บริษัทมหาชน

(เปลี่ยนทางจาก Public company)

บริษัทมหาชน (อังกฤษ: public company, publicly traded company, publicly held company, publicly listed company) หรือ บริษัทมหาชนจำกัด (public limited company) เป็นบริษัทที่สิทธิครอบครองผ่านการถือหุ้น มีการขายหุ้นสู่ตลาดหุ้นหรือ การซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ บริษัทมหาชนสามารถจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้เพื่อทำการซื้อขายหุ้นได้ง่ายขึ้น หรืออาจไม่จดทะเบียนก็ได้ ในบางประเทศบริษัทมหาชนที่มีขนาดบริษัทใหญ่ถึงระดับหนึ่งจะต้องอยู่บนตลาดหลักทรัพย์

แบบจำลองเรืออีสต์อินเดียแมนของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ที่ถือเป็นบริษัทมหาชนที่มีการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการบริษัทแรกของโลก[1] เริ่มต้นจากการค้าขายเครื่องเทศ ในปี ค.ศ. 1602 บริษัทเริ่มดำเนินการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ทำให้บริษัทหาเงินได้รวม 6.5 ล้านกิลเดอร์ได้อย่างรวดเร็ว

ในสหรัฐ บริษัทมหาชนจะอยู่ในรูปแบบของบรรษัท (แม้บรรษัทไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทมหาชน) ขณะที่ฝรั่งเศสเรียก "société anonyme" (SA) ในอังกฤษเรียก บริษัทมหาชนจำกัด (plc) ในเยอรมนีเรียก Aktiengesellschaft (AG) ขณะที่แนวคิดของบริษัทมหาชนแต่ละประเทศมีรูปแบบคล้ายกัน จะต่างกันแค่ความหมาย

ประวัติ แก้

ในยุคใหม่ช่วงแรก ชาวดัตช์ได้พัฒนาเครื่องมือทางการเงินและได้ช่วยวางรากฐานระบบการเงินสมัยใหม่[2][3] บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ถือเป็นบริษัทแรกในประวัติศาสตร์ที่ออกตราสารหนี้และหุ้นสู่สาธารณชน อาจกล่าวได้ว่าบริษัทนี้ถือเป็นบริษัทมหาชนบริษัทแรกอย่างเป็นทางการ[4] เพราะเป็นบริษัทแรกที่จดทะเบียนอย่างเป็นทางการในตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่รัฐนครของอิตาลีได้ออกพันธบัตรรัฐบาลที่สามารถเปลี่ยนมือได้เป็นครั้งแรก แต่ก็ไม่ได้พัฒนาตลาดทุนได้อย่างเต็มที่ เอดเวิร์ด สตริงแฮม เขียนว่า "บริษัทที่มีการเปลี่ยนมือหุ้นได้สามารถย้อนกลับไปตั้งแต่โรมยุคคลาสสิก แต่ก็ไม่ได้พยายามอย่างอดทนและไม่ถือว่าเป็นตลาดรอง"[5]

หลักทรัพย์ของบริษัท แก้

หลักทรัพย์ของบริษัทมหาชนมีเจ้าของคอนักลงทุนหลาย ๆ คน ขณะที่หุ้นของบริษัทเอกชนจะมีผู้ถือหุ้นอยู่ไม่กี่คน ส่วนบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นหลายคนก็ไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทมหาชน

ข้อได้เปรียบ แก้

บริษัทมหาชนมีข้อได้เปรียบนอกเหนือจากบริษัทเอกชนดังนี้

  • บริษัทมหาชนสามารถที่เพิ่มเงินทุนและทุนการเงินผ่านการขายหุ้น (ทั้งตลาดหลักและตลาดรอง) นี่เป็นเหตุผลสำหรับในการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เพราะหากไม่ทำจะเป็นการยากมากที่จะหาทุนการเงินจำนวนมากสำหรับริษัทเอกชน การจะหาเงินทุนสามารถหาได้แต่งเพียงนักลงทุนกลุ่มเล็ก ๆ หรือธนาคารที่ยินยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนจำนวนมากนี้ กำไรจากหุ้นมาในรูปแบบของเงินปันผลหรือกำไรจากส่วนต่างราคา
  • สื่อการเงิน นักวิเคราะห์ และสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลธุรกิจได้ และทำให้เป็นส่วนผลักดันธุรกิจ (เป็นหลักประกันทำให้มีเงินทุนมากขึ้น) โดยข้อมูลอยู่เผยแพร่สถานะการเงินและอนาคตของบริษัท
  • เพราะคนสนใจอย่างกว้างขวาง บริษัทจึงอาจได้รับความนิยมหรือเป็นที่รู้จักมากกว่าบริษัทเอกชน
  • ผู้ถือหุ้นเริ่มแรกของบริษัทมีสามารถกระจายความเสี่ยงในการขายหุ้นสู่สาธารณะ หากผู้ถือหุ้นถือหุ้น 100% นั่นหมายความว่าเขาต้องจ่ายหนี้ทั้งหมดของบริษัทเพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม หากบุคคลใดถือหุ้น 50% เขาจะต้องจ่ายหนี้ 50% เป็ฯการเพิ่มสภาพคล่องสินทรัพย์และบริษัทไม่จำเป็นต้องพึ่งเงินจากธนาคาร ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 2013 ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เป็นเจ้าของบริษัท 29.3% ในฐานะผู้ถือหุ้นดั้งเดิม[6] ทำให้เขามีอำนาจพอที่จะควบคุมธุรกิจได้ ขณะที่เฟซบุ๊กก็ได้เงินทุนเพิ่มและกระจายความเสี่ยงไปสู่ผู้ถือหุ้นอื่น[7]
  • หากมีการให้หุ้นต่อผู้จัดการหรือลูกจ้างบริษัท ก็มีแนวโน้มว่าจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างลูกจ้างบริษัทกับผุ้ถือหุ้นจะลดลง ตัวอย่างเช่น บริษัทเทคโนโลยีหลายบริษัท อย่างวิศวกรซอฟต์แวร์ระดับเริ่มแรกจะได้รับเป็นหุ้นแทนจากบริษัทระหว่างการว่าจ้าง (พวกเขาจึงเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นบริษัท) ทำให้วิศวกรเหล่านั้นมีความสนใจในบริษัทมากขึ้นเพื่อให้บริษัทประสบความสำเร็จด้านการเงินและทำงานให้หนักขึ้นเพื่อเป้าหมายให้บริษัทประสบความสำเร็จ

ข้อเสียเปรียบ แก้

ตลาดหลักทรัพย์โดยมากจะต้องการข้อมูลทางการเงินที่มีการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก จากนั้นจึงเผยแพร่ข้อมูลทางบัญชีให้ผู้ถือหุ้น อย่างค่าใช้จ่ายก็เป็นข้อมูลอันเป็นประโยชน์แต่ก็ทำให้คู่แข่งรับรู้ด้วยเช่นกัน โดยจะระบุไว้ในรายงานประจำปีและรายงานประจำไตรมาสเป็นสิ่งที่มีกฎหมายบังคับ

ผู้ถือหุ้น แก้

ในสหรัฐ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ ให้บริษัทมหาชนระบุผู้ถือหุ้นใหญ่ในแต่ละปี[8] รายงานแจกแจงผู้ถือหุ้นใหญ่ หากบุคคลหรือสถาบันที่ถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 5 จะอยู่ในรายชื่อนี้[8] สำหรับประเทศไทย จะเปิดเผยรายชื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดและมีสิทธิออกเสียง[9]

อ้างอิง แก้

  1. Funnell, Warwick; Robertson, Jeffrey: Accounting by the First Public Company: The Pursuit of Supremacy. (Routledge, 2013, ISBN 0415716179)
  2. Tracy, James D. (1985). A Financial Revolution in the Habsburg Netherlands: Renten and Renteniers in the County of Holland, 1515–1565. (University of California Press, 300 pp)
  3. Sylla, Richard (2015). "Financial Development, Corporations, and Inequality". (BHC-EBHA Meeting). As Richard Sylla (2015) notes, "In modern history, several nations had what some of us call financial revolutions.... The first was the Dutch Republic four centuries ago."
  4. Kaiser, Kevin; Young, S. David (2013): The Blue Line Imperative: What Managing for Value Really Means. (Jossey-Bass, 2013, ISBN 978-1118510889), p. 26. As Kevin Kaiser & David Young (2013) explain, "There are other claimants to the title of first public company, including a twelfth-century water mill in France and a thirteenth-century company intended to control the English wool trade, Staple of London. Its shares, however, and the manner in which those shares were traded, did not truly allow public ownership by anyone who happened to be able to afford a share. The arrival of VOC shares was therefore momentous, because as Fernand Braudel pointed out, it opened up the ownership of companies and the ideas they generated, beyond the ranks of the aristocracy and the very rich, so that everyone could finally participate in the speculative freedom of transactions."
  5. Stringham, Edward Peter: Private Governance: Creating Order in Economic and Social Life. (Oxford University Press, 2015, ISBN 9780199365166), p.42
  6. "Zuckerberg Now Owns 29.3 Percent Of Facebook's Class A Shares And This Stake Is Worth $13.6 billion".
  7. Investopedia (14 August 2015). "If You Had Invested Right After Facebook's IPO (FB, TWTR)".
  8. 8.0 8.1 "Myth #5. The Federal Reserve is owned and controlled by foreigners". Political Research Associates. สืบค้นเมื่อ November 23, 2008.
  9. "การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.[ลิงก์เสีย]