ไมโครซอฟท์

(เปลี่ยนทางจาก Microsoft)

ไมโครซอฟท์ (อังกฤษ: Microsoft ; แนสแด็ก: MSFT) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก[4][5] มีฐานการผลิตอยู่ที่ โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ

ไมโครซอฟท์
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
ISINUS5949181045
อุตสาหกรรมเทคโนโลยี, ซอฟต์แวร์
ก่อนหน้าTraf-O-Data
ก่อตั้ง4 เมษายน ค.ศ. 1975 (1975-04-04) (48 ปี) แอลบูเคอร์คี, รัฐนิวเม็กซิโก, สหรัฐอเมริกา
ผู้ก่อตั้ง
สำนักงานใหญ่One Microsoft Way
เรดมอนด์, รัฐวอชิงตัน,
สหรัฐอเมริกา
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์
ตราสินค้า
บริการ
รายได้เพิ่มขึ้น US$161 พันล้าน[1] (2021)
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น US$70 พันล้าน[1] (2021)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น US$60.6 พันล้าน[1] (2021)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น US$333.8 พันล้าน[1] (2021)
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น US$141.9 พันล้าน[1] (2021)
พนักงาน
เพิ่มขึ้น 182,268[2] (ไตรมาส 2 ปี 2021)
แผนกเอกซ์บอกซ์เกมสตูดิโอส์
บริษัทในเครือ
อันดับความน่าเชื่อถือSteady AAA[3]
เว็บไซต์www.microsoft.com

จุดเริ่มต้นของบริษัทคือการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สำหรับเครื่องแอทแอร์ 8800 หลังจากนี้น ไมโครซอฟท์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอสเมื่อช่วงกลางยุค 1980 ในสายการผลิตของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยได้รับความนิยมจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี นักวิจารณ์ผู้หนึ่งกล่าวถึงเป้าหมายแรกของไมโครซอฟท์ว่า

คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในสำนักงานหันมาใช้ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์[6]

ไมโครซอฟท์ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่น ๆ โดยไมโครซอฟท์มีกิจการอื่น ๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี) , เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต),และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น Xbox, Xbox 360, Xbox One, ซูน และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี.[4]บริษัทได้นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นของไมโครซอฟท์อยู่ในภาวะมั่นคง ไมโครซอฟท์มีทรัพย์สินรวมกันประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท) และมีกำไรประมาณ 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 420,000 ล้านบาท) [7][8][9]

ประวัติโดยรวมของบริษัท เริ่มเป็นเป้าหมายของการวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งเริ่มมีการแข่งขันทางด้านเอกสิทธิ์และการต่อต้านการปฏิบัติการด้านธุรกิจรวมทั้งการปฏิเสธ โดยกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา และองค์กรจากทวีปยุโรป[10][11]

อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ได้แถลงว่ายังเป็นองค์กรธุรกิจที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาโปรแกรม ไมโครซอฟท์มีประวัติการช่วยเหลือผู้ใช้ผ่านทางเวิลด์ไวด์เว็บ และรางวัลไมโครซอฟท์ เอ็มวีพี สำหรับอาสาสมัครที่ช่วยเหลือลูกค้าเป็นประจำ[12][9]

ประวัติ แก้

1975–1985: ก่อตั้ง แก้

หลังจากการเปิดตัวของ แอทแอร์ 8000 วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (หรือ บิล เกตส์) ได้เรียกวิศวกรมาช่วยสร้างไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่, Micro Instrumentation and Telemetry Systems (MITS) , ได้สาธิตแสดงการใช้งานของ การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกสำหรับระบบให้กับ MITS หลังจากการสาธิตครั้งดังกล่าว, MITS ก็ยอมรับการใช้งานของโปรแกรม แอทแอร์ เบสิก.[13]ในขณะที่ บิล เกตส์ ยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, เขาก็ได้ย้ายไปที่รัฐนิวเม็กซิโก และได้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ที่นั่น บริษัทในเครือของไมโครซอฟท์ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศแห่งแรกคือ บริษัทไมโครซอฟท์แห่งประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 [13] และในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 บริษัทก็ย้ายสำนักงานใหญ่อีกครั้ง โดยตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน[13] สตีฟ เบลล์เมอร์ ได้เข้าทำงานกับไมโครซอฟท์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1980 และได้เป็นซีอีโอถัดจาก บิลล์ เกตส์ ในเวลาต่อมา[13]

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของไอบีเอ็ม-พีซี -IBM-PC มาจากแพ็คเกจซอฟต์แวร์ของแอปเปิลซอฟต์ เบสิก โดยมีส่วนประกอบของตัวแปลภาษาเบสิกที่อยู่ในเครื่องแอปเปิล และไมโครซอฟท์ ซอฟต์การ์ด , ซีพียู Z80 สำหรับเครื่องแอปเปิล และ ความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์เมื่อใช้เครื่องที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ CP/M ในแอปเปิลซอฟต์ และ แอปแปิลดอส

 
ไมโครซอฟท์สำนักงานใหญ่ ณ เมืองอัลบูเคอร์คี รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา


ช่วงเวลาสำคัญของไมโครซอฟท์ ได้แก่เมื่อบริษัทไอบีเอ็มได้วางแผนจะรุกตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด ใน ค.ศ. 1985 ไอบีเอ็มได้เข้ามาเจรจากับไมโครซอฟท์เพื่อขอซื้อระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (ไอบีเอ็มได้ทำสัญญาภาษาคอมพิวเตอร์ไปแล้ว) แต่ไมโครซอฟท์ไม่มีระบบปฏิบัติการจะขายให้ จึงแนะนำให้ไอบีเอ็มไปคุยกับดิจิทัลรีเสิร์ชแทน ที่ดิจิทัลรีเสิร์ช ผู้แทนของไอบีเอ็มได้คุยกับโดโรธี ภรรยาของ แกรี คิลดาลล์ แต่เธอปฏิเสธการลงนามในข้อตกลงมาตรฐานซึ่งไม่ปิดผนึก เนื่องจากเห็นว่าเสียเปรียบเกินไป ไอบีเอ็มจึงหันมาคุยกับไมโครซอฟท์อีกครั้ง บิล เกตส์ได้สิทธิ์ในการใช้สำเนาการออกแบบของ CP/M และ QDOS (Quick and Dirty Operating System) จาก ทิม แพทเทอร์สัน แห่งบริษัท ซีแอตเทิล คอมพิวเตอร์ โปรดักส์ ด้วยการซื้อมาในราคา 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น DOS (Disk Operating System) เพื่อขายมันให้กับไอบีเอ็มในราคา "ราว 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ" ตามคำกล่าวอ้างของเกตส์ และในที่สุด MS-DOS และ PC-DOS ก็ได้แจ้งเกิดในวงการ ต่อมา ไอบีเอ็มได้ค้นพบว่าระบบปฏิบัติการของเกตส์อาจมีปัญหาละเมิดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของ CP/M จึงได้ติดต่อกลับไปที่แกรี คิลดาลล์ และเพื่อแลกกับสัญญาว่าจะไม่ถูกคิลดาลล์ฟ้องกลับ ไอบีเอ็มได้ตกลงว่าจะขาย CP/M ควบคู่ไปกับ PC-DOS เมื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด โดยตั้งราคาขาย CP/M ไว้ที่ 250 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ MS-DOS/PC-DOS มีราคาเพียง 40 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ MS-DOS/PC-DOS ขายดีกว่า CP/M หลายเท่า และกลายเป็นมาตรฐานในที่สุด ข้อตกลงเรื่องลิขสิทธิ์ระหว่างไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็มเอง ไม่ได้สร้างรายได้มากมายเท่าไรนัก (ในสัญญาไม่ได้ระบุไว้ว่าจะต้องขายให้แก่ไอบีเอ็มเจ้าเดียว) แต่ในทางกลับกัน ไมโครซอฟท์มีสิทธิ์ในการขาย MS-DOS ให้กับผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์รายอื่นๆ และด้วยการโหมรุกทางการตลาดอย่างหนัก เพื่อขาย MS-DOS ให้ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็ม ไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ในวงการอุตสาหกรรมไมโครคอมพิวเตอร์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แม้จะต้องแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ในวงการอย่างไอบีเอ็มก็ตาม[14][15][16][17][18][19][20]หลังจากนั้น ไมโครซอฟท์ก็ได้รุกตลาดฮาร์ดแวร์ โดยการเปิดตัวไมโครซอฟท์ เมาส์ ในปี ค.ศ. 1983 และก่อตั้งไมโครซอฟท์ เพลส เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ให้กับผู้ใช้[13]

1985–1995 แก้

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็ม ได้ร่วมกันพัฒนาระบบปฏิบัติการที่ก้าวหน้ากว่าเดิม มีชื่อว่า OS/2 (โอเอสทู) [21]และในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัวเวอร์ชันแรกของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รูปแบบกราฟิกรุ่นแรก โดยเป็นส่วนต่อภายนอกของดอส [13]13 มีนาคม ค.ศ. 1986 บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยราคาหุ้นเริ่มแรกอยู่ที่ 21 ดอลลาร์สหรัฐ และปิดการซื้อขายวันแรกที่ 28 ดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้น ไมโครซอฟท์มีมูลค่าหุ้นถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และประมาณการว่า ไมโครซอฟท์มีมูลค่าทรัพย์สินมากถึง 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[22][8][9]ในปี ค.ศ. 1987 ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการจาก โอเอสทู ไปสู่ระบบปฏิบัติการแบบOEMs.[23]

ไอพีโอ แก้

ไมโครซอฟท์ นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1986 ในราคาปิดที่ 27.75 ดอลลาร์สหรัฐ และมีจุดสูงสุดของวันที่ 29.25 ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากไม่กี่นาที่ที่เปิดตลาด ทำให้ เกตส์ และ อเลน กลายเป็นเศรษฐีพันล้านในเวลาต่อมา โดยเกตส์ถือหุ้นในไมโครซอฟท์ 45% ของมูลค่าหุ้น 24.7 ล้านดอลลาร์ และอเลนถือหุ้นอยู่ 25%[24] เกตส์ได้รับกำไรจากบริษัทอีก 234 ล้านดอลลาร์ และทำให้ไมโครซอฟท์มีมูลค่าหุ้นรวม 520 ล้านดอลลาร์ ในเวลาต่อมา[25]

หลังจากเข้าสู่ตลาดหุ้น แก้

ในปี ค.ศ. 1989 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์สำนักงานที่ชื่อ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ โดยเริ่มแรก ชุดโปรแกรมนี้ประกอบด้วย ไมโครซอฟท์ เวิร์ด และไมโครซอฟท์ เอ็กเซล[13] ส่วนในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัว วินโดวส์ 3.0[26] โดยเวอร์ชันใหม่ของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ และมีโหมดสำหรับผู้ใช้ซีพียูอินเทล 386 โดยยอดขายวินโดวส์รุ่นนี้มีกว่า 100,000 ชุดภายใน 2 สัปดาห์[27]

วินโดวส์ 3.0 ได้สร้างกำไรมากมายให้กับไมโครซอฟท์ และทำให้บริษัทตัดสินใจปรับปรุงรูปแบบของโอเอสทูให้มาเป็นวินโดวส์[28]หลังจากนั้น มีผู้นิยมใช้ระบบปฏิบัติการโอเอสทูและวินโดวส์กันมากขึ้น ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องรีบเพิ่มการผลิตและปรับปรุงระบบปฏิบัติการของตน

และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 เกตส์ได้ประกาศต่อพนักงานของไมโครซอฟท์ว่า ความร่วมมือกับไอบีเอ็มเพื่อพัฒนา OS/2 ได้สิ้นสุดลงแล้ว ต่อแต่นี้ไมโครซอฟท์จะหันมาทุ่มเทให้กับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์แทน โดยมีแกนกลางเป็น Windows NT. ในปีที่นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดนั้น OS/2 ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และวินโดวส์ได้กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนจาก MS-DOS ไปเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ไมโครซอฟท์ได้ยึดตลาดของคู่แข่งด้วยโปรแกรมประยุกต์หลายตัว เป็นต้นว่า WordPerfect และ Lotus 1-2-3[29][30]

ในปี ค.ศ. 1993 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว วินโดวส์ เอ็นที 3.1 เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในวงการธุรกิจโดยรูปแบบเหมือนกันกับ วินโดวส์ 3.11 [29]และในปี ค.ศ. 1995 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว วินโดวส์ 95 ซึ่งมีการปรับรูปแบบใหม่ทั้งหมด โดยเป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่ใช้ทาสก์บาร์ โดยมียอดการจำหน่ายใน 4 วันแรกกว่า 1 ล้านชุด[29]โดยไมโครซอฟท์ได้เพิ่มความสามารถทางด้านเว็บแเบราว์เซอร์ (อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์) ลงในวินโดวส์ 95 พลัส แพ็ค ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1995.[31]

1995–2005: อินเทอร์เน็ตและกฎหมาย แก้

วันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 บิล เกตส์ ออกประกาศภายในเรื่อง คลื่นแห่งระบบอินเทอร์เน็ต[32], ไมโครซอฟท์เริ่มต้นสายการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์สำหรับระบบเครือข่าย ในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1995 ก็ได้เปิดตัวบริการออนไลน์อย่างเอ็มเอสเอ็น ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงของเอโอแอล โดยเอ็มเอสเอ็นให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลออนไลน์ของไมโครซอฟท์[13][29][33]บริษัทยังคงสาขาไปตลาดใหม่ และในปี ค.ศ. 1996 เริ่มมีกิจการเคเบิลทีวีของตัวเองซึ่งใช้ชื่อว่า เอ็นบีซี โดยเป็นสถานีเคเบิลทีวีแบบ 24/7[29][34] ไมโครซอฟท์ได้เข้าสู่วงการพีดีเอ ด้วย วินโดวส์ ซีอี 1.0 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับเครื่องพีดีเอ ใช้หน่วยความจำและสมรรถนำต่ำ เช่น handhelds และคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอื่นๆ[35]

ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 อินเทอร์เน็ตเอกซ์โพลเลอร์ 4.0 ได้ถูกออกแบบมาสำหรับ Mac OS และวินโดวส์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการการครอบครองของตลาดเว็บเบราว์เซอร์ เช่น เน็ตสเคป ในเดือนตุลาคม บริษัท จัสติส ดีพาร์ตเมนท์ ได้ ยื่นคำร้องใน Federal ว่าไมโครซอฟท์ได้ละเมิดสัญญาที่ได้ทำในปี 1994 และได้ฟ้องให้บริษัทหยุดการพัฒนาโปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอกซ์โพลเลอร์สำหรับวินโดวส์[13]

ในปี ค.ศ. 1998 บิลล์ เกตส์ได้เลื่อนตำแหน่งให้ สตีฟ บอลเมอร์ เพื่อนผู้คบหากันมานาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง และดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ แทนเขาอีกด้วย[13]และในปีเดียวกัน ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัววินโดวส์ 98 ซึ่งเป็นรุ่นอัปเดตจากวินโดวส์ 95 ซึ่งได้เพิ่มความสามารถทางด้านอินเทอร์เน็ตและไดรเวอร์ให้ดีขึ้น[13] วันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2000 คำตัดสินเด็ดขาดระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกากับไมโครซอฟท์[10]

ในฐานะสถาปนิกซอฟต์แวร์ผู้วางยุทธวิธีการขายสินค้าของไมโครซอฟท์ บิลล์ เกตส์ได้เพิ่มความหลากหลายของประเภทสินค้าไปอย่างกว้างขวาง และเมื่อสินค้านั้น ๆ ครองตำแหน่งสินค้ายอดนิยมในบรรดาประเภทเดียวกัน เกตส์ก็จะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันตำแหน่งนั้นไว้ การตัดสินใจทางยุทธวิธีของเกตส์และของผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์คนอื่น ๆ ทำให้ในปี ค.ศ. 2001 หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมการแข่งขันทางการตลาดจับตามอง และในบางกรณีถูกวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่นกรณีที่ไมโครซอฟท์ถูกฟ้องร้องในข้อหาผูกขาดทางการตลาดจากการรวมเอาอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ไว้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เป็นต้น[36]

ในปีเดียวกันนั้น ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัววินโดวส์เอกซ์พี เป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่แยกส่วนการผลิตเป็น 2 รุ่น แต่ก่อนที่จะมีวินโดวส์เอกซ์พี ได้มีการทดสอบวินโดวส์เอ็นที และวินโดวส์ 9x ในฐาน XP วินโดวส์เอกซ์พีได้มีการปรับปรุงส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ เป็นครั้งที่ 2 จากครั้งที่แล้วที่ทำกับวินโดวส์ 95[13][37]หลังจากปี 2001 ไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดตัว Xbox โดยไมโครซอฟท์เข้าสู่วงการเกมเพื่อแข่งขันกันกับโซนี่ และนินเทนโด[13]

2006–ปัจจุบัน: วิสตา และการเปลี่ยนแปลง แก้

27 มิถุนายน ค.ศ. 2008 บิล เกตส์ ได้เลิกทำภารกิจต่างๆ ในบริษัท หลังจากบทบาทของหัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ของเขาลดลงเป็นเวลากว่า 2 ปี และตำแหน่งดังกล่าวได้ถูกแทนที่โดย เรย์ โอสซีย์ แต่เขาก็ยังอยู่ในบริษัทในฐานะประธานกรรมการบริหารและที่ปรึกษาโครงการ[38]จากนั้น วินโดวส์ วิสตา ก็ได้เปิดตัวในช่วงต้นปี ค.ศ. 2007 โดยมียอดการจำหน่ายวันแรกสูงถึง 140 ล้านชุด[39]และได้เปิดตัวพร้อมกับไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007 โดยมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบใหม่คือริบบอน[40]

ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ไมโครซอฟท์ได้เสนอซื้อยาฮู ในราคา 44,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[41]และถูกปฏิเสธเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ทำให้ในวันที่ 3 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ไมโครซอฟท์จึงประกาศถอนตัวในการเสนอราคาครั้งนี้[42]

ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 จะแบ่งปันข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีเพื่อให้ง่ายขึ้น สำหรับนักพัฒนาในการสร้างซอฟต์แวร์ที่ทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์[43]อย่างไรก็ตามสหภาพยุโรปยังคงแสดงถึงความไม่พอใจกับบริษัทที่ขาดสภาพคล่อง ประกอบกับในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 มีการตัดสินจากศาลว่าให้เพิ่มโทษปรับของไมโครซอฟท์อีก € 899 ล้าน ($ 1.4 พันล้าน) ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มโทษปรับครั้งที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของอียู[44]หลังจากนั้น ในรายงานทางการเงินของเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 ของไมโครซอฟท์ ปรากฏว่า มีพนักงานถูกเลิกจ้างมากถึง 5,000 คน เนื่องจากเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์[45]

และในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ไมโครซอฟท์ออกมา การประกาศเจตนาเพื่อเปิดขายผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ในร้านค้าปลีก เช่น วอลล์มาร์ท และ ดรีมเวิร์ค โดยมีแนวคิดมาจากเดวิด พอร์เธอร์ เพื่อต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์สามารถซื้อได้สะดวกขึ้น[46]

ในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ไมโครซอฟท์และโนเกียได้ประกาศร่วมมือพัฒนา Window Phone และในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2013 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการด้านโทรศัพท์ของโนเกียทั้งหมด ในราคา 7.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาในวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2014 ไมโครซอฟท์ได้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ โมบาย

ในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 ไมโครซอฟท์ได้หมดสัญญาผูกพันกับทางโนเกีย ที่ห้ามไม่ให้โนเกียดำเนินการจัดจำหน่ายสมาร์ทโฟนในชื่อโนเกีย[47] และในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 ไมโครซอฟท์ได้ยกเลิกการผลิตไมโครซอฟท์ ลูเมียของไมโครซอฟท์ โมบาย โดยการปลดพนักงานออกถึง 1,850 ตำแหน่ง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมปี 2017[48]

ผลิตภัณฑ์ แก้

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2002 ไมโครซอฟท์ได้จัดตั้ง 7 กลุ่มบริษัทที่มีอิสระทางการเงิน และหลังจากนั้น ในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2005 ไมโครซอฟท์ได้แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์จาก 7 กลุ่มผลิตภัณฑ์เป็น 3 หมวด คือ

  1. หมวดผลิตภัณฑ์แพลตฟอร์ม ประกอบด้วย วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ , เอ็มเอสเอ็น และกลุ่มโปรแกรมเบ็ดเตล็ดต่างๆ
  2. หมวดผลิตภัณฑ์ธุรกิจ ประกอบด้วย โซลูชั่นสำหรับธุรกิจ
  3. หมวดผลิตภัณฑ์บันเทิง เช่น วินโดวส์โมบาย [49][50]

หมวดผลิตภัณฑ์แพลตฟอร์ม แก้

เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อไมโครซอฟท์เป็นอย่างมาก ซึ่งได้รับการผลิตในหลายเวอร์ชัน เช่น วินโดวส์ 3.11 วินโดวส์ 95 วินโดวส์ 98 วินโดวส์มี วินโดวส์ 2000 วินโดวส์เอกซ์พี วินโดวส์วิสตา และ วินโดวส์เซเว่น โดยเกือบทั้งหมดมาจาก IBM compatible แต่มีซอฟต์แวร์เสริมที่เข้ามาคือ Windows preinstalled โดยในปัจจุบันเดสก์ทอปส่วนใหญ่หันมาใช้วินโดวส์วิสตา ส่วนในการให้บริการแบบออนไลน์นั้น ประกอบก้วย เอ็มเอสเอ็น เอ็มเอสเอ็นบีซี และนิตยสารออนไลน์ของไมโครซอฟท์ (Slate แต่ถูกซื้อกิจการโดยวอชิงตันโพสต์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004) และในปลายปี ค.ศ. 1997 ไมโครซอฟท์ได้ซื้อกิจการของเอ็มเอสเอ็น ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็บเมลที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เอ็มเอสเอ็น ฮอตเมล" ในปี ค.ศ. 1999 ไมโครซอฟท์ได้แนะนำเอ็มเอสเอ็น โดยใช้เมลเซิร์ฟเวอร์เพิ่อแข่งขันกับเอโอแอล ต่อมาเมื่อไมโครซอฟท์ได้ออกระบบปฏิบัติการวินโดวส์วิสตา เอ็มเอสเอ็นก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นวินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์[4]

ไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ เป็นที่นิยมสำหรับองค์กรที่ต้องการความสะดวกในการพัฒนาโปรแกรม โดยสามารถพัฒนาโปรแกรมที่เป็น GUI และวินโดวส์เอพีไอ แต่จะต้องมีการตั้งค่าหากใช้ไม่ได้กับ Microsoft libraries ในเวอร์ชันล่าสุด (วิชวลสตูดิโอ 2008) และรุ่นก่อนหน้า (วิชวลสตูดิโอ 2005) มีการปรับปรุงครั้งสำคัญโดยมีความสามารถมากกว่ารุ่นก่อน ๆ ในวิชวลสตูดิโอดอตเน็ต 2003 ก็ได้มีการเพื่มชื่อ "ดอตเน็ต" (.NET) ต่อท้าย โดยไมโครซอฟท์ได้มีความคิดริเริ่มที่จะครอบคลุมตลาดทางเทคโนโลยี ไมโครซอฟท์ได้ให้คำจำกัดความของเทคโนโลยีดอตเน็ตในปี ค.ศ. 2004 โดยเทคโนโลยีดอตเน็ตเป็นการพัฒนาโปรแกรมของวินโดวส์ที่สามารถใช้บนอินเทอร์เน็ตได้

สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการสื่อสารของไมโครซอฟท์ที่ออกมาใหม่ว่า "อินดีโก" โดยการออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำคุณสมบัติบางอย่างของการออกแบบแอสแซมบลิของไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก แต่ก็ยังมีวิสัยทัศน์ในการจัดการในสถานการณ์เช่นนี้ แต่ก็ยังต้องติดตั้งซอฟต์แวร์หลายโปรแกรมในระบบเดียวกัน และให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสอดคล้องกับการพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับทุกแอปพลิเคชันของวินโดวส์ นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังจัดตั้งชุดโปรแกรมพิเศษเพื่อรับรองบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์และโซลูชั่น โดยคล้ายกันกับผลิตภัณฑ์ของซิสโค , ซันไมโครซิสเต็มส์ , โนเวลล์ , ไอบีเอ็ม และ โอราเคิล โดยได้มีการทดสอบและออกแบบเพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งและจัดการเฉพาะทาง

และไมโครซอฟท์มีชุดผลิตภัณฑ์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ เช่น วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 โดยในระบบปฏิบัติการของเซิร์ฟเวอร์เป็นหัวใจหลักของสายการผลิตของกลุ่มผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์คือระบบการจัดการเซิร์ฟเวอร์ โดยรวบรวมเครื่องมือควบคุมระยะไกล , แพทช์การจัดการ ส่วนผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์อื่นๆ เช่น ไมโครซอฟท์ ซีเควล เซิร์ฟเวอร์ (ระบบจัดการฐานข้อมูล) และ ไมโครซอฟท์ เอกซ์เชนจื เซิร์ฟเวอร์ (เมลเซิร์ฟเวอร์สำหรับองค์กรธุรกิจ) [4]

หมวดผลิตภัณฑ์ธุรกิจ แก้

 
ด้านหน้าทางเข้าของอาคาร 17 ของเรดมอนส์

กลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจของไมโครซอฟท์ที่สำคัญเช่น ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ซึ่งเป็นสายงานหลักของบริษัทในด้านซอฟต์แวร์สำนักงาน โดยประกอบด้วย ไมโครซอฟท์ เวิร์ด , ไมโครซอฟท์ แอคเซส , ไมโครซอฟท์ เอกเซล , ไมโครซอฟท์ เอาต์ลุค , ไมโครซอฟท์ เพาวเวอร์พอยท์ ,ไมโครซอฟท์ พับลิชเชอร์ , ไมโครซอฟท์ วิซโอ , ไมโครซอฟท์ โปรเจกต์ , ไมโครซอฟท์ แมป พอยท์ , ไมโครซอฟท์ อินโฟพาธ และ ไมโครซอฟท์ วันโน้ต[4]

การแบ่งส่วนที่เน้นการพัฒนาธุรกิจการเงินและการบริหารจัดการซอฟต์แวร์สำหรับบริษัท โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอยู่ในหมวดธุรกิจ โดยได้ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2001

หมวดผลิตภัณฑ์บันเทิง แก้

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ แก้

บิล เกตส์ ได้พบกุญแจสำหรับวิสัยทัศน์สำหรับบริษัทคือการ ต้องการส่งผลิตภัณฑ์เวิร์กสเตชันและซอฟต์แวร์จากทำงานของเราไปยังทุกที่ทำงานและทุกบ้าน[51][52][36]เนื่องจากการที่พวกเขาแบ่งส่วนแบ่งการตลาดในบ้านและธุรกิจของระบบปฏิบัติการ และพวกเขาเล่นบทบาทที่สำคัญในเศรษฐศาสตร์ของซอฟต์แวร์

ไมโครซอฟท์ ได้รับความมั่นคงในตลาดอื่นๆนอกเหนือจากระบบปฏิบัติการและชุดโปรแกรมไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ รวมถึงเอ็มเอสเอ็นบีซี , เอ็มเอสเอ็น , ไมโครซอฟท์ เอ็นคาร์ทา และไมโครซอฟท์ยังประสบความสำเร็จทางด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงอีกด้วย เช่น ซูน , Xbox 360 และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี [4]

ค่านิยมของผู้ใช้ แก้

การอ้างอิงทางเทคนิคสำหรับนักพัฒนาและบทความสำหรับแม็คกาซีนของไมโครซอฟท์ โดยสามารถใช้งานได้ผ่านกลุ่มนักพัฒนาของไมโครซอฟท์ (หรือที่เรียกว่า MSDN) โดยเอ็มเอสดีเอ็นยังมีแหล่งข้อมูลสำหรับบริษัทและบุคคลและ แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมที่มักจะนำเสนอข่าวสารการปล่อยซอฟต์แวร์รุ่นเบต้าของไมโครซอฟท์[53][54] โดยในปีล่าสุด ไมโครซอฟท์เปิดตัวเว็บไซต์ชุมชนสำหรับนักพัฒนาและผู้ใช้ ซึ่งมีคุณสมบัติหลายทันสมัยเช่นวิกิ และเว็บบอร์ด [55] Another community site that provides daily videocasts and other services, On10.net, launched on March 3, 2006.[56]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "FY21 Q4 - Press Releases - Investor Relations - Microsoft". Microsoft Investor Relations. Microsoft.
  2. "Facts About Microsoft". October 23, 2014. สืบค้นเมื่อ August 7, 2021.
  3. https://www.microsoft.com/en-us/investor/faq.aspx#:~:text=rating%20of%20Microsoft%3F-,A.,and%20P%2D1%20by%20Moody's.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "Microsoft Annual Report 2005" (doc). Microsoft. สืบค้นเมื่อ 1 October. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessyear= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help)
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ fastfacts
  6. Bishop, Todd (September 23, 2004). "The rest of the motto". Todd Bishop's Microsoft Blog. Seattle Post-Intelligencer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-14. สืบค้นเมื่อ 2007-01-22. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)}}
  7. Chapman, Merrill R., In search of stupidity: over 20 years of high-tech marketing disasters (2nd Edition) , Apress, ISBN 1-59059-721-4
  8. 8.0 8.1 Julie Bick (2005-05-29). "The Microsoft Millionaires Come of Age". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 Hiawatha Bray (2005-06-13). "Somehow, Usenet lumbers on". The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
    * "Microsoft Frequently Asked Questions". Microsoft (Most Valued Professional). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-27. สืบค้นเมื่อ 2006-07-01.
  10. 10.0 10.1 "United States v. Microsoft". U.S. Department of Justice. สืบค้นเมื่อ August 5. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessyear= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help) homepage at the United States Department of Justice
  11. EUROPA - Rapid - Press Releases
  12. Charles, John. "Indecent proposal? Doing Business With Microsoft". IEEE Software (January/February 1998): 113–117.
    * Jennifer Edstrom (1998). Barbarians Led by Bill Gates: Microsoft from inside. N.Y. Holt. ISBN 0-8050-5754-4. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
    * Fred Moody (1995). I Sing the Body Electronic: A Year With Microsoft on the Multimedia Frontier. Viking. ISBN 0-670-84875-1.
    * Michael A. Cusumano (1995). Microsoft Secrets: How the World's Most Powerful Software Company Creates Technology, Shapes Markets and Manages People. Free Press. ISBN 0-684-85531-3. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  13. 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 13.10 13.11 13.12 "Information for Students: Key Events In Microsoft History" (doc). Microsoft Visitor Center Student Information. สืบค้นเมื่อ October 1. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessyear= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help)
  14. "Booting Your PC: Getting Up Close & Personal With A Computer's BIOS". Smart Computing. November 1999. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  15. "What Is The BIOS?". Smart Computing. July 1994. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  16. "Everything You Want or Need to Know About Your BIOS". Extreme Tech. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-02. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  17. Lemley, Mark (2006). "Appendix B: Introduction to Computer Technology" (PDF). Intellectual Property in the New Technological Age (PDF) (4th ed.). New York: Aspen Publishers. ISBN 0-7355-3652-X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-03. สืบค้นเมื่อ 2006-09-02. {{cite book}}: |format= ต้องการ |url= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  18. "MS DOS and PC DOS". Lexikon's History of Computing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-24. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  19. "When It Comes To DOS, You Now Have A Choice". Smart Computing. June 1994. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  20. "Microsoft to Microsoft disk operating system (MS-DOS)". Smart Computing. March 2002. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  21. Manek Dubash (2005-07-19). "Techworld Article:OS/2 users must look elsewhere". Techworld. IDG. สืบค้นเมื่อ 2005-07-05.
  22. Chapman, Merrill R., In search of stupidity: over 20 years of high-tech marketing disasters (2nd Edition), Apress, ISBN 1-59059-721-4
  23. "Microsoft Systems Journal — 1986–1994 Index". Microsoft. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18. See May 1987 releases.
  24. "Looking back: Microsoft IPO, March 1986". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-15. สืบค้นเมื่อ 2009-03-21.
  25. Wired 7.09: The World's First Trillionaire
  26. "Windows 3.0 is Here" (PDF) (Press release). Microsoft. 1990. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  27. "Windows History". Microsoft. 2002-06-30. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  28. David Both. "OS/2 History". OS/2 VOICE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-20. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  29. 29.0 29.1 29.2 29.3 29.4 "Microsoft Company September 15, 1975". The History of Computing Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-07-23. สืบค้นเมื่อ August 11. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessyear= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help)
  30. Steve Masters (1998-02-13). "Behind the Pearly Gates". VNU Business Publications. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  31. Sandi Hardmeier (2005-08-25). "Microsoft - The History of Internet Explorer". Microsoft. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  32. Gates, Bill - The Internet Tidal Wave. Microsoft, May 26, 1995. Made publicly available at United States Department of Justice. United States v. Microsoft Trial Exhibits
  33. "MSN Historical Timeline: A brief history of milestone events in the life of MSN from the past ten years". Microsoft. June 2005. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  34. "Marketplace: News Archives for July 15, 1996". American Public Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-08-23. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  35. "The History of Microsoft Windows CS". HPC:Factor. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  36. 36.0 36.1 Thomas Penfield Jackson, U.S. District Judge (1999-11-05). "U.S. vs. Microsoft findings of fact". U.S. Department of Justice. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  37. "Windows XP Professional Features". Microsoft. 2004-08-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-18. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  38. "Microsoft Announces Plans for July 2008 Transition for Bill Gates" (Press release). Microsoft. 2006-06-15. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  39. "Gates: 140 million copies of Vista sold". TechSpot. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  40. "Vista gives Microsoft view of record profit". Edinburgh Evening News. สืบค้นเมื่อ 2009-02-01.
  41. 5th UPDATE: Microsoft Offers To Buy Yahoo For $44.6 Billion
  42. "Microsoft Withdraws Proposal to Acquire Yahoo!". Microsoft. สืบค้นเมื่อ 2008-05-03.
  43. "Microsoft offers to share some secrets". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11. สืบค้นเมื่อ 2009-03-23.
  44. "AFP:EU hits Microsoft with record 899 million euro antitrust fine". "Agence France-Presse". สืบค้นเมื่อ 2008-06-01.
  45. "Microsoft Reports Second-Quarter Results". สืบค้นเมื่อ 2009-01-23.
  46. "Microsoft Appoints David Porter as Corporate Vice President of Retail Stores". สืบค้นเมื่อ 2009-02-13.
  47. คนคุ้นเคย Nokia เตรียมคืนสังเวียนสมาร์ทโฟนร่วมทุนกับ Foxconn ทำแบรนด์ HMD
  48. ไม่ได้ไปต่อ ! ไมโครซอฟท์ประกาศเลิกผลิตสมาร์ทโฟนแล้ว
  49. "Our Commitment to Our Customers: Microsoft's Business". Microsoft. 2005-09-20. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  50. "Microsoft Realigns for Next Wave of Innovation and Growth: CEO Ballmer appoints presidents of three core divisions; Allchin announces retirement plan" (Press release). Microsoft. 2005-09-20. สืบค้นเมื่อ September 26. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessyear= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help)
  51. Quote from ComputerWorld 1985 (7/22) ; there is as yet no documented use of this vision statement prior to 1985. Gates wrote in The Road Ahead that he was 'guided by a belief that the computer would be a valuable tool on every office desktop and in every home'.
  52. Bishop, Todd (September 23, 2004). "The rest of the motto". Todd Bishop's Microsoft Blog. Seattle Post-Intelligencer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-14. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  53. "MSDN Subscription FAQ". Microsoft. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.
  54. "Microsoft Systems Journal Homepage". Microsoft. April 15, 2004. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  55. Neville Hobson (2005-04-11). "Microsoft's Channel 9 And Cultural Rules". WebProNews. iEntry Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-20. สืบค้นเมื่อ 2006-07-03.
  56. "On10.net homepage". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-28. สืบค้นเมื่อ 2006-05-04.