ประเทศเนเธอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Nederland [ˈneːdərˌlɑnt] เนเดอร์ลันด์; อังกฤษ: Netherlands) เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร[3] ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก[4] ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง[5][6] หรือไม่เป็นทางการ[7] ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ[8]

เนเธอร์แลนด์

Nederland  (ดัตช์)
คำขวัญJe Maintiendrai  (ฝรั่งเศส)
("ข้าจะพิทักษ์")
เพลงชาติ"Wilhelmus van Nassouwe"  (ดัตช์)
"วิลเฮลมัสแห่งนัสซอ"
ที่ตั้งของ เนเธอร์แลนด์ในทวีปยุโรป  (เขียวเข้ม) – ในทวีปยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม) – ในสหภาพยุโรป  (เขียว)
ที่ตั้งของ เนเธอร์แลนด์ในทวีปยุโรป  (เขียวเข้ม)

– ในทวีปยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียว)

ที่ตั้งของ เทศบาลของเนเธอร์แลนด์ในทะเลแคริบเบียน  (เขียว)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
อัมสเตอร์ดัม[a]
52°22′N 4°53′E / 52.367°N 4.883°E / 52.367; 4.883
ศูนย์กลางอำนาจเดอะเฮก[a]
ภาษาราชการภาษาดัตช์2
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์
ดิก สโคฟ
เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์
เอกราช 
• ประกาศ
26 กรกฎาคม ค.ศ. 1581
• เป็นที่ยอมรับ
30 มกราคม ค.ศ. 1648 (จาก สเปน)
พื้นที่
• รวม
41,526 ตารางกิโลเมตร (16,033 ตารางไมล์) (132)
18.41%
ประชากร
• 22 กุมภาพันธ์ 2565 ประมาณ
17,692,900 (66)
• สำมะโนประชากร 2559
17,045,900
395 ต่อตารางกิโลเมตร (1,023.0 ต่อตารางไมล์) (15)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 915.175 พันล้าน
$ 53,581
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 824.480 พันล้าน
$ 48,271
จีนี (2019)positive decrease 26.6[1]
ต่ำ · อันดับที่ 15
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.944[2]
สูงมาก · อันดับที่ 8
สกุลเงินยูโร 3 (€ EUR)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
รหัสโทรศัพท์31
รหัส ISO 3166NL
โดเมนบนสุด.nl

ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร[9][10] ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง

ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก"[11] ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ[12] ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง[13]

ภูมิศาสตร์

แก้

สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่เคยเป็นน้ำทะเลมาก่อนดังนั้นประเทศนี้จึงอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล มีเพียงทางตะวันออกเฉียงใต้ในเขตลิมเบิร์ก เท่านั้นสามารถพบเห็นเนินเขาได้ แม่น้ำไรน์ที่ไหลมาจากเยอรมนี เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ เนื่องจากเป็นประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเลจึงทำให้ต้องสร้างเขื่อน เพื่อไม่ให้นำทะเลไหลท่วมได้ เนื่องจากเนเธอร์แลนด์มีที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลเหนือ จึงได้รับอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นด้วย ทำให้ภูมิอากาศของประเทศอบอุ่นกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรป และมีฝนตกชุกในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง มากถึง 700 มิลลิเมตรต่อปี

ประวัติศาสตร์

แก้

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป ประมาณช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 เนเธอร์แลนด์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน และมีสันติภาพยาวนานต่อเนื่องเป็นเวลา 250 ปี ต่อมา เมื่อจักรวรรดิโรมันเสื่อมอำนาจลง กลุ่มชนเจอร์แมนิก และเคลติก โดยเฉพาะชาวแฟรงก์ได้เข้าไปครอบครองพื้นที่แถบนั้น ก่อตั้งเป็นจักรวรรดิการอแล็งเฌียง ก่อนจะแยกออกเป็นสามอาณาจักรย่อย ได้แก่ อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก อาณาจักรแฟรงก์กลาง อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก ในเวลาต่อมา โดยดินแดนส่วนใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบันอยู่ในส่วนของอาณาจักรแฟรงก์กลาง ที่ไม่มีความเป็นปึกแผ่น จึงแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยอยู่หลายแคว้น มีเมืองสำคัญได้แก่ ฮอลแลนด์ แอโน ฟลานเดอร์ส เกลเดอร์ส บราบันต์ และยูเทรกต์ ในช่วงนี้ ระบบเกษตรกรรมถูกพัฒนาไปอย่างมาก ทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว มีพ่อค้ารายใหม่เกิดขึ้นมากมาย ทำให้เมืองเติบโตมากขึ้น นอกจากนี้ ชาวนาจากฟลานเดอร์สและยูเทรกต์เริ่มผันน้ำทะเลออกและสร้างพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นมาใหม่ทางตะวันตก ทำให้เคาน์ตีฮอลแลนด์เริ่มเรืองอำนาจมากขึ้น

ในช่วงปี พ.ศ. 1927 ถึง 2124 (ค.ศ. 1384 ถึง 1581) เนเธอร์แลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของดยุคแห่งเบอร์กันดี ในยุคนี้ อัมสเตอร์ดัมเติบโตขึ้นและกลายเป็นท่าเรือสินค้าที่สำคัญของทะเลบอลติก เป็นจุดกระจายธัญพืชที่สำคัญสู่เบลเยียม ฝรั่งเศสตอนเหนือ และอังกฤษ กองกำลังของเคาน์ตีฮอลแลนด์ก็มีความเข้มแข็งมากขึ้นและสามารถเอาชนะกองทัพของสันนิบาตฮันเซอได้หลายครั้ง

เนเธอร์แลนด์ในประวัติศาสตร์
ภาพวาด สงครามอังกฤษ-ดัตช์ ครั้งที่ 2 โดย ปีเตอร์ โคร์เนลิสซ์ ฟอน ซูสต์
กลุ่มประเทศต่ำช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14
เจ้าชายวิลเลิมที่ 1 ผู้นำการปฏิวัติดัตช์ต่อจักรวรรดิสเปน

ในศตวรรษที่ 16 จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และกษัตริย์ของสเปน ได้รวบรวมเอาดินแดนทั้งหมดในเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก ตั้งเป็นกลุ่มสิบเจ็ดมณฑล ขึ้นตรงต่อสเปน ต่อมาเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์และขุนนางจำนวนหนึ่ง ได้ก่อการปฏิวัติต่อสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน ใน ค.ศ. 1568 เพื่อเรียกร้องเอกราชให้ประชาชนเนเธอร์แลนด์ได้สถาปนาสาธารณรัฐดัตช์ สามารถนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ได้ โดยได้รับความร่วมมือจากจังหวัดทั้งเจ็ดที่ลงสนามในสนธิสัญญาสหภาพแห่งยูเทรกต์ เป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม 80 ปี เมื่อสงครามดำเนินมาถึงปี ค.ศ. 1581 ส่วนเหนือของเนเธอร์แลนด์ได้ประกาศเอกราชจากสเปน แต่สงครามยังดำเนินต่อไปอีก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2191 (ค.ศ. 1648) จึงได้มีการลงนามในสนธิสัญญามุนสเตอร์ เพื่อสงบศึกระหว่างเนเธอร์แลนด์และสเปน ถือเป็นการรับรองเอกราชของเนเธอร์แลนด์จากสเปนอย่างเป็นทางการด้วย

หลังจากได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิสเปน ชาวดัตช์ได้ร่วมกันฟื้นฟูประเทศจนในที่สุดได้เข้ามาสู่ยุคทอง เช่นเดียวกับ สเปน โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลในการแสวงหาโอกาสทางการค้าในดินแดนต่าง ๆ ของโลก ตั้งแต่นิวอัมสเตอร์ดัม และหมู่เกาะแคริบเบียนในอเมริกา แอฟริกาใต้ จนถึงหมู่เกาะอินเดียตะวันออก(อินโดนีเซียในปัจจุบัน) โดยบริษัทอินเดียตะวันออกและบริษัทอินเดียตะวันตกของเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้ดูแลการค้าและปกครองอาณานิคม ทำให้เนเธอร์แลนด์เป็นมหาอำนาจทางทะเลและเศรษฐกิจชั้นนำของยุโรปในเวลานั้น และกรุงอัมสเตอร์ดัมก็ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการเงินของยุโรป จนมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนถือให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศระบอบทุนนิยมประเทศแรกของโลก ก่อนจะเจอปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจรุมเร้า เช่น การเก็งกำไรดอกทิวลิป และการโจมตีราคาหุ้น และเข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2215 (ค.ศ. 1672) ที่เรียกว่าเป็นปีแห่งความหายนะ (Rampjaar) ของเนเธอร์แลนด์ เมื่อเกิดสงครามกับอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัฐในเยอรมนีพร้อมๆกัน แม้กองทัพจะรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ความเสียหายจากสงครามเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมของเนเธอร์แลนด์ แม้จะพยายามฟื้นฟูอยู่หลายครั้งก็ไม่สามารถกลับไปเทียบเท่าจุดรุ่งเรืองสุดขีดของยุคทองได้อีก

เมื่อปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) กองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสนำโดยพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ได้กรีฑาทัพเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ เจ้าชายวิลเลียมที่ 5 แห่งออเรนจ์ ผู้ปกครองเนเธอร์แลนด์ในครานั้นทรงลี้ภัยไปประทับที่อังกฤษ และในปี พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) เนเธอร์แลนด์ก็ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อพระเจ้านโปเลียนแพ้สงครามที่ยุทธการที่ไลพ์ซิช ใน พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) จักรวรรดิฝรั่งเศสจึงเสื่อมอำนาจลงเนเธอร์แลนด์จึงได้รับเอกราชคืนมาอีกครั้ง เจ้าชายวิลเลียม เฟรเดริค โอรสของผู้ปกครองเนเธอร์แลนด์คนสุดท้ายได้กลับมายังดินแดนเนเธอร์แลนด์ในปีเดียวกัน และได้ครองราชย์ราชรัฐเนเธอร์แลนด์ ก่อนที่อีกสองปีต่อมา ผลจากการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาจะยกดินแดนเบลเยียมในปัจจุบันให้เป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ เจ้าชายวิลเลียม เฟรเดริคจึงได้ทรงก่อตั้งสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ขึ้น และสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์พระองค์แรก และแกรนด์ดยุกลักเซมเบิร์ก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความแตกต่างในทุก ๆ ด้านระหว่างเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม ประเทศทั้งสองจึงได้แยกออกจากกันในปี พ.ศ. 2373 (ค.ศ. 1830) ก่อนจะได้รับการรับรองเอกราชอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) เนเธอร์แลนด์ประกาศเลิกทาสเมื่อ ค.ศ. 1863 ก่อนจะเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19

เนเธอร์แลนด์ประกาศความเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2457-2461 และประกาศความเป็นกลางอีกครั้งหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ดี กองทัพแวร์มัคท์ ได้รุกรานและยึดครองเนเธอร์แลนด์ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2483-2488 (ค.ศ. 1940-1945) ปัจจุบันเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกที่มีบทบาทแข็งขันในสหภาพยุโรปและองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต

เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศเจ้าอาณานิคมจนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) และซูรินามประกาศเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) ส่วนเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสและอารูบายังคงเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ โดยมีอธิปไตยในการบริหารกิจการภายในประเทศ ส่วนด้านการทหารและการต่างประเทศยังอยู่ภายใต้ความควบคุมดูแลโดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์

การเมืองการปกครอง

แก้
เจ้าฟ้าหญิงมกุฎราชกุมารี
ว่าที่สมเด็จพระราชินีนาถพระองค์ต่อไป
มาร์ก รุตเตอ
นายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์
อยู่ในตำแหน่งตั้งแต่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2010

เนเธอร์แลนด์ปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ ค.ศ. 1815 และมีระบบรัฐสภาตั้งแต่ ค.ศ. 1848 มีสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ พระมหากษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์ทรงเป็นประมุขของประเทศและทรงอยู่เหนือการเมือง

บริหาร

แก้

การบริหารประเทศนั้นเป็นหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี ซึ่งประกอบไปด้วยรัฐมนตรี 13 ถึง 16 คนโดยมีรัฐมนตรีลอยอยู่ในคณะ 1-3 คน มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ มาร์ก รุตเตอ ซึ่งดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2010

นิติบัญญัติ

แก้

เนเธอร์แลนด์ใช้ระบบสองสภาในกระบวนการนิติบัญญัติ โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 150 คนทำหน้าที่ในสภาล่างและมาจากการเลือกตั้งโดยตรงตามสัดส่วนของการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ มีการจัดเลือกตั้งทุก 4 ปีหรือเมื่อมีการยุบสภา และมีอำนาจในการเสนอและแก้ไขกฎหมาย ส่วนสมาชิกวุฒิสภาหรือสภาบนมีทั้งหมด 75 คน และมาจากการเลือกตั้งทุก 4 ปีเช่นเดียวกัน มีอำนาจในการปฏิเสธข้อกฎหมายที่สภาล่างเสนอเข้ามา นอกจากนี้ สมาชิกบางส่วนของทั้งสองสภายังเป็นสมาชิกของสภาเบเนลักซ์ระหว่างประเทศอีกด้วย

ตุลาการ

แก้

รูปแบบการเมือง

แก้

สหภาพการค้าและองค์กรลูกจ้างต่างๆของเนเธอร์แลนด์จะมีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อปรึกษาหารือกันด้านนโยบายการเงิน เศรษฐกิจและสังคม ก่อนจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะการสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ และคณะกรรมการจะนำใจความไปเสนอต่อรัฐบาลต่อไป

เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่เปิดเสรีทางความคิดมาอย่างช้านาน นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เช่นการเปิดรับคริสตจักรปฏิรูปให้ได้รับการยอมรับเช่นเดียวกับนิกายคาทอลิก โปรเตสแตนท์ จนถึงการยอมรับศาสนายูดาห์ นอกจากนี้ เนเธอร์แลนด์ยังเปิดเสรีกัญชาเพื่อความบันเทิง การออกกฎหมายรองรับการค้าประเวณี สิทธิเพศทางเลือก การุณยฆาต และการแท้ง

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

ประเทศเนเธอร์แลนด์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 จังหวัด (provincie) โดยแต่ละจังหวัดแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเทศบาล (gemeenten) รวมแล้วเป็นจำนวนกว่า 355 เทศบาล[14] แต่หากแบ่งตามเขตการบริหารจัดการน้ำจะแบ่งออกเป็น 21 เขตโดยแต่ละเขตมีคณะกรรมการน้ำ (waterschap) เป็นผู้ดูแล ซึ่งเขตการจัดการน้ำนี้มีมาก่อนการก่อตั้งประเทศเนเธอร์แลนด์เสียอีก โดยเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1196[15] มีการเลือกตั้งคณะกรรมการทุก 4 ปี

จังหวัดต่างๆในเนเธอร์แลนด์ ได้แก่

ธง จังหวัด เมืองหลวง เมืองใหญ่ พื้นที่ทั้งหมด[16] พื้นที่ทางบก ประชากร[17](พฤศจิกายน 2019) ความหนาแน่นประชากร
  เดรนเทอ 2,680 km2 (1,030 sq mi) 2,634 km2 (1,017 sq mi) 493,449 188 คนต่อ ตร.กม.
  เฟลโฟลันด์‎ 2,413 km2 (932 sq mi) 1,413 km2 (546 sq mi) 422,202 299 คนต่อ ตร.กม.
  ฟรีสลันด์ 5,749 km2 (2,220 sq mi) 3,324 km2 (1,283 sq mi) 649,988 196 คนต่อ ตร.กม.
  เกลเดอร์ลันด์ 5,136 km2 (1,983 sq mi) 4,967 km2 (1,918 sq mi) 2,084,478 420 คนต่อ ตร.กม.
  โกรนิงเงิน 2,960 km2 (1,140 sq mi) 2,325 km2 (898 sq mi) 585,881 252 คนต่อ ตร.กม.
  ลิมบูร์ก 2,210 km2 (850 sq mi) 2,148 km2 (829 sq mi) 1,118,223 521 คนต่อ ตร.กม.
  นอร์ทบราบันต์ 5,082 km2 (1,962 sq mi) 4,908 km2 (1,895 sq mi) 2,562,566 523 คนต่อ ตร.กม.
  นอร์ทฮอลแลนด์ 4,092 km2 (1,580 sq mi) 2,662 km2 (1,028 sq mi) 2,877,909 1082 คนต่อ ตร.กม.
  โอเฟอไรส์เซิล 3,421 km2 (1,321 sq mi) 3,323 km2 (1,283 sq mi) 1,162,215 350 คนต่อ ตร.กม.
  เซาท์ฮอลแลนด์ 3,419 km2 (1,320 sq mi) 2,814 km2 (1,086 sq mi) 3,705,625 1317 คนต่อ ตร.กม.
  ยูเทรกต์ 1,449 km2 (559 sq mi) 1,380 km2 (530 sq mi) 1,353,596 981 คนต่อ ตร.กม.
  เซลันด์ 2,934 km2 (1,133 sq mi) 1,783 km2 (688 sq mi) 383,689 216 คนต่อ ตร.กม.
ทั้งหมด 41,545 km2 (16,041 sq mi) 33,481 km2 (12,927 sq mi) 17,399,821 521 คนต่อ ตร.กม.

นอกเหนือจาก 12 จังหวัดแล้ว เนเธอร์แลนด์ยังมีดินแดนในแถบทะเลแคริบเบียนอีก 3 เกาะที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสก่อนที่จะล่มสลายในปี ค.ศ. 2010 และรวมตัวเป็น แคริบเบียนเนเธอร์แลนด์ ขึ้นตรงกับประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยแต่ละเกาะมีสิทธิปกครองพิเศษ (openbare lichamen) และเทศบาลย่อยในเกาะเหล่านี้จะเรียกว่า เทศบาลรูปแบบพิเศษ (special municipalities) [18] ได้แก่

ธง เมือง เมืองหลวง พื้นที่ทั้งหมด[19] ประชากร[19](พฤศจิกายน 2019) ความหนาแน่นประชากร
  โบแนเรอ 294 km2 (114 sq mi) 20,104 69 คนต่อ ตร.กม.
  ซาบา 13 km2 (5.0 sq mi) 1,915 148 คนต่อ ตร.กม.
  ซินต์เอิสตาซียึส 21 km2 (8.1 sq mi) 3,138 150 คนต่อ ตร.กม.
รวม 328 km2 (127 sq mi) 25,157 77 คนต่อ ตร.กม.

ต่างประเทศ

แก้
 
วังสันติ ในนครเฮก ที่ตั้งกองบัญชาการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ, ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร

ในประวัติศาสตร์ เนเธอร์แลนด์เน้นการวางตัวเป็นกลางในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศร่วมก่อตั้งองค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กร ได้แก่ องค์การสหประชาชาติ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ และสหภาพยุโรป เศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์มีการเปิดเสรีค่อนข้างมากและขึ้นอยู่กับการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างมาก

นโยบายระหว่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ โดยหลักแล้วจะเน้นความร่วมมือแถบทะเลแอตแลนติก แถบยุโรป การพัฒนานโยบายระหว่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ แต่เรื่องที่เป็นประเด็นขัดแย้งเสมอในเวทีระดับนานาชาติคือนโยบายเสรียาเสพติดชนิดไม่รุนแรงของเนเธอร์แลนด์เอง

ในช่วงยุคทอง เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศเจ้าอาณานิคม ก่อนประเทศใหญ่อย่างอินโดนีเซียและซูรินามได้ประกาศเอกราชแยกตัวไปในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่ทั้งสองประเทศยังคงมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันเนเธอร์แลนด์อยู่ ทำให้มีส่วนกับนโยบายระหว่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ยังมีประชากรของทั้งสองประเทศเป็นจำนวนมากที่ยังคงอาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์จนถึงปัจจุบัน

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

แก้
  • การทูต
  • การค้าและเศรษฐกิจ
  • การศึกษาและวิชาการ

กองทัพ

แก้

เนเธอร์แลนด์มีกองกำลังทหารมายาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1572 มีส่วนในการสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับจักรวรรดิดัตช์ เริ่มมีการเกณฑ์ทหารหลังจากที่พ่ายสงครามนโปเลียน หลังจากนั้น เนเธอร์แลนด์ดำเนินนโยบายเป็นกลาง แต่กลับถูกกองทัพเยอรมนีรุกรานในสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้ยกเลิกนโบายเป็นกลางและลงนามในสนธิสัญญาบรัสเซลส์ จึงเป็นประเทศร่วมก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือในปี ค.ศ. 1949 หลังจากนั้น ได้มีส่วนร่วมกับการรบในสงครามเย็น (สงครามเกาหลี) วิกฤตการณ์คอซอวอ โซมาเลีย และ อัฟกานิสถาน รวมถึงปฏิบัติการรักษาสันติภาพของ สหประชาชาติ และ สหภาพยุโรป

กองทัพเนเธอร์แลนด์นั้นแบ่งออกเป็น 4 เหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก (Koninklijke Landmacht หรือ KL) กองทัพเรือ (Koninklijke Marine หรือ KM) กองทัพอากาศ (Koninklijke Luchtmacht หรือ KLu) และ กองสารวัตรทหาร (Koninklijke Marechaussee หรือ KMar)

กองกำลังกึ่งทหาร

แก้

เศรษฐกิจ

แก้
 
ท่าเรือรอตเทอร์ดาม ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป

เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีบทบาทสำคัญเศรษฐกิจของยุโรปมาแล้วช้านานหลายศตวรรษ ชาวดัตช์ดำเนินกิจการเดินเรือ ประมง เกษตรกรรม ค้าขาย และธนาคารมายาวนานตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เศรษฐกิจมีเสรีภาพสูง ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจสูงที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลกใน ค.ศ. 2017[20] และเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมอันดับ 2 ของโลกในปี ค.ศ. 2018[21]

คู่ค้าที่สำคัญของเนเธอร์แลนด์ได้แก่ เยอรมนี เบลเยียม สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อิตาลี จีน และรัสเซีย[22] เนเธอร์แลนด์ติดอันดับประเทศที่ส่งออกมาที่สุด 10 อันดับแรก โดยสินค้าส่งออกหลักคือ อาหาร เคมีภัณฑ์ โลหะ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า การบริการ และการท่องเที่ยว โดยมีบริษัทสัญชาติดัตช์ขนาดใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจข้ามชาติอยู่มากมาย อาทิ  Unilever เบียร์ Heineken สายการบิน KLM  ธนาคาร ING, ABN AMRO, Rabobank เคมีภัณฑ์ DSM, AKZO ปิโตรเลียม Royal Dutch Shell เครื่องใช้ไฟฟ้า Philips, ASML และระบบนำร่องดาวเทียม TomTom

 
เนเธอร์แลนด์ เป็นส่วนหนึ่งของยูโรโซนหรือกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร (สีน้ำเงินเข้ม) และกลุ่มตลาดเดียวของสหภาพยุโรป (สีน้ำเงิน)

เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 17 ของโลก และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)เฉลี่ยต่อจำนวนประชากรสูงที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ในช่วง ค.ศ. 1997 ถึง 2000 มีอัตราการเติบโตของจีดีพีสูงเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อปี นับว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศยุโรปแต่ลดลงเล็กน้อยหลังจากนั้น อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี[23] และอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ใน ค.ศ. 2019[24]

ศูนย์กลางทางการเงินและธุรกิจของเนเธอร์แลนด์อยู่ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม โดยมีตลาดหลักทรัพย์อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam Stock Exchange หรือ AEX) เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ ปัจจุบันถือเป็นส่วนหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์ยุโรป (Euronext) เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรกๆที่เริ่มใช้เงินสกุลยูโรพร้อมกับอีก 15 ประเทศ โดยเริ่มใช้ในทางบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999 และเริ่มใช้เหรียญและธนบัตรยูโรอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2002 โดยอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 ยูโรต่อ 2.20371 คิลเดอร์ ซึ่งเป็นสกุลเงินเก่าของชาวดัตช์

ทำเลที่ตั้งของเนเธอร์แลนด์ทำให้ประเทศกลายเป็นศูนย์กลางการค้ามาอย่างช้านาน ทั้งการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสหราชอาณาจักรและเยอรมนี และประเทศในภูมิภาคอื่นของโลก นับตั้งแต่หลายร้อยปีก่อน นอกจากนี้ ยังมีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่านมาจากหลายประเทศในยุโรปและออกสู่ทะเลที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทำให้หลายเมืองกลายเป็นท่าเรือ โดยเฉพาะท่าเรือรอตเทอร์ดาม (Rotterdam) ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่และมีความสำคัญทางด้านการค้าระหว่างประเทศมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เปิดโอกาสให้ชาวเนเธอร์แลนด์ทำการค้าได้สะดวก และการค้ากับประเทศในแถบเอเชียและอเมริกามีความสำคัญกับเศรษฐกิจของชาวดัตช์มาตั้งแต่สมัยโบราณ นอกจากนี้ การที่เนเธอร์แลนด์ มีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก ชาวดัตช์ต้องอาศัยการเกษตรกรรม การประมง เลี้ยงสัตว์ ไม่มีแร่ธาตุสำคัญ (น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติมาค้นพบในระยะหลังๆ) ดังนั้น จึงต้องอาศัยการค้าเป็นหลัก เพื่อความอยู่รอด จนได้รับการขนานนามว่าเป็นชาตินักการค้า (Trading nation) และประสบความสำเร็จในด้านการค้ามาตลอด ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ความเชี่ยวชาญด้านการค้านั้น ดูได้จากการค้าระหว่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น และได้เปรียบดุลการค้ามาตลอดหลายปีติดต่อกัน ปัจจุบัน เนเธอร์แลนด์ยังคงดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้เสมอ และยังเป็นหนึ่งในห้าประเทศที่ไปลงทุนในสหรัฐอเมริกามากที่สุด

ก๊าซธรรมชาติ

แก้
 
แหล่งก๊าซธรรมชาติในเนเธอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 และกลายมาเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้มหาศาลหลายแสนล้านยูโรให้กับประเทศ[25] แต่การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเนื่องจากอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติก็ไปกระทบทำให้ภาคเศรษฐกิจอื่นๆถดถอยได้เช่นกัน หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคดัตช์[25]

แหล่งก๊าซโกรนิงเงิน เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ใกล้เมืองโกรนิงเงิน สร้างรายได้ให้กับประเทศมาตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 รวมเป็นเงินกว่า 159,000 ล้านยูโร[26] ดำเนินการขุดเจาะโดยบริษัท Gasunie ที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์เป็นเจ้าของ แล้วส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่อให้รัฐบาล บริษัท Shell และ Exxon Mobil ใช้ประโยชน์ต่อไป อย่างไรก็ตาม การขุดเจาะก๊าซส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่ผิวโลกมากขึ้น และบางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินไหวสูงถึงระดับ 3.6 ตามมาตราริกเตอร์ ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ารวมราว 6.5 พันล้านยูโร และประมาณ 35,000 ครัวเรือนได้รับความเสียหาย[27] ประมาณการกันว่าเนเธอร์แลนด์มีแหล่งก๊าซธรรมชาติคิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณก๊าซสำรองตามธรรมชาติของยุโรป[28] อุตสาหกรรมพลังงานนั้นจึงสร้างรายได้กว่าร้อยละ 11 ของจีดีพีของประเทศ(ในปี ค.ศ. 2014)

อย่างไรก็ตาม การใช้ก๊าซธรรมชาติในเนเธอร์แลนด์มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปริมาณสำรองเริ่มลดลง ความต้องการใช้ลดลง และเกิดปัญหาแผ่นดินไหวในแถบโกรนิงเงินบ่อยครั้ง นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังผลักดันให้ประเทศสมาชิกลดการใช้ก๊าซธรรมชาติลงและหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น แต่การเปลี่ยนแหล่งพลังงานมาใช้พลังงานหมุนเวียนแทนแก๊สนั้นยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยากอยู่ เพราะมีปัจจัยทางเศรษฐกิจและการผูกขาดพลังงานโดยบริษัทใหญ่ในประเทศมาเกี่ยวข้อง[29]

เกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ

แก้

เนเธอร์แลนด์มีความสามารถรองรับเชิงนิเวศของโลก (biocapacity) ต่ำ กล่าวคือ มีการสร้างทรัพยากรชีวภาพขึ้นมาใหม่น้อย แต่ในทางกลับกัน ชาวดัตช์มีการเพาะปลูกที่เป็นระบบและมีระบบเกษตรกรรมที่เน้นการส่งออก ชาวดัตช์ราว 4 เปอร์เซ็นต์ประกอบอาชีพเกษตรกรรมแต่ผลิตสินค้าเกษตรได้ปริมาณสูงเกินความจำเป็นต่อการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร ส่งผลให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกสินค้าเกษตรสูงเป็นอันดับหนึ่งในสหภาพยุโรปและสูงเป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกา[30] สร้างรายได้กว่า 80.7 พันล้านยูโรในปี ค.ศ. 2014[31] สินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ พริก มะเขือเทศ แตงกวา ตลอดจนดอกไม้และหน่อของดอกไม้

การท่องเที่ยว

แก้

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้

เมืองที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในเนเธอร์แลนด์ เช่น อัมสเตอร์ดัม รอตเทอร์ดาม กรุงเฮก เดลฟ์ท

  • Keukenhof สวนดอกทิวลิป
  • IJsselmeer Outdoor Museum/ The Zuiderzee Museum เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่แสดงวิถีชีวิตของชาวดัตช์ในสมัยโบราณ อาหารการกิน บ้านเรือนและสถาปัตยกรรม
  • เมือง Giethorn Water City ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น Venice of Holland เป็นเมืองที่อาศัยกับลำน้ำคูคลองมีเทศกาลพาเรดกลางน้ำในตอนกลางคืนให้ชม วิธีการชมก็คือการนั่งเรือออกไป
  • Archeon Park, อยู่ที่ Alphen aan den Rijn เป็นกึ่งสวนสนุกและพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจ มีการจัดบรรยากาศให้มีความโบราณ ไล่มาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโรมัน ยุคกลาง ฯลฯ การจัดแสดงและสื่อความหมายใช้คนแสดงเป็นหลัก
  • Efteling Park, ที่ Kaastsheuvel เป็นสวนสนุกที่มีบรรยากาศเป็นอุทยานหรือสวนสาธารณะที่เป็นธรรมชาติ เคยได้รับรางวัล Applause award ว่าเป็นสวนสนุกที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก หากใครเคยไปสวนสนุกแบบอเมริกัน เช่นดิสนีย์แลนด์มาแล้ว Efteling ให้รสชาติอีกแบบหนึ่งไม่แพ้กันเลยทีเดียว
  • เมืองตุ๊กตา เมืองจำลอง Madurodam Miniature land เมืองจำลองขนาดเล็กที่อธิบายเกี่ยวกับสถานที่สำคัญของเนเธอร์แลนด์ได้อย่างครบถ้วน
  • Polder museum หรือพิพิธภัณฑ์การเกิดแผ่นดินใหม่ และโครงการ Delta projects ที่แสดงเทคโนโลยีการกันน้ำท่วมของชาวดัตช์ตั้งแต่อดีต แสดงให้เห็นว่าชาวดัตช์ใช้ความรู้ ความอดทน และความเป็นนักสู้ต่อสู้กับธรรมชาติ และเรียนรู้ที่จะอยู่กับสภาพการณ์นั้นอย่างชาญฉลาดอย่างไร วิศวกรรมและศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องถูกนำมาจัดแสดงในหลากหลายระดับ ให้คนเลือกดูเลือกชมและได้รับความรู้ที่แตกต่างกันไป ตามอัธยาศัย

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

คมนาคม และ โทรคมนาคม

แก้

ระบบการสัญจรในประเทศเนเธอร์แลนด์เติบโตขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 โดยปัจจุบันมีการใช้รถยนต์คิดเป็นราวๆครึ่งหนึ่งของการคมนาคมทั้งหมด รองลงมาเป็นการใช้จักรยานร้อยละ 25 การเดินร้อยละ 20 และการขนส่งสาธารณะร้อยละ 5 [32] เนเธอร์แลนด์มีโครงข่ายถนนยาว 139,295 กิโลเมตร มีทางด่วนพิเศษยาว 2,758 กิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีระบบถนนหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก [33]

การขนส่งสาธารณะที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือรถไฟ โดยเนเธอร์แลนด์มีระบบโครงข่ายรถไฟยาวกว่า 3,013 กิโลเมตรและถักทอกันอย่างค่อนข้างหนาแน่น [34] ทำหน้าที่เชื่อมต่อเมืองใหญ่ต่างๆเข้าด้วยกัน มีสถานีทั้งหมดกว่า 400 สถานี แต่ละเส้นจะมีรถไฟวิ่งอย่างน้อย 2 ขบวนต่อชั่วโมง และเฉลี่ยอยู่ที่ 2-4 ขบวนต่อชั่วโมง [35] ในการให้บริการนั้น บริษัทรถไฟ NS ของรัฐเป็นผู้ให้บริการหลักในประเทศ และยังมีรถไฟระหว่างประเทศเชื่อมต่อกับเบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี และอังกฤษอีกด้วย

จักรยาน เป็นอีกพาหนะหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันในเนเธอร์แลนด์ มีการประมาณตัวเลขไว้ว่าชาวเนเธอร์แลนด์มีจักรยานรวมราวๆ 18 ล้านคัน [36] หรือหนึ่งคันเศษๆต่อประชากรหนึ่งคน นอกจากนี้เนเธอร์แลนด์มักจะถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่เป็นมิตรกับผู้ใช้จักรยานอยู่เป็นอันดับต้นๆร่วมกับเดนมาร์กอยู่เสมอ โดยชาวดัตช์นิยมปั่นจักรยานไปทำงานอยู่เป็นประจำ [37] เพราะมีเส้นทางที่ทำแยกไว้สำหรับจักรยานโดยเฉพาะยาวถึง 35,000 กิโลเมตร และในหลายจุดยังมีสัญญาณไฟจราจรที่ทำไว้สำหรับจักรยานโดยเฉพาะอีกด้วย [38]

ท่าเรือรอตเทอร์ดามเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเมิสและแม่น้ำไรน์ซึ่งเชื่อมต่อเมืองสำคัญในหลายประเทศ ทั้งเยอรมนี เบลเยียม ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ อุตสาหกรรมหลักที่ใช้บริการท่าเรือแห่งนี้คืออุตสาหกรรมปิโตรเลียมและการขนส่งสินค้าทั่วไป มีเรือเดินสมุทร เรือแม่น้ำ รถไฟ และรถบรรทุกเข้ามาถ่ายเปลี่ยนสินค้าอยู่ตลอดเวลา

ท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัมสคิโพล ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอัมสเตอร์ดัม เป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ และเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับสามในยุโรป รองรับผู้โดยสารกว่า 70 ล้านคนในปี ค.ศ. 2016 [39]

ปัจจุบัน รัฐบาลเนเธอร์แลนด์มีแผนติดตั้งสถานีชาร์ตไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศกว่า 200 สถานี โดยมีบริษัท ABB และ Fastned เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ โดยมีแผนจะติดตั้งให้มีอย่างน้อย 1 สถานีในระยะรัศมี 50 กิโลเมตรจากบ้านทุกหลักในเนเธอร์แลนด์ [40]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

แก้

เนเธอร์แลนด์มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การวิจัย และสร้างนวัตกรรม ทำให้ชาวดัตช์ค้นพบ สร้างสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมต่างๆมากมายให้กับโลก เช่น ตำราโครงสร้างของร่างกายมนุษย์โดยแอนเดรียส เวซาเลียส การค้นพบวงแหวนของดาวเสาร์และดวงจันทร์ไททันโดยคริสตียาน เฮยเคินส์ การค้นพบกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยยัน อิงเงินฮุส จนถึงการคิดค้นภาษาไพทอน โดยคีโด ฟัน โรสซึม

เนื่องจากวิทยาศาสต์และเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลจึงเป็นผู้ควบคุมโดยตรง โดยมีกระทรวงศึกษา วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ (OCW) และกระทรวงเศรษฐกิจและนโยบายสภาพภูมิอากาศ (EZK) ร่วมวางนโยบายและจัดทำแผนยุทธศาสตร์และงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การศึกษา

แก้

การศึกษาภาคบังคับของเนเธอร์แลนด์อยู่ระหว่างช่วงอายุ 5 ปีถึง 16 ปี และแบ่งโรงเรียนตามระดับการศึกษาได้เป็น

โรงเรียนประถมศึกษา

นักเรียนอายุ 4-12 ปี โดยโรงเรียนประถมศึกษาในเนเธอร์แลนด์จะมี 8 ระดับชั้น ซึ่งเรียกว่า Groep 1-8

โรงเรียนมัธยมศึกษา

โดยจะแบ่งรูปแบบการสอนเป็น 3 หลักสูตร

1.VMBO (Voorbereidend Middelbaar Beroepsonderwijs)

เป็นการศึกษาในช่วงอายุ 12-16 ปี ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างหลักสูตรวิชาชีพกับทฤษฎี ซึ่งร้อยละ 60 ของนักเรียนจะเลือกหลักสูตรนี้

2.HAVO (Hoger Algemeen Voortgezet Onderwijs)

มีทั้งหมด 5 ระดับชั้น ตั้งแต่นักเรียนอายุ 12-17 ปี เมื่อเรียนจบสามารถเข้าเรียนต่อใน HBO ได้

3.VWO (Voorbereidend Wetenschappelijk Onderwijs)

มีทั้งหมด 6 ระดับชั้น ตั้งแต่นักเรียนอายุ 12-18 ปี ซึ่งสามารถเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้

4.MBO (Middelbaar Beroepsonderwijs)

เป็นการศึกษาต่อจาก VMBO มี 4 ปีการศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

จะแบ่งออกเป็นปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกและดำเนินตาม กระบวนการโบโลญญ่า (Bologna Process)

1.MBO (Middelbaar Beroepsonderwijs)

เป็นการศึกษาต่อจาก VMBO มี 4 ปีการศึกษา

2.HBO (Hoger Beroepsonderwijs)

เป็นสถานบันฝึกวิชาชีพขั้นสูง แต่จะไม่เทียบเท่ากับการเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้ที่จบ HBO แล้วต้องเรียน Pre-master ก่อนที่เจ้าเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้

3.WO (Wetenschappelijk Onderwijs)

หลักสูตรนี้จะเน้นหนักไปทางวิชาการ ในระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่จะใช้เวลา 3 ปี ระดับปริญญาโทจะใช้เวลาเรียน 1 ปี ส่วนระดับปริญญาเอกจะใช้เวลาเรียน 4-5 ปี

มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของเนเธอร์แลนด์มีหลายแห่งด้วยกัน เช่น มหาวิทยาลัยไลเดิน มหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม มหาวิทยาลัยไฟรย์อัมสเตอร์ดัม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีไอนด์โฮเฟิน มหาวิทยาลัยโกรนิงเงิน มหาวิทยาลัยมาสทริชท์ มหาวิทยาลัยรัดเบาด์ไนเมเคิน มหาวิทยาลัยเอรัสมุสรอตเทอร์ดาม มหาวิทยาลัยติลบูร์ค มหาวิทยาลัยทเว็นเตอ มหาวิทยาลัยยูเทรกต์ และมหาวิทยาลัยวาเคินนิงเงิน

สาธารณสุข

แก้

เนเธอร์แลนด์มีระบบสาธารณสุขที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในเกณฑ์ดีมาก [41] หลังจากที่มีการปฏิรูประบบครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 2006 โดยเนเธอร์แลนด์ให้อิสระกับผู้ป่วยในการเลือกซื้อประกันสุขภาพและสถานที่รับบริการสาธารณสุข การตัดสินใจทางการแพทย์เกิดขึ้นระหว่างการสนทนาระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วย เนเธอร์แลนด์บังคับให้ประชาชนมีประกันสุขภาพ โดยมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

  • ประกันสุขภาพพื้นฐาน Zorgverzekeringswet (ZVW) ที่ประชาชนเป็นผู้จ่ายค่าเบี้ยประกัน
  • ประกันสุขภาพระยะยาว Algemene Wet Bijzondere Ziektekosten (AWBZ) ที่รัฐเป็นผู้คุ้มครองโดยอัตโนมัติ

ระบบสาธารณสุข สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ โดยระดับปฐมภูมินั้น แพทย์ประจำบ้าน (huisartsen เทียบได้กับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป) เป็นผู้รับการรักษาหรือส่งผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิต่อไป[42]

ประชากร

แก้

เมืองใหญ่

แก้

เชื้อชาติ

แก้

ประเทศเนเธอร์แลนด์มีประชากร 17,424,978 คน (ปี ค.ศ. 2019) โดยมีอัตราความหนาแน่น 521 คนต่อ ตร. กม. นับได้ว่าอยู่อันดับที่ 12 ของโลก มีอัตราการเกิดอยู่ที่ 1.78 คนต่อผู้หญิง 1 คน[44] ประชากรมีอายุเฉลี่ย 42.7 ปีซึ่งนับว่าสูงทีเดียว นอกจากนั้นยังเป็นประเทศที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5[45] และยังเป็นประเทศที่มีอัตราความสูงของผู้อยู่อาศัยสูงที่สุดในโลก โดยผู้ชายมีความสูง 1.81 เมตร และผู้หญิงสูง 1.68 เมตรอีกด้วย [46] และคนทางเหนือจะสูงกว่าคนทางใต้ราวๆ 2 เซนติเมตร

ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีประชาชนหลายเชื้อชาติเข้ามาอยู่อาศัย[47] ดังนี้

ที่ เชื้อชาติ จำนวน (ร้อยละ)
1. ดัตช์ 80.9
2. เยอรมัน 2.4
3. อินโดนีเซีย 2.4
4. เติร์ก 2.2
5. ซูรินาม 2
6. โมร็อกโก 1.9
7. ชาวแอนทิลลีสและชาวอารูบา 0.8
8. อื่นๆ 7.4

นอกจากนั้นยังมีผู้อาศัยที่มีเชื้อผสมระหว่างอินโดนีเซียกับดัตช์อีกกว่า 8 แสนคน

ศาสนา

แก้

ในปี ค.ศ. 2015 สำนักงานสถิติแห่งชาติเนเธอร์แลนด์ระบุว่า ร้อยละ 50.1 ประกาศตนเองว่าไม่นับถือศาสนาใด ส่วนอีกร้อยละ 43.8 นับถือศาสนาคริสต์ แบ่งเป็นนิกายคาทอลิกร้อยละ 23.7 นิกายโปรเตสแตนท์(ในคริสตจักรโปรเตสแตนท์แห่งเนเธอร์แลนด์)ร้อยละ 15.5 และนิกายอื่นๆร้อยละ 4.6 ส่วนศาสนาอื่น มีผู้นับถืออิสลามร้อยละ 4.9 และศาสนาอื่นๆรวมทั้งฮินดู พุทธ และยูดายอีกร้อยละ 1.1 [48]

แต่เดิม ราชวงศ์ของเนเธอร์แลนด์นับถือศาสนาคริสต์ลัทธิคาลวินก่อนจะเปลี่ยนเป็นคริสตจักรโปรเตสแตนท์แห่งเนเธอร์แลนด์ ส่วนในจังหวัดทางใต้ (นิยมหมายถึงพื้นที่ฝั่งใต้ของแม่น้ำไรน์และเมิส) เช่น นอร์ทบราบันต์และลิมบูร์ก ประชาชนนับถือนิกายโรมันคาทอลิกมาแต่โบราณ ทำให้คริสตจักรคาทอลิกยังเป็นที่ศรัทธาของประชนชนทางใต้อยู่เป็นจำนวนมาก

ภาษา

แก้

ภาษาราชการของเนเธอร์แลนด์คือภาษาดัตช์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของประเทศสามารถพูดได้ ทั้งนี้ จังหวัดฟรีสลันด์ทางตอนเหนือยังยอมรับภาษาฟรีเชียตะวันตกเป็นภาษาราชการภาษาที่สอง นอกจากนี้ ยังมีการรับรองภาษาสำเนียงท้องถิ่นที่มีรากมาจากภาษาเยอรมันต่ำตามท้องที่ต่างๆที่มีชายแดนติดกับประเทศเยอรมนีอีกด้วย เช่น ทเวนเตอ เดรนเทอ และลิมบูร์ก

ชาวดัตช์มีค่านิยมในการเรียนภาษาต่างประเทศมาตั้งแต่สมัยโบราณซึ่งมีบทบัญญัติไว้ในกฎหมายของเนเธอร์แลนด์อีกด้วย ประชากรกว่าร้อยละ 90 เชื่อว่าตนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้[49] และร้อยละ 70 สามารถพูดภาษาเยอรมนีได้ ส่วนคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสได้มีร้อยละ 29 ภาษาอังกฤษเป็นภาษาบังคับในหลักสูตรมัธยมศึกษา และหลายโรงเรียนมักจะบังคับให้เรียนภาษาต่างประเทศอีกหนึ่งภาษาตั้งแต่ช่วงสองปีแรกของมัธยมต้น

กีฬา

แก้

ผู้คนกว่า 4.5 ล้านคน ในเนเธอร์แลนด์ ได้ลงทะเบียนกับสโมสรกีฬาที่มีกว่า35,000แห่งในเนเธอร์แลนด์ ผู้คน 2 ใน 3 ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี จะเล่นกีฬาอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์.ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมที่สุดในเนเธอร์แลนด์ และตามด้วยฮอคกี้และวอลเลย์บอลตามลำดับ กอล์ฟ,ยิมนาสติกและเทนนิส เป็นกีฬาประเภทเดียวที่นิยมกันในเนเธอร์แลนด์ องค์กรณ์เกี่ยวกับกีฬาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 สหพันธ์การกีฬาได้ถูกสร้างขึ้นมา.กฏกีฬาได้ถูกประกาศออกมาเป็นทางการ และได้มีสโมสรกีฬาเป็นทางการ.คณะกรรมการโอลิมปิกของดัตซ์ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ.1912.และจนถึงบัดนี้ เนเธอร์แลนด์สามารถคว้าเหรียญมาได้ 230 เหรียญในกีฬาโอลิมปิคฤดูร้อน และอีก 78 เหรียญในกีฬาโอลิมปิคฤดูหนาว

วัฒนธรรม

แก้

วรรณกรรม

แก้

ภาพยนตร์และโทรทัศน์

แก้

พอล แฟร์โฮเฟน เป็นผู้กำกับชาวดัตช์ที่มีชื่อเสียง มีผลงานภาพยนตร์ในฮอลลีวูดมากมาย อาทิเช่น โรโบคอป และคนทะลุโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้กำกับอย่างยาน เดอโบนท์ อันตอน คอร์ไบน์ และดิค มาส ที่เป็นที่รู้จักเช่นกัน ส่วนผู้กำกับภาพของภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ โฮยเตอ ฟัน โฮยเตอมา (จากอินเตอร์สเตลลาร์) และเตโอ ฟอนเดอซานเดอ (จากเบลด พันธุ์ฆ่าอมตะ) ส่วนนักแสดงชาวดัตช์หลายคนก็เป็นที่รู้จักในวงการภาพยนตร์ ทั้งฟัมเกอ ยันส์เซิน และ มีคีล เฮยส์มัน

ตลาดรายการโทรทัศน์ของเนเธอร์แลนด์ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน หลายรายการเป็นรายการนำเข้าจากต่างประเทศและถ่ายทอดเป็นภาษาต้นฉบับพร้อมมีคำบรรยายใต้ภาพ มีเพียงรายการสำหรับเด็กเท่านั้นที่จะถูกบันทึกเสียงแปลแทนเสียงต้นฉบับ บริษัทเอ็นเดโมล (Endemol) เป็นบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จระดับนานาชาติ ก่อตั้งโดยยอห์น เดอโมลและโยป ฟอนเดนเอ็นเด นักจัดรายการชื่อดัง มีรายการในสังกัดมากมาย รวมทั้ง บิกบราเธอร์ ดีลออร์โนดีล ก่อนที่เดอโมลจะแยกมาตั้งบริษัททัลปา เพื่อผลิตรายการประกวดร้องเพลงอย่างเดอะวอยซ์

ศิลปะ

แก้

ในช่วงยุคทองของเนเธอร์แลนด์ มีจิตรกรเอกเกิดขึ้นมากมาย ทั้งแร็มบรันต์ โยฮันเนิส เฟอร์เมร์ ฟรันส์ ฮัลส์ ยาคอป ฟาน รุยส์เดล และอีกมากมาย สืบเนื่องมาจนศตวรรษที่ 19 และ 20 จิตรกรชาวดัตช์ก็ยังมีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลมากในศิลปะตะวันตก จากผลงานการสร้างสรรค์ของจิตรกรเอก ได้แก่ แวนโก๊ะ ปีต โมนดรียาน และเมาริตส์ กอร์เนลิส แอ็ชเชอร์ หรือแม้แต่วิลเลิม เดอ โกนิง จิตรกรชาวอเมริกาก็เกิดและเติบโตที่ร็อตเทอร์ดาม

ดนตรี

แก้

อาหาร

แก้
สโตรปวาเฟิล ขนมหวานคุกกีสอดไส้น้ำตาลคาราเมล
โอลีบอลเลน ขนมหวานของเนเธอร์แลนด์ นิยมรับประทานในวันขึ้นปีใหม่
บิตเตอร์บอลเลน นิยมรับประทานคู่กับมัสตาร์ด

แต่เดิม อาหารของชาวเนเธอร์แลนด์มาจากผลผลิตจากการจับปลาและเกษตรกรรมทั้งการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ อาหารดัตช์มีความเรียบง่ายตรงไปตรงมาและอุดมไปด้วยผลิตภัณฑ์จากนม มื้อเช้าและเที่ยงเป็นอาหารจำพวกขนมปังโรยหน้าต่างๆ อาหารมื้อเย็นแบบดั้งเดิมของเนเธอร์แลนด์มักมีมันฝรั่ง เนื้อ และผักตามฤดูกาล อาหารดัตช์มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันในปริมาณที่สูงเนื่องจากชาวดัตช์สมัยก่อนต้องใช้แรงงานมาก มีความเรียบง่าย ไม่ต้องการความปราณีตมาก ยกเว้นในช่วงวันหยุดเทศกาลที่จะมีการทำอาหารมื้อพิเศษ แต่กระแสโลกาภิวัฒน์ในศตวรรษที่ 20 ทำให้รูปแบบอาหารของชาวดัตช์เปลี่ยนแปลงไป มีการทำอาหารในรูปแบบสากล ใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศมากขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสมัยใหม่มักจะแบ่งอาหารของเนเธอร์แลนด์ออกตามภูมิภาคออกเป็น 3 ประเภท

  • อาหารตะวันออกเฉียงเหนือ ตามจังหวัดโกรนิงเงิน ฟรีสลันด์ เดรนเทอ โอเฟอไรส์เซิล และเกลเดอร์ลันด์ ซึ่งมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย มีประชากรอาศัยอยู่ไม่มาก ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 มีการทำฟาร์มขนาดใหญ่ส่งผลให้มื้ออาหารมีเนื้อสัตว์ปริมาณมาก ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือที่ติดทะเลจะมีการใช้ปลาจำนวนมากเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีการทำไส้กรอกแห้งหรือเม็ตเวิร์สต์ (Metworst) ซึ่งมีรสจัด และไส้กรอกรมควัน (rookworst)โดยทั่วไป นิยมรับประทานกับ สตัมป์ปอต (มันบดผัก) ฮุตสปอต (มันบดแครอทและหัวหอม) และเซาเออร์เคราท์ (กะหล่ำปลีเปรี้ยว) นอกจากนี้ ภูมิภาคนี้ยังนิยมใช้ขนมปังแป้งไรย์ ปรุงรสด้วยขิงหรือเปลือกมะงั่วหรือเนื้อปริมาณเล็กน้อย พื้นที่ราบต่ำทางตอนเหนือของภูมิภาคอุดมไปด้วยที่ลุ่มจึงมีการผลิตและใช้ชีสในมื้ออาหาร
  • อาหารตะวันตก ตามจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ เซาท์ฮอลแลนด์ เซลันด์ และยูเทรกต์ ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มมีทุ่งหญ้ามากมาย บริเวณนี้มีการทำอาหารด้วยผลิตภัณฑ์จากนมมาก ขึ้นชื่อด้านการผลิตชีส ไม่ว่าจะเป็นชีสเคาดา ชีสเลย์เดน และชีสอีดัม ทั้งนี้ จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ยังมีชื่อเสียงด้านการผลิตมายองเนส มัสตาร์ด และช็อคโกแลตมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 จังหวัดเซลันด์และเซาท์ฮอลแลนด์ยังนิยมผลิตเนยที่ใช้นมปริมาณสูง(สูงกว่าเนยยุโรปชาติอื่นๆ) จังหวัดที่ติดทะเลยังนิยมนำปลาเฮร์ริง หอยแมลงภู่ ปลาไหล หอยนางรม และกุ้งมาปรุงอาหาร ส่วนขนมหวานที่มีชื่อเสียงได้แก่ สโตรปวาเฟิล (คุกกีเติมเนยและน้ำตาลเหลว) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นที่นิยมคือ เบียร์ และเยเนเฟอร์ที่เป็นที่เป็นบรรพบุรุษของเหล้าจินในอังกฤษ
  • อาหารใต้ ตามจังหวัดนอร์ทบราบันต์และลิมบูร์ก ตลอดจนเขตฟลามส์ในประเทศเบลเยียม มีชื่อเสียงด้านการทำขนมอบ ซุป สตูว์ และผัก เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากการปกครองของดยุคแห่งเบอร์กันดีในสมัยกลางอยู่เป็นเวลานาน อาหารมีความงดงามและพิถีพิถันเป็นพิเศษ ขนมหวานเป็นอาหารขึ้นชื่อ เช่นเค้กฟลาย (Vlaai) และบอสช์บอล (Bossche Bol) นิยมใช้ครีม คัสตาร์ด และผลไม้เป็นส่วนผสม นอกจากนี้ ยังนิยมรับประทานไส้กรอกขนมปังเป็นประจำ ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีชื่อเสียงคือ เบียร์ ซึ่งบางครั้งนำมาใช้ในการทำอาหารด้วยเช่นอาหารจำพวกสตูว์

สื่อสารมวลชน

แก้

วันหยุด

แก้

ประเทศเนเธอร์แลนด์มีวันคริสต์มาส 2 ครั้ง วันที่ 5 และ 25 ธันวาคม ถือว่าเป็นวันคริสต์มาสทั้ง 2 วัน วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันฉลองวันนิโคลัสอีฟ โดยมีเรื่องเล่ากันว่า วันที่ 3 พฤศจิกายน เซนต์นิโคลัสหรือซานตาคลอสจะขึ้นม้าจากสเปน มุ่งหน้ามายังกรุงอัมสเตอร์ดัม

ค่านิยม

แก้

สังคมเนเธอร์แลนด์เป็นสังคมสมัยใหม่ที่เน้นสมภาคนิยม (egalitarianism) ชาวดัตช์ไม่ชอบการโอ้อวด[50]แต่ภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรม ความรุ่งเรืองของศิลปะในอดีต และการมีส่วนร่วมกับเวทีการเมืองระดับนานาชาติ

ชาวเนเธอร์แลนด์เป็นคนใจกว้างและตรงไปตรงมา ความเรียบง่ายและไม่เป็นทางการกลายเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นของชาวดัตช์ นอกจากนี้ ยังชื่นชอบแนวคิดว่ามนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันอีกด้วย นอกจากนี้ ชาวดัตช์ยังเชื่อในโลกทางโลกมากกว่าทางธรรม และมองว่าการนับถือศาสนาเป็นเรื่องส่วนบุคคลมากกว่าจารีตของสังคม โดยมีประชาชนเพียงร้อยละ 14 เท่านั้นที่ไปโบสถ์อย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์[51]

แม้เนเธอร์แลนด์จะเป็นประเทศผู้นำด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและการควบคุมจำนวนประชากร แต่ก็เป็นหนึ่งในผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อจำนวนประชากรสูงที่สุดประเทศหนึ่งของยุโรป มากกว่าฝรั่งเศส เยอรมนี และเบลเยียม[52] ชาวดัตช์ชื่นชอบแนวคิดควายั่นยืน โดยรัฐบาลผลักดันให้ประเทศหันมาใช้แหล่งพลังงานที่หมุนเวียน ยั่งยืน และราคาถูกภายในปี ค.ศ. 2050 โดยตั้งเป้าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงครึ่งหนึ่ง และไฟฟ้าราวร้อยละ 40 ต้องมาจากแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน[53]

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองหลวงตามรัฐธรรมนูญ ในขณะที่รัฐบาลและราชวงศ์มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่เดอะเฮก

อ้างอิง

แก้
  1. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu/eurostat. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 9 July 2020.
  2. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  3. "North Sea". Ministry of Defence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-03. สืบค้นเมื่อ 6 March 2012.
  4. Permanent Mission of the Netherlands to the UN. "General Information". สืบค้นเมื่อ 26 June 2013.
  5. "The Reuters Style Guide". สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
  6. "The BBC News Styleguide" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-27. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  7. "Telegraph style book: places and peoples". สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
  8. "The Guardian style guide" (PDF). สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
  9. "Milieurekeningen 2008" (PDF). Centraal Bureau voor de Statistiek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-02-15. สืบค้นเมื่อ 4 February 2010. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  10. "Netherlands Guide – Interesting facts about the Netherlands". Eupedia. 19 April 1994. สืบค้นเมื่อ 29 April 2010.
  11. van Krieken, Peter J.; David McKay (2005). The Hague: Legal Capital of the World. Cambridge University Press. ISBN 90-6704-185-8., specifically, "In the 1990s, during his term as United Nations Secretary-General, Boutros Boutros-Ghali started calling The Hague the world's legal capital."
  12. "Netherlands". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-10. สืบค้นเมื่อ 2014-04-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์), Index of Economic Freedom. heritage.org
  13. "Where is the happiest place on Earth? | The Search Office Space Blog | Searchofficespace". News.searchofficespace.com. 25 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-11. สืบค้นเมื่อ 28 October 2011. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  14. "Gemeentelijke indeling op 1 januari 2019" [Municipalities on 1 January 2019]. CBS Classifications (ภาษาดัตช์). CBS. 1 January 2019. สืบค้นเมื่อ 7 February 2020.
  15. "De waterschappen" (ภาษาดัตช์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2013. สืบค้นเมื่อ 7 June 2013.
  16. "Totale oppervlakte". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-13. สืบค้นเมื่อ 2020-05-09. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  17. "CBS Statline". opendata.cbs.nl.
  18. "31.954, Wet openbare lichamen Bonaire, Sint Eustatius en Saba" (ภาษาดัตช์). Eerste kamer der Staten-Generaal. สืบค้นเมื่อ 15 October 2010. De openbare lichamen vallen rechtstreeks onder het Rijk omdat zij geen deel uitmaken van een provincie.
    "Through the establishment of the BES islands as public bodies, rather than communities, the BES islands' rules may deviate from the rules in the European part of the Netherlands. The Dutch legislation will be introduced gradually. The public bodies fall directly under the central government because they are not part of a province."
  19. 19.0 19.1 Ministerie van Algemene Zaken (19 May 2015). "Waaruit bestaat het Koninkrijk der Nederlanden?". Rijksoverheid.
  20. "Wayback Machine" (PDF). 4 June 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 June 2017. สืบค้นเมื่อ 3 August 2017.
  21. Cornell University, INSEAD, and WIPO (2018): The Global Innovation Index 2018: Energizing the World with Innovation. Ithaca, Fontainebleau and Geneva
  22. "The World Factbook". www.cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-21. สืบค้นเมื่อ 22 April 2015. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  23. "Inflation up to 2.8 percent". Statistics Netherlands. 6 June 2013. สืบค้นเมื่อ 11 June 2013.
  24. "More employed in February". 21 February 2019. สืบค้นเมื่อ 21 March 2019.
  25. 25.0 25.1 The Dutch curse: how billions from natural gas went up in smoke เก็บถาวร 21 ธันวาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน LEES MEER, 17 June 2009
  26. "The Groningen Gas Field". GEO ExPro Magazine. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-19. สืบค้นเมื่อ 11 June 2013. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  27. UPDATE 2-Dutch gas field earthquake dangers ignored for decades -Safety Board Wed 18 February 2015, By Anthony Deutsch,18 Feb (Reuters)
  28. "The hunt for gas and oil reserves that are more difficult to extract". EBN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2015.
  29. "European Energy Market Reform" (PDF). Deloitte.
  30. "Farming in the Netherlands: Polder and wiser". The Economist. Sevenum: The Economist Group. 23 August 2014. สืบค้นเมื่อ 29 August 2014.
  31. "Dutch agricultural exports top 80 billion Euros". 16 January 2015.
  32. Waard, Jan van der; Jorritsma, Peter; Immers, Ben (October 2012). New Drivers in Mobility: What Moves the Dutch in 2012 and Beyond? (PDF) (Report). Delft, the Netherlands: OECD International Transport Forum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 January 2013. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
  33. "CIA World Factbook | Field listing: Roadways". Cia.gov. U.S. Central Intelligence Agency. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  34. "CIA World Factbook | Field listing: Railways". Cia.gov. U.S. Central Intelligence Agency. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-13. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  35. "NS to up frequency of Amsterdam to Eindhoven trains to six an hour - DutchNews.nl". DutchNews.nl (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 21 June 2017. สืบค้นเมื่อ 8 December 2017.
  36. (RVO), Netherlands Enterprise Agency (17 กรกฎาคม 2015). "Holland Publications". hollandtrade.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2016. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  37. "European Cyclists' Federation – The first EU wide ECF Cycling Barometer launched". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014.
  38. "CROW Fietsberaad". Fietsberaad.nl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2014. สืบค้นเมื่อ 3 August 2017. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  39. "Bijna 64 miljoen—zo veel passagiers zag Schiphol nog nooit – NOS" [Almost 64 million—Schiphol never saw so many passengers – NOS]. NOS.nl (ภาษาดัตช์). Nederlandse Omroep Stichting. 9 January 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2017. สืบค้นเมื่อ 9 January 2017.
  40. Toor, Amar (10 July 2013). "Every Dutch citizen will live within 31 miles of an electric vehicle charging station by 2015". The Verge. Vox Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 11 July 2013.
  41. "Health Consumer Powerhouse". healthpowerhouse.com. สืบค้นเมื่อ 26 August 2016.
  42. J.M. Boot, 'De Nederlandse Gezondheidszorg', Bohn Stafleu van Loghum 2011
  43. Statistics Netherlands.
  44. "The World Factbook – Netherlands". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-21. สืบค้นเมื่อ 11 June 2013. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  45. "Top 35 countries with the highest internet penetration rate". InternetWorldStats.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-25. สืบค้นเมื่อ 2007-06-20.
  46. "Reported health and lifestyle". Centraal Bureau voor de Statistiek. สืบค้นเมื่อ 2007-08-28.
  47. Garssen, Joop, Han Nicolaas and Arno Sprangers (2005). "Demografie van de allochtonen in Nederland" (PDF) (ภาษาดัตช์). Centraal Bureau voor de Statistiek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-09. สืบค้นเมื่อ 2 July 2011. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  48. Schmeets, Hans; Mensvoort, Carly van (2011). Religieuze betrokkenheid van bevolkingsgroepen, 2010–2014 (PDF). Centraal Bureau voor der Statistiek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-15. สืบค้นเมื่อ 21 February 2018. {{cite book}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  49. "European Union survey" (PDF). Ec.europa.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 January 2007. สืบค้นเมื่อ 3 August 2017.
  50. Colin White & Laurie Boucke (1995). The UnDutchables: An observation of the Netherlands, its culture and its inhabitants (3rd Ed.). White-Boucke Publishing.
  51. Becker, De Hart, Jos, Joep. "Godsdienstige veranderingen in Nederland, Verschuivingen in de binding met de kerken en de christelijke traditie". SCP. Sociaal en Cultureel Planbureau Den Haag. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  52. "Fossil CO2 emissions of all world countries - 2018 Report". EU Science Hub. 2018. สืบค้นเมื่อ October 21, 2019.
  53. "Sustainable enterprise | RVO.nl". english.rvo.nl. สืบค้นเมื่อ 15 June 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
การศึกษา
การท่องเที่ยว