มณฑลไหหลำ
ไหหลำ หรือ ไห่หนาน (จีน: ) เป็นมณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีขนาดเล็กที่สุด ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศ ประกอบด้วย เกาะหลายเกาะในทะเลจีนใต้ โดยเกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะไหหลำ ซึ่งมีช่องแคบฉฺยงโจวคั่นกลางระหว่างคาบสมุทรเหลย์โจวของมณฑลกวางตุ้งกับเกาะไหหลำ เมื่อชาวจีนพูดเกี่ยวกับ "ไห่หนาน" ในภาษาจีน มักจะหมายถึงเฉพาะเกาะไหหลำ เมื่อพูดถึงมณฑลไหหลำจะใช้คำว่า "ไห่หนานเฉิ่ง" เมืองหลวงคือ ไหโข่ว
มณฑลไหหลำ 海南省 | |
---|---|
การถอดเสียง | |
• ภาษาจีน | ไห่หนานเฉิ่ง (海南省 Hǎinán Shěng) |
• ชื่อย่อ | HI / ฉฺยง (พินอิน: Qióng; ยฺหวิดเพ็ง: king4; เป่อ่วยยี: khêng) |
• ภาษาไหหลำ | Hái-nâm-séng |
• ภาษาจีนกวางตุ้ง | Hoi2 Naam4 Saang2 |
ทิวทัศน์สวน Sanya Nanshan Dongtian | |
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลไหหลำ | |
พิกัด: 19°12′N 109°42′E / 19.2°N 109.7°E | |
ตั้งชื่อจาก | ไห่ (海 hǎi) — "ทะเล" หนาน (南 nán) — "ใต้" "ทางใต้ของทะเล (ช่องแคบฉฺยงโจว)" |
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | ไหโข่ว |
เขตการปกครอง | 4 จังหวัด, 25 อำเภอ, 218 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | เฉิ่น เสี่ยวหมิง |
• ผู้ว่าการ | เฉิ่น เสี่ยวหมิง |
• ผู้ว่าการ | Feng Fei |
• ประธาน CPPCC | Mao Wanchun |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 35,191 ตร.กม. (13,587 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 28 |
ความสูงจุดสูงสุด (Wuzhi Shan) | 1,840 เมตร (6,040 ฟุต) |
ประชากร (2020)[2] | |
• ทั้งหมด | 10,081,232 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 28 |
• ความหนาแน่น | 290 คน/ตร.กม. (740 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 17 |
ประชากรศาสตร์ | |
• ชาติพันธุ์ | ฮั่น: 82.6% หลี: 15.84% ม้ง: 0.82% จ้วง: 0.67% |
• ภาษาและภาษาถิ่น | ภาษาไหหลำ, ภาษาจีนกวางตุ้ง, ภาษาไหล |
รหัส ISO 3166 | CN-HI |
GDP (2017[3]) | 446.25 พันล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 28) |
• ต่อหัว | 48,429 (อันดับที่ 17) |
HDI (2018) | 0.750[4] (สูง) (อันดับที่ 19) |
เว็บไซต์ | ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน |
มณฑลไหหลำ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
"ไห่หนาน" ในอักษรจีน | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 海南 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ความหมายตามตัวอักษร | "ทางใต้ของทะเล (ช่องแคบฉฺยงโจว)" | ||||||||||||||||||||||||||||||||
|
เกาะไห่หนาน | |||||||||
แผนที่เกาะไห่หนานในคริสต์ศตวรรษที่ 19 | |||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 海南島 | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 海南岛 | ||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | เกาะทางใต้ของทะเล | ||||||||
|
ชื่อในอดีต | |||||||
จูหย่า | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาจีน | 珠崖 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | ผาไข่มุก | ||||||
| |||||||
ฉฺยงหย่า | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 瓊崖 | ||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 琼崖 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | ผาหยก | ||||||
| |||||||
ฉฺยงโจว | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 瓊州 | ||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 琼州 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | มณฑลหยก | ||||||
|
ประวัติ
แก้วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 รัฐบาลจีนได้ตั้งเป็นเขตปกครองไห่หนาน (海南行政区) ซึ่งยังคงเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง และต่อมาในปี 2531 แยกออกจากมณฑลกวางตุ้งเป็นมณฑลไห่หนาน หลังการแยกออกเป็นมณฑล ไห่หนานถูกกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการลงทุนโดยจากนักลงทุนชาวจีนโพ้นทะเล ซึ่งจัดอยู่ใน เขตเศรษฐกิจพิเศษของจีน (SEZs) ส่วนหนึ่งของการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้มณฑลไหหลำใช้ระบบการแบ่งเขตปกครองต่างจากมณฑลและเขตปกครองอื่น ๆ ของประเทศจีน โดยปกติ มณฑลส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นระดับจังหวัด แต่ละจังหวัดแบ่งออกเป็นระดับอำเภอ ดังนั้น ระดับอำเภอจะไม่เป็นหน่วยย่อยของมณฑลโดยตรง แต่ในมณฑลไหหลำ เกือบทุกเขตปกครองระดับอำเภอจะเป็นหน่วยย่อยของมณฑลโดยตรง (ยกเว้น 8 เขตในไหโข่วและซานย่า) วิธีการปกครองแบบนี้เกิดจากประชากรของมณฑลไหหลำที่เบาบาง ซึ่งมีประมาณ 8 ล้านคน และสิ้นปี ค.ศ. 2017 มีประชากรจำนวน 9.26 ล้านคน[5]
- ระดับจังหวัด
- (1) นครไหโข่ว (海口市) ซึ่งแบ่งต่อออกไปอีก 4 เขต:
- เขตหลงหฺวา (龙华区)
- เขตซิ่วยิง (秀英区)
- เขตฉยงชาน (琼山区)
- เขตเหม่ย์หลาน (美兰区)
- (2) นครซานย่า (三亚市)
- เขตจี๋หยาง (吉阳区)
- เขตเทียนหยา (天涯区)
- เขตไห่ถัง (海棠区)
- เขตหยาโจว (崖州区)
- (19) นครซันชา (三沙市)
- (3) นครตานโจว (儋州市)
- ระดับอำเภอ
- นครระดับอำเภอ:
- (8) นครเหวินชาง (文昌市)
- (4) นครฉงไห่ (琼海市)
- (5) นครวั่นหนิง (万宁市)
- (6) นครอู๋จื่อชาน (五指山市)
- (7) นครตงฟาง (東方市)
- อำเภอ:
- (9) อำเภอหลินเกา (臨高縣)
- (10) อำเภอเฉิงไม่ (澄邁縣)
- (11) อำเภอติ้งอัน (定安縣)
- (12) อำเภอถุนชาง (屯昌縣)
- เขตปกครองตนเอง:
- (13) อำเภอปกครองตนเองชนชาติหลี ชางเจียง (昌江黎族自治縣)
- (14) อำเภอปกครองตนเองชนชาติหลี ไป๋ชา (白沙黎族自治縣)
- (15) อำเภอปกครองตนเองชนชาติหลีและม้ง ฉงจง (琼中黎族苗族自治縣)
- (16) อำเภอปกครองตนเองชนชาติหลี หลิงฉุ่ย (陵水黎族自治縣)
- (17) อำเภอปกครองตนเองชนชาติหลีและม้ง เป่าถิง (保亭黎族苗族自治縣)
- (18) อำเภอปกครองตนเองชนชาติหลี เล่อตง (乐东黎族自治縣)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Doing Business in China - Survey". Ministry of Commerce - People's Republic of China. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
- ↑ "Communiqué of the Seventh National Population Census (No. 3)". National Bureau of Statistics of China. 11 May 2021. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
- ↑ "海南省2017年国民经济和社会发展统计公报" [Statistical Communiqué of Hainan Province on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Hainan Province. 2018-01-24. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
- ↑ 《2013中国人类发展报告》 (PDF) (ภาษาจีน). United Nations Development Programme China. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-11. สืบค้นเมื่อ 14 May 2014.
- ↑ http://www.stats.gov.cn/tjsj/ndsj/2018/indexch.htm
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
แก้- D'Arcy Brown, Liam (2003). Green Dragon, Sombre Warrior: travels to China's extremes. London: John Murray. ISBN 0-7195-6038-1
- Edmonds, Richard Louis. "Hainan province and its impact on the geography of China", Geography, Vol. 74, No. 2 (April 1989), pp. 165–169
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์มณฑลไหหลำ เก็บถาวร 2013-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คู่มือการท่องเที่ยว Hainan จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Economic profile for Hainan at HKTDC
- Dr Howard M Scott "Hainan"
- Resources on the Hainanese in the National Library of Singapore เก็บถาวร 2011-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน