พ.ศ. 2547
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 2004)
พุทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินกริกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ
- ปีวอก ฉศก จุลศักราช 1366 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: มาร์ก ซักเกอร์เบิร์กเปิดตัวเฟซบุ๊ก ซึ่งเวลานั้นมีชื่อว่า เดอะเฟซบุ๊ก; ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ใน พ.ศ. 2547 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2425; ออปเพอร์จูนิทีของนาซาลงจอดบนดาวอังคาร; โอลิมปิกฤดูร้อน 2004 จัดขึ้นที่เอเธนส์; อัลกออิดะฮ์ระเบิดรถไฟหลายขบวนที่มาดริด ทำให้มีผู้เสียชีวิต 193 คน; สหภาพยุโรปได้รับรัฐสมาชิกใหม่ 10 ประเทศ; การปิดล้อมโรงเรียนที่เบสลัน ที่ก่อเหตุโดยผู้ก่อการร้ายชาวเชเชน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 333 คน; แผ่นดินไหวเมกะทรัสต์ใกล้ชายฝั่งเกาะสุมาตราและสึนามิที่ตามมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 227,000 คน กลายเป็นหนึ่งในภัยพิบัติธรรมชาติที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึก
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2547 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2004 MMIV |
Ab urbe condita | 2757 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1453 ԹՎ ՌՆԾԳ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6754 |
ปฏิทินบาไฮ | 160–161 |
ปฏิทินเบงกอล | 1411 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2954 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 52 Eliz. 2 – 53 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2548 |
ปฏิทินพม่า | 1366 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7512–7513 |
ปฏิทินจีน | 癸未年 (มะแมธาตุน้ำ) 4700 หรือ 4640 — ถึง — 甲申年 (วอกธาตุไม้) 4701 หรือ 4641 |
ปฏิทินคอปติก | 1720–1721 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3170 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1996–1997 |
ปฏิทินฮีบรู | 5764–5765 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2060–2061 |
- ศกสมวัต | 1926–1927 |
- กลียุค | 5105–5106 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12004 |
ปฏิทินอิกโบ | 1004–1005 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1382–1383 |
ปฏิทินอิสลาม | 1424–1425 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 16 (平成16年) |
ปฏิทินจูเช | 93 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4337 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 93 民國93年 |
เวลายูนิกซ์ | 1072915200–1104537599 |
กำหนดให้เป็น:
- ปีสากลแห่งข้าว (โดยสหประชาชาติ)[1]
- ปีสากลแห่งการระลึกถึงการต่อสู้กับความเป็นทาสและการเลิกทาส (โดยยูเนสโก)[2]
- ปีอาหารปลอดภัย (ประเทศไทย)
ผู้นำประเทศไทย แก้
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
เหตุการณ์ แก้
มีนาคม แก้
มีนาคม แก้
- 11 มีนาคม - เกิดระเบิดครั้งใหญ่บนขบวนรถไฟ กรุงมาดริด ประเทศสเปน มีผู้เสียชีวิต 191 คน
เมษายน แก้
- 28 เมษายน – เหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ: เวลาเช้า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกว่า 200 คน พยายามปล้นปืนและทำร้ายเจ้าหน้าที่พร้อมกันหลายจุดในจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดสงขลา กลุ่มคนร้ายหลบหนีเข้าไปในมัสยิดกรือเซะ เจ้าหน้าที่ล้อมไว้จนเวลาประมาณ 14.00 น. พลเอก พัลลภ ปิ่นมณี สั่งยิงถล่มด้วยอาวุธหนัก มีผู้ก่อการเสียชีวิตในเหตุการณ์นี้รวม 108 คน ขณะที่เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 นาย
พฤษภาคม แก้
มิถุนายน แก้
- 8 มิถุนายน – เกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งแรกในคริสต์สหัสวรรษนี้
กรกฎาคม แก้
สิงหาคม แก้
- 13 สิงหาคม – พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ
กันยายน แก้
- 1 กันยายน - มีการจับตัวประกันเป็นนักเรียนในโรงเรียนเบลลาน ซึ่งอยู่ที่เซาท์ออสซีเชีย ประเทศรัสเซีย มีผู้เสียชีวิต 344 คน
- 9 กันยายน - เกิดเหตุระเบิดสถานทูตออสเตรเลียในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิต 8 คน
ตุลาคม แก้
- 25 ตุลาคม - กรณีตากใบ: เกิดเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมหลายร้อยคน หน้า สภ.อ.ตากใบ ตำบลตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส หลังสลายการชุมนุมแล้ว มีผู้เสียชีวิต 4 คน และเจ้าหน้าที่ได้ส่งผู้ชุมนุมจำนวนมากขึ้นรถบรรทุก หลังจากนั้นพบว่ามีผู้ชุมนุมอีก 78 คน เสียชีวิตบนรถเนื่องจากขาดอากาศหายใจ
ธันวาคม แก้
- 26 ธันวาคม - เกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย วัดขนาดได้ 9.1-9.3 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ ซัดเข้าฝั่งรอบมหาสมุทรอินเดีย อาทิ ศรีลังกา, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ไทย รวมถึงชายฝั่งบางส่วนของทวีปแอฟริกา มียอดผู้เสียชีวิตกว่า 230,000-280,000 คน โดยในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิต 5,395 คน
ไม่ทราบวัน แก้
- ค้นพบ ธาตุอูนอูนเทรียม และ อูนอูนเพนเทียม
วันเกิด แก้
- 21 มกราคม - เจ้าหญิงอิงกริด อเล็กซันดราแห่งนอร์เวย์
- 19 กุมภาพันธ์ - มิลลี บ็อบบี บราวน์ นักแสดงและนางแบบชาวอังกฤษเชื้อสายสเปน
- 18 มีนาคม - อชิรญา นิติพน นักร้อง และนักแสดงหญิงชาวไทย
- 1 พฤษภาคม - ชาร์ลี ดาเมลิโอ นักเต้นชาวอเมริกัน
- 13 มิถุนายน - นรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์ นักแสดงชายชาวไทย
- 26 มิถุนายน - ธนชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นักกีฬาไอซ์ฮอกกี้เยาวชนทีมชาติไทย
- 23 กรกฎาคม - กาญจน์โสภณ วิรุณนิติพนธ์ ลูกชายของ แวนดา สหวงษ์
- 5 สิงหาคม - ปาโบล กาบี นักฟุตบอลชาวสเปน
- 3 ตุลาคม - โนอาห์ สแนปป์ นักแสดงชาวอเมริกันเชื้อสายแคนาดา
- 18 ตุลาคม - ณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุล นักแสดงชายชาวไทย
- 11 พฤศจิกายน
- พณิชพล ธีระรัตน์สกุล นักแบดมินตันชายชาวไทย
- พรรคพล ธีระรัตน์สกุล นักแบดมินตันชายชาวไทย
- 17 พฤศจิกายน - อธิวัตน์ แสงเทียน นักแสดงชายชาวไทย
- 21 พฤศจิกายน - นารีนาท เชื้อแหลม นักร้องหญิงชาวไทย
- 15 ธันวาคม - วิทิตา สระศรีสม นักร้องหญิงชาวไทย
วันถึงแก่กรรม แก้
- 1 มกราคม – สุรศักดิ์ นานานุกูล นักการเมือง อดีตรัฐมนตรี (เกิด 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486)
- 20 มีนาคม - สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ (พระราชสมภพ 30 เมษายน พ.ศ. 2452)
- 30 มีนาคม - ซัลวาโตเร่ เบอรูนี่ นักมวยสากลชาวอิตาลี
- 2 พฤษภาคม – สกุล ศรีพรหม นักการเมือง อดีตรัฐมนตรี (เกิด 28 เมษายน พ.ศ. 2475)
- 5 มิถุนายน – โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 40 (เกิด 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454)
- 16 มิถุนายน – จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 10 (เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454)
- 1 กรกฎาคม – มาร์ลอน แบรนโด นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 3 เมษายน พ.ศ. 2467)
- 28 กรกฎาคม – ฟรานซิส คริก นักเคมีรางวัลโนเบล (เกิด 8 มิถุนายน พ.ศ. 2459)
- 30 สิงหาคม – เฟร็ด ลอว์เรนซ์ วิปเปิล นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449)
- 10 ตุลาคม – คริสโตเฟอร์ รีฟ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 25 กันยายน พ.ศ. 2495)
- 28 ตุลาคม - สมุทร์ สหนาวิน ข้าราชการ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง (เกิด 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2464)
- 11 พฤศจิกายน
- ยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำปาเลสไตน์ (เกิด 24 สิงหาคม พ.ศ. 2472)
- อิทธิ พลางกูร นักร้องชาวไทย (เกิด 30 มกราคม พ.ศ. 2498)
- 1 ธันวาคม - เจ้าชายแบร์นฮาร์ดแห่งลิพเพอ-บีสเตอร์เฟลด์ (พระราชสมภพ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2454)
- 18 ธันวาคม – เจ้าหญิงคิกูโกะ พระชายาในเจ้าชายโนบูฮิโตะ พระปิตุลานีในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ (ประสูติ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2454)
- 19 ธันวาคม – เฮอร์เบิร์ต ซี. บราวน์ นักเคมีรางวัลโนเบล (เกิด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2455)
- 26 ธันวาคม – คุณพุ่ม เจนเซ่น (เกิด 16 สิงหาคม พ.ศ. 2526)