ทางพิเศษบูรพาวิถี

ทางด่วนในประเทศไทย

ทางพิเศษบูรพาวิถี หรือ ทางด่วน 4 เป็นทางพิเศษที่ดำเนินการโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2541[1] และเปิดให้บริการตลอดสายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543[1] มีจุดเริ่มต้นที่เขตบางนา กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ระยะทางทั้งสิ้น 55 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจรซ้อนอยู่บนถนนเทพรัตน (หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34) เป็นทางพิเศษที่เชื่อมการคมนาคมขนส่งระหว่างกรุงเทพมหานครกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศ ช่วยลดปริมาณการจราจรบนถนนเทพรัตน และในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวทางพิเศษบูรพาวิถีจะมีการยกเว้นค่าผ่านทาง ได้แก่ เทศกาลปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์

ทางพิเศษบูรพาวิถี
ทางพิเศษบูรพาวิถี (สีเหลือง)
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว55.0 กิโลเมตร (34.2 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2541–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ทางพิเศษสาย S1 ในเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
  ถ.กาญจนาภิเษก (ตะวันออก, ใต้) ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
ปลายทางทิศใต้ ถนนเทพรัตน ใน อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
จังหวัด
ระบบทางหลวง

ใน พ.ศ. 2543 ทางพิเศษบูรพาวิถีได้รับการจัดอันดับโดย กินเนสส์บุ๊ค ให้เป็นสะพานมีความยาวที่สุดในโลก แต่ถูกโค่นสถิติลงในปี พ.ศ. 2551 โดยสะพานเว่ยหนาน-เว่ยเหอในประเทศจีนซึ่งเป็นสะพานรถไฟความเร็วสูง ทางพิเศษบูรพาวิถีเป็นสะพานที่ยาวเป็นอันดับ 6 ของโลกในปัจจุบัน โดยที่อันดับ 1-5 เป็นสะพานทางรถไฟ ทำให้ทางพิเศษบูรพาวิถียังมีตำแหน่งเป็นสะพานทางรถยนต์ที่ยาวที่สุดในโลก

ทางพิเศษบูรพาวิถีเป็นทางพิเศษสายแรกที่ใช้ระบบปิดหรือระบบเก็บเงินตามระยะทาง กล่าวคือ เวลารถที่จะขึ้นทางออกต้องรับบัตรที่ด่านทางเข้า และเวลารถที่จะลงทางด่วนต้องคืนบัตรและจ่ายเงินที่ด่านทางออก ในปัจจุบัน ทางพิเศษกาญจนาภิเษก และทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ก็ใช้ระบบนี้เช่นเดียวกัน ในอนาคต ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 ก็จะใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางแบบปิดด้วยเช่นกัน

ในวันที่ท้องฟ้าเปิดและทัศนวิสัยดี จะทำให้มองเห็นเขาเขียวบนทางพิเศษตั้งแต่ กม.0 ขาออกไปจนถึง กม.55

รายละเอียดของเส้นทาง

แก้
 
ทางพิเศษบูรพาวิถีในอำเภอบางปะกง

ทางพิเศษบูรพาวิถีมีแนวสายทางเริ่มที่บริเวณปลายทางพิเศษสายบางนา–อาจณรงค์ (ระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ตอน S1) บริเวณเขตบางนา กรุงเทพมหานคร โดยใช้พื้นที่เกาะกลางถนนเทพรัตน มุ่งไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ผ่านอำเภอบางพลี ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก ผ่านอำเภอบางเสาธง อำเภอบางบ่อ แล้วเข้าสู่จังหวัดฉะเชิงเทรา ผ่านอำเภอบางปะกง ข้ามแม่น้ำบางปะกง และสิ้นสุดที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ระยะทางทั้งสิ้น 55 กิโลเมตร

รายชื่อทางขึ้น-ทางลง

แก้

 ทางพิเศษบูรพาวิถี (บางนา-ชลบุรี)

แก้
จังหวัดอำเภอกม. ที่ทางออกชื่อจุดหมายปลายทางหมายเหตุ
กรุงเทพมหานครบางนา0+000เชื่อมต่อจาก   ทางพิเศษสาย S1เชื่อมต่อ -   ทางพิเศษฉลองรัช - ถ.พระราม ๙ - รามอินทรา
2+000ทางขึ้นบางนา  ทางพิเศษบูรพาวิถี - ชลบุรี
2+0001ทางลงบางนา ถนนสุขุมวิท - บางนา
-1  ทางพิเศษสาย S1 - รามอินทรา - ดาวคะนอง - ดินแดง
สมุทรปราการบางพลี6+000ด่านเก็บค่าผ่านทางบางนา กม.6
7+000ทางขึ้นบางแก้ว  ทางพิเศษบูรพาวิถี - บางนา - รามอินทรา - ดาวคะนอง - ดินแดง
7+0007ทางลงบางแก้ว ถนนเทพรัตน – บางแก้ว - มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2
9+000ทางขึ้นบางนา กม.9  ทางพิเศษบูรพาวิถี - บางนา
9+000  ทางพิเศษบูรพาวิถี - ชลบุรี
9+000ทางลงบางนา กม.9  ถนนกาญจนาภิเษกอ.บางปะอิน - ถ.พระราม ๒
9+000ทางขึ้นบางนา กม.9 (2)  ทางพิเศษบูรพาวิถี - ชลบุรี
9+000  ทางพิเศษบูรพาวิถี - บางนา
9+0009ทางลงบางนา กม.9 (2)  ถนนกาญจนาภิเษกถนนพระรามที่ ๒ - บางปะอิน
11+000ทางขึ้นบางพลี  ทางพิเศษบูรพาวิถี - บางนา - รามอินทรา - ดาวคะนอง - ดินแดง
11+00010ทางลงบางพลี ถนนกิ่งแก้วลาดกระบัง - บางพลี
13+000ทางขึ้นบางพลี 2  ทางพิเศษบูรพาวิถี - ชลบุรี
13+00013ทางลงบางพลี 2 ถนนกิ่งแก้วลาดกระบัง - บางพลี
15+000ทางขึ้นสุวรรณภูมิ  ทางพิเศษบูรพาวิถี - บางนา - รามอินทรา - ดาวคะนอง - ดินแดง
15+000ทางลงสุวรรณภูมิ ถนนสุวรรณภูมิ 3ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
-ทางขึ้นสุวรรณภูมิ 2  ทางพิเศษบูรพาวิถี - ชลบุรี - พัทยา
-ทางลงสุวรรณภูมิ 2 ถนนสุวรรณภูมิ 3ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
19+000ทางขึ้นเมืองใหม่บางพลี  ทางพิเศษบูรพาวิถี - บางนา
19+00018ทางลงเมืองใหม่บางพลี ถนนเทพรัตน - เมืองใหม่บางพลี
บางเสาธง25+000ทางขึ้นบางเสาธง  ทางพิเศษบูรพาวิถี - บางนา
25+00026ทางลงบางเสาธง ถนนเทพรัตน - บางเสาธง - บางบ่อ
บางบ่อ30+000ทางขึ้นบางบ่อ  ทางพิเศษบูรพาวิถี - ชลบุรี - พัทยา
30+00030ทางลงบางบ่อ ถนนเทพรัตน - บางบ่อ
33+000ทางขึ้นบางพลีน้อย  ทางพิเศษบูรพาวิถี - บางนา
33+00033ทางลงบางพลีน้อย ถนนเทพรัตน - บางพลีน้อย
ฉะเชิงเทราบางปะกง38+000ทางขึ้นบางสมัคร  ทางพิเศษบูรพาวิถี - บางนา
38+00037ทางขึ้น-ลงบางสมัคร   กรุงเทพ - ชลบุรี (สายใหม่) – บางวัว
41+000ทางขึ้นบางวัว  ทางพิเศษบูรพาวิถี - ชลบุรี - พัทยา
41+00042ทางขึ้น-ลงบางวัว   กรุงเทพ - ชลบุรี (สายใหม่) – บางวัว
45+000ทางขึ้นบางปะกง  ทางพิเศษบูรพาวิถี - บางนา
45+00045ทางลงบางปะกง ถนนเทพรัตน - บางปะกง - ฉะเชิงเทรา
47+000ทางขึ้นบางปะกง 2  ทางพิเศษบูรพาวิถี - ชลบุรี - พัทยา
47+00048ทางลงบางปะกง 2 ถนนเทพรัตน - บางปะกง - ฉะเชิงเทรา
50+500สะพานเทพหัสดิน ข้าม แม่น้ำบางปะกง
ชลบุรีเมืองชลบุรี53+800ด่านเก็บค่าผ่านทางชลบุรี
54+000ทางขึ้นชลบุรี  ทางพิเศษบูรพาวิถี - บางนา
54+00053ทางลงชลบุรี ถนนเทพรัตน - ชลบุรี - พัทยา
1.000 mi = 1.609 km; 1.000 km = 0.621 mi



รายชื่อทางขึ้น-ลงบน   ทางพิเศษบูรพาวิถี ทิศทาง: บางนา - ชลบุรี
จังหวัด กม.ที่ ชื่อด่านเก็บค่าผ่านทาง เข้าเมือง ออกเมือง
  บางนา - ชลบุรี
กรุงเทพมหานคร 0+000 เชื่อมต่อจาก:   ทางพิเศษสาย S1 ไป พระราม 9, รามอินทรา
2+000 ทางลงบางนา กม.2 ทางขึ้นบางนา กม.2
สมุทรปราการ 6+000 ด่านฯบางนา กม.6 บางนา - สำโรง - พระโขนง ช่องที่ 1 - 4
ดาวคะนอง - ดินแดง - แจ้งวัฒนะ - พระราม 9 - รามอินทรา ช่องที่ 5 - 14
ชลบุรี - พัทยา
7+000 ด่านฯบางแก้ว ทางลงบางแก้ว ทางขึ้นบางแก้ว
9+000 ด่านฯบางนา กม.9-1
ด่านฯบางนา กม.9-2
ด่านฯวงแหวนรอบนอก (บางแก้ว)
ด่านฯบางนา กม.9-3
ไม่มี ทางลงบางนา กม.9-1 ถนนกาญจนาภิเษก ไปถนนพระรามที่ 2
ไม่มี ทางลงบางนา กม.9-2 ถนนกาญจนาภิเษก ไปบางปะอิน
ทางลงวงแหวนรอบนอก ไปถนนพระรามที่ 2 ทางขึ้นวงแหวนรอบนอก ถนนกาญจนาภิเษก จากบางปะอิน
ทางขึ้นบางนา กม.9-3 ถนนกาญจนาภิเษก จากถนนพระรามที่ 2 / บางปะอิน ไม่มี
11+000 ด่านฯบางพลี 1 ทางขึ้นด่านฯบางพลี 1 ทางลงด่านฯบางพลี 1
13+000 ด่านฯบางพลี 2 ทางลงด่านฯบางพลี 2 ไปลาดกระบัง
บางพลี
ทางขึ้นด่านฯบางพลี 2
15+000 ด่านฯสุวรรณภูมิ 1
ด่านฯสุวรรณภูมิ 2
ทางขึ้นสุวรรณภูมิ 1 ชลบุรี - พัทยา ทางลงสุวรรณภูมิ 1 ไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ทางลงด่านฯสุวรรณภูมิ 2 ไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทางขึ้นด่านฯสุวรรณภูมิ 2 ไปชลบุรี - พัทยา
19+000 ด่านฯเมืองใหม่บางพลี ทางลงเมืองใหม่บางพลี ทางขึ้นเมืองใหม่บางพลี
25+000 ด่านฯบางเสาธง ทางลงบางเสาธง ทางขึ้นบางเสาธง
30+000 ด่านฯบางบ่อ ทางลงบางบ่อ ทางขึ้นบางบ่อ
33+000 ด่านฯบางพลีน้อย ทางขึ้นบางพลีน้อย ไปบางนา / รามอินทรา / ดาวคะนอง / ดินแดง ทางลงบางพลีน้อย
ฉะเชิงเทรา 38+000 ด่านฯบางสมัคร ทางลงบางสมัคร ทางขึ้นบางสมัคร
ด่านฯบางวัว ทางลงบางวัว ทางขึ้นบางวัว
45+000 ด่านฯบางปะกง 1 ทางขึ้นบางปะกง 1 ทางลงบางปะกง 1
47+000 ด่านฯบางปะกง 2 ทางลงบางปะกง 2 ทางขึ้นบางปะกง 2
ชลบุรี 54+000 ด่านฯชลบุรี ทางขึ้นชลบุรี ไปบางนา / รามอินทรา / ดาวคะนอง / ดินแดง ทางลงชลบุรี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

รายชื่อต่างระดับ

แก้
รายชื่อทางแยกบน   ทางพิเศษบูรพาวิถี ทิศทาง: บางนา - ชลบุรี
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  บางนา - ชลบุรี
กรุงเทพมหานคร 0+000 แยกบางนา เชื่อมต่อจาก:   ทางพิเศษสาย S1 ไป พระราม 9, รามอินทรา
สมุทรปราการ 9+050 ต่างระดับวัดสลุด     ถนนกาญจนาภิเษก ไป บางปะอิน     ทางพิเศษกาญจนาภิเษก ไป บางขุนเทียน
15+100 ต่างระดับบางโฉลง   ทล.370 เข้า   ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไม่มี
  ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ไป บางปะอิน   ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ไป เมืองสมุทรสาคร
ชลบุรี 53+800 ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษชลบุรี (สิ้นสุดทางยกระดับ) ตรงไป:   ถนนเทพรัตน (ลงจากทางพิเศษ) ไป เข้าเมืองชลบุรี
ตรงไป: ทางพิเศษบูรพาวิถี (โครงการในอนาคต) ไป พัทยา
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

การก่อสร้าง

แก้

ประวัติการเปิดให้บริการ

แก้

การก่อสร้างตลอดสายแล้วเสร็จตามสัญญาตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2543 (ระยะเวลาก่อสร้างที่ขยายจากแผนงานเดิม 11 เดือน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) โดยได้เปิดให้บริการเป็นช่วงต่าง ๆ ดังนี้

  • กม.2+500 ถึง กม.7+500 เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2541
  • กม.7+500 ถึง กม.11+400 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
  • กม.11+400 ถึง กม.19+300 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  • กม.19+300 ถึง กม.25+800 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
  • กม.25+800 ถึง กม.38+300 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542
  • กม.38+300 ถึง กม.46+100 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
  • กม.46+100 ถึง กม.55+350 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543

ทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 และทางเชื่อมทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ กับทางพิเศษบูรพาวิถี เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ส่วนต่อขยาย

แก้

โครงการที่จะสร้างต่อจากทางด่วนพิเศษบูรพาวิถีส่วนแรก คือ สายบูรพาวิถี–พัทยา รวมระยะทาง 68 กิโลเมตร งบลงทุน 5 หมื่นล้านบาท เมื่อสร้างสายบูรพาวิถี–พัทยา รวมส่วนแรกที่สร้างเสร็จจะมีระยะทางทั้งสิ้น 123 กิโลเมตร โดยโครงการนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน

ทั้งนี้จะดำเนินการก่อสร้างจากจุดสิ้นสุดทางพิเศษในปัจจุบัน ถึงทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง โดยเชื่อมต่อกับถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี รวมระยะทาง 4.5 กม. ก่อน เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรหน้านิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร[2][3]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ทางพิเศษบูรพาวิถี". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-08. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "เว็บไซต์โครงการส่วนต่อขยายทางพิเศษบูรพาวิถี-ทางเลี่ยงเมืองชลบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-30. สืบค้นเมื่อ 2020-07-15.
  3. การประชุมประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น โครงการทางด่วนบูรพาวิถีส่วนต่อขยาย จุดสิ้นสุดบูรพาวิถี-เลี่ยงเมืองชลบุรี , โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้