ไข่เยี่ยวม้า
ไข่เยี่ยวม้า หรือ ไข่สำเภา คือ การแปรรูปไข่เพื่อการบริโภครูปแบบหนึ่งของคนจีนที่มีมาแต่โบราณกาล คนจีนเรียกว่า เหอี่ยหม่า หรือจี๋ไฮ่ โดยการใช้กรรมวิธีทำให้เป็นด่างถือว่าเป็นการถนอมอาหารรูปแบบหนึ่ง สามารถทำได้กับไข่เป็ด ไข่ไก่ และไข่นกกระทา โดยนำไข่ไปแช่หรือหมักในส่วนผสมที่มาจาก ปูนขาว, เกลือ, โซเดียมคาร์บอเนต, ใบชาดำ, สังกะสีออกไซด์ และ น้ำ
ไข่เยี่ยวม้าที่ถูกผ่าครึ่ง | |
ชื่ออื่น | ไข่สำเภา |
---|---|
แหล่งกำเนิด | มณฑลหูหนาน ประเทศจีน |
ส่วนผสมหลัก | ไข่ดองในดินเหนียวเถ้าเกลือปูนขาวและเปลือกข้าว |
รูปแบบอื่น | ไข่เป็ด, ไข่ไก่ หรือไข่นกกระทา |
บางครั้ง ผู้ผลิตจะใส่สารประกอบของตะกั่วลงไป เพื่อควบคุมความเป็นกรดด่าง (pH) ให้คงที่ ซึ่งช่วยให้ไข่ขาวแข็งตัวอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นในไข่เยี่ยวม้า จึงอาจมีสารตะกั่วในรูปของเลดซัลไฟด์อยู่ โดยสังเกตได้จากส่วน ของไข่ขาวจะมีสีดำมาก ลักษณะขุ่น ส่วนไข่เยี่ยวม้าที่ไม่มีลีดซัลไฟด์ ไข่ขาวจะมีสีน้ำตาลคล้ำและมีลักษณะใส ซึ่งถ้าพบไข่เยี่ยวม้ามีลักษณะ ไข่ขาวขุ่นไม่ใสก็ควรจะหลีกเลี่ยงไม่รับประทาน
ประวัติศาสตร์
แก้ต้นกำเนิดของไข่เยี่ยวม้ามีแนวโน้มว่าเป็นการถนอมอาหารของไข่ด้วยช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยพอกด้วยดินด่างซึ่งคล้ายกับวิธีการถนอมอาหารของไข่ในวัฒนธรรมตะวันตก[1] ดินที่พอกรอบไข่ทำให้เกิดการบ่มเป็นไข่เยี่ยวม้าแทนที่ไข่จะเสีย
เล่ากันว่าไข่เยี่ยวม้า กำเนิดมากว่าห้าศตวรรษแลัว ตามตำนานที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ บอกว่าไข่เยี่ยวม้าค้นพบเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนในมณฑลหูหนานในสมัย ราชวงศ์หมิง เมื่อเจ้าของบ้านพบไข่เป็ดในบ่อปูนขาวที่ใช้ในระหว่างการก่อสร้างบ้านของเขา เมื่อได้ลองชิมแล้วรู้สึกว่ามันมีกลิ่นรสเฉพาะตัวและสามารถนำมารับประทาน เขาจึงริเริ่มการผลิตเพื่อขาย โดยนำไข่ดิบมากลบอยู่ในบ่อปูนขาวประมาณ 2 เดือน และเติม เกลือลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติ จึงพัฒนามาเป็นวิธีทำไข่เยี่ยวม้าในปัจจุบัน และนอกจากนี้ยังเป็นอาหารโปรดของคนในปัจจุบันด้วย[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
แก้- ↑ Hou, Xiangchuan (1981). "Hunger and technology: Egg preservation in China". Food and Nutrition Bulletin. The United Nations University Press. 3 (2): 1–4. doi:10.1177/156482658100300209. ISBN 978-92-808-0254-2.