เซาเออร์เคราท์
เซาเออร์เคราท์ (เยอรมัน: Sauerkraut, ออกเสียง: [ˈzaʊ.ɐˌkʁaʊt] ( ฟังเสียง)) เป็นอาหารเยอรมันชนิดหนึ่ง แปลตรงตัวว่ากะหล่ำปลีเปรี้ยว เป็นการดองกะหล่ำปลีโดยแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลกติกหลายชนิด ได้แก่ Leuconostoc, Lactobacillus และ Pediococcus[1][2] เก็บได้นาน มีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด โดยเฉพาะกับเนื้อและฮอตดอก[3][4][5][6]
เซาเออร์เคราท์ในโปแลนด์ (Kiszona kapusta) | |
ชื่ออื่น | ชูครุต |
---|---|
มื้อ | เครื่องปรุงรส |
แหล่งกำเนิด | เยอรมัน |
ภูมิภาค | ยุโรป |
ส่วนผสมหลัก | กะหล่ำปลีหั่นดองจนมีรสเปรี้ยว |
รูปแบบอื่น | มีอาหารที่คล้ายกันนี้ในเนเธอร์แลนด์ รัสเซีย และโปแลนด์ |

เซาเออร์เคราท์ทำจากกะหล่ำปลีหั่นแล้วนำไปหมักกับเกลือ ใส่เม็ดผักชี ใบเบย์ ผลเอลเดอร์ ยี่หร่า ฮอร์สแรดิช ใบเซโวรี กานพลู และเครื่องเทศอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น นิยมรับประทานกับปลาเค็ม ไส้กรอก หรือหมูหมักเกลือ อาหารเยอรมันชนิดนี้ส่งอิทธิพลต่ออาหารฝรั่งเศสที่เรียกชูครุตการ์นี ซึ่งเป็นกะหล่ำปลีดองเกลือเช่นกัน และยังพบอาหารที่ใกล้เคียงกันนี้ในอาหารรัสเซียและอาหารโปแลนด์ด้วย[7]
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 78 กิโลจูล (19 กิโลแคลอรี) |
4.3 g | |
น้ำตาล | 1.8 g |
ใยอาหาร | 2.9 g |
0.14 g | |
0.9 g | |
วิตามิน | |
วิตามินบี6 | (10%) 0.13 มก. |
วิตามินซี | (18%) 15 มก. |
แร่ธาตุ | |
เหล็ก | (12%) 1.5 มก. |
โซเดียม | (44%) 661 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
น้ำ | 92 g |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
กรรมวิธีการหมัก แก้
ใส่กะหล่ำปลีสดหั่นลงในหม้อ ทุบให้กะหล่ำช้ำจนกระทั่งน้ำภายในตัวกะหล่ำไหลออกมาจนท่วม เกลือที่ใส่ลงไปนี้จะทำให้คงสภาพจนกระทั่งเข้าสู่การหมัก ถ้าเป็น "ไวน์เซาเออร์เคราท์" ใส่ไวน์ขาวด้วยเล็กน้อย ใช้เกลือทะเลในการหมักโดยใช้เวลาประมาณ 4–6 สัปดาห์ กะหล่ำปลีถูกอัดและใช้น้ำหนักกดทับลงไป เดิมใช้หม้อดินเผาสำหรับการหมักเพื่อไล่อากาศออก ขณะเดียวกันก๊าซที่ได้ก็จะถูกกักเอาไว้ หม้อดินสำหรับทำกะหล่ำปลีดองมีร่องเพื่อให้น้ำไหลเวียน วางฝาปิดทับไว้ด้านบนให้แช่น้ำจนมิดเพื่อกันมิให้อากาศเข้า แรงกดจะช่วยดันให้ฟองอากาศออกมาภายนอก
กระบวนการหมักจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
- ช่วงสามวันแรก ยีสต์และแบคทีเรียแอซีติก (ซึ่งมีอยู่เดิม) ใช้ออกซิเจนที่เหลืออยู่และผลิตเอทานอล กรดต่าง ๆ และเอสเทอร์ขึ้น
- สามวันถัดมา กลุ่มแบคทีเรียที่ผลิตกรดแล็กติกชนิด heterofermentative ได้เพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่งใช้ในการถนอมอาหารหลายชนิด เช่น จุลินทรีย์ Leuconostoc แบคทีเรียชนิดนี้จะสร้างกรดแล็กติก กรดแอซีติก แมนนิทอล และคาร์บอนไดออกไซด์ ค่า pH จะลดลง เอทานอลที่มีอยู่จะถูกแปรสภาพกลายเป็นกรดซึ่งเป็นส่วนประกอบของรสชาติที่สำคัญในเซาเออร์เคราท์ ยิ่งค่า pH น้อยลง ก็ยิ่งลดการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ลง แบคทีเรียที่ผลิตกรดแล็กติกนี้จะทำให้เกิดกรดแล็กติกที่มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 และสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของพวกจุลินทรีย์ได้
- ช่วงที่สาม เริ่มจากค่าความเป็นกรดจากร้อยละ 1–2 ในสัปดาห์ที่ 3–6 แบคทีเรียที่ผลิตกรดแล็กติก ชนิด heterofermentative นี้จะเพิ่มจำนวนขึ้นและยังทนต่อความเป็นกรดเช่นเดียวกับเชื้อแบคทีเรีย Bacillus beris นอกจากนี้ยังสามารถย่อยสลายเพนโตส อะราบิโนส ไซโลส ได้อีกด้วย ระยะเวลาการหมักที่อุณหภูมิห้องใช้เวลา 3–4 สัปดาห์ ในขณะที่การหมักในอุณหภูมิห้องใต้ดินจะใช้เวลา 5–6 สัปดาห์
วิธีการปรุง แก้
ปรุงให้สุกได้โดยใช้น้ำเพียงเล็กน้อยหรือน้ำซุปและไขมัน เครื่องเทศที่ใช้คือ ใบกระวาน ผลจูนิเปอร์ ยี่หร่า กานพลู ใบเอสตรากอน (estragon) เซโวรี (savory) และน้ำตาล ปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทย ขึ้นอยู่กับภูมิภาคที่อาจจะเพิ่มส่วนผสมอื่นลงไป เช่น หัวหอม แอปเปิล หรือองุ่น
อาหารรับประทานคู่กับเซาเออร์เคราท์ แก้
- Vepřo-knedlo-zelo เป็นอาหารประจำชาติของเช็กเกีย ประกอบไปด้วยหมูย่างและมันฝรั่งยัดไส้ เสิร์ฟพร้อมเซาเออร์เคราท์
- ซี่โครงเฮสส์ (Hessian ribs) กับเซาเออร์เคราท์ เป็นอาหารที่ทำจากพอร์กชอปหมักกับผักกาดดอง
- คลุนทซ์ (Klunz) เป็นอาหารทางตอนกลางของเยอรมนีที่รับประทานคู่กับเซาเออร์เคราท์และมันหมู
- กูลาชหรือสตูแบบฮังการี เมื่อเพิ่มเซาเออร์เคราท์ลงไปมาก ๆ รสชาติจะจัดจ้านขึ้น
- เซาเออร์เคราท์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของบีกอส (Bigos) หรือ อาหารประจำชาติโปแลนด์
อ้างอิง แก้
- ↑ Farnworth, Edward R. (2003). Handbook of Fermented Functional Foods. CRC. ISBN 0-8493-1372-4.
- ↑ "Fermented Fruits and Vegetables - A Global SO Perspective". United Nations FAO. 1998. สืบค้นเมื่อ 2007-06-10.
- ↑ Allergy Cuisine: Step by Step - Sylvia Ross. p. 94.
- ↑ Dr. Mercola's Total Health Program: The Proven Plan to Prevent Disease and ... - Joseph Mercola, Brian Vaszily, Kendra Pearsall, Nancy Lee Bentley. p. 227.
- ↑ The German Cookbook: A Complete Guide to Mastering Authentic German Cooking - Mimi Sheraton. p. 435.
- ↑ Encyclopedia of Jewish Food - Gil Marks. p. 1052.
- ↑ มาร์ก เคอร์ลันสกี. ประวัติศาสตร์โลกผ่านเกลือ. แปลโดย เรืองชัย อักษรศรี. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553, หน้า 167–173,