วินโดวส์ 7
วินโดวส์ 7 (อังกฤษ: Windows 7 วินโดวส์เซเวน, วินโดวส์เจ็ด) เป็นซอฟต์แวร์ของระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ในสายวินโดวส์ สำหรับใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและมีเดียเซนเตอร์โดยวันออกจำหน่ายจริงยังไม่ได้ระบุไว้โดยจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของซอฟต์แวร์[3]ไมโครซอฟท์ได้มีการประกาศเปิดตัววินโดวส์ 7 ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ว่าการพัฒนาวินโดวส์ตัวนี้จะใช้เวลาสามปีให้หลังจากการวางจำหน่ายวินโดวส์ วิสตา[3]
เว็บไซต์วิกิพีเดียบนวินโดวส์ 7 | |
ผู้พัฒนา | ไมโครซอฟท์ |
---|---|
ตระกูลระบบปฏิบัติการ | ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ |
รหัสต้นฉบับ | Closed source / Shared source |
เผยแพร่สู่ กระบวนการผลิต | RTM: 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 Retail: 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552 |
รุ่นล่าสุด | 6.1 (build 7600.16385.090713-1255[1]) / 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2009[2] |
วิธีการอัปเดต | Windows Update |
แพลตฟอร์ม | IA-32, x86-64 |
ชนิดเคอร์เนล | Hybrid [ต้องการอ้างอิง] |
สัญญาอนุญาต | MS-EULA |
รุ่นก่อนหน้า | วินโดวส์วิสตา (2007) |
รุ่นถัดไป | วินโดวส์ 8 (2012) |
เว็บไซต์ทางการ | เว็บไซต์ทางการ |
สถานะการสนับสนุน | |
ยุติการสนับสนุนเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563 | |
บทความในชุด | |
คุณสมบัติใหม่ของวินโดวส์ตัวนี้จะมีจุดเด่นในส่วนของ รองรับระบบมัลติทัช มีการออกแบบวินโดวส์เชลล์ใหม่ และระบบเน็ตเวิร์กแบบใหม่ภายใต้ชื่อโฮมกรุ๊ป (HomeGroup) [4] ในขณะที่คุณสมบัติหลายส่วนในวินโดวส์รุ่นก่อนหน้าจะถูกนำออกไปได้แก่ วินโดวส์มูฟวีเมเกอร์ และ วินโดวส์โฟโตแกลเลอรี[5]
รุ่นทดสอบล่าสุดคือรุ่น 6.1.7100 (Windows 7 RC) ออกให้ทดสอบเมื่อ 30 เมษายน 2552 โดยในช่วงเวลาเดียวกันได้มีการแจ้งว่าผู้ที่ดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งอื่นนอกเหนือจากทางเว็บไมโครซอฟท์ มีโอกาสที่ผู้ให้บริการดาวน์โหลดสอดแทรกมัลแวร์หรือโทรจันมากับไฟล์ด้วย[6]
ในประเทศไทย ไมโครซอฟท์ได้จัดงานเปิดตัววินโดวส์ 7 ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ณ แฟชันฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน[7]
มีผู้ใช้ Windows 7 หลายคนให้การขนานนาม Windows 7 ว่า "Windows 7 คือ Windows Vista ที่ทำสำเร็จ"
ประวัติการพัฒนา
แก้เดิมวินโดวส์รุ่นหนึ่งที่ใช้ชื่อรหัสว่า "แบล็คคอมบ์" ได้ถูกวางแผนว่า จะเป็นวินโดวส์รุ่นถัดจากวินโดวส์เอกซ์พีและวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ในปี พ.ศ. 2543 โดยคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ถูกวางแผนจะให้มีในแบล็คคอมบ์นั้นมีอยู่มาก แต่ทว่าระหว่างนั้น ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเริ่มการพัฒนาวินโดวส์รุ่นหนึ่งที่มีชื่อว่า "ลองฮอร์น" (Longhorn) ในปี พ.ศ. 2546 ทำให้การพัฒนาแบล็คคอมบ์ต้องหยุดไปชั่วคราว[8] ในกลางปี พ.ศ. 2546 ลองฮอร์นได้รวมคุณลักษณะต่าง ๆ ซึ่งจะพัฒนาในแบล็คคอมบ์ด้วย แต่หลังจากที่ได้มีการพบข่าวว่า มีไวรัสคอมพิวเตอร์ในลักษณะของเวิร์มสามตัว ได้แก่ บลาสเตอร์ นาชี และโซบิก มีการโจมตีคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานธุรกิจที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอกซ์พีและวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 บ่อยมาก ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2546[9] ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องเปลี่ยนแผนการพัฒนาใหม่ โดยหยุดพักการพัฒนาลองฮอร์นไว้ก่อน แล้วมาพัฒนาเซอร์วิสแพ็คสำหรับวินโดวส์เอกซ์พีและวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ก่อน ทำให้การพัฒนาของวินโดวส์ลองฮอร์น ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น วินโดวส์วิสตานั้น ล่าช้าลง จนไมโครซอฟท์ตัดสินใจล้มเลิกการพัฒนาลองฮอร์นแบบเก่า และเริ่มการพัฒนาแบบใหม่แทน เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 คุณลักษณะจำนวนมากถูกตัดออกไปจากวินโดวส์ลองฮอร์น[10] จากนั้น แบล็คคอมบ์ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เวียนนา ในต้นปี พ.ศ. 2549[11]
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศว่า จะใช้ชื่อวินโดวส์รุ่นใหม่นี้ว่า วินโดวส์ 7[12][13] แต่การใช้ชื่อ "วินโดวส์ 7" นั้นก็ทำให้บางคนสับสนเช่นกัน[14] เนื่องจากวินโดวส์ 7 มีหมายเลขรุ่นเป็น 6.1 ซึ่งคล้ายกับหมายเลขรุ่นของวิสตามาก (6.0) และเพิ่มความเข้ากันได้กับโปรแกรมต่าง ๆ ที่ตรวจสอบเพียงหมายเลขรุ่นหลักเท่านั้น คล้ายกับวินโดวส์ 2000 และวินโดวส์เอกซ์พีที่ใช้หมายเลขรุ่นหลัก 5.x เหมือนกัน[15]
ความสามารถใหม่ในวินโดวส์ 7
แก้วินโดวส์ 7 ได้เพิ่มความสามารถใหม่ ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งหน้าต่าง (Aero Snap) การแอบดูหน้าเดสก์ท็อป (Aero Peek) ฯลฯ หรือการปรับปรุงความสามารถจากรุ่นก่อนหน้า เช่นการปรับระดับการแจ้งเตือนของ User Account Control (UAC) ซึ่งแต่เดิมในวินโดวส์วิสตาจะไม่สามารถปรับระดับได้ การปรับปรุงระบบให้ระบบมีความเสถียรมากขึ้น ฯลฯ
การสิ้นสุดการสนับสนุน
แก้ไมโครซอฟท์ได้หยุดการสนับสนุนวินโดวส์ 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2020 ซึ่งจะทำให้วินโดวส์ 7 ไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการอัปเดตซอฟต์แวร์จาก Windows Update ที่ช่วยปกป้องได้อีกต่อไป และผู้พัฒนาด้านอื่น ๆ จะเริ่มทยอยหยุดการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับวินโดวส์ 7
อ้างอิง
แก้- ↑ "Windows 7 and Windows Server 2008 R2 Officially RTM At Build Version 6.1.7600.16385". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-26. สืบค้นเมื่อ 2009-07-23.
- ↑ http://windowsteamblog.com/blogs/windows7/archive/2009/07/22/windows-7-has-been-released-to-manufacturing.aspx
- ↑ 3.0 3.1 Foley, Mary J (20 July 2007). "Windows Seven: Think 2010". ZDNet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-24. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
- ↑ LeBlanc, Brandon (28 October 2008). "How Libraries & HomeGroup Work Together in Windows 7". Windows Team Blog. Microsoft. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
- ↑ LeBlance, Brandon (28 October 2008). "The Complete Windows Experience – Windows 7 + Windows Live". Windows Team Blog. Microsoft. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
- ↑ Leaked copies of Windows 7 RC contain Trojan เก็บถาวร 2009-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คอมพิวเตอร์เวิลด์
- ↑ ไมโครซอฟท์นับถอยหลังสู่การเปิดตัววินโดวส์ 7 ในประเทศไทย 31 ตุลาคมนี้ http://www.arip.co.th/news.php?id=410230 เก็บถาวร 2010-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Lettice, John (October 24, 2001). "Gates confirms Windows Longhorn for 2003". The Register. สืบค้นเมื่อ March 5, 2008.
- ↑ Bill Goodwin (August 15, 2003). "Businesses are left reeling after a triple strike by Blaster, Nachi and the Sobig virus". Computer Weekly. TechTarget. สืบค้นเมื่อ March 20, 2016.
- ↑ Todd Bishop (August 28, 2004). "Microsoft cuts key Longhorn feature". Seattle Post-Intelligencer. Hearst Corporation. สืบค้นเมื่อ March 25, 2009.
- ↑ Thurrott, Paul (February 14, 2007). "Windows "7" FAQ". SuperSite for Windows. Penton Media. สืบค้นเมื่อ January 5, 2008.
- ↑ Fried, Ina (October 13, 2008). "Microsoft makes Windows 7 name final". CNET. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ October 13, 2008.
- ↑ "For Microsoft's Windows, 7th time's a charm". CBC News. October 2008. สืบค้นเมื่อ October 27, 2008.
- ↑ Alex Castle (October 15, 2008). "Microsoft Justifies Its Windows 7 Naming Decision". Maximum PC. สืบค้นเมื่อ November 18, 2009.
- ↑ Andrew. "Why Call it Windows 7?". worldstart.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-18. สืบค้นเมื่อ November 20, 2009.