จังหวัดของประเทศจีน
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
เขตการปกครองระดับจังหวัด (จีน: 地级行政区) เป็นหน่วยการปกครองของประเทศจีนระดับที่สองรองจากมณฑล มีทั้งหมด 339 แห่ง แบ่งเป็น 7 จังหวัด, 299 นครระดับจังหวัด, 30 จังหวัดปกครองตนเอง และ 3 เหมิงหรือแอมัก (จังหวัดของมองโกเลียใน)
เขตการปกครองระดับจังหวัด | |||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 地级行政区 | ||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 地級行政區 | ||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | เขตการปกครองระดับพื้นที่ | ||||||||
| |||||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ | |||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 地区 | ||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 地區 | ||||||||
| |||||||||
ชื่อภาษาทิเบต | |||||||||
อักษรทิเบต | ས་ཁུལ་ | ||||||||
| |||||||||
ชื่อภาษาจ้วง | |||||||||
ภาษาจ้วง | Dagih | ||||||||
ชื่อภาษามองโกเลีย | |||||||||
ภาษามองโกเลีย | ภาษาอังกฤษใช้คำว่า League ภาษาจีนใช้คำว่า 盟 (เหมิง) ᠠᠶᠢᠮᠠᠭ | ||||||||
| |||||||||
ชื่อภาษาอุยกูร์ | |||||||||
ภาษาอุยกูร์ | ۋىلايىت | ||||||||
| |||||||||
ชื่อภาษาแมนจู | |||||||||
อักษรแมนจู | ᠪᠠ |
ชื่อเดิม (1949-1971) | |||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 专级行政区 | ||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 專級行政區 | ||||||
| |||||||
ชื่อเดิม (1949-1971) | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 专区 | ||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 專區 | ||||||
| |||||||
ชื่อเดิม (1932-1949) | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 行政督察区 | ||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 行政督察區 | ||||||
| |||||||
เฉพาะทิเบต (1910-1960) | |||||||
ภาษาจีน | 基巧 | ||||||
| |||||||
ชื่อภาษาทิเบต | |||||||
อักษรทิเบต | སྤྱི་ཁྱབ | ||||||
|
ประเภทของเขตการปกครองระดับจังหวัด
แก้มณฑล | นครระดับจังหวัด | จังหวัดปกครองตนเอง | จังหวัด | เหมิง |
---|---|---|---|---|
รวมทั่วประเทศ | 299 | 30 | 7 | 3 |
ปักกิ่ง | 0 | 0 | 0 | 0 |
เทียนจิน | 0 | 0 | 0 | 0 |
เหอเป่ย์ | 11 | 0 | 0 | 0 |
ชานซี | 11 | 0 | 0 | 0 |
มองโกเลียใน | 9 | 0 | 0 | 3 |
เหลียวหนิง | 14 | 0 | 0 | 0 |
จี๋หลิน | 8 | 1 | 0 | 0 |
เฮย์หลงเจียง | 12 | 0 | 1 | 0 |
เซี่ยงไฮ้ | 0 | 0 | 0 | 0 |
เจียงซู | 13 | 0 | 0 | 0 |
เจ้อเจียง | 11 | 0 | 0 | 0 |
อานฮุย | 16 | 0 | 0 | 0 |
ฝูเจี้ยน | 9 | 0 | 0 | 0 |
เจียงซี | 11 | 0 | 0 | 0 |
ชานตง | 16 | 0 | 0 | 0 |
ไต้หวัน | 6 | 0 | 0 | 0 |
เหอหนาน | 17 | 0 | 0 | 0 |
หูเป่ย์ | 12 | 1 | 0 | 0 |
หูหนาน | 13 | 1 | 0 | 0 |
กวางตุ้ง | 21 | 0 | 0 | 0 |
กว่างซี | 14 | 0 | 0 | 0 |
ไหหลำ | 4 | 0 | 0 | 0 |
ฉงชิ่ง | 0 | 0 | 0 | 0 |
เสฉวน | 18 | 3 | 0 | 0 |
กุ้ยโจว | 6 | 3 | 0 | 0 |
ยูนนาน | 8 | 8 | 0 | 0 |
ทิเบต | 6 | 0 | 1 | 0 |
ฉ่านซี | 10 | 0 | 0 | 0 |
กานซู่ | 12 | 2 | 0 | 0 |
ชิงไห่ | 2 | 6 | 0 | 0 |
หนิงเซี่ย | 5 | 0 | 0 | 0 |
ซินเจียง | 4 | 5 | 5 | 0 |
จังหวัด
แก้จังหวัดเป็นหน่วยการปกครองย่อยรองลงมาจากเขตการปกครองระดับมณฑล
คณะกรรมการการปกครอง (จีน: 行政公署; พินอิน: xíngzhèng gōngshǔ) เป็นสำนักงานสาขาทางการปกครองที่มีระดับเทียบเท่ากับกระทรวง (จีน: 司级) และถูกส่งมาประจำอยู่ในจังหวัดโดยคณะปกครองของมณฑล หัวหน้าคณะปกครองของจังหวัด เรียกว่า กรรมการปกครองจังหวัด (จีน: 行政公署专员; พินอิน: xíngzhèng gōngshǔ zhūanyūan) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะปกครองของมณฑล แทนที่จะใช้สภาประชาชนในท้องถิ่น คณะกรรมการสภาประชาชนประจำมณฑลจะส่งคณะกรรมการประจำจังหวัดไปกำกับดูแลคณะปกครองของจังหวัด และไม่สามารถเลือกตั้งหรือปลดคณะปกครองของจังหวัดได้[1] คณะทำงานจังหวัดของคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน (CPPCC) ประจำมณฑล เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการ CPPCC ประจำจังหวัด ซึ่งหมายความว่าคณะทำงานจังหวัดของ CPPCC เป็นสาขาของคณะกรรมการ CPPCC ประจำมณฑล ไม่ใช่หน่วยงานที่แยกเป็นเอกเทศ เช่นเดียวกับคณะกรรมการ CPPCC ประจำมณฑล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการ CPPCC ระดับชาติ
คำว่า จังหวัด เดิมมาจากคำว่า 道 (พินอิน: dào เต้า) ซึ่งอยู่ในระดับระหว่างมณฑลและอำเภอในสมัยราชวงศ์ชิง ในปี 1928 รัฐบาลของสาธารณรัฐจีนได้ยกเลิกเต้า ทำให้อำเภออยู่ภายใต้การปกครองของมณฑลโดยตรง แต่หลังจากนั้นไม่นานก็พบว่าไม่สามารถทำได้เนื่องจากบางมณฑลมีหลายร้อยอำเภอ ด้วยเหตุนี้ ในปี 1932 มณฑลต่าง ๆ จึงถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดอีกครั้ง และได้มีการจัดตั้งสำนักงานการปกครองส่วนภูมิภาคขึ้น
จนถึงช่วงเวลาหนึ่ง จังหวัดถือได้ว่าเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดประเภทหนึ่งที่พบได้ทั่วไป ในปัจจุบัน จังหวัดส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนสถานะมาเป็นนครระดับจังหวัด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยประเทศจีนมีเขตการปกครองที่เรียกว่าจังหวัดเหลืออยู่เพียง 7 จังหวัด
ชื่อ | อักษรจีน | เขตการปกครอง ระดับมณฑล |
ประชากร (2010) | พื้นที่ (ตร.กม.) | เขตที่ตั้งศาลากลาง |
---|---|---|---|---|---|
จังหวัดต้าซิงอันหลิ่ง | 大兴安岭地区 | เฮย์หลงเจียง | 511,564 | 46,755 | เขตเจียเก๋อต๋าฉี (โดยพฤตินัย), นครมั่วเหอ (โดยนิตินัย) |
จังหวัดงารี่ | 阿里地区 | ทิเบต | 95,465 | 304,683 | เมืองเซงเขคาบั้บ (ชือชวันเหอ) ในอำเภอก๋าร์ |
จังหวัดอัลไต | 阿勒泰地区 | ซินเจียง | 603,280 | 117,988 | นครอัลไต |
จังหวัดถ่าเฉิง | 塔城地区 | ซินเจียง | 1,219,212 | 94,891 | นครถ่าเฉิง |
จังหวัดคัชการ์ | 喀什地区 | ซินเจียง | 3,979,362 | 112,058 | นครคัชการ์ |
จังหวัดอักซู | 阿克苏地区 | ซินเจียง | 2,370,887 | 128,099 | นครอักซู |
จังหวัดโฮตัน | 和田地区 | ซินเจียง | 2,014,365 | 248,946 | นครโฮตัน |
นครระดับจังหวัด
แก้นครระดับจังหวัด (地级市 พินอิน: dìjíshì) เป็นเทศบาลนครที่ได้รับสถานะจังหวัดและสิทธิ์ในการปกครองอำเภอโดยรอบ ในทางปฏิบัติ นครระดับจังหวัดนั้นมีเนื้อที่ใหญ่เหมือนกับเขตการปกครองระดับจังหวัดประเภทอื่น ๆ และไม่ตรงกับความหมายสากลของคำว่า "นคร" กล่าวคือ ไม่ได้หมายความว่าจะมีลักษณะความเป็นเมืองทั้งพื้นที่
นครระดับจังหวัดเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดที่พบมากที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่ในปัจจุบัน
เหมิง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
จังหวัดปกครองตนเอง
แก้จังหวัดปกครองตนเอง (自治州; zìzhìzhōu; จื้อจื้อโจว) เป็นพื้นที่ที่มีประชากรเป็นชนกลุ่มน้อย หรือเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อยอย่างมีนัยสำคัญ แต่จำนวนประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดปกครองตนเองทั้งหมดถูกครอบงำโดยชาวจีนฮั่น ชื่อทางการของจังหวัดปกครองตนเองจะประกอบด้วยชื่อชนชาติของชนกลุ่มน้อยที่มีประชากรมากที่สุดในพื้นที่นั้น บางแห่งก็ตั้งชื่อคู่กัน 2 ชนชาติ หรือ 3 ชนชาติก็มีแต่พบได้น้อย ตัวอย่างเช่น ชนชาติคาซัค ก็จะเรียกว่า คาซัคจื้อจื้อโจว
จังหวัดปกครองตนเองแบ่งออกเป็นเขตการปกครองระดับอำเภอ เช่นเดียวกับเขตการปกครองระดับจังหวัดประเภทอื่น ๆ แต่มีข้อยกเว้น คือ จังหวัดปกครองตนเองชนชาติคาซัค อีหลี จะมี 2 จังหวัดที่อยู่ภายใต้การปกครองของตน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จังหวัดปกครองตนเองไม่สามารถยุบเลิกได้ อย่างไรก็ตาม เคยมีการยุบจังหวัดปกครองตนเอง 2 แห่ง เพื่อจัดตั้งมณฑลใหม่ เช่น จังหวัดปกครองตนเองชนชาติหลีและเหมียว ไห่หนาน ถูกยุบเพื่อจัดตั้งมณฑลไหหลำในปี 1988 และจังหวัดปกครองตนเองชนชาติถู่เจียและเหมียว เฉียนเจียง ถูกยุบเพื่อจัดตั้งเทศบาลนครปกครองโดยตรงฉงชิ่งในปี 1997
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "The standing committee of the people’s congress of a province and autonomous region may set up administrative offices in the prefectures under its jurisdiction. " from Item 2, Article 53, Organic Law of the Local People’s Congresses and Local People’s Governments of the People’s Republic of China (2004 Revision)