โซนี่กรุ๊ปคอร์ปอเรชัน (ญี่ปุ่น: ソニーグループ株式会社โรมาจิSonī Gurūpu kabushiki gaisha) หรือเรียกกันทั่วไปว่า โซนี่ เป็นกลุ่มบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่น สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในย่านโคนัง เขตมินาโตะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[6] ในฐานะบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ บริษัทดำเนินการโดยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ระดับมืออาชีพรายใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ใหญ่ที่สุดและผู้จัดจำหน่ายวิดีโอเกมรายใหญ่ที่สุด บริษัทโซนี่เอนเทอร์เทนเมนต์ เป็นหนึ่งในบริษัทเพลงที่ใหญ่ที่สุด (ผู้จัดจำหน่ายเพลงที่ใหญ่ที่สุดและค่ายเพลงที่ใหญ่เป็นอันดับสอง) และสตูดิโอภาพยนตร์ที่ใหญ่เป็นอันดับสาม ทำให้เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีสื่อครอบคลุมมากที่สุด เป็นกลุ่มเทคโนโลยีและสื่อที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ในขณะเดียวกัน ก็ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นบริษัทญี่ปุ่นที่ร่ำรวยด้วยเงินสดมากที่สุด ด้วยเงินสดสำรองสุทธิ 2 ล้านล้านเยน[7][8][9][10]

โซนี่กรุ๊ปคอร์ปอเรชัน
ชื่อท้องถิ่น
ソニーグループ株式会社
ชื่อโรมัน
Sonī Gurūpu kabushiki kaisha
ชื่อเดิม
  • โตเกียวสึชินโคเกียว บจก. (1946–1957)
  • โซนี่คอร์ปอเรชั่น (1958–2021)[a][1]
ประเภทสาธารณะ
การซื้อขาย
ISINJP3435000009 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมกลุ่มบริษัท
ก่อตั้ง7 พฤษภาคม 1946; 77 ปีก่อน (1946-05-07)
นิฮมบาชิ เขตชูโอ โตเกียว ญี่ปุ่น[2]
ผู้ก่อตั้ง
สำนักงานใหญ่โซนี่ซิตี, ,
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
  • ชูโซ สุมิ
  • (ประธานคณะกรรมการ)
  • คาซึโอะ มัตสึนางะ
  • (รองประธานคณะกรรมการ)
  • เคนิชิโร โยชิดะ
  • (ประธานกรรมการ, ประธานและผู้บริหารสูงสุด)
  • ชิเกะกิ อิชิซึกะ
  • (รองประธาน)
ผลิตภัณฑ์
บริการ
รายได้เพิ่มขึ้น ¥11.540 trillion (FY2022)
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น ¥1.208 trillion (FY2022)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น ¥943.622 billion (FY2022)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น ¥32.041 trillion (FY2022)
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น ¥7.288 trillion (FY2022)
พนักงาน
109,700 (2021)[3]
แผนก
  • บริการเกมและเครือข่าย
  • เพลง
  • ภาพยนตร์
  • ผลิตภัณฑ์และโซลูชันอิเล็กทรอนิกส์
  • โซลูชันการถ่ายภาพและเซนเซอร์รูปภาพ
  • บริการทางการเงิน
  • อื่น ๆ[4]
บริษัทในเครือดู รายชื่อบริษัทในเครือ
เว็บไซต์www.sony.com
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[5]

โซนี่เป็นผู้ผลิตเซนเซอร์รูปภาพรายใหญ่ที่สุด โดยมีส่วนแบ่งร้อยละ 55 ในตลาดเซนเซอร์รูปภาพ เป็นผู้ผลิตกล้องรายใหญ่เป็นอันดับสอง และเป็นหนึ่งในผู้นำการขายสารกึ่งตัวนำ[11][10][12] โซนี่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในโลกในตลาดโทรทัศน์ระดับพรีเมียมที่มีขนาดอย่างน้อย 55 นิ้ว (140 เซนติเมตร) ด้วยราคาที่สูงกว่า 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นแบรนด์โทรทัศน์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองตามส่วนแบ่งการตลาด และ ณ ปี ค.ศ. 2020 โซนี่เป็นผู้ผลิตโทรทัศน์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกด้วยตัวเลขยอดขายประจำปี[13][14][15][16]

โซนี่กรุปคอร์ปอเรชันเป็นบริษัทโฮลดิ้งของ โซนี่กรุป (ญี่ปุ่น: ソニー・グループโรมาจิSonī Gurūpu) ซึ่งประกอบด้วย โซนี่คอร์ปอเรชันเป็น, โซนี่เซมิคอนดักเตอร์โซลูชัน, โซนี่เอ็นเตอร์เทนเมนต์ (โซนี่พิคเจอร์ส, โซนี่มิวสิก), โซนี่อินเตอร์แอ็กทีฟเอ็นเตอร์เทนเมนต์, โซนี่ไฟแนนเชียลกรุป และอื่น ๆ

สโลแกนของบริษัทคือ We are Sony ส่วนสโลแกนเดิมของพวกเขา ได้แก่ The One and Only (1979–1982), It's a Sony (1981–2005), like.no.other (2005–2009),[17] make.believe (2009–2013)[18] และ Be Moved (2013–2021)

โซนี่มีความสัมพันธ์กันแบบหลวม ๆ กับกลุ่มบริษัท ซูมิโตโมะมิตซุยไฟแนนเชียลกรุป (SMFG) ผู้สืบทอดต่อจาก มิตซุย เคเรสึ[19] โซนี่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี Nikkei 225 และ TOPIX Core30) พร้อมกับจดทะเบียนในรูปแบบของใบรับฝากหลักทรัพย์ของอเมริกาในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (ทำการซื้อขายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ทำให้เป็นบริษัทญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของอเมริกา) และได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 122 ในรายการ ฟอร์จูน โกลบอล 500 ในปี 2020[20]

หมายเหตุ แก้

  1. ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ชื่อตามกฎหมายของ "โซนี่ คอร์ปอเรชั่น" ใช้สำหรับธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของ โซนี่ กรุ๊ป ซึ่งเดิมเรียกว่า "โซนี่ อิเล็กทรอนิกส์ คอร์ปอเรชั่น"

อ้างอิง แก้

  1. "Change of the Sony entity for License Agreements, etc". www.sony.net. Sony Group Corporation. 1 April 2021. สืบค้นเมื่อ 7 May 2021.
  2. "Sony Corporate History". www.sony.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 April 2021.
  3. "Sony". Fortune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-26. สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.
  4. "Organization Data, Corporate Info". Sony Corporation. 1 August 2019. สืบค้นเมื่อ 5 June 2020.
  5. "Corporate Data" (PDF). Sony Corporation. 31 March 2019. สืบค้นเมื่อ 3 April 2019.
  6. "Access & Map." Sony Global. Retrieved 2 April 2021. "1–7–1 Konan Minato-ku, Tokyo 108-0075, Japan" – MapAddress in Japanese: "〒108-0075 東京都港区港南1–7–1"
  7. Aswad, Jem (2019-07-17). "Sony Unites Recorded Music and Publishing Under One Company". Variety (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  8. "Sony embraces its inner conglomerate". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2 May 2020. สืบค้นเมื่อ 3 July 2020.
  9. "Sony in US$2.3 billion deal, becomes the world's biggest music publisher the third largest movie studio". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-11-16.
  10. 10.0 10.1 "Sony's key image sensor business hit by smartphone market decline". Nikkei Asian Review.
  11. "Top 20 semiconductor sales leaders for Q1 2016". www.electronicspecifier.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
  12. "2019 Market Share Data Shows Canon and Sony Growing, Nikon Shrinking | PetaPixel". petapixel.com. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  13. "Global LCD TV manufacturer market share from 2008 to 2017". Statista. สืบค้นเมื่อ 26 February 2017.
  14. "Samsung tops global TV market for 15th consecutive year". FlatpanelsHD. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  15. Alekseenko, Artem (2021-03-04). "LG and Sony Led OLED TV Gains in Advanced TV Market in Q4". DisplayDaily (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  16. "How Samsung fell behind Sony and LG in the premium TV market". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2 May 2018. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
  17. "Sony like.no.other Global Brand Development". Blind. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2016. สืบค้นเมื่อ 16 November 2016.
  18. Christopher MacManus (2 September 2009). "Sony Insider. 2010-10-27. Retrieved 2016-08-07". Sonyinsider.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-16. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  19. Morck, R. K.; Nakamura, M. (2005). "A Frog in a Well Knows Nothing of the Ocean: A History of Corporate Ownership in Japan" (PDF). ใน Morck, Randall K. (บ.ก.). A History of Corporate Governance around the World: Family Business Groups to Professional Managers. University of Chicago Press. pp. 367–466. ISBN 0-226-53680-7.
  20. "Sony 2020 Global 500 – Fortune". Fortune.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้