เขตลาดกระบัง
ลาดกระบัง เป็นเขตการปกครองที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของกรุงเทพมหานคร (รองจากเขตหนองจอก) สภาพโดยทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีแหล่งชุมชนหนาแน่นทางทิศใต้และมีเขตนิคมอุตสาหกรรมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่
เขตลาดกระบัง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Lat Krabang |
ภาพมุมสูงของเขตลาดกระบัง | |
คำขวัญ: "ลาดกระบัง" อุดมคลอง ทำเลทองการเกษตร เขตนิคม ชมตลาดโบราณหัวตะเข้ เสน่ห์วิศวกรรมเจ้าคุณทหาร สืบสานประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ รถไฟฟ้าเชื่อมสุวรรณภูมิ | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตลาดกระบัง | |
พิกัด: 13°43′20.34″N 100°45′34.81″E / 13.7223167°N 100.7596694°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 123.859 ตร.กม. (47.822 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 179,899[1] คน |
• ความหนาแน่น | 1,452.45 คน/ตร.กม. (3,761.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10520 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1011 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 1471/1 ถนนลาดกระบัง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เขตลาดกระบังตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตมีนบุรีและเขตหนองจอก มีคลองลำนายโส คลองสองต้นนุ่น ลำรางคอวัง ถนนร่มเกล้า แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตมีนบุรีกับเขตลาดกระบัง ลำรางศาลเจ้าพ่อต่วน ลำรางตาเสือ แนวคันนาผ่านถนนคุ้มเกล้า ลำรางตาทรัพย์ คลองบึงใหญ่ คลองลำกอไผ่ คลองลำมะขาม คลองลำปลาทิว (คลองขุดใหม่) คลองลำพะอง คลองกระทุ่มล้ม คลองลำตาอิน และคลองลำตาแฟงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองหลวงแพ่งและคลองประเวศบุรีรมย์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง และอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองกาหลงและแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตประเวศและเขตสะพานสูง มีคลองตาพุก คลองแม่จันทร์ คลองลำอ้อตัน (ลำบึงขวาง) และคลองลาดบัวขาวเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
แก้เดิมเขตลาดกระบังเป็นพื้นที่การปกครองของเมืองมีนบุรีซึ่งเป็นเมือง (จังหวัด) หนึ่งในมณฑลกรุงเทพ มีชื่อเรียกว่า อำเภอแสนแสบ ต่อมาใน พ.ศ. 2470 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอลาดกระบัง เพื่อให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ[3] และใน พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีถูกยุบมารวมกับจังหวัดพระนคร[4] อำเภอลาดกระบังจึงย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนครด้วย
ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2481 กระทรวงมหาดไทยได้ยุบอำเภอลาดกระบังลงเป็น กิ่งอำเภอลาดกระบัง ขึ้นกับอำเภอมีนบุรี เนื่องจากในขณะนั้นมีปริมาณงานไม่มากนักและมีจำนวนประชากรน้อย[5] จนกระทั่งในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2500 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอลาดกระบัง อีกครั้ง[6] โดยได้โอนตำบลแสนแสบไปขึ้นกับอำเภอมีนบุรี และแบ่งพื้นที่บางส่วนของตำบลทับยาว มาจัดตั้งเป็นตำบลขุมทองใน พ.ศ. 2504[7]
ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515 อำเภอลาดกระบังจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตลาดกระบัง ตั้งแต่นั้น
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เขตลาดกระบังแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 6 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
ลาดกระบัง | Lat Krabang | 10.823 |
30,137 |
2,784.53 |
|
2. |
คลองสองต้นนุ่น | Khlong Song Ton Nun | 14.297 |
67,200 |
4,700.29
| |
3. |
คลองสามประเวศ | Khlong Sam Prawet | 17.458 |
15,947 |
913.45
| |
4. |
ลำปลาทิว | Lam Pla Thio | 33.752 |
26,171 |
775.39
| |
5. |
ทับยาว | Thap Yao | 25.834 |
32,060 |
1,241.00
| |
6. |
ขุมทอง | Khum Thong | 21.695 |
8,384 |
386.45
| |
ทั้งหมด | 123.859 |
179,899 |
1,452.45
|
ประชากร
แก้สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตลาดกระบัง[8] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 77,412 | ไม่ทราบ |
2536 | 81,432 | +4,020 |
2537 | 85,123 | +3,691 |
2538 | 89,145 | +4,022 |
2539 | 95,634 | +6,489 |
2540 | 102,562 | +6,928 |
2541 | 108,017 | +5,455 |
2542 | 112,967 | +4,950 |
2543 | 116,844 | +3,877 |
2544 | 121,739 | +4,895 |
2545 | 126,792 | +5,053 |
2546 | 132,027 | +5,235 |
2547 | 134,850 | +2,823 |
2548 | 138,327 | +3,477 |
2549 | 142,460 | +4,133 |
2550 | 144,800 | +2,340 |
2551 | 147,482 | +2,682 |
2552 | 151,978 | +4,496 |
2553 | 157,477 | +5,499 |
2554 | 160,850 | +3,373 |
2555 | 163,317 | +2,467 |
2556 | 165,724 | +2,407 |
2557 | 168,309 | +2,585 |
2558 | 170,070 | +1,761 |
2559 | 171,933 | +1,863 |
2560 | 173,987 | +2,054 |
2561 | 175,662 | +1,675 |
2562 | 177,769 | +2,107 |
2563 | 178,971 | +1,202 |
2564 | 178,424 | -547 |
2565 | 178,350 | -74 |
2566 | 179,899 | +1,549 |
การคมนาคม
แก้ทางสายหลักในพื้นที่เขตลาดกระบัง ได้แก่
|
|
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
ขนส่งมวลชนทางราง
สถานที่สำคัญ
แก้- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
- โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
- โรงเรียนพรตพิทยพยัต
- โรงเรียนพร้อม
- โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง
- โรงเรียนวัดลาดกระบัง
- โรงเรียนวัดปากบึง
- โรงเรียนวัดลานบุญ
- วัดลาดกระบัง
- วัดลานบุญ
- วัดสังฆราชา
- วัดทิพพาวาส
- โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
- วัดปลูกศรัทธา
- วัดราชโกษา
- วัดขุมทอง
- สวนพระนคร
- ตลาดหัวตะเข้
- นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
- สวนนกธรรมชาติหลังนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
- สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง
- โรงเรียนมาเรียลัย
- โรงเรียนวัดราชโกษา
- โรงเรียนวัดขุมทอง
- ตลาดเทิดไท
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สุวรรณภูมิ
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
- ↑ ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. สถิติจำนวนประชากรและบ้านในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามรายแขวงและเขต ณ เดือน ธันวาคม 2550. เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 24 ตุลาคม 2551.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอแสนแสบเปนอำเภอลาดกระบัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44: 1480. 14 สิงหาคม 2470.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 576–578. 21 กุมภาพันธ์ 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2009-09-22.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องยุบรวมอำเภอ และยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55: 1840–1842. 29 สิงหาคม พ.ศ. 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2009-09-22.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลาดกระบัง พ.ศ. ๒๕๐๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (23 ก): 543–545. 5 มีนาคม 2500.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอลาดกระบัง จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (44): 1320–1322. 23 พฤษภาคม 2501.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.