ทางแยกต่างระดับ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ทางแยกต่างระดับ (อังกฤษ: interchange) เป็นบริเวณทางแยกที่เป็นจุดตัดกันหรือเชื่อมกันของถนนตั้งแต่ 2 สายขึ้นไป มีการแยกระดับของถนนมากกว่าหนึ่งระดับขึ้นไป เพื่อเปิดโอกาสให้ทางอย่างน้อยหนึ่งสายสามารถวิ่งผ่านได้ตลอด โดยไม่ต้องข้ามผ่านการจราจรโดยตรง แตกต่างจากทางแยกมาตรฐานที่มีจุดตัดอยู่บนถนนในระดับเดียวกัน ทางแยกต่างระดับใช้กับทางหลวงที่มีการควบคุมการเข้าออก ทางพิเศษ หรือทางหลวงไม่จำกัดความเร็ว ตัดผ่านกับทางพิเศษด้วยกันหรือถนนระดับดิน
ทางแยกต่างระดับเต็มรูปแบบ
แก้ทางแยกต่างระดับรูปแบบสี่แยก
แก้รูปแบบโคลเวอร์ลีฟ
แก้ทางแยกต่างระดับรูปแบบโคลเวอร์ลีฟ เป็นทางแยกต่างระดับสำหรับสี่แยก 2 ระดับ ที่เกิดจากถนนสายหลักมาตัดกันโดยมีปริมาณรถที่มีความต้องการเลี้ยวมาก เหมาะสำหรับทางแยกในเขตชานเมือง หรือนอกเมืองที่มีปริมาณรถมาก และมักจะพบมากตามทางหลวงเก่า ในพื้นที่ชนบทและในเมืองที่มีความหนาแน่นของประชากรต่ำ
ช่องเลี้ยวขวาทั้งหมดมีทางลาดออกแบบเป็นห่วง (ถ้าขับรถฝั่งขวาจะเป็นช่องเลี้ยวซ้าย) ถ้าจะเลี้ยวขวา อันดับแรกผู้ขับขี่จะต้องขับข้ามหรือลอดใต้เส้นทางที่ต้องการจะไป แล้วเบี่ยงซ้ายไปยังทางลาดที่เลี้ยวโค้งไปประมาณ 270 องศา แล้วบรรจบกับเส้นทางหลักทางด้านขวา และลอดใต้หรือข้ามเส้นทางที่ขับผ่านมาแล้วในตอนแรก
ข้อดีหลักของทางแยกต่างระดับรูปแบบนี้ คือ ต้องการสะพานเพียงแห่งเดียว ซึ่งใช้เงินไม่สูงมากในการก่อสร้างตราบใดที่มีพื้นที่มาก และไม่จำเป็นต้องมีสัญญาณไฟจราจร และมีข้อเสีย คือ เกิดการพัวพันของรถที่เข้าออก ถ้าไม่ใช้ช่องทางรวมและกระจายรถ หรือการสร้างทางคู่ขนานช่วย และต้องใช้พื้นที่เขตทางมาก
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Kurumi.com U.S. interchanges directory
- Glossary เก็บถาวร 2010-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Part of the publication Highway Design Handbook for Older Drivers and Pedestrians เก็บถาวร 2010-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by the Turner-Fairbank Highway Research Center branch of the U.S. Federal Highway Administration
- Detailed history of interchanges with diagrams เก็บถาวร 2005-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เยอรมัน)
- ทางแยกตางระดับ