อาหารสิงคโปร์ เป็นตัวบ่งชี้ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในสิงคโปร์ ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย และได้มีปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมมานานนับศตวรรษ อาหารได้รับอิทธิพลจากชาวพื้นเมืองมลายู ชาวจีน อินโดนีเซีย เปอรานากัน วัฒนธรรมตะวันตกซึ่งมาจากอังกฤษ และกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลโปรตุเกสซึ่งเรียกชาวคริสตัง อิทธิพลจากพื้นที่อื่น ๆ เช่น ศรีลังกา ไทย ฟิลิปปินส์ และตะวันออกกลาง พบในอาหารพื้นเมืองเช่นกัน ในสิงคโปร์ อาหารถือเป็นสิ่งสำคัญ ในการกำหนดเอกลักษณ์ของชาติและความเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งในสิงคโปร์ การพบปะและรับประทานอาหารระหว่างวัฒนธรรมเป็นเรื่องปกติ อาหารสิงคโปร์ได้รับการส่งเสริมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดเทศกาลอาหารสิงคโปร์ในเดือนกรกฎาคมเพื่อส่งเสริมอาหารสิงคโปร์

ข้าวมันไก่แบบสิงคโปร์เป็นอาหารสิงคโปร์ที่ได้รับความนิยมมากและเป็นหนึ่งในอาหารประจำชาติของสิงคโปร์

สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กที่มีประชากรหนาแน่นมาก ที่ดินเป็นทรัพยากรสำคัญที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย ผลิตภัณฑ์และเครื่องปรุงส่วนใหญ่นำเข้ามา แม้ว่าจะมีกลุ่มเกษตรกรขนาดเล็กที่ปลูกผัก ผลไม้ หรือสัตว์ปีกและปลา เนื่องจากสิงคโปร์ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าที่สำคัญ จึงสามารถพบผลิตภัณฑ์และเครื่องปรุงทั่วโลกได้ที่นี่

อาหารหลักและของว่าง แก้

อาหารจีน แก้

 
บักกุ๊ดเต๋
 
ซุปปลาบีหุน
 
ข้าวมันไก่สิงคโปร์
 
หมี่ฮกเกี้ยน
 
ขนมปังสังขยาหรือกายาโทสต์

อาหารส่วนใหญ่ที่เข้ามายังสิงคโปร์มาจากผู้อพยพจากจีนตอนใต้รุ่นแรก ๆ (ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว ฮากกา และไหหลำ) และมีการปรับปรุงให้เข้ากับเครื่องปรุงในท้องถิ่น และรับอิทธิพลจากอาหารมลายู อินเดีย และอื่นๆเข้ามา อาหารจีนในสิงคโปร์จะได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว ไหหลำ กวางตุ้ง ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรหลักของชาวจีนในสิงคโปร์ ชื่อของอาหารจีนส่วนใหญ่ในสิงคโปร์ ได้มาจากสำเนียงทางจีนตอนใต้ โดยภาษาจีนฮกเกี้ยนเป็นสำเนียงที่ใช้มากที่สุด และการออกเสียงยังต่างไปตามสำเนียงย่อยของท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย เช่น โงเฮี่ยว (五香) เป็นการออกเสียงของภาษาจีนฮกเกี้ยนในฉางโจว ตัวอย่างอาหารในกลุ่มนี้ ได้แก่

  • บักกุ๊ดเต๋ (ภาษาจีน: 肉骨茶; pinyin: ròu gǔ chá)เป็นซี่โครงหมูต้มกับเครื่องเทศและสมุนไพรจีน
  • บ๊ะจ่าง (ภาษาจีน: 肉粽; pinyin: ròu zòng) เป็นอาหารว่างที่ทำจากข้าวเหนียว ใส่หมู เห็ด ไข่เค็ม ห่อด้วยใบไผ่ นำไปนึ่ง ต้นกำเนิดมาจากอาหารจีน แต่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวเปอรานากัน
  • หมี่บะช่อ (อักษรจีนตัวย่อ: 肉脞面; อักษรจีนตัวเต็ม: 肉脞麵; pinyin: roù cuò miàn) เส้นหมี่หมูสับหรือไก่สับ กินแบบแห้งหรือใส่น้ำซุป นิยมใช้เส้นก๋วยเตี๋ยวแบบแบน
  • บันเมียน (อักษรจีนตัวย่อ: 板面; อักษรจีนตัวเต็ม: 板麵; pinyin: bǎn miàn) เป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวแบน กินกับผัก เนื้อสัตว์บด เห็ดหั่น และไข่ กินกับน้ำซุปที่ทำจากแองโชวี่หรืออีกันบีลิส
  • ขนมหัวผักกาด (อักษรจีนตัวย่อ: 菜头粿; อักษรจีนตัวเต็ม: 菜頭粿; pinyin: cài tóu guǒ) ขนมทำจากแครอทหรือหัวผักกาด นำมาตัดแบ่งแล้วผัดกับกระเทียม ไข่ หัวไชเท้าดอง และกุ้ง ปรุงรสด้วยซีอิ๊ว บางสูตรใส่กะปิด้วย
  • ก๋วยเตี๋ยวผัด (อักษรจีนตัวย่อ: 炒粿条; อักษรจีนตัวเต็ม: 炒粿條; pinyin: chǎo guǒ tiáo) เป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวแบบแบน ทำจากข้าว ผัดกับซอสสีดำ ใส่กุ้ง ไข่ ถั่วงอก ลูกชิ้น ผักใบเขียว กุนเชียง ซีอิ๊ว
  • ชาร์เซียว (อักษรจีนตัวย่อ: 叉烧饭; อักษรจีนตัวเต็ม: 叉燒飯; pinyin: chā shāo fàn) เป็นอาหารจีนกวางตุ้ง ที่นำข้าวหรือก๋วยเตี๋ยวมากินกับหมูย่าง หมักด้วยซอสรสจัด
  • ก๋วยเตี๋ยวหลอด (อักษรจีนตัวย่อ: 猪肠粉; อักษรจีนตัวเต็ม: 豬腸粉; pinyin: zhū cháng fěn) เป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวนึ่ง ทำจากข้าวเป็นแผ่นหนาแบน นำมาม้วนเป็นแท่ง บางครั้งใส่หมู ไก่ หรือผัก กินกับซอสถั่วเหลือง ปรุงรสหวาน
  • โจ๊ก (ภาษาจีน: 粥; pinyin: zhōu) เป็นโจ๊กแบบกวางตุ้งใส่เครื่องปรุงหลายอย่าง รวมทั้งไก่และหมู มักจะกินคู่กับแองโชวี ไข่เยี่ยวม้าหรือไข่สด
  • จุ๊ยก๊วย (ภาษาจีน: 水粿; pinyin: shuǐ guǒ) ขนมนึ่งทำจากข้าว โรยหน้าด้วยหัวไชโป๊ว กินเป็นอาหารเช้า
  • ข้าวอบไก่หม้อดิน (อักษรจีนตัวย่อ: 砂煲鸡饭; อักษรจีนตัวเต็ม: 砂煲雞飯; pinyin: shā bāo jī fàn) หรือข้าวไก่หม้อดิน เป็นข้าวหุงในหม้อดิน โปะหน้าด้วยไก่และกุนเชียง ราดด้วยซีอิ๊ว บางครั้งใส่ปลาเค็ม
  • หมี่กะหรี่ไก่ (อักษรจีนตัวย่อ: 咖喱鸡面; อักษรจีนตัวเต็ม: 咖喱雞麵; pinyin: gā lí jī miàn) หมี่ไข่สีเหลืองกินกับแกงกะหรี่
  • กุ้งดรุนเกน (อักษรจีนตัวย่อ: 醉虾; อักษรจีนตัวเต็ม: 醉蝦; pinyin: zuì xiā) กุ้งปรุงกับไวน์ข้าวแบบจีน
  • ข้าวหน้าเป็ด (อักษรจีนตัวย่อ: 鸭饭; อักษรจีนตัวเต็ม: 鴨飯; pinyin: yā fàn) ทำจากข้าวและเป็ด หุงกับกลอยและกุ้ง กินแบบง่ายกับข้าวขาว และซอสสีดำข้น กินกับไข่ต้มแข็ง ผักดอง เต้าหู้ทอด ข้าวเป็ดแบบแต้จิ๋วคล้ายกัน แต่จะหั่นเนื้อเป็ดบางกว่า
  • ทาร์ตไข่ (อักษรจีนตัวย่อ: 蛋挞; อักษรจีนตัวเต็ม: 蛋撻; pinyin: dàn tà) เป็นแพสตรีที่มีไส้เป็นคัสตาร์ดไข่
  • หมี่ลูกชิ้นปลา (อักษรจีนตัวย่อ: 鱼丸面; อักษรจีนตัวเต็ม: 魚丸麵; pinyin: yú wán miàn) โดยมากเป็นแบบแต้จิ๋ว เป็นหมี่หลายแบบ มีทั้งแบบใส่น้ำซุปปลาและแบบแห้ง ใส่ลูกชิ้นปลา ถั่วงอก และผักกาดหอม คล้ายหมี่บะช่อ
  • ซุปปลาบีหุน (อักษรจีนตัวย่อ: 鱼头米粉; อักษรจีนตัวเต็ม: 魚頭米粉; pinyin: yú tóu mǐ fěn) เป็นซุปปลาที่มีส่วนผสมหลักเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวจากข้าว ใส่หัวปลาทอด ใสน้ำซุปปลาและนม
  • ข้าวผัด (อักษรจีนตัวย่อ: 炒饭; อักษรจีนตัวเต็ม: 炒飯; pinyin: chǎo fàn) เป็นข้าวผัดกับไข่ เนื้อสัตว์ ผัก
  • ข้าวมันไก่ (จีนตัวย่อ: 海南鸡饭; จีนตัวเต็ม: 海南雞飯; พินยิน: hǎi nán jī fàn) เป็นไก่ต้มกินกับข้าวที่หุงด้วยน้ำซุปไก่ กินกับซอสพริก ซีอิ๊วดำ และขิงบด อาจใช่ไก่อบแทนไก่ต้มได้ ถือเป็นอาหารที่เป็นเอกลกษณ์ของสิงคโปร์ จุดกำเนิดอยู่ที่เมืองเหวินชาง เกาะไหหลำ แต่รูปแบบในสิงคโปร์ไม่เหมือนต้นตำรับที่ไหหลำมากนัก
  • แฮหมี่ (จีนตัวย่อ: 虾面; จีนตัวเต็ม: 蝦麵; พินยิน: xiā miàn)เป็นหมี่เหลืองกินกับกุ้ง ใส่น้ำซุปกุ้งและซี่โครงหมู ใส่ลูกชิ้นปลา
  • ฮาร์เชืองไก (จีนตัวย่อ: 虾酱鸡; จีนตัวเต็ม: 蝦醬雞; พินยิน: xiā jiàng jī;) เป็นปีกไก่ทอดหมักกับกะปิ
  • หมี่ฮกเกี้ยน (จีนตัวย่อ: 福建炒虾面; จีนตัวเต็ม: 福建炒蝦麵; พินยิน: fú jiàn chǎo xiā miàn) เป็นหมี่ขาวหรือหมี่เหลืองทอดกับกุ้ง ปลาดุกหั่น
  • ฮอร์ฟุน (ภาษาจีน: 河粉; พินยิน: hé fěn) เป็นหมี่ขาวแบน มีน้ำราด ใส่ปลาหรือกุ้ง อาจใส่เนื้อวัวได้
  • ฮุมชิมเปง (จีนตัวย่อ: 咸煎饼; จีนตัวเต็ม: 咸煎餅; pinyin: xián jiān bǐng) เป็นขนมทอด ลักษณะคล้ายแพสตรี บางครั้งใส่ไส้ถั่วบด
  • ขนมปังสังขยาหรือกายาโทสต์ เป็นอาหารเช้าแบบพื้นเมือง กายาหรือสังขยาเป็นแยมรสหวานทำจากมะพร้าวและไข่ ใช้ทาบนขนมปัง กินกับกาแฟและไข่ลวก เป็นอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของสิงคโปร์
  • กวยจั๊บ (ภาษาจีน: 粿汁; พินยิน: guǒ zhī) เป็นอาหารจีนแต้จิ๋ว ทำจากเส้นกวยจั๊บ น้ำซุปใส่ซีอิ๊วดำ ใส่เครื่องในหมู เป็ด เต้าหู้ ผักดองและไข่ต้ม
  • โลร์มี (จีนตัวย่อ: 卤面; จีนตัวเต็ม: 滷麵; พินยิน: lǔ miàn) เป็นเส้นหมี่แบบฮกเกี้ยน ใส่น้ำซุปสีดำ ใส่เนื้อสัตว์หั่น ลูกชิ้นปลา และถั่วงอก
  • มี่สั้ว (จีนตัวย่อ: 面线; จีนตัวเต็ม: 麵線; pinyin: miàn xiàn) เป็นเส้นมี่สั้ว ซึ่งอาจใส่ลูกชิ้นปลา หรือ หมู ไต ไก่
  • มินเชียงกูเอะห์ (ภาษาจีน: 面煎粿; พินยิน: miàn jiān guǒ) เป็นแพนเค้กชิ้นหนา ใส่ถั่วลิสงบดและน้ำตาล บางแบบใส่มะพร้าวขูดและถั่วแดงบด มีทั้งแบบบลูเบอร์รีชีสและช็อกโกแลต
  • โงเฮียง (ภาษาจีน: 五香; พินยิน: wǔ xiāng) โงเฮียงเป็นอาหารที่ส่วนผสมของผัก อาหารทะเลหรือเนื้อสัตว์
  • หอยทอด (ภาษาจีน: 蚝煎; พินยิน: háo jiān) เป็นหอยนางรมผสมแป้งและไข่นำไปทอด
  • ซาลาเปาหรือเปา (ภาษาจีน: 包; พินยิน: bāo) เป็นขนมนึ่งทำจากแป้งสาลี ไส้เป็นหมูสับ ถั่วแดงบด เม็ดบัวบด หรือผัก
  • ฟัลโลเบียน เป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยหมูผัด ใส่ผักและซัมบัล
  • ซุปเครื่องในหมู (จีนตัวย่อ: 猪杂汤; จีนตัวเต็ม: 豬雜湯; พินยิน: zhū zá tāng) เป็นซุปที่เป็นพื้นฐานของก๋วยจั๊บ
  • ปอเปี๊ยะ (จีนตัวย่อ: 薄饼; จีนตัวเต็ม: 薄餅; พินยิน: báo bǐng) เป็นอาหารแบบจีนฮกเกี้ยนและจีนแต้จิ๋ว ใส่กุนเชียง กุ้ง และผักกาดหอม
  • โรยักแบบจีน เป็นสลัดผัก ใส่กะปิสีเข้ม ซึ่งต่างจากโรยักแบบมลายู และแบบมามักหรือแบบทมิฬ
  • ซุนก๋วย(ภาษาจีน: 笋粿; พินยิน: sǔn guǒ) ทำจากผักกาดขาว ใส่ซีอิ๊วดำ
  • โจ๊กปลาแต้จิ๋ว (จีนตัวย่อ: 潮州鱼粥; จีนตัวเต็ม: 潮州魚粥; พินยิน: cháo zhōu yú zhōu) เป็นโจ๊กใส่เนื้อปลา หัวหอมและผักอื่นๆ
  • บีหุนมังสวิรัตน์ (จีนตัวย่อ: 斋米粉; จีนตัวเต็ม: 齋米粉; พินยิน: zhāi mǐ fěn) เป็นซุปบีหุน ใส่ผัก เต้าหู้ หมี่กึง ไม่ใส่เนื้อสัตว์
  • หมี่เกี๊ยว (จีนตัวย่อ: 云吞面; จีนตัวเต็ม: 雲吞麵; พินยิน: yún tūn miàn) เป็นหมี่เหลือง ใส่ไส้เป็นไก่ กุ้ง หรือหมู บางครั้งใส่หมูย่างหั่นบาง ๆ
  • ย้งโต่วฟู่ (จีนตัวย่อ: 酿豆腐; จีนตัวเต็ม: 釀豆腐; พินยิน: niàng dòu fǔ) เป็นน้ำซุปใส่ผักยัดไส้ปลาและเนื้อสัตว์บด น้ำซุปใส่แองโชวี หรือรับประทานแบบแห้งกับซอสพริกและถั่ว
  • ยูเซี่ยก้วย (จีนตัวย่อ: 油条; จีนตัวเต็ม: 油條; พินยิน: yóu tiáo) เป็นขนมทอดที่นิยมใช้ในเทศกาลตรุษจีน
  • ยูเซ้ง (จีนตัวย่อ: 鱼生; จีนตัวเต็ม: 魚生; พินยิน: yú shēng) เป็นสลัดปลาดิบที่นิยมรับประทานในช่วงเทศกาลตรุษจีน

อาหารมลายู แก้

 
หมี่โซโต
 
นาซิโกเร็ง (ข้าวผัด)
 
หมี่เรอบุต

เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารของชาวมลายูในคาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา เกาะชวาและหมู่เกาะรีเยา เครื่องเทศและกะทิเป็นเครื่องปรุงที่พบได้โดยทั่วไป แต่ก็จะใช้เครื่องปรุงของชาวจีน เช่นเต้าหู้ ด้วย ชาวจีนและชาวทมิฬได้นำอาหารของชาวมลายูไปประยุกต์เช่นกัน

  • อาจาด เป็นผักหรือผลไม้ดอง ใส่พริกป่น ถั่วลิสง และเครื่องเทศ โดยมีทั้งแบบอินเดียและแบบเปอรานากัน
  • อาการ์ อาการ์ เป็นวุ้นที่สกัดจากสาหร่ายและเคี่ยวให้แข็ง ลักษณะคล้ายเยลลี่
  • อายัมโกเร็ง หรือไก่ทอด
  • อายัมบาการ์ ไก่ย่างใส่เครื่องเทศและถ้าใช้ปลาเรียกอีกันบาการ์
  • อายัมเปอร์จิก ไก่ย่างใส่ส่วนผสมรสเผ็ดหวาน
  • อายัมเปินเญิต เป็นไก่ทอด ที่ปรับปรุงมาจากอาหารอินโดนีเซีย
  • อัสซัมเปอดาส เป็นอาหารทะเลและผัก กินกับซอสที่ใส่มะขาม กะทิ พริก และเครื่องเทศ
  • บักโซหรือบะโซ เป็นลูกชิ้นเนื้อ กินกับเส้นหมี่
  • เบอเกอดิล หรือ เปอร์เกอเดล เป็นมันฝรั่งทอด กินกับหมี่โซโต
  • เบอลาจัน เป็นกะปิแบบพื้นเมือง ทำจากกุ้ง
  • กะหรี่ปั๊บ หรืออีปก-อีปก เป็นแพสตรีใส่ไส้กะหรี่ไก่ มันฝรั่ง และไข่ต้ม บางครั้งใช้ปลาซาร์ดีนแทนไก่
  • เดิงเดิงปารู เป็นอาหารอินโดนีเซียทำจากปอดวัวแห้ง ปรุงกับเครื่องเทศ
  • กาโด กาโด เป็นสลัดแบบพื้นบ้านของอินโดนีเซีย ใส่ถั่วลิสง ปรุงรสเผ็ด
  • โกเร็งปีซัง เป็นกล้วยห่อหรือชุบแป้ง ทอด รับประทานเป็นของว่าง บางแบบใช้จำปาดะแทน
  • กูไล ดวน อูบี คือใบมันเทศต้มกับกะทิ
  • เกอโรปก เป็นแครกเกอร์ทอด ทำจากกุ้ง บางครั้งใช้ปลาหรือผัก
  • เกอตูปัต ข้าวนึ่ง ห่อเป็นทรงสี่เหลี่ยม กินกับสะเต๊ะ
  • เลอมักซีปุต ทำจากหอย ปรุงกับกะทิ เคี่ยวให้ข้น
  • ลนตง เป็นข้าวนึ่ง ลักษณะคล้ายเกอตูปัต กินกับซุปผักรสเผ็ด
  • หมี่เรอบุต เป็นหมี่เหลือง กินกับซอสหวานและเผ็ดที่ทำจากซีอิ๊ว กินกับไข่ต้มและเต้าหู้
  • หมี่สยาม เป็นหมี่จากข้าว กินกับซุปรสเผ็ด หรือแบบแห้ง กินกับไข่ต้ม
  • หมี่โซโต เป็นหมี่ไก่รสเผ็ด แต่ก็มีแบบไม่เผ็ดด้วย
  • นาซิอายัมเปินเยิต เป็นอาหารอินโดนีเซีย ทำจากไก่ทอด กินกับซัมบัลรสเผ็ด ผักและข้าว
  • นาซิโกเร็ง เป็นข้าวผัดรสเผ็ดและหวาน มีต้นกำเนิดมาจากอินโดนีเซีย
  • นาซิเลอมัก เป็นข้าวหุงกับกะทิ กินกับออมเลต แองโชวี ถั่วลิสง แตงกวา ซัมบัล บางครั้งกินกับไก่ทอด หรือโอตัก-โอตักที่ห่อด้วยใบตอง
  • นาซิปาดัง เป็นอาหารอินโดนีเซีย ทำจากข้าว ใส่เนื้อสัตว์และผัก ใส่ไก่ทอด หรือแกงผัก
  • นาซิกูนิง เป็นข้าวหุงกับกะทิและขมิ้น
  • สะเต๊ะ เป็นเนื้อสัตว์ที่ปรุงกับซอสถั่วลิสงรสเผ็ด กินกับเกอตูปัต แตงกวา และหัวหอม
  • โซโตอายัม เป็นซุปไก่รสเผ็ด กินกับข้าวหรือมันฝรั่งทอด
  • ซัมบัล เป็นเครื่องปรุงรส ที่มีส่วนผสมหลักเป็นพริก
  • โรตียาลา เป็นขนมปังแบน กินกับแกง
  • โรตี จอห์น เป็นโรตีใส่ไข่และเครื่องปรุงอื่นๆ เช่น เนื้อสัตว์ หัวหอม กินกับซอสพริก
  • เรินดัง เป็นเนื้อวัวปรุงกับกะทิ และเครื่องเทศแบบสุมาตรา
  • ซุปหางวัว เป็นซุปใส่หางวัว ใส่จันทน์เทศ กานพลู พริก และเครื่องเทศ
  • โอตัก โอตัก หรือโอตะห์ ทำจากปลา ปรุงรสเผ็ด ห่อใบตองย่าง

อาหารอินเดีย แก้

 
โรยักแบบอินเดีย
 
ข้าวกับ ปาปาดัมบนใบตอง

เช่นเดียวกับอาหารสิงคโปร์ประเภทอื่น อาหารสิงคโปร์แบบอินเดียได้รับอิทธิพลจากกลุ่มวัฒนธรรมหลายกลุ่ม อาหารจากอินเดียเหนือและอินเดียใต้สามารถพบได้ทั้งสองแบบในสิงคโปร์[1]

  • อาจาร์ เป็นผักดองและผลไม้ดองที่พบในอาหารมาเลเซียและอาหารเปอรานากัน
  • อัปปัม เป็นแพนเค้กทำจากข้าวหมัก
  • ไก่เนย เป็นอาหารประเภทไก่ มีน้ำราด ทำจากเครื่องเทศ โยเกิร์ต เนย และมะเขือเทศ
  • แกงกะหรี่ เป็นแกงผักแบบอินเดียหรือใส่เนื้อสัตว์ มีรูปแบบของชาวมลายูและชาวจีนด้วย
  • มามักโรยัก เป็นอาหารที่ประกอบด้วยผักและผลไม้หลายชนิด เต้าหู้ อาหารทะเลทอด ถั่วลิสงบด ซอสพริกรสเผ็ดและหวาน มีรูปแบบพื้นบ้านของชาวจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซียด้วย
  • มะตะบะ เป็นอาหารที่มาจากตะวันออกกลาง เป็นอาหารของมุสลิมอินเดีย ประกอบด้วยแผ่นโรตีใส่ไส้เนื้อสัตว์ทอดรสเผ็ด หัวหอม และไข่ กินกับแกง
  • มูรูกู เป็นแครกเกอร์ชนิดหนึ่ง
  • นาน เป็นขนมปังแบน อบในเตาทันดูร์
  • นาซิบิรยานี เป็นข้าวปรุงหรือหุงใส่แกงแกะ ไก่ ผัก หรือปลา กินกับข้าวบาสมาติ
  • ปาบปาดัม หรือแปบปอมหรือปาปาด เป็นอาหารอินเดียใต้ชนิดหนึ่ง
  • ปูตูมายัม เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากศรีลังกา เป็นเค้กแบน กินกับน้ำตาลมะพร้าว
  • โรตีปราตา เป็นรูปแบบที่พัฒนามาจากปาราทาของปากีสถานและอินเดีย เป็นอาหารเช้าที่มีชื่อเสียง กินกับน้ำตาลและแกง และรูปแบบสมัยใหม่ที่ใส่ไส้ไข่ เนยแข็ง ช็อกโกแลต มะสะล่า ทุเรียน ไอศกรีม ส่วนมากกรอบด้านนอกและนุ่มด้านใน
  • ซุบกัมบิง เป็นอาหารมามักหรืออาหารของชาวทมิฬมุสลิมแบบดั้งเดิม เป็นซุปแกะรสเผ็ด
  • ซุบตูลัง เป็นอาหารมามักแบบดั้งเดิม ทำจากกระดูกแพะและเนื้อวัว น้ำซุปเป็นซอสรสเผ็ด
  • ทันดูรี เป็นเนื้อสัตว์ปรุง ปกติเป็นไก่ ใช้ส่วนผสมของเครื่องเทศและโยเกิร์ต อบในเตาดินเหนียว
  • โดซา เป็นแพนเค้กข้าวและถั่วเลนทิล กินกับมันฝรั่งรสเผ็ด และซัมบาร์หลายชนิด
  • วาได เป็นอาหารว่างแบบทอด รสเผ็ด ทำจากดาล เลนทิล หรือมันฝรั่ง

อาหารข้ามวัฒนธรรม แก้

 
กาตงหลักซาและ โอตะก์-โอตะก์

มีอาหารในกลุ่มนี้หลายชนิดที่เป็นอาหารลูกผสมหรืออาหารหลายวัฒนธรรม

  • อายัมบัวะห์เกอลวก เป็นอาหารเปอรานากัน เป็นซุปไก่ใส่เครื่องเทศและถั่วดำ
  • แกงหัวปลา เป็นอาหารของชาวมาลายาลี (เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวอินเดียที่มาจากเกราลา) ที่ได้รับอิทธิพลจากชาวจีนและชาวมลายู ที่นำหัวปลามาต้มในน้ำแกง ใส่กะทิ น้ำมะขามเปียก ใส่ผัก กินกับข้าวหรือขนมปัง
  • การี เลอมัก อายัม เป็นแกงไก่แบบเปอรานากัน ใส่กะทิ
  • การี เดอบัล เป็นแกงแบบยูเรเซียของสิงคโปร์ที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกสและเปอรานากัน ใส่ไก่ กะหล่ำปลี ไส้กรอก และเบคอน
  • กุเอะห์ เปียที เป็นทาร์ตที่บางและกรอบ ไส้เป็นส่วนผสมรสหวานและเผ็ดของผักหั่นบางและกุ้ง เป็นอาหารเปอรานากันที่เป็นที่นิยม
  • หลักซาเป็นเส้นหมี่หนาทำจากข้าวหรือบีหุน กินกับน้ำซุปที่เป็นน้ำแกงใส่กะทิ ใส่กุ้ง ไข่ บางครั้งเติมไก่ ถั่วงอก ลูกชิ้น โดยต้นกำเนิดเป็นอาหารเปอรานากัน และมีรูปแบบเฉพาะของสิงคโปร์ที่เรียกกาตงหลักซา บางชนิดมีการตัดหมี่เป็นท่อนสั้น ๆ
  • หมี่โกเร็ง หมี่ไข่สีเหลือง ผัดกับเนยกี ซอสมะเขือเทศ พริก ไข่ ผัก และเนื้อสัตว์หลายชนิด อาจใส่อาหารทะเลได้
  • กุ้งธัญพืช นำกุ้งมาผัดดับธัญพืชรสหวาน
  • ซัมบัล กังกง เป็นผักบุ้งผัดกับซัมบัล
  • สะเต๊ะบีหุน เป็นเส้นบีหุน กินกับซอสถั่วลิสงรสเผ็ด
  • อาหารตะวันตกแบบสิงคโปร์ อาหารยุโรปที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน โดยจะมีรูปแบบของอาหารมลายู อาหารจีนไหหลำ ที่ปรุงในสิงคโปร์ และผสมกับอาหารตะวันตก เกิดขึ้นในยุคที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทำให้เกิดอาหาร เช่น สตูหมูในซอสมะเขือเทศกินกับถั่วเขียว ข้าวราดแกงไหหลำและเนื้อไก่ ไก่อบกินกับขนมปัง
  • เตาฮูโกเร็ง เต้าหู้ผัดรสหวาน
  • ตูตูกูเอะห์ เป็นขนมทำจากแป้งข้าวเจ้านึ่ง มีไส้มะพร้าวขูดและถั่วลิสง รสหวาน

อาหารทะเล แก้

 
ปูผัดพริก

อาหารสิงคโปร์ใช้อาหารทะเลหลายชนิดทั้งปลา หมึก ปู กุ้งมังกร หอย และหอยนางรม อาหารทะเลยอดนิยมได้แก่

  • ซัมบัลสติงเกรย์ หรือฮังฮีร์ (อักษรจีนตัวย่อ: 魟鱼; อักษรจีนตัวเต็ม: 魟魚; พินอิน: gōng yú) เนื้อสัตว์ผสมกับซัมบัล ห่อและเสิร์ฟในใบตอง บางครั้งเรียกอีกัน บาการ์ในภาษามลายู เป็นอาหารทั่วไปในมาเลเซียแต่เป็นอาหารแปลกในสิงคโปร์
  • ปูผัดพริกไทยดำ เป็นการผัดปูเปลือกแข็งกับซอสพริกไทยดำ
  • ปูผัดพริก เป็นปูเปลือกแข็งผัดกับซอสข้นทำจากมะเขือเทศและพริก
  • ออมเลตหอยนางรม ออมเล็ตใส่หอยนางรมผสมกับแป้งและผัดให้สุก ใส่ผักชี

ผลไม้ แก้

 
ทุเรียนในสิงคโปร์

ผลไม้เขตร้อนหลายชนิดพบได้ตลอดปี ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่รู้จักกันดี ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ขนุน ลิ้นจี่ เงาะ และสับปะรด ผลไม้เหล่านี้ ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารได้ เช่น ขนมใส่น้ำแข็ง หมูเปรี้ยวหวาน และสลัด เช่น โรยัก

ขนมหวาน แก้

 
ตังยวน
 
เซ็นดอล

ขนมหวานในสิงคโปร์มีประวัติความเป็นมาที่หลากหลาย ตัวอย่าง ได้แก่

  • เยลลี่อัลมอนด์ เป็นเยลลี่นิ่มทำจากอัลมอนด์
  • เต้าหู้บาร์เลย์ มักใส่แป๊ะก๊วย หรือเห็ดหิมะ
  • พุดดิ้งมะม่วง
  • ซุปถั่วแดง
  • ซุปถั่วเขียว
  • โอร์นี เป็นขนมแบบแต้จิ๋วที่ประกอบด้วยกล้วยบด ชิ้นมะพร้าว แป๊ะก๊วย เป็นอาหารยอดนิยมในภัตตาคารจีน
  • เค้กชิฟฟ่อนใบเตย เป็นเนื้อเบาใส่ใบเตย มีสีเขียว
  • สาคูแตงไทย แตงไทยหั่นเป็นชิ้นหรือตักเป็นลูก กินกับกะทิและสาคู
  • สาคูแคนตาลูบ แคนตาลูบหั่นเป็นชิ้นหรือตักเป็นก้อนกลม กินกับกะทิและสาคู
  • บุรบุรชาชา กลอยหรือมันเทศ หั่นเป็นชิ้น กินกับสาคูและกะทิ มีทั้งแบบร้อนและแบบเย็น
  • เซ็นดอล เป็นขนมที่ทำจากกะทิ ใส่น้ำตาลมะพร้าว ตัวเซ็นดอลทำจากแป้งใส่ใบเตย น้ำแช็งไส และใส่เครื่องปรุงอื่นเพิ่มเติม เช่น ถั่วแดง
  • เชงตึง ซุปใสใส่ลำไย ข้าวบาร์เลย์ วุ้นหั่น เม็ดบัว น้ำเชื่อม กินทั้งร้อนและเย็น คล้ายกับอาหารเวียดนามที่เรียกชิงโบเลือง
  • ไอซ์กาจัง เป็นน้ำแข็งไส กินกับเยลลี่ ข้าวโพด ถั่วแดง ลูกจาก ราดด้วยน้ำเชื่อมใส่สี ซึ่งประกอบด้วยน่ำตาลมะพร้าว น้ำกุหลาบ และนมระเหย
  • กุยห์หรือกูเอะห์ เป็นขนมชิ้นเล็ก มีกะทิเป็นส่วนผสมหลัก มีหลายรูปแบบ มักมีผลไม้ เช่น ทุเรียน กล้วย ใบเตย มีลักษณะใกล้เคียงกับขนมในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และอาหารเปอรานากัน ตัวอย่างเช่น กูเอะห์ลาปิส เป็นขนมที่มีหลายชั้น ใช้ไข่ขาวปริมาณมาก ลาปิสซากู เป็นขนมที่มีหลายสี รสหวาน ใส่กะทิ
  • ทาร์ตสับปะรด ทาร์ตใส่ไส้สับปะรดกวน
  • ปูลุต อีตัม เป็นขนมที่ทำจากข้าวเหนียวดำ กินกับกะทิ
  • เรด รูบี หรือทับทิมกรอบ เป็นขนมไทยที่ทำจากชิ้นแห้วผสมกับแป้งมันและสีแดง กินกับน้ำแข็งไส น้ำหวานสีแดง และนมระเหย
  • เค้กซูกี เป็นเค้กนิ่ม ทำจากแป้งสาลีชนิดพิเศษที่ใช้ทำพาสตา ใส่ไข่แดงจำนวนมาก พบในอาหารยูเรเชีย อาหารมลายู และอาหารจีน
  • ซากูกูลาเมอลากา พุดดิ้งสาคูกินกับกะทิและน้ำเชื่อมจากน้ำตาลปี๊บ
  • เตาซาน ถั่วเขียวในเยลลี่ กินแบบร้อน
  • ตังยวน ขนมทรงกลมทำจากข้าวเหนียว กินกับน้ำซุป บางครั้งใส่ไส้งาดำ ถั่วแดง หรือถั่วลิสง
  • เต้าฮวย เต้าหู้แบบอ่อน กินกับน้ำเชื่อม

เครื่องดื่ม แก้

 
กาแฟแบบพื้นเมืองที่เรียกโกปีโอ

เครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมในสิงคโปร์ ได้แก่

  • เฉาก๊วย (ภาษาจีน: 仙草水; pinyin: xiān cǎo shuǐ) เป็นเครื่องดื่มรสหวาน ใส่เฉาก๊วย
  • บาร์เลย์มะนาว (ภาษาจีน: 柠檬薏米水; pinyin: níng méng yì mǐ shuǐ)
  • น้ำแห้ว (ภาษาจีน: 马蹄水; pinyin: mǎ tí shuǐ)
  • น้ำเต้าหู้ (ภาษาจีน: 豆奶/豆花水; pinyin: dòu nǎi/dòu huā shuǐ)
  • ชาเก๊กฮวย (ภาษาจีน: 菊花茶; pinyin: jú huā chá)
  • บันดุง เป็นน้ำเชื่อมกุหลาบ ใส่นมระเหย
  • ชาฟอง แบบดั้งเดิมจะใส่ลูกโบบาทำจากมันสำปะหลังผสมกับคาราจีแนนลงในชาดำใส่นมแล้วเขย่า
  • น้ำอ้อยแบบคั้นสด
  • ชาขิงผสมกับนมระเหย
  • เบียร์ไทเกอร์

อาหารสิงคโปร์ที่แปลกในสิงคโปร์ แก้

 
สิงคโปร์สลิง
 
หมี่สิงคโปร์
  • หมี่สิงคโปร์ (ภาษาจีน: 星州炒米粉; พินอิน: xīng zhōu chǎo mí fěn) เป็นเส้นบีหุนผัด ปรุงรสด้วยผงกะหรี่ ไม่พบในสิงคโปร์โดยทั่วไป เป็นที่นิยมในหมู่ชาวจีนที่มาจากตะวันตกและฮ่องกง
  • สิงคโปร์สลิง เป็นคอกเทลที่พัฒนาขึ้นในแรฟเฟิลโฮเต็ลในสิงคโปร์ ไม่พบทั่วไปในสิงคโปร์ แต่จะพบเฉพาะในแรฟเฟิลโฮเต็ล
  • ก๋วยเตี๋ยวผัดสิงคโปร์ (อักษรจีนตัวย่อ: 星州炒粿条; อักษรจีนตัวเต็ม: 星州炒粿條; พินอิน: xīng zhōu chǎo guǒ tiáo) เป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวแบบแบน ผัดกับซีอิ๊วดำ พบในร้านอาหารจีนในแคนาดา และสหรัฐ ไม่พบในสิงคโปร์ อาหารที่พบในสิงคโปร์และมีลักษณะใกล้เคียงกันคือชาร์ก๋วยเตี๋ยว

อ้างอิง แก้

  1. "Indian Cuisines in Singapore". สืบค้นเมื่อ 7 April 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้