มณฑลไหหลำ

(เปลี่ยนทางจาก เกาะไหหลำ)

ไหหลำ หรือ ไห่หนาน (จีน: 海南) เป็นมณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีขนาดเล็กที่สุด ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศ ประกอบด้วย เกาะหลายเกาะในทะเลจีนใต้ โดยเกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะไหหลำ ซึ่งมีช่องแคบฉฺยงโจวคั่นกลางระหว่างคาบสมุทรเหลย์โจวของมณฑลกวางตุ้งกับเกาะไหหลำ เมื่อชาวจีนพูดเกี่ยวกับ "ไห่หนาน" ในภาษาจีน มักจะหมายถึงเฉพาะเกาะไหหลำ เมื่อพูดถึงมณฑลไหหลำจะใช้คำว่า "ไห่หนานเฉิ่ง" เมืองหลวงคือ ไหโข่ว

มณฑลไหหลำ

海南省
การถอดเสียง 
 • ภาษาจีนไห่หนานเฉิ่ง (海南省 Hǎinán Shěng)
 • ชื่อย่อHI / ฉฺยง (พินอิน: Qióng; ยฺหวิดเพ็ง: king4; เป่อ่วยยี: khêng)
 • ภาษาไหหลำHái-nâm-séng
 • ภาษาจีนกวางตุ้งHoi2 Naam4 Saang2
ทิวทัศน์สวน Sanya Nanshan Dongtian
ทิวทัศน์สวน Sanya Nanshan Dongtian
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลไหหลำ
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลไหหลำ
พิกัด: 19°12′N 109°42′E / 19.2°N 109.7°E / 19.2; 109.7
ตั้งชื่อจากไห่ ( hǎi) — "ทะเล"
หนาน ( nán) — "ใต้"
"ทางใต้ของทะเล (ช่องแคบฉฺยงโจว)"
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ไหโข่ว
เขตการปกครอง4 จังหวัด, 25 อำเภอ, 218 ตำบล
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคFeng Fei
 • ประธานสภาประชาชนFeng Fei
 • ผู้ว่าการLiu Xiaoming
 • ประธาน CPPCCLi Rongcan
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด35,191 ตร.กม. (13,587 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 28
ความสูงจุดสูงสุด (Wuzhi Shan)1,840 เมตร (6,040 ฟุต)
ประชากร
 (2020)[2]
 • ทั้งหมด10,081,232 คน
 • อันดับอันดับที่ 28
 • ความหนาแน่น290 คน/ตร.กม. (740 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 17
ประชากรศาสตร์
 • ชาติพันธุ์ฮั่น: 82.6%
หลี: 15.84%
ม้ง: 0.82%
จ้วง: 0.67%
 • ภาษาและภาษาถิ่นภาษาไหหลำ, ภาษาจีนกวางตุ้ง, ภาษาไหล
รหัส ISO 3166CN-HI
GDP (2017[3])446.25 พันล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 28)
 • ต่อหัว48,429 (อันดับที่ 17)
HDI (2018)0.750[4] (สูง) (อันดับที่ 19)
เว็บไซต์ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน
มณฑลไหหลำ
"ไห่หนาน" ในอักษรจีน
ภาษาจีน海南
ความหมายตามตัวอักษร"ทางใต้ของทะเล (ช่องแคบฉฺยงโจว)"
เกาะไห่หนาน
แผนที่เกาะไห่หนานในคริสต์ศตวรรษที่ 19
อักษรจีนตัวเต็ม海南
อักษรจีนตัวย่อ海南
ความหมายตามตัวอักษรเกาะทางใต้ของทะเล
ชื่อในอดีต
จูหย่า
ภาษาจีน珠崖
ความหมายตามตัวอักษรผาไข่มุก
ฉฺยงหย่า
อักษรจีนตัวเต็ม瓊崖
อักษรจีนตัวย่อ琼崖
ความหมายตามตัวอักษรผาหยก
ฉฺยงโจว
อักษรจีนตัวเต็ม瓊州
อักษรจีนตัวย่อ琼州
ความหมายตามตัวอักษรมณฑลหยก

ประวัติ

แก้

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 รัฐบาลจีนได้ตั้งเป็นเขตปกครองไห่หนาน (海南行政区) ซึ่งยังคงเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง และต่อมาในปี 2531 แยกออกจากมณฑลกวางตุ้งเป็นมณฑลไห่หนาน หลังการแยกออกเป็นมณฑล ไห่หนานถูกกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการลงทุนโดยจากนักลงทุนชาวจีนโพ้นทะเล ซึ่งจัดอยู่ใน เขตเศรษฐกิจพิเศษของจีน (SEZs) ส่วนหนึ่งของการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

มณฑลไหหลำใช้ระบบการแบ่งเขตปกครองต่างจากมณฑลและเขตปกครองอื่น ๆ ของประเทศจีน โดยปกติ มณฑลส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นระดับจังหวัด แต่ละจังหวัดแบ่งออกเป็นระดับอำเภอ ดังนั้น ระดับอำเภอจะไม่เป็นหน่วยย่อยของมณฑลโดยตรง แต่ในมณฑลไหหลำ เกือบทุกเขตปกครองระดับอำเภอจะเป็นหน่วยย่อยของมณฑลโดยตรง (ยกเว้น 8 เขตในไหโข่วและซานย่า) วิธีการปกครองแบบนี้เกิดจากประชากรของมณฑลไหหลำที่เบาบาง ซึ่งมีประมาณ 8 ล้านคน และสิ้นปี ค.ศ. 2020 มีประชากรจำนวน 10.08 ล้านคน[2]

 
แผนที่ของมณฑลไหหลำ
ระดับจังหวัด
  • (1) นครไหโข่ว (海口市) ซึ่งแบ่งต่อออกไปอีก 4 เขต:
    • เขตหลงหฺวา (龙华区)
    • เขตซิ่วยิง (秀英区)
    • เขตฉยงชาน (琼山区)
    • เขตเหม่ย์หลาน (美兰区)
  • (2) นครซานย่า (三亚市)
    • เขตจี๋หยาง (吉阳区)
    • เขตเทียนหยา (天涯区)
    • เขตไห่ถัง (海棠区)
    • เขตหยาโจว (崖州区)
  • (19) นครซันชา (三沙市)
  • (3) นครตานโจว (儋州市)
ระดับอำเภอ
  • นครระดับอำเภอ:
    • (8) นครเหวินชาง (文昌市)
    • (4) นครฉงไห่ (琼海市)
    • (5) นครวั่นหนิง (万宁市)
    • (6) นครอู๋จื่อชาน (五指山市)
    • (7) นครตงฟาง (東方市)
  • อำเภอ:
    • (9) อำเภอหลินเกา (臨高縣)
    • (10) อำเภอเฉิงไม่ (澄邁縣)
    • (11) อำเภอติ้งอัน (定安縣)
    • (12) อำเภอถุนชาง (屯昌縣)
  • เขตปกครองตนเอง:
    • (13) อำเภอปกครองตนเองชนชาติหลี ชางเจียง (昌江黎族自治縣)
    • (14) อำเภอปกครองตนเองชนชาติหลี ไป๋ชา (白沙黎族自治縣)
    • (15) อำเภอปกครองตนเองชนชาติหลีและม้ง ฉงจง (琼中黎族苗族自治縣)
    • (16) อำเภอปกครองตนเองชนชาติหลี หลิงฉุ่ย (陵水黎族自治縣)
    • (17) อำเภอปกครองตนเองชนชาติหลีและม้ง เป่าถิง (保亭黎族苗族自治縣)
    • (18) อำเภอปกครองตนเองชนชาติหลี เล่อตง (乐东黎族自治縣)

อ้างอิง

แก้
  1. "Doing Business in China - Survey". Ministry of Commerce - People's Republic of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 สิงหาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2013.
  2. 2.0 2.1 "Communiqué of the Seventh National Population Census (No. 3)". National Bureau of Statistics of China. 11 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2021.
  3. 海南省2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Hainan Province on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Hainan Province. 24 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  4. 《2013中国人类发展报告》 (PDF) (ภาษาจีน). United Nations Development Programme China. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

แก้
  • D'Arcy Brown, Liam (2003). Green Dragon, Sombre Warrior: travels to China's extremes. London: John Murray. ISBN 0-7195-6038-1
  • Edmonds, Richard Louis. "Hainan province and its impact on the geography of China", Geography, Vol. 74, No. 2 (April 1989), pp. 165–169

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้