 ถนนสรรพาวุธ แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/bangna
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

เขตบางนาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติ แก้

ท้องที่เขตบางนาในอดีตมีฐานะเป็น ตำบลบางนา เป็นเขตการปกครองหนึ่งของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง (เปลี่ยนชื่อมาจากนครเขื่อนขันธ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2457)[2] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2470 ทางราชการได้พิจารณาโอนตำบลบางนาไปขึ้นกับอำเภอสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการแทน เพื่อความสะดวกในการปกครอง[3] แต่ใน พ.ศ. 2472 ก็โอนกลับมาเป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง (ซึ่งได้ย้ายจากจังหวัดพระประแดงมาขึ้นกับจังหวัดพระนครอยู่ก่อนแล้ว) อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กันมากกว่าและประชาชนไปติดต่อธุระราชการได้สะดวกกว่า[4]

ต่อมาในท้องที่ตำบลบางนาเริ่มมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยหนาแน่นขึ้น ในการขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2498 ทางราชการจึงโอนพื้นที่บางส่วนของตำบลบางนาเข้าไปในท้องที่ด้วย[5] ส่วนพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเทศบาลนั้นได้กลายเป็นท้องที่ในเขตสุขาภิบาลประเวศซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2506[6] จนกระทั่งมีการขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพออกไปอีกเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2507 จึงแยกไปรวมอยู่ในเขตเทศบาลทั้งตำบล[7]

ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[9] ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลบางนาจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางนา ขึ้นกับเขตพระโขนง

ภายหลังในเขตพระโขนงและเขตอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานครมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น จำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรในเขตต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมใกล้เคียงกัน เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนง โดยแยกแขวงบางนาและบางส่วนของแขวงบางจากออกมาจัดตั้งเป็น เขตบางนา และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงบางนาเต็มพื้นที่เขตบางนา เพื่อให้เกิดความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[10][11]

จนกระทั่งในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศยุบเลิกแขวงบางนาและจัดตั้งแขวงใหม่ 2 แขวงโดยใช้ถนนสรรพาวุธและถนนบางนา-ตราดฟากเหนือเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างกัน พื้นที่แขวงทางตอนเหนือของแขวงบางนาเดิมได้รับการตั้งชื่อว่า แขวงบางนาเหนือ และพื้นที่ทางตอนใต้ของแขวงบางนาเดิมได้รับการตั้งชื่อว่าแขวงบางนาใต้[12]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศยุบแขวงบางนาและตั้งแขวงขึ้นใหม่ 2 แขวง โดยใช้ถนนสรรพาวุธและถนนเทพรัตนเป็นเส้นแบ่งเขตและให้มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน[13] ส่งผลให้เขตบางนาในปัจจุบันประกอบด้วยแขวงดังต่อไปนี้

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
2.
บางนาเหนือ Bang Na Nuea
5.161
38,891
7,535.56
 
3.
บางนาใต้ Bang Na Tai
13.628
46,454
3,408.72
ทั้งหมด
18.789
85,345
4,542.29

หมายเลขที่หายไปคือแขวงที่ถูกยุบเลิก

ประชากร แก้

การคมนาคม แก้

รถไฟฟ้า
ทางสายหลัก
ทางสายรองและทางลัด

สถานที่สำคัญ แก้

 
วัดศรีเอี่ยม

สถานศึกษา แก้

สโมสรกีฬา แก้

อ้างอิง แก้

  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2567.
  2. สำนักงานเขตพระโขนง. "ประวัติสำนักงานเขตพระโขนง." [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001018&strSection=aboutus&intContentID=184[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 31 มีนาคม 2555.
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แก้ไขเขตต์จังหวัดพระนคร ธนบุรี พระประแดง สมุทรปราการ และมีนบุรีในมณฑลกรุงเทพฯ กับธัญญะบุรีในมณฑลอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44: 153–158. 21 สิงหาคม 2470.
  4. "ประกาศ เรื่อง แก้ไขเขตต์ท้องที่ในจังหวัดพระนครและพระประแดง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46: 2–5. 7 เมษายน 2472.
  5. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 71 (79): 1776–1780. 30 พฤศจิกายน 2497.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลประเวศ อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (121): 2742–2743. 24 ธันวาคม 2506.
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลนครกรุงเทพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (พิเศษ 124 ก): 28–32. 31 ธันวาคม 2507.
  8. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
  9. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนง และตั้งเขตบางนา กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 35–39. 18 พฤศจิกายน 2540.
  11. "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางนา เขตบางนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 121 ง): 26–28. 24 ธันวาคม 2540.
  12. "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ยุบพื้นที่แขวงบางนา และตั้งแขวงบางนาเหนือ แขวงบางนาใต้ เขตบางนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 215 ง): 50–52. 31 สิงหาคม 2560.
  13. "ยุบพื้นที่แขวงบางนา และตั้งแขวงบางนาเหนือ แขวงบางนาใต้ เขตบางนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 215 ง): 50–52.
  14. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°40′48″N 100°35′30″E / 13.680083°N 100.591802°E / 13.680083; 100.591802