กานพลู

สปีชีส์ของพืช
กานพลู
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Myrtaceae
สกุล: Syzygium
สปีชีส์: S.  aromaticum
ชื่อทวินาม
Syzygium aromaticum
(L.) Merrill & Perry
ชื่อพ้อง[1]
  • Caryophyllus aromaticus L.
  • Eugenia aromatica (L.) Baill.
  • Eugenia caryophyllata Thunb.
  • Eugenia caryophyllus (Spreng.) Bullock & S. G. Harrison

กานพลู เป็นไม้ยืนต้น สูง 5 – 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5 – 4 ซม. ยาว 6 – 10 ซม. ขอบเป็นคลื่น ใบอ่อนสีแดงหรือน้ำตาลแดง เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ผิวมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวและร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและฐานดอกสีแดงหนาแข็ง ผลเป็นผลสด รูปไข่[2]

ประโยชน์

แก้

ในตำรายาไทย ใช้ดอกตูมแห้งแก้ปวดฟัน โดยใช้ดอกแช่เหล้าเอาสำลีชุบอุดรูฟัน และใช้ขนาด 5 – 8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำหรือใช้เคี้ยวแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ นอกจากนี้ใช้ผสมในยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปาก พบว่าในน้ำมันหอมรเหยที่กลั่นจากดอกมีสารยูเจนอล ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้องลดลง ช่วยขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดเช่น เชื้อโรคไทฟอยด์ บิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนองเป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้มีการหลั่งเมือก และลดการเป็นกรดในกระเพาะอาหารด้วย

น้ำมันสกัดจากกานพลูความเข้มข้น 30 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรสามารถยับยั้งการเจริญของ Lactococcus garvieae ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ เมื่อนำอาหารปลาที่ผสมน้ำมันกานพลูในอัตราส่วน 3% (w/w) มาเลี้ยงปลานิล ทำให้จำนวนการตายเนื่องจากการติดเชื้อ L. garvieae ในปลานิลลดน้อยลง[3] กานพลูเป็นส่วนประกอบในเครื่องเทศที่เรียกมสาลาของอินเดีย ใช้ผสมในบุหรี่กานพลูหรือ kretex ซึ่งเป็นที่นิยมในอินโดนีเซีย ส่วนที่ใช้เป็นเครื่องเทศคือดอกตูมรวมกับก้านดอก[4]

อ้างอิง

แก้
  1. "Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L. M. Perry". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ June 9, 2011.
  2. กานพลู ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
  3. พงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ และ ปาริชาติ พุ่มขจร. 2553. การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในปลา วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม 2553 หน้า 63 – 71. ISSN 1685-7941.
  4. ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ดอกกานพลู เครื่องเทศหอม. ครัว. ปีที่ 19 ฉบับที่ 219 กันยายน 2555 หน้า 12. ISSN 0858-8422.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้