มณฑลกวางตุ้ง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
มณฑลกวางตุ้ง หรือ กว่างตง (จีนตัวย่อ: 广东省; จีนตัวเต็ม: 廣東省) เป็นมณฑลหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศจีน ตั้งอยู่ทางเหนือของทะเลจีนใต้ เมืองหลวงของมณฑลคือ กว่างโจว ประชากรในมณฑลมีจำนวน 113.46 ล้านคน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2018[6]) มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 179,800 ตารางกิโลเมตร[2] นับเป็นมณฑลที่มีประชากรมากที่สุด และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของมณฑลกวางตุ้งในปี ค.ศ. 2018 มีมูลค่า 1.47 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (9.73 ล้านล้านหยวนจีน)[6] ทำให้เศรษฐกิจของมณฑลมีขนาดใหญ่กว่ามณฑลอื่น ๆ ในประเทศ และเป็นหน่วยการปกครองที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก มณฑลกวางตุ้งเป็นที่ตั้งของเขตอภิมหานครหนึ่งของจีน คือ เขตเศรษฐกิจดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมการผลิต และการค้าระหว่างประเทศ เมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจนี้ ได้แก่ กว่างโจว ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑล และเชินเจิ้น ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของประเทศ
มณฑลกวางตุ้ง 广东省 | |
---|---|
การถอดเสียงภาษาจีน | |
• ภาษาจีน | กว่างตงเฉิ่ง (广东省 Guǎngdōng Shěng) |
• อักษรย่อ | GD / เยฺว่ (粤 พินอิน: Yuè; ยฺหวิดเพ็ง: Jyut6) |
สถานที่ต่าง ๆ ในมณฑลกวางตุ้ง | |
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลกวางตุ้ง | |
พิกัด: 23°24′N 113°30′E / 23.4°N 113.5°E | |
ตั้งชื่อจาก | ย่อมาจาก "กว่างหนานตงลู่ (Guǎngnándōng Lù)" โดยคำว่า "ลู่ (lù)" หมายถึง มณฑลหรือรัฐในสมัยราชวงศ์ซ่ง กว่าง (广) = กว้างขวาง ตง (东) = ตะวันออก ความหมายตามตัวอักษร "[ดินแดน]กว้างขวางทางตะวันออก" (โดยกว่างซีอยู่ทางตะวันตก) |
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | กว่างโจว |
เขตการปกครอง | 21 จังหวัด, 121 อำเภอ, 1642 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | หลี่ ซี (李希) |
• ผู้ว่าราชการ | หม่า ซิ่งรุ่ย (马兴瑞) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 179,800 ตร.กม. (69,400 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 15 ของประเทศ |
ความสูงจุดสูงสุด | 1,902 เมตร (6,240 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2018)[3] | |
• ทั้งหมด | 113,460,000[1] คน |
• อันดับ | ที่ 1 ของประเทศ |
• อันดับความหนาแน่น | ที่ 7 ของประเทศ |
ประชากรศาสตร์ | |
• องค์ประกอบชาติพันธุ์ | ฮั่น – 99% จ้วง – 0.7% เย้า – 0.2% |
• ภาษาและภาษาถิ่น | ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน, ภาษาจีนกวางตุ้ง, ภาษาแคะ, ภาษาหมิ่นใต้ (ภาษาแต้จิ๋วและ Leizhou Min), Tuhua, ภาษาจีนกลาง, ภาษาจ้วง |
รหัส ISO 3166 | CN-GD |
GDP (ค.ศ. 2019)[4] | 10.767 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (ที่ 1 ของประเทศ) |
• ต่อหัว | 85,738 เหรินหมินปี้ (ที่ 8 ของประเทศ) |
HDI (ค.ศ. 2018) | 0.791[5] สูง · ที่ 4 ของประเทศ |
เว็บไซต์ | www |
มณฑลกวางตุ้งกลายเป็นมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศจีน แซงหน้ามณฑลเหอหนานและมณฑลชานตงไปเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2005 โดยมีผู้อยู่อาศัยถาวรตามทะเบียนบ้านจำนวน 79.1 ล้านคน และผู้อพยพที่อาศัยอยู่ในมณฑลเป็นเวลาอย่างน้อยหกเดือนจำนวน 31 ล้านคน[7][8] ประชากรทั้งหมดมีจำนวน 104,303,132 คน ตามข้อมูลในสำมะโนปี ค.ศ. 2010 คิดเป็นร้อยละ 7.79 ของประชากรในจีนแผ่นดินใหญ่[9] ทำให้มณฑลกวางตุ้งเป็นเขตการปกครองระดับแรกที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศที่อยู่นอกเอเชียใต้ เนื่องจากมีเพียงรัฐดังต่อไปนี้ของประเทศอินเดียเท่านั้นที่มีจำนวนประชากรมากกว่ามณฑลกวางตุ้ง ซึ่งได้แก่ รัฐพิหาร รัฐมหาราษฏระ และรัฐอุตตรประเทศ[10][11] มณฑลกวางตุ้งที่ปกครองโดยสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบันนั้นครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของมณฑลกวางตุ้งในสมัยก่อน แต่อย่างไรก็ตาม หมู่เกาะปราตัสที่อยู่ในทะเลจีนใต้ ปัจจุบันอยู่ในความควบคุมของสาธารณรัฐจีน (หรือไต้หวัน) ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลกวางตุ้งก่อนเกิดสงครามกลางเมืองจีน[12][13]
มณฑลกวางตุ้งมีเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายสูง โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 มณฑลกวางตุ้งครองอันดับสูงสุดในการจัดอันดับจีดีพีรวมในบรรดาเขตการปกครองระดับมณฑลทั้งหมดของประเทศ โดยมีมณฑลเจียงซูและมณฑลชานตงอยู่อันดับสองและสามตามลำดับ ในปี ค.ศ. 2018 จีดีพีของมณฑลขึ้นสูงถึง 1.47 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (9.73 ล้านล้านหยวนจีน) มากกว่าประเทศสเปนที่มีจีดีพี 1.43 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นประเทศที่มีจีดีพีมากเป็นอันดับที่ 13 ของโลก[14] มณฑลนี้มีส่วนสนับสนุนประมาณร้อยละ 12 ของผลผลิตทางเศรษฐกิจทั้งหมดของจีนแผ่นดินใหญ่ และเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตและสำนักงานของบริษัททั้งของจีนและต่างประเทศ มณฑลกวางตุ้งได้รับประโยชน์จากการที่ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินอย่างฮ่องกง ซึ่งมีพรมแดนติดกันทางทิศใต้ และยังเป็นเจ้าภาพจัดงานนำเข้าและส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในจีน ซึ่งคืองานแคนตันแฟร์ (Canton Fair) จัดขึ้นในเมืองกว่างโจว เมืองหลวงของมณฑล
หลังจากการรวมกันของภูมิภาคหลิ่งหนานในราชวงศ์ฉิน ผู้คนจากที่ราบภาคกลางได้อพยพเข้ามาและสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ วัฒนธรรมทั้งทางด้านภาษา ดนตรี อาหาร การแสดงงิ้ว และพิธีชงชา ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ รวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอื่น ๆ เขตบริหารพิเศษทั้งสองแห่งอันได้แก่ฮ่องกงและมาเก๊า ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางวัฒนธรรมของกวางตุ้งเช่นกัน และยังมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชาวจีนที่อยู่ในสิงคโปร์และมาเลเซีย
ชื่อ
แก้"กว่าง" (จีนตัวย่อ: 广; จีนตัวเต็ม: 廣; พินอิน: Guǎng) แปลว่า กว้าง หรือ กว้างใหญ่ ชื่อนี้มีบันทึกความเกี่ยวข้องกับภูมิภาคนี้ตั้งแต่การก่อตั้ง มณฑลกว่าง ในปี ค.ศ. 226 [15] สันนิษฐานว่าชื่อ "กว่าง" พัฒนามาจากชื่อเมือง กว่างซิ่น (广信; 廣信) เมืองหน้าด่านที่สร้างขึ้นในราชวงศ์ฮั่น ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับหวู่โจว(ในปัจจุบัน) โดยอ้างอิงถึงโองการของจักรพรรดิหวู่แห่งฮั่น และในสมัยนั้นกวางตุ้งและกวางสีถูกเรียกรวมกันว่า สองกว่าง (จีนตัวย่อ: 两广; จีนตัวเต็ม: 兩廣; พินอิน: Liǎngguǎng; ภาษาจีนกวางตุ้ง: Loeng gwong) ในสมัยราชวงศ์ซ่ง สองกว่าง ถูกแยกออกจากกันอย่างเป็นทางการ โดยเรียกว่า ฝั่งทางตะวันออกของกว่างของจีนภาคใต้ (จีนตัวย่อ: 广南东路; จีนตัวเต็ม: 廣南東路; พินอิน: GuǎngnánDōnglù) และ ฝั่งทางตะวันออกของกว่างของจีนภาคใต้ (จีนตัวย่อ: 广南西路; จีนตัวเต็ม: 廣南西路; พินอิน: GuǎngnánXīlù) ซึ่งชื่อย่อเป็น กว่างฝั่งตะวันออก (广东路; 廣東路) และ กว่างฝั่งตะวันตก (广西路; 廣西路)
ในภาษาอังกฤษ "Canton" (แคน-ตัน) มีรากศัพท์มาจาก Cantão (คำทับศัพท์ในภาษาโปรตุเกสของ กวางตุ้ง) โดยทั่วไปมีความหมายเฉพาะเมืองหลวงของมณฑล คือ กวางโจว [16] [17] ในอดีตในยุโรป(และประเทศที่ใช้อักษรละตินเป็นหลัก) ชื่อ Canton ยังใช้เรียกแทนชื่อมณฑล (กวางตุ้ง) ด้วย [18] การเขียนชื่อ กวางตุ้ง ในระบบเวด-ไจลส์ เขียนได้เป็น 'Kwangtung' ปัจจุบันส่วนใหญ่หันมาใช้เป็น Guangdong จากพินอินในภาษาจีนมาตรฐาน [19] และภาษาของกวางโจวใช้เรียกในภาษาอังกฤษว่า Cantonese (แคน-ตัน-นีส) เนื่องจากความสำคัญของภาษาจีนกวางตุ้งในสำเนียงกวางโจวซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑล จึงมักใช้อ้างอิงแทนภาษาจีนกวางตุ้งสำเนียงอื่น ๆ สำหรับผู้พูดที่เกี่ยวข้องกับสายวิวัฒนาการและภาษาจีนกวางตุ้งในเมืองใกล้เคียงได้อีกด้วย เช่น สำเนียงซุ่นเต๋อ สำเนียงเจียงเหมิน สำเนียงกว่างซี[ต้องการอ้างอิง] ในประเทศจีน ภาษาจีนมาตรฐานใช้ 广东话 (จีน: 廣東話) เรียก ภาษาจีนกวางตุ้ง (ซึ่งบางครั้งยังผนวกการเรียกภาษาแต้จิ๋วเข้ารวมใน 广东话 อีกด้วยแม้ว่าไม่ได้มาจากรากภาษาจีนกวางตุ้ง แต่ถูกใช้เนื่องจากการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์)
ประวัติศาสตร์
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิศาสตร์
แก้มณฑลกวางตุ้งมีพื้นที่ทางเหนือยกตัวสูงและทางใต้ต่ำ มีเทือกเขาและภูเขาขนาดเล็กตัดสลับกับที่ราบ มีแม่น้ำจู (หรือแม่น้ำเพิร์ล) ซึ่งเป็นแม่น้ำสายยาวเป็นอันดับสามของประเทศ ไหลผ่านเป็นระยะทาง 2,122 กิโลเมตร มีพื้นที่บนแผ่นดินใหญ่ราว 178,600 ตารางกิโลเมตร พื้นที่รวมของเกาะแก่งต่าง ๆ ราว 1,600 ตารางกิโลเมตร ชายฝั่งทะเลยาวทั้งสิ้น 4,310 กิโลเมตร พื้นที่ภูเขามีสัดส่วนร้อยละ 31.7, เทือกเขาขนาดเล็กร้อยละ 28.5, ที่ราบสูงร้อยละ 16.1 และที่ราบร้อยละ 23.7
มณฑลกวางตุ้งติดกับทะเลจีนใต้ทางทิศใต้ มีคาบสมุทรเหลย์โจวอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้สุดของมณฑล ซึ่งในคาบสมุทรนี้มีภูเขาไฟที่มีพลังจำนวนไม่มาก มณฑลนี้มีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล ซึ่งเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำสามสาย ได้แก่ แม่น้ำตง แม่น้ำเป่ย์ และแม่น้ำซี ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำนี้เต็มไปด้วยเกาะเล็ก ๆ หลายร้อยเกาะ มณฑลนี้ถูกแยกจากพื้นที่ทางเหนือโดยเทือกเขาที่รวมเรียกว่า เทือกเขาหนาน (หนานหลิ่ง) ยอดเขาที่สูงที่สุดในมณฑลคือ ฉือเคิงคง (石坑崆) ซึ่งมีความสูง 1,902 เมตร (6,240 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล
มณฑลกวางตุ้งมีพื้นที่ติดต่อดังนี้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับมณฑลฝูเจี้ยน ทิศเหนือติดกับมณฑลเจียงซีและมณฑลหูหนาน ทิศตะวันตกติดกับเขตปกครองตนเองกว่างซี และทิศใต้ติดกับเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า มีมณฑลไหหลำเป็นเกาะตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับคาบสมุทรเหลย์โจว นอกจานี้ หมู่เกาะปราตัสที่อยู่ในทะเลจีนใต้ ซึ่งเดิมอยู่ภายใต้การปกครองส่วนหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง ปัจจุบันอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)[20]
เมืองที่อยู่รอบ ๆ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล เช่น ตงกว่าน ฝัวชาน กว่างโจว ฮุ่ยโจว เจียงเหมิน เชินเจิ้น จงชาน และจูไห่ เมืองอื่น ๆ ในมณฑล เช่น แต้จิ๋ว (เฉาโจว), ซัวเถา (ช่านโถว), เฉากฺวัน, จั้นเจียง, เจ้าชิ่ง, หยางเจียง และยฺหวินฝู
มณฑลกวางตุ้งมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (เคิพเพิน: พื้นแผ่นดินภายใน Cfa, ตามชายฝั่ง Cwa) ถึงแม้ว่าจะอยู่ใกล้เขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นทางทิศใต้ก็ตาม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,366 มิลลิเมตรต่อปี มีฤดูหนาวเป็นระยะเวลาสั้น ไม่รุนแรง อบอุ่น และค่อนข้างแห้ง ในขณะที่มีฤดูร้อนที่ยาวนานและชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยรายวันในกว่างโจวในเดือนมกราคมและกรกฎาคมอยู่ที่ 18 องศาเซลเซียส (64 องศาฟาเรนไฮต์) และ 33 องศาเซลเซียส (91 องศาฟาเรนไฮต์) ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามความชื้นจะทำให้รู้สึกร้อนกว่ามากในฤดูร้อน ในฤดูหนาวที่บริเวณชายฝั่งน้ำค้างแข็งจะเกิดขึ้นยาก แต่อาจเกิดขึ้นได้บนบริเวณพื้นแผ่นดินที่อยู่ถัดเข้าไปเป็นระยะเวลาไม่กี่วันในฤดูหนาวของแต่ละปี
ประชากร
แก้ประมาณ 80 ล้านคน มีภูมิลำเนาในกวางตุ้ง 74.73 ล้านคน (สำรวจสำมะโนประชากร มีนาคม 2001) กวางตุ้งมีชนเผ่าหลากหลายถึง 53 กลุ่ม นอกเหนือจากฮั่นแล้ว ยังมี จ้วง เย้า มุสลิม แมนจู อี๋ หลี แม้ว เป็นต้น
- ปี 2003 ประชากรที่มีภูมิลำเนาใจกวางตุ้งเพิ่มเป็น 79.54 ล้านคน อัตราการเกิด 13.66% อัตราการตาย 5.31%
เศรษฐกิจ
แก้ปี | ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ |
---|---|
พ.ศ. 2523 | 24,571 |
พ.ศ. 2528 | 55,305 |
พ.ศ. 2533 | 147,184 |
พ.ศ. 2538 | 538,172 |
พ.ศ. 2543 | 966,223 |
พ.ศ. 2548 | 2,170,128 |
ปี 2003 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ของมณฑล มีมูลค่า 1,344,993 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 13.6% มูลค่าการนำเข้าและส่งออกของมณฑลรวมทั้งสิ้น 283,646 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 28.3% โดยมีคู่ค้าที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง มูลค่าการค้า 59,256 ล้านเหรียญฯ สหรัฐอเมริกา 44,541 ล้านเหรียญฯ ญี่ปุ่น 34,598 ล้านเหรียญฯ สหภาพยุโรป 30,606 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 24.4% 22.8% 29.6%และ 30.6% ตามลำดับ ทั้งนี้ คู่ค้าสำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ เยอรมัน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮอลแลนด์และไทย
รายได้พลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยต่อคนของชาวเมืองในครึ่งปีแรกของปี 2003 คิดเป็น 6,498.7 หยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 10.2% รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชาชนในชนบทอยู่ที่ 1,957.6 หยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 6.4%
เกษตรกรรม
แก้มีเพียง 15% ของพื้นที่ในมณฑล ที่สามารถทำการเพาะปลูกได้ โดยมีการปลูกข้าว 2 ครั้งต่อปี บนพื้นที่ 76% ของพื้นที่ที่เพาะปลูกได้ ผลผลิตข้าวยังนับเป็น 80% ของผลผลิตอาหารทั้งหมดของมณฑล
อุตสาหกรรม
แก้อุตสาหกรรมเบามีความสำคัญที่สุดในมณฑล นอกจากหัตถกรรมแล้ว อุตสาหกรรมเบาที่เฟื่องฟูที่สุดได้แก่ การแปรรูปอาหาร และการผลิตเสื้อผ้า สิ่งทอ การฟอกน้ำตาลกระจุกอยู่ในกว่างโจว ตงกวน ซุ่นเต๋อ เจียงเหมิน และซัวเถา นอกจากนี้ ในกว่างโจว ฝอซัน และซุ่นเต๋อ ยังมีอุตสาหกรรมสาวเส้นใยไหมและการทอที่พัฒนาก้าวหน้า สำหรับอุตสาหกรรมหนักได้แก่ การแปรรูปโลหะ การผลิตเครื่องจักร การต่อเรือ และการสร้างเรือ การผลิตพลังงานไฟฟ้า และเหมืองแร่
อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ พลังงานไฟฟ้า อุตสาหกรรมหลอมโลหะ
การค้าระหว่างประเทศ
แก้สภาพการส่งออกในตลาดอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และฮ่องกงล้วนมีตัวเลขการเจริญเติบโตขึ้นอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังมีตลาดส่งออกในทวีปแอฟริกา กลุ่มอาเซียน อินเดีย และรัสเซียอีกด้วย สินค้าส่งออกที่สำคัญคือ ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าแปรรูป
ทรัพยากร
แก้มีทรัพยากรแร่ธาตุที่ค้นพบและเป็นแหล่งคลังแร่ 89 ชนิด ได้แก่ ถ่านหิน แร่เหล็ก ถ่านเลน หินควอตซ์ (หินเขี้ยวหนุมาน) ดินที่ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา แร่เยมาเนียม เป็นต้น มีพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำทะเล 7,800 ตร.กม. เพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด 4,300 ตร.กม. ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญคือ ข้าว ผัก ผลไม้และต้นป่าน เป็นต้น ไม้เศรษฐกิจได้แก่ ไม้สน ไม้ฉำฉาและไม้จื่อ เป็นต้น ผลไม้ขึ้นชื่อ ได้แก่ สับปะรด กล้วย ลิ้นจี่ ลำไย และส้ม
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้มณฑลกวางตุ้งแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัด 21 แห่ง โดยทั้งหมดมีสถานะเป็นนครระดับจังหวัด (ในจำนวนนี้มี 2 แห่งที่เป็นนครกิ่งมณฑลด้วย)
เขตการปกครองระดับจังหวัดทั้ง 21 แห่งของมณฑลกวางตุ้งนี้แบ่งย่อยออกเป็น 119 เขตการปกครองระดับอำเภอ (ประกอบด้วย 64 เขต, 20 นครระดับอำเภอ, 34 อำเภอ, และ 3 อำเภอปกครองตนเอง)
อ้างสิทธิ์โดย สาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ควบคุมโดย สาธารณรัฐจีน
- นครกว่างโจว (广州市 Guǎngzhōu Shì)*
- นครเฉากวาน (韶关市 Sháoguān Shì)
- นครเชินเจิ้น (深圳市 Shēnzhèn Shì)*
- นครจูไห่ (珠海市 Zhūhǎi Shì)
- นครชั่นโถว หรือ ซัวเถา (汕头市 Shàntóu Shì)
- นครฝัวชาน (佛山市 Fóshān Shì)
- นครเจียงเหมิน (江门市 Jiāngmén Shì)
- นครจั้นเจียง (湛江市 Zhànjiāng Shì)
- นครเม่าหมิง (茂名市 Màomíng Shì)
- นครเจ้าชิ่ง (肇庆市 Zhàoqìng Shì)
- นครฮุ่ยโจว (惠州市 Huìzhōu Shì)
- นครเหมย์โจว (梅州市 Méizhōu Shì)
- นครชั่นเหว่ย์ หรือ ซัวบ้วย (汕尾市 Shànwěi Shì)
- นครเหอเยฺหวียน (河源市 Héyuán Shì)
- นครหยางเจียง (阳江市 Yángjiāng Shì)
- นครชิงเยฺหวี่ยน (清远市 Qīngyuǎn Shì)
- นครตงกว่าน (东莞市 Dōngguǎn Shì)**
- นครจงชาน (中山市 Zhōngshān Shì)**
- นครเฉาโจว หรือ แต้จิ๋ว (潮州市 Cháozhōu Shì)
- นครเจียหยาง หรือ เก๊กเอี๊ย (揭阳市 Jiēyáng Shì)
- นครยฺหวินฝู (云浮市 Yúnfú Shì)
- หมายเหตุ
- * - มีสถานะเป็นนครกิ่งมณฑลด้วย
- ** - ไม่มีเขตการปกครองระดับอำเภอ นครมีอำนาจปกครองเขตการปกครองระดับตำบลโดยตรง
อ้างอิง
แก้- ↑ 2018年广东国民经济和社会发展统计公报 (ภาษาจีน). Guangdong Provincial Bureau of Statistics. 27 February 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2019. สืบค้นเมื่อ 14 April 2019.
- ↑ 2.0 2.1 "Doing Business in China – Survey". Ministry Of Commerce – People's Republic Of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2013. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
- ↑ "National Data". National Bureau of Statistics of China. 6 March 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2016. สืบค้นเมื่อ 17 April 2016.
- ↑ GDP-2019 is a preliminary data, and GDP-2018 is a revision based on the 2018 CASEN: "Home - Regional - Quarterly by Province" (Press release). China NBS. 15 April 2020. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 17 April 2020.
- ↑ 6.0 6.1 "National DATA of China". China NBS. 23 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2016. สืบค้นเมื่อ 23 July 2019.
- ↑ English people.com.cn เก็บถาวร 10 มีนาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Chinadaily.com". Chinadaily.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2012. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.
- ↑ China NBS: 6th National Population Census – DATA เก็บถาวร 7 กรกฎาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "census of india". 2011 Census of India. Government of India. 31 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2011. สืบค้นเมื่อ 9 February 2018.
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2016. สืบค้นเมื่อ 19 December 2015.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Sovereignty over the Spratly Islands
- ↑ Spratly Islands. Microsoft Encarta Online Encyclopedia 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2009.
- ↑ the historical PPP GDP figures of Mainland China and exchange rates of Chinese yuan to Int'l. dollar are based on the World Economic Outlook Database April 2019 "Download WEO Data: April 2019 Edition" (Press release). International Monetary Fund. 9 April 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2019. สืบค้นเมื่อ 12 April 2019.
- ↑ Rongxing Gao (2013). Regional China: A Business and Economic Handbook. Palgrave Macmillan. p. 77. ISBN 9781137287670
- ↑ Nicholas Belfield Dennys, ed. (26 April 2012). The Treaty Ports of China and Japan. Cambridge University Press. p. 116. ISBN 978-1108045902
- ↑ Douglas, Robert Kennaway (1911). "Canton" . In Chisholm, Hugh (ed.). Encyclopædia Britannica. 5 (11th ed.). Cambridge University Press. หน้า 218. https://en.wikisource.org/wiki/1911_Encyclop%C3%A6dia_Britannica/Canton_(China)
- ↑ Colin Macfarquhar, George Gleig, ed. (1797). Encyclopædia Britannica, Volume 4, Part 1 (3rd ed.). A. Bell and C. Macfarquhar. หน้า 126. https://archive.org/details/bub_gb_vHhMAAAAMAAJ
- ↑ Jacques M. Downs, Frederic D. Grant, Jr. (2015). The Golden Ghetto: The American Commercial Community at Canton and the Shaping of American China Policy, 1784-1844. Hong Kong University Press; Reissue edition. หน้า 345. ISBN 978-9888139095
- ↑ "Sovereignty over the Spratly Islands – The China Post 22 June 2009". Chinapost.com.tw. 22 June 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2012. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว มณฑลกวางตุ้ง จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์ทางการของมณฑลกวางตุ้ง