ผักชี

สปีชีส์ของพืช
ผักชี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Apiales
วงศ์: Apiaceae
สกุล: Coriandrum
สปีชีส์: C.  sativum
ชื่อทวินาม
Coriandrum sativum
L.
ใบผักชี
ผลแห้งของผักชีที่มักเรียกว่าเมล็ดผักชีหรือลูกผักชี ใช้เป็นเครื่องเทศ

ผักชี, ผักชีลา หรือ ผักหอมป้อม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Coriandrum sativum) เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กในวงศ์ Apiaceae ใบติดกับลำต้น มีใบย่อยเป็นจำนวนมาก ใบหยักลึกเข้าหากลางใบ ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาวอมชมพู ผลมีลักษณะรี ค่อนข้างกลม แก่จัดเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล มีเมล็ด 2 เมล็ด ใช้รับประทานเป็นผัก และตกแต่งในอาหารหลายชนิด เช่น ใส่ในลาบ ก้อย แหนมสด รากผักชีใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำพริกแกง ใส่ในทอดมัน ห่อหมก น้ำจิ้ม เมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศ ใส่ในน้ำพริกแกง สะเต๊ะ บาเยีย ข้าวหมกไก่

ใบผักชีดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน95 กิโลจูล (23 กิโลแคลอรี)
3.67 g
น้ำตาล0.87
ใยอาหาร2.8 g
0.52 g
2.13 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(42%)
337 μg
(36%)
3930 μg
865 μg
ไทอามีน (บี1)
(6%)
0.067 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(14%)
0.162 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(7%)
1.114 มก.
(11%)
0.57 มก.
วิตามินบี6
(11%)
0.149 มก.
โฟเลต (บี9)
(16%)
62 μg
วิตามินซี
(33%)
27 มก.
วิตามินอี
(17%)
2.5 มก.
วิตามินเค
(295%)
310 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(7%)
67 มก.
เหล็ก
(14%)
1.77 มก.
แมกนีเซียม
(7%)
26 มก.
แมงกานีส
(20%)
0.426 มก.
ฟอสฟอรัส
(7%)
48 มก.
โพแทสเซียม
(11%)
521 มก.
โซเดียม
(3%)
46 มก.
สังกะสี
(5%)
0.5 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ92.21 g

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

ถิ่นกำเนิดผักชี

แก้

ผักชีเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย และเอเซียตะวันตก ถือได้ว่าเป็นเครื่องเทศที่มีการใช้กันมาอย่างยาวนาน มีหลักฐานการปลูกในประเทศอียิปต์นานกว่า 3,500 ปี ซึ่งคำว่า “Coriander” มาจากภาษากรีก “Koris” แปลว่า bug เนื่องจากกลิ่นของลูกผักชี มีกลิ่นเฉพาะคล้าย bed bug ต่อมาก็มีการนำไปปลูกยังประเทศในทวีปยุโรป และเอเชีย สำหรับผักชีที่นำไปปลูกในจีนนั้น เล่ากันว่าได้มีการนำเมล็ดพันธุ์จากประเทศทางตะวันตกของจีนเข้าไปในราชวงศ์ฮั่น เมื่อประมาณ 1,600 ปีมาแล้ว สำหรับประเทศที่ปลูก และส่งออกผักชี มากที่สุดในปัจจุบัน คือ ประเทศอินเดีย และมอรอคโค สำหรับในประเทศไทยแหล่งเพาะปลูกสำคัญๆ ได้แก่ จังหวัดราชบุรี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร[1]

อ้างอิง

แก้
  • อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กทม. แม่บ้าน. มปป. หน้า 36-37
  • การปลูกผักชี
  1. "ผักชี ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย".