ตงกว่าน (จีน: 东莞; พินอิน: Dōngguǎn) เป็นนครระดับจังหวัดตั้งอยู่ทางตอนกลางของมณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล ตงกว่านมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับกว่างโจว เมืองหลวงของมณฑล ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับฮุ่ยโจว ทิศใต้ติดกับเชินเจิ้น และทิศตะวันตกติดกับแม่น้ำเพิร์ล ตงกว่านเป็นส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยกว่า 44.78 ล้านคนจากการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2010 ประกอบด้วยนคร 9 แห่ง (รวมมาเก๊า) พื้นที่รวม 17,573 ตารางกิโลเมตร (6,785 ตารางไมล์)[1]

ตงกว่าน

东莞市
ตามเข็มนาฬิกาจากบนสุด: ย่านศูนย์กลางธุรกิจนครตงกว่าน, สะพานหู่เหมิน, เข่อยฺเหวียน, ภูเขากวนอิม
ตามเข็มนาฬิกาจากบนสุด: ย่านศูนย์กลางธุรกิจนครตงกว่าน, สะพานหู่เหมิน, เข่อยฺเหวียน, ภูเขากวนอิม
แผนที่
ที่ตั้งของนครตงกว่านในมณฑลกวางตุ้ง
ที่ตั้งของนครตงกว่านในมณฑลกวางตุ้ง
ตงกว่านตั้งอยู่ในประเทศจีน
ตงกว่าน
ตงกว่าน
ที่ตั้งในประเทศจีน
พิกัด (รัฐบาลท้องถิ่นนครตงกว่าน): 23°01′16″N 113°45′07″E / 23.021°N 113.752°E / 23.021; 113.752
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
มณฑลกวางตุ้ง
ก่อตั้งอำเภอค.ศ. 331
ก่อตั้งนคร (ระดับอำเภอ)กันยายน 1985
ก่อตั้งนคร (ระดับจังหวัด)1 มกราคม 1988
ศูนย์กลางการปกครองแขวงหนานเฉิง (南城街道)
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคเหลียง เหวย์ตง (梁维东)
 • นายกเทศมนตรีเหลียง เหวย์ตง (梁维东)
พื้นที่
 • นครระดับจังหวัด2,465 ตร.กม. (952 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง2,465 ตร.กม. (952 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล17,572.9 ตร.กม. (6,784.9 ตร.ไมล์)
ความสูง8 เมตร (26 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโนปี 2010[1])
 • นครระดับจังหวัด8,220,207 คน
 • ความหนาแน่น3,300 คน/ตร.กม. (8,600 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง8,220,207 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง3,300 คน/ตร.กม. (8,600 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล44,449,738 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล2,500 คน/ตร.กม. (6,600 คน/ตร.ไมล์)
GDP
 • รวม¥ 948 พันล้าน[2]
 • ต่อหัว¥ 75,213
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์523000
รหัสพื้นที่769
รหัส ISO 3166CN-GD-19
คำนำหน้าทะเบียนรถ粤S
ดอกไม้ประจำนครYulan magnolia
Magnolia denudata
เว็บไซต์www.dg.gov.cn
ตงกว่าน
"ตงกว่าน" เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ (บน) และอักษรจีนตัวเต็ม (ล่าง)
อักษรจีนตัวย่อ东莞
อักษรจีนตัวเต็ม東莞
ฮั่นยฺหวี่พินอินDōngguǎn
เยลกวางตุ้งDùnggún หรือ Dūnggún
ไปรษณีย์Tungkun

ตงกว่านเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอย่าง หัวหนานมอลล์ (จีน: 华南Mall; พินอิน: Huá nán)[3][4] แม้ว่านครตงกว่านจะมีลักษณะทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมกวางตุ้งในรูปแบบเหวย์โถว เช่นเดียวกับวัฒนธรรมแบบฮักกาในเมืองเฟิ่งก่างและเมืองชิงซี (เมืองในตงกว่าน) แต่ประชากรในปัจจุบันส่วนใหญ่พูดภาษาจีนกลางเนื่องจากมีผู้อพยพทางเศรษฐกิจจำนวนมากจากส่วนอื่น ๆ ของจีน[5] นครตงกว่านเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกวางตุ้ง มหาวิทยาลัยแพทย์กวางตุ้ง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีตงกว่าน

ภูมิศาสตร์

แก้

ในทางภูมิศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาทางทิศตะวันออกและที่ราบทางตะวันตก โดยมีชายฝั่งยาว 115.98 กิโลเมตร (72.07 ไมล์) ใจกลางนครตงกว่านอยู่ห่างจากกว่างโจวไปทางเหนือ 50 กิโลเมตร (31 ไมล์) ห่างจากเชินเจิ้นไปทางทิศใต้ 90 กิโลเมตร (56 ไมล์) ห่างจากฮ่องกง 47 ไมล์ทะเล (87 กิโลเมตร) และห่างจากมาเก๊า 48 ไมล์ทะเล (89 กิโลเมตร) ตงกว่านตั้งอยู่กึ่งกลางระเบียงเศรษฐกิจกว่างโจว-เชินเจิ้น ซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางทะเล

 
ภูเขาเจ้าแม่กวนอิมในตงกว่าน

เขตการปกครอง

แก้

ตงกว่านเป็นนครระดับจังหวัดในมณฑลกวางตุ้ง มีการแบ่งเขตการปกครองที่ไม่เหมือนกับที่อื่นคือไม่มีเขตการปกครองระดับอำเภอ แต่จะแบ่งออกเป็นเขตการปกครองระดับตำบลโดยตรงซึ่งมีทั้งหมด 32 แห่ง ประกอบด้วย 4 แขวง และ 28 เมือง โดยจัดกลุ่มเขตการปกครองระดับตำบลทั้ง 32 แห่งเป็น 6 เขต

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "China: Administrative Division of Guăngdōng / 广东省". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2014. สืบค้นเมื่อ 25 May 2015.
  2. http://news.southcn.com/gd/content/2020-01/21/content_190107121.htm#:~:text=%E7%BB%8F%E5%88%9D%E6%AD%A5%E6%A0%B8%E7%AE%97%EF%BC%8C2019%E5%B9%B4,%E6%95%B0%E5%A2%9E%E5%8A%A0539.51%E4%BA%BF%E5%85%83%E3%80%82
  3. Utopia, Part 3: The World’s Largest Shopping Mall เก็บถาวร 2017-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, August 18, 2009, Retrieved February 9, 2010
  4. Keegan, Matthew. "World's Biggest Shopping Mall in China Is No Longer a 'Ghost Mall'". Culture Trip. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ 2019-06-13.
  5. Keegan, Matthew (16 February 2018). "Dongguan in the spotlight: hi-tech comeback for 'factory of the world'?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 6 July 2020.
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้