สะเต๊ะ (มลายู: sate; อินโดนีเซีย: sate, satai) เป็นอาหารอย่างหนึ่งซึ่งทำจากเนื้อที่หั่นบาง ๆ หรือหั่นเป็นก้อน อาจจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อปลา ฯลฯ เสียบด้วยไม้เสียบที่ทำจากไม้ไผ่ แล้วนำไปย่างบนเตาฟืนหรือเตาถ่าน เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุงรสที่มีรสจัด (ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละตำรับ) เชื่อกันว่าสะเต๊กรูปแบบแรกมีที่มาจากอาหารชวา[2][3][9][10][11] แล้วเผยแพร่ไปทั่วอินโดนีเซีย จนกลายเป็นอาหารประจำชาติ[1][12][13][14] สะเต๊ะมีจุดกำเนิดมาจากเกาะชวาหรือเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ยังได้รับความนิยมในประเทศอื่น ๆ ด้วย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย หรือแม้แต่เนเธอร์แลนด์ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมไปกับอาณานิคมของตน

สะเต๊ะ
ซาเตโปโนโรโก จากเมืองหนึ่งในจังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย
ชื่ออื่นซาเต, ซาไต, ซัตตี
มื้ออ็องเทรหรืออาหารหลัก
แหล่งกำเนิดประเทศอินโดนีเซีย[1][2][3]
ภูมิภาคเกาะชวา[2]
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้องอินโดนีเซีย[1]
มาเลเซีย[4][5][6][7]
สิงคโปร์[8]
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักเนื้อสัตว์หมักกับเครื่องเทศ แต่งสีเหลือง เสียบไม้ย่างให้สุก กินกับน้ำจิ้มและน้ำอาจาด
รูปแบบอื่นหลายแบบทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สะเต๊ะไก่ในมาเลเซีย
หมูสะเต๊ะพร้อมเครื่องเคียงและน้ำจิ้ม

คำว่า "สะเต๊ะ" เชื่อว่ามีที่มาจากประเทศจีนในอดีต โดยมาจากภาษาหมิ่นใต้คำว่า "แซบัก" (จีน: 三疊肉; พินอิน: sae bak) หมายถึง "เนื้อสามชิ้น"[15] อย่างไรก็ตามนักวิชาการร่วมสมัยกล่าวว่าคำว่า "สะเต๊ะ" ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาอินโดนีเซีย: "ซาเต" (sate) และภาษามลายู: "ซาเต" (sate) หรือ "ซาไต" (satai) ทั้งสองอย่างอาจจะมีที่มาจากภาษาทมิฬ[16]

สะเต๊ะของอินโดนีเซียอาจได้รับอิทธิพลจากกะบาบที่เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดียภาคเหนือ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวเติร์กอีกต่อหนึ่ง ตำรับดั้งเดิมของชาวตุรกีเป็นเนื้อแพะหั่นเป็นชิ้นหมักแล้วเสียบเหล็กแหลมย่างไฟ ชาวเปอร์เซีย, ชาวอาหรับและชาวอินเดียรับมาดัดแปลง อาจใช้เนื้อบดหรือเนื้อทั้งชิ้น จะเสียบหรือไม่เสียบไม้ก็ได้ เมื่อแพร่หลายมาถึงมลายู-ชวาจึงกลายเป็นสะเต๊ะอย่างที่เห็นในปัจจุบัน[17] โดยร้านขายหมูสะเต๊ะร้านแรกในประเทศไทย คือ ร้านจึงอังลัก ย่านเยาวราช ข้างโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรี[18] ปัจจุบันได้ย้ายร้านไปที่ย่านถนนพระรามที่ 4 เขตปทุมวัน

ส่วนสะเต๊ะเข้าสู่ราชสำนักไทยช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดามีรับสั่งไปยังเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชให้หาคนทำอาหารเก่ง ๆ มาทำอาหารอย่างชวาสักสองสามอย่าง จึงส่งคนมุสลิมมาสอน โดยมีหม่อมเจ้าแย้มเยื้อน สิงหราเป็นผู้เรียนและผู้ปรุง[19] เบื้องต้นได้ทำสะเต๊ะโดยใช้เนื้อวัวเป็นเนื้อติดมันอย่างดี หากใช้เนื้อหมูจะต้องเลือกแบบที่ไม่มีพังผืด โดยนิจ เหลี่ยมอุไร ธิดาบุญธรรมของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ กล่าวไว้ความว่า "เวลาทำก็ยากนะคะ ต้องเลือกเอาแต่หมูดี ๆ ไม่มีพังผืด เนื้อต้องเนื้อติดมันที่มันยอดเยี่ยมอย่างแพงเลย เอามาแล่ มาหั่นบาง ๆ ตามขวางของเส้นหมู แล้วหมักไว้ หมักเคล้าเครื่องเคล้าอะไร หมักไว้ 3 ชั่วโมงถึงเสียบ นิ่มแล้วจึงเสียบ ถึงทานอร่อย"[20] และด้วยรสชาติที่เป็นเลิศ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏจึงประทานชื่อว่า สะเต๊ะลือ[21]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Sara Schonhardt (25 February 2016). "40 Indonesian foods we can't live without". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2017. สืบค้นเมื่อ 13 April 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 Bruce Kraig; Colleen Taylor Sen Ph.D. (9 September 2013). Street Food around the World: An Encyclopedia of Food and Culture: An Encyclopedia of Food and Culture. ABC-CLIO. p. 183. ISBN 978-1-59884-955-4.
  3. 3.0 3.1 O'Neill, Molly (2000-07-02). "Food; The Stick Shift". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-04-13.
  4. Michael Specter (December 2, 1984). "IN MALAYSIA, SPICY SATAY". New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 August 2020.
  5. Shalini Ravindran (June 28, 2018). "Five places for great satay". The Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2020. สืบค้นเมื่อ 27 August 2020.
  6. Erickson, Joan (1982). Southeast Asia Sunset travel guides. Lane Publishing Company. p. 78. ISBN 978-037-606-764-7.
  7. Eliot, Joshua (1994). Indonesia, Malaysia & Singapore Handbook. New York: Trade & Travel Publications. p. 352.
  8. Rachel Bartholomeusz (June 28, 2018). "So much more to satay than peanut sauce". SBS. สืบค้นเมื่อ 12 February 2021.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "Consumers love succulent Satay, Peanut ingredients for global success" (PDF). USA Peanuts. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 May 2014. สืบค้นเมื่อ 2 May 2014.
  10. Felicity Cloake (30 January 2014). "How to cook the perfect chicken satay". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
  11. "Satay Washington DC". satay.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2019. สืบค้นเมื่อ 6 July 2014.
  12. Media, Kompas Cyber. "Kemenpar Tetapkan 5 Makanan Nasional Indonesia, Ini Daftarnya". KOMPAS.com (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2018. สืบค้นเมื่อ 18 April 2018.
  13. Owen, Sri (1999). Indonesian Regional Food and Cookery. ISBN 9780711212732. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2013. สืบค้นเมื่อ 7 July 2010.
  14. Sara Schonhardt and Melanie Wood (15 August 2011). "40 of Indonesia's best dishes". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 6 July 2014.
  15. Willis, Alfred Charles (1934). Willis's Singapore Guide. Singapore : Advertising and Publicity Bureau Ltd. p. 149.
  16. Satay, The Free Dictionary
  17. อาหารมุสลิม. กทม. แสงแดด. 2547 หน้า 13
  18. หน้า 24, แวะชิม...หมูสะเต๊ะเจ้าเก่าเฉลิมบุรีที่สืบทอดมาเกือบ 100 ปี ที่ร้าน 'จึงอักลัก' . "แม่ลิ้นจี่พาชิม". บ้านเมือง: วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
  19. เนื่อง นิลรัตน์ ม.ล.. ตำรากับข้าวในวัง ของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์. กรุงเทพฯ : บัวสรวง, 2549, หน้า 15
  20. เนื่อง นิลรัตน์ ม.ล.. ตำรากับข้าวในวัง ของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์. กรุงเทพฯ : บัวสรวง, 2549, หน้า 16
  21. เนื่อง นิลรัตน์ ม.ล.. ตำรากับข้าวในวัง ของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์. กรุงเทพฯ : บัวสรวง, 2549, หน้า 14

แหล่งข้อมูลอื่น แก้