เคอร์เนล
เคอร์เนล[1] (kernel อ่านว่า เคอร์เนิล เนื่องจากตัว e ไม่ออกเสียง) หมายถึง ส่วนประกอบหลักของระบบปฏิบัติการ ซึ่งคอยดูแลบริหารทรัพยากรของระบบ และติดต่อกับฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ เนื่องจากว่าเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ เคอร์เนล นั้นเป็นฐานล่างสุดในการติดต่อกับทรัพยากรต่างๆ เช่น หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง และ อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต

ประเภทรูปแบบ เคอร์เนล แก้ไข
โมโนลิทิก เคอร์เนล (Monolithic kernel) แก้ไข
โมโนลิทิก เคอร์เนล เป็นเคอร์เนลที่เน้นการทำงานแบบหนึ่งต่อหนึ่ง โดยจะเรียกชุดคำสั่งทั้งหมดทีเดียวในหนึ่งรอบ ทำให้การประมวลผลเร็วมาก แต่มีข้อเสียคือเมื่อเคอร์เนลล่มจะทำให้ระบบแฮงค์ในทันที (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบเคอร์เนล)
โมโนลิทิก เคอร์เนลมีอยู่ใน:
- Linux kernel
- Android OS
- MS-DOS, Microsoft Windows 9x Series (Windows 95 Windows 98 เป็นต้น)
- Agnix
ไมโครเคอร์เนล (Microkernel) แก้ไข
ไมโครเคอร์เนล เป็นเคอร์เนลที่แบ่งการทำงานในแต่ละภาคส่วนออกจากกัน ตัวอย่างเช่น แบ่งส่วนของซอฟต์แวร์ประยุกต์ ส่วนของอุปกรณ์ ส่วนจัดการไฟล์ ฯลฯ ในทางทฤษฎีไมโครเคอร์เนลมีความเสถียรสูงเนื่องจากแบ่งการทำงานทุกภาคส่วนออกจากกัน แต่มีข้อเสียคือเรียกประสิทธิภาพของระบบออกมาได้ไม่เต็มที่
ตัวอย่างของไมโครเคอร์เนล และ ระบบปฏิบัติการที่มีพื้นบน ไมโครเคอร์เนล:
- AIX
- AmigaOS
- Amoeba
- Chorus microkernel
- EROS
- Haiku
- K42
- LSE/OS
- KeyKOS
- The L4 microkernel family
- Mach, used in GNU Hurd, NEXTSTEP, OPENSTEP, and Mac OS X
- MERT
- Minix
- MorphOS
- NewOS
- QNX
- Phoenix-RTOS
- RadiOS
- Spring operating system
- VSTa
- Symbian OS
เคอร์เนลแบบผสม (Hybrid kernel) แก้ไข
เคอร์เนลแบบผสม เป็นเคอร์เนลที่รวมความสามารถของไมโครเคอร์เนลและโมโนลิทิกเคอร์เนลเข้าด้วยกันเพื่อเลียนแบบประสิทธิภาพและเสถียรภาพของโมโนลิทิกเคอร์เนลและไมโครเคอร์เนล
- BeOS kernel
- DragonFly BSD
- Haiku kernel
- NetWare kernel
- Plan 9 kernel
- ReactOS kernel
- NT kernel Windows NT kernel (Windows 2000, Windows XP, Windows 2003, and Windows Vista)
- XNU kernel (ใช้ใน Mac OS X)
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ สะกด kernel ว่า เคอร์เนล ตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน
- Andrew Tanenbaum, Operating Systems - Design and Implementation (Third edition) ;
- Andrew Tanenbaum, Modern Operating Systems (Second edition) ;
- Daniel P. Bovet, Marco Cesati, The Linux Kernel;
- David A. Peterson, Nitin Indurkhya, Patterson, Computer Organization and Design, Morgan Koffman (ISBN 1-55860-428-6) ;
- B.S. Chalk, Computer Organisation and Architecture, Macmillan P. (ISBN 0-333-64551-0).
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- Kernel คืออะไร - แหล่งข้อมูลความรู้ภาษาไทย